สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใครกำลังเสียเซลฟ์มาทางนี้! 5 เทคนิคดีๆ พิชิตความ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

ชีวิตคนเรานั้นเต็มไปด้วยความเหงาและความรู้สึกขาดหาย เมื่อเรานั้นไม่รู้สึกเชื่อมันในตัวเอง ความรู้สึก ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง (self-doubt) อย่างรุนแรงนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสดีๆ มากมายในชีวิต เช่น งานในฝัน สัมพันธภาพดีๆ หรือแม้แต่ความสุขของตัวเราเอง มาดูสาเหตุทางจิตวิทยาที่ทำให้คุณขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พร้อมลองเทคนิคสร้างความมั่นใจต่อไปนี้ ภาวะ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง คืออะไร ลองนึกย้อนดูว่า กี่ครั้งแล้วที่คุณเกิดความคิดที่ยอดเยี่ยมและคุณคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ และไม่แม้แต่จะลองลงมือทำ ผลลัพธ์ก็คือ คุณเห็นคนอื่นทำมันและไประสบความสำเร็จแทนที่จะเป็นตัวคุณ มีคนเก่งๆ มากมายที่ชีวิตและการงานของพวกเขากลับไม่ราบรื่นเพียงเพราะพวกเขาหรือรู้สึกไม่มั่นใจ หรือกล่าวได้ว่า พวกเขายังรู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง การขาดความมั่นใจนั้นไม่ใช่คำตรงกันข้ามกับคำว่า ไม่มีความสามารถ หรือ ไม่มีศักยภาพ คนส่วนใหญ่ที่รู้สึกไม่มั่นใจในตนเองมักจะมีลักษณะดังนี้ ไม่มองโลกตามความเป็นจริง หรือ ไม่มีเป้าหมาย กลัวความล้มเหลว กลัวผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่คิด ใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่นมากเกินไป ไม่เคยรู้สึกพึงพอใจหรือมั่นใจกับอะไรเลยในชีวิต เหตุใดคุณถึงรู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัวเองและจะแก้ไขได้อย่างไร ไม่มองตัวเองตามความเป็นจริง เพราะคุณไม่มั่นใจในตัวเอง จึงมักจะประเมินค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง รู้สึกด้อยกว่าเมื่อนำตัวเองไปเปรียบเที่ยบกับผู้อื่น จนกลายเป็นคนปิดตัว รู้สึกอ้างว้าง หรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ คุณยังรู้สึกว่าต้องการใครสักคน หรืออะไรสักอย่างเพื่อมาทำให้มีชีวิตชีววา ในยามที่คุณไม่มีใครอยู่เคียงข้าง ก็จะกลายเป็นคนเก็บตัว คาดหวังจากคนอื่นมากเกินไป เมื่อคุณคิดว่าคนอื่นรอบตัวคุณจะต้องแสดงพฤติกรรมอย่างที่คุณคิด นั่นแปลว่าคุณกำลังแบกความคาดหวัง ความมั่นใจและความสุขของตัวคุณเองไปทุ่มเทกับความไม่แน่นอน คนเราไม่เหมือนกันและแต่ละคนก็มีความคิดอ่านที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่มีทางที่ใครจะทำทุกอย่างที่เราคาดหวัง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักคุณ เลิกคาดหวังและเลิกวางมาตรฐานกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ จากคนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คุณคาดไว้ ไม่รู้คุณค่าของตนเอง คนส่วนใหญ่โอดครวญถึงสิ่งที่ตัวเองไม่มีและอยากเปลี่ยนแปลงความเป็นจริง โดยไม่มองถึงสิ่งที่ตนเองมีอยู่ในมือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เมื่อคุณรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ตัวคุณมีและชื่นชมมันทุกวัน นั่นแหละเป็นเวลาที่คุณจะรู้สึกว่าความสุขเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะคุณมีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งนั้น ไม่รู้วิธีใช้เวลา หากคุณนั่งลงแล้วคำนวณดู จะพบว่าตัวคุณเองนั้นอาจใช้เวลาสิ้นเปลืองไปกับความคิดลบๆ มากมาย มัวแต่ไปสนใจคนอื่น นั่งดูเว็บไซด์เป็นชั่วโมงอย่างไร้จุดมุ่งหมาย […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

ระวัง! เศร้า...เครียด...แบบสุดขีด อาจทำให้คุณ สูญเสียความจำ ได้นะ

การ สูญเสียความจำ หมายถึง การที่เราไม่สามารถจดจำบางสิ่งบางอย่างในอดีต หรือสิ่งที่เราเคยทำได้ กลับทำไม่ได้ขึ้นมาเสียเฉยๆ สาเหตุของการสูญเสียความจำอาจมีได้หลายประการ หนึ่งในนั้นคือ ความเครียด ความเศร้า หรือเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจที่เราต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์” ดังนั้น Hello คุณหมอ ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มาฝากกันในบทความนี้ ทำความเข้าใจกับการ สูญเสียความจำ จากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (Disscociative amnesia / Psychogenic amnesia) เป็นภาวะสูญเสียความจำ ซึ่งมีลักษณะอาการเฉพาะคือ ความทรงจำจะสูญหายไปบางช่วงจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจขั้นรุนแรง และอาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้ จะไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ ได้ ซึ่งโดยปกติข้อมูลส่วนนี้จะไม่สูญหายไป หากเป็นการหลงลืมตามปกติ ภาวะนี้ถูกจัดเป็นกลุ่มโรคหลงผิด ที่ไม่ใช่โรคจิตเภท วิธีการรักษาจึงมักต้องหาสาเหตุที่ทำให้สูญเสียความจำ และจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา สาเหตุของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์มีอะไรบ้าง ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับการเผชิญกับความเครียดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดมาจากการผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ เช่น สงคราม การถูกทารุณ อุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่บุคคลเหล่านั้นได้เผชิญหรือพบเจอมา หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งภายในจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดในใจ ปัญหาค้างคาใจที่ไม่อาจแก้ไขได้ หรือความเสียใจในการ กระทำของตนเอง อาการของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ อาการทั่วไปของผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ คือ ไม่สามารถจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเหตุการณ์และรายละเอียดพื้นฐานของตนเอง แม้กระทั่ง ชื่อตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ในขณะที่บางรายก็มีทีท่าเหนื่อยหน่ายและเฉยเมย […]


สุขภาพจิต

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ต่างจากผู้หญิงอย่างไร

โรคซึมเศร้าในผู้ชาย อาจมีอาการที่แสดงออกแตกต่างจากโรคซึมเศร้าในผู้หญิง เช่น ผู้ชายที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจไม่ได้เศร้า แต่มีอาการหงุดหงิด โกรธและโมโหอย่างรุนแรง หรือมีอาการเจ็บปวดทางกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในผู้ชายอาจช่วยให้สามารถสังเกตอาการและรับมือได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ต่างจากผู้หญิงอย่างไร ในขณะที่โรคซึมเศร้าเคยได้รับการพิจารณาว่าเป็นโรคของผู้หญิง แต่มีข้อมูลว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ชายเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 6 ล้านคนต่อปี และเนื่องจากโรคซึมเศร้าดูเป็นโรคของผู้หญิง จึงอาจทำให้ผู้ชายหลายคนไม่รับรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้หาวิธีรักษา ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าส่งผลต่อทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งโรคนี้สามารถกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์ได้ โดยอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชายจะคล้ายกับผู้หญิง แต่ผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะแสดงอาการของโรคซึมเศร้าแตกต่างออกไป กล่าวคือ อาการปกติของโรคซึมเศร้าได้แก่ หมดความสนใจในกิจกรรมที่ชอบ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีปัญหาการนอนหลับ และเฉยชา ไร้อารมณ์ สำหรับผู้หญิง โรคซึมเศร้าอาจทำให้มีอาการซึมเศร้าและรู้สึกไร้ค่า ส่วนอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย อาจทำให้ผู้ชายปลีกตัวออกจากสังคม หรือรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และมุ่งร้ายต่อผู้อื่น อาการของ โรคซึมเศร้าในผู้ชาย ผู้ชายแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป แต่มีอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย ที่พบบ่อย ดังนี้ โกรธง่าย เกรี้ยวกราด หงุดหงิดง่าย หรือก้าวร้าว รู้สึกกังวล กระสับกระส่าย ไม่สงบ หมดความสนใจในการทำงาน ครอบครัว หรือกิจกรรมที่ชอบ มีปัญหาเรื่องทางเพศ รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือสิ้นหวัง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เซลฟี (Selfie) เป็นประจำ เป็นอาการของ โรคหลงตัวเอง หรือเปล่า

คุณอาจมองว่า การ เซลฟี (Selfie) หรือการถ่ายรูปตนเองด้วยกล้อง แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เป็นเพียงการแชร์เรื่องราวของตัวเองให้เพื่อนๆ รู้ แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผู้ที่ชอบเซลฟีบ่อยๆ และลงรูปเซลฟีวันละหลายๆ ครั้ง อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเป็น โรคหลงตัวเอง ก็เป็นได้ เซลฟี เป็นประจำ เป็นอาการของโรคหลงตัวเองหรือเปล่า งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Open Psychology Journal ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 74 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปี เป็นเวลา 4 เดือน และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่โพสต์รูปภาพจำนวนมากและเซลฟีบนโซเชียลมีเดีย มีลักษณะนิสัยที่แสดงความหลงตัวเอง เช่น ชอบโอ้อวด รู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่น ต้องการการยอมรับอย่างมาก เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เข้าข่ายเป็นโรคหลงตัวเอง เมื่อวัดจากเกณฑ์ที่ทีมนักวิจัยกำหนดไว้ ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่างที่เน้นโพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดีย ไม่เน้นโพสต์รูปเซลฟี กลับไม่พบความเปลี่ยนแปลงนี้แต่อย่างใด แม้งานวิจัยชิ้นนี้พบการโพสต์รูปเซลฟีบ่อยๆ นั้นสามารถทำให้คนเราหลงตัวเองมากขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่โพสต์รูปเซลฟีบ่อยๆ จะต้องกลายเป็นโรคหลงตัวเองเสมอไป แต่นักวิจัยก็ชี้ว่า หากเปรียบกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากร ก็เท่ากับว่า ประชากรประมาณ 20% อาจมีลักษณะนิสัยหลงตัวเองมากขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ฝันร้าย คืออะไรและมันกำลังบอกอะไรกับเราบ้าง?

ฝันร้าย ที่ทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึก นอกจากจะรบกวนการนอนหลับแล้ว บางครั้งอาจทำให้คุณกลัวจนต้องเปิดไฟนอนทั้งคืนด้วย ความจริงแล้วฝันร้ายคืออะไร และฝันร้ายหมายถึงความเครียดและวิตกกังวลหรือเปล่า Hello คุณหมอ ไปหาคำตอบกันเลย ฝันร้าย คืออะไร ฝันร้าย คือความฝันเหมือนความจริง ที่รบกวนการนอนหลับของคุณ และทำให้ตื่นจากการหลับลึก อีกทั้งฝันร้ายมักจะทำให้หัวใจเต้นแรงเพราะความกลัวด้วย ฝันร้ายมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในช่วง REM sleep ที่ย่อมาจาก Rapid Eye Movement sleep ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงที่ยาวนานประมาณ 90 นาที นอกจากนี้ หลายคนมักจะฝันร้ายในช่วงเช้ามืดมากกว่าช่วงเวลาอื่นด้วย สาเหตุที่ทำให้ฝันร้าย อาจเกิดจากความเครียด เนื่องจากมีงานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นหนึ่งเผยว่า ประสบการณ์ความเครียดตลอดทั้งวัน สามารถเชื่อมโยงกับความฝันของคุณได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ The journal Motivation and Emotion ชี้ว่า แม้ในเวลาที่คุณหลับ ก็ไม่สามารถหนีจากหัวหน้างานที่คอยจู้จี้ และความกดดันอื่น ๆ ในชีวิตได้ และถ้าคุณรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว ความรู้สึกและอารมณ์เหล่าก็นี้สามารถแทรกซึมเข้าไปในความฝันของคุณได้ด้วย ฝันร้ายแบบนี้ บอกอะไรกันแน่ จากงานวิจัยพบว่าฝันร้ายอันดับต้น ๆ ที่คนมักจะฝันกันมากที่สุด ได้แก่ ฝันว่าตกจากที่สูง 39.5% ฝันว่าโดนไล่ล่า หรือฝันว่าวิ่งหนี 25.7% ฝันว่าเป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้ 25.3% ฝันว่าไปถึงที่หมายสาย […]


สุขภาพจิต

Endorphin สารเพิ่มความสุข เพิ่มได้ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ

Endorphin เป็นสารประกอบเปปไทด์ ซึ่งหลั่งออกมาจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง เพื่อระงับความเจ็บปวด ลดความรู้สึกไม่สบาย ลดความเครียด ซึ่ง Endorphin มักจะหลั่งเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ฟังดนตรี ขณะกินอาหาร มีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การหัวเราะ Endorphin คืออะไร Endorphin เป็นสารประกอบเปปไทด์ ซึ่งหลั่งออกมาจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง คำว่า Endorphin เป็นการรวมกันระหว่างคำว่า Endogenous ที่หมายความว่า ภายในร่างกาย และ มอร์ฟีน” (Morphine) ที่เป็นชื่อยาแก้ปวดชนิดหนึ่ง เมื่อนำมารวมกัน ก็เป็นคำว่า Endorphins เพื่อระงับความเจ็บปวด ลดความรู้สึกไม่สบาย ลดความเครียด ซึ่ง Endorphin มักจะหลั่งเมื่อเราทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ฟังดนตรี ขณะกินอาหาร มีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การหัวเราะก็ช่วยให้ Endorphin หลั่งได้ ประโยชน์ของ Endorphin บรรเทาภาวะซึมเศร้า นอกจาก Endorphin จะช่วยระงับความเจ็บปวดทางกายได้แล้ว ก็ยังอาจระงับความเจ็บปวดและความทุกข์ทางใจได้อีกด้วย จากการศึกษาในผู้ที่ประสบปัญหาภาวะซึมเศร้าในชีวิต จำนวน 1 […]


การจัดการความเครียด

สัญญาณและอาการทางร่างกาย อะไรบ้างที่เกิดจาก ความเครียด

ความเครียด สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดจากเรื่องงานหรือเรื่องเรียน หรือเวลาที่ต้องจัดการกับความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าเราทุกคนต่างเผชิญกับความเครียด แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเครียดเกินไป จนส่งผลต่อสุขภาพแล้ว Hello คุณหมอ จึงขอชวนมาดูสัญญาณและอาการทางร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด [embed-health-tool-bmi] สัญญาณและอาการที่บอกว่าคุณกำลังเครียด ความเครียดสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณ และยังส่งผลต่ออารมณ์ ความสามารถในการคิด รวมถึงพฤติกรรมด้วย โดยแต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับความเครียดแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หากคุณเครียดจัดจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้สัญญาณและอาการเหล่านี้ยังสามารถบอกได้ ว่าร่างกายได้รับผลกระทบจากความเครียด ดังนี้ สิวขึ้น เวลาที่คนเรารู้สึกเครียด ก็มีแนวโน้มที่จะสัมผัสใบหน้าตัวเองบ่อยขึ้น ซึ่งสามารถแพร่กระจายแบคทีเรีย และอาจทำให้เกิดสิวได้ นอกจากนี้งานวิจัยหลายงานวิจัยยังชี้ว่า สิวอาจเกี่ยวข้องกับระดับความเครียดที่สูงขึ้น เนื่องจากมีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 22 คน โดยได้ประเมินความรุนแรงของการเป็นสิว ก่อนและหลังการสอบ ผลการวิจัยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นเพราะการสอบ กับความรุนแรงของสิวที่มากขึ้น มากไปกว่านั้น สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอาจได้แค่ แบคทีเรีย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การผลิตน้ำมันส่วนเกิน และรูขุมขนอุดตัน อาการทางด้านอารมณ์ เริ่มโกรธง่าย หงุดหงิด และอารมณ์เสียบ่อย ไม่สามารถผ่อนคลาย หรือปล่อยวางได้ รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกเหงา รู้สึกไร้ค่า และมีอาการซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้อื่น ปวดหัว งานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่าง 267 คนที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง ผลการวิจัยพบว่าประมาณ 45% ของกลุ่มตัวอย่างมีความเครียดก่อนที่จะพัฒนา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เราจะรับมือกับความเศร้าจากการ สูญเสียคนที่รัก อย่างไร

แน่นอนว่า ความตกใจและความเสียใจหลังจากการ สูญเสียคนที่รัก นั้น เป็นความรู้สึกที่ไม่อาจบรรยายได้ การสูญเสียเพื่อนหรือคนที่คุณรักเป็นสิ่งที่ทำใจลำบาก และอาจทำให้คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างที่เปลี่ยนไป หรือต่อไปนี้ ชีวิตของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว หรือ คุณอาจกังวลว่าคุณจะใช้ชีวิตตามปกติอย่างไรต่อไป ความเศร้าอาจจะยังติดอยู่ในใจคุณเป็นระยะเวลานาน และทำให้คุณอ่อนแอทุกครั้งเมื่อนึกย้อนเหตุการณ์นั้น อย่างไรก็ตาม คุณเองสามารถเรียนรู้จากการสูญเสีย และรู้จักการมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งต้องประคองจิตใจให้ก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ให้ได้ โดยใช้หลักการการเยียวยาจิตใจที่คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง ด้วยคำแนะนำที่อาจเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณ ที่ทาง Hello คุณหมอ นำมาฝากกันในบทความนี้ ความโศกเศร้าในทางการแพทย์ คืออะไร ความโศกเศร้า เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณสูญเสียบางคนหรือบางสิ่งที่สำคัญต่อจิตใจไป ความรู้สึกต่างๆ อาจเกิดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมาถึงจุดของความสูญเสีย โดยแพทย์ได้จัดลำดับความรู้สึกโศกเศร้าไว้ 5 ลำดับ ได้แก่ การปฏิเสธ ความโกรธ การต่อรอง ภาวะซึมเศร้า การยอมรับ ทุกคนผ่านขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ด้วยวิธีของตนเอง สิ่งที่เตือนใจถึงความสูญเสีย เช่น การครบรอบการแต่งงาน ความตาย หรือเพลงธรรมดาทั่วไป ก็สามารถทำให้ความรู้สึกเศร้ากลับมาได้ แต่ละคนมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้แตกต่างกัน และความรู้สึกของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  วิธีการดังต่อไปนี้เป็นแนวทางในการช่วยเยียวยาสภาพอารมณ์ความรู้สึกของคุณ เมื่อต้องเผชิญกับการสูญเสียคนสำคัญในชีวิต วิธีการรับมือกับการ สูญเสียคนที่รัก ต้องทำอย่างไร หากำลังใจ การมีใครสักใครอยู่เคียงข้าง เมื่อคุณต้องการกำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณอาจพูดคุยกับเพื่อน คนในบ้าน ผู้ให้คำแนะนำ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มสนับสนุนทางสังคม-ชุมชน ซึ่งมีวิธีการเยียวยาจิตใจที่หลากหลาย ก็เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำในการบรรเทาความเศร้าโศกของคุณ เนื่องจากแต่ละคนในกลุ่มอาจมีประสบการณ์การสูญเสียมาก่อน และสามารถเข้าใจความรู้สึกของคุณได้เป็นอย่างดี อดทน ระยะเวลาการรักษาอาจใช้เวลา […]


การจัดการความเครียด

สิวกับความเครียด เกี่ยวข้องกันอย่างไร เครียดแล้วสิวขึ้นจริงหรือ?

ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตภายใต้ความเครียด เนื่องจากมีทั้งสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ความต้องการส่วนตัวทางด้านการงาน ครอบครัว และด้านอื่นๆ ล้วนทำให้การดำเนินชีวิตชีวิตเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง สิวกับความเครียด พฤติกรรมที่คุณมักคิดว่าสามารถจัดการกับความเครียดได้ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการบริโภคอาหารบางชนิดที่มากเกินไป ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสิ้น มิหนำซ้ำ ยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียดมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเกิดสิวโดยที่คุณไม่รู้ตัวอีกด้วย ความเครียดคืออะไร  คำว่า ‘ความเครียด’ ครอบคลุมประสบการณ์ที่เกิดจากความวิตกกังวลและปฏิกิริยาต่อประสบการณ์เหล่านั้น โดยทั่วไป ความเครียดหมายถึงความกดดันทางจิตวิทยาและอารมณ์ ความหมายของความเครียดนั้นต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ในระหว่างการเดินทาง คุณอาจพบว่าการขับรถช่วยให้ผ่อนคลายและสามารถฟังเพลงในขณะขับรถได้ แต่สำหรับอีกคนหนึ่ง ความเครียดอาจเกิดขึ้นจากความหงุดหงิดจากการจราจร การสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง ตกงาน และปัญหาทางการเงิน เป็นสาเหตุทั่วไปที่พบบ่อยของความเครียด หรือแม้แต่เหตุการณ์ต่างๆ ที่เราคิดว่าเป็นความสุขก็ยังสามารถทำให้เกิดความเครียดในบางคนได้ เช่น การคลอดบุตร หรือการแต่งงาน เป็นต้น ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร เมื่อคุณรู้สึกเครียด อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น กล้ามเนื้อบีบตัวมากขึ้น และเริ่มหายใจเร็วขึ้น เนื่องมาจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา เช่น คอร์ติซอล (cortisol) เอพิเนฟรีน (epineprine) และ อะดรีนาลีน (adrenaline) ความเครียดระยะสั้น ความเครียดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวส่งผลต่อร่างกาย ในระยะสั้น การหายใจที่เร็วขึ้นอาจทำให้เกิดอาการหอบหืดกำเริบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นอาจทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ปฏิกิริยาของความเครียดต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้รู้สึกปวดท้อง โรคกระเพาะกำเริบ คลื่นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงได้ นอกจากนี้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานวิจัยชี้ การแต่งงาน ไม่ได้สร้างความสุขให้ชีวิตเสมอไป

การแต่งงาน คือหนึ่งในธรรมเนียมทางสังคมที่มีความสำคัญ และดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อชีวิต และความสุขในชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย โดยคนส่วนใหญ่มักถือว่า สถานภาพการสมรส เป็นเครื่องมือจัดระเบียบสัมพันธภาพทางเพศและสร้างพันธสัญญาร่วมกันระหว่างคู่สมรส สำหรับบางคน การแต่งงานถือเป็นจุดหมายปลายทางของเรื่องราวความรักของคนสองคน และอาจถือเป็นเครื่องชี้ความสุข ความพึงพอใจ ในการใช้ชีวิตอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว ผลที่ตามมาจากการแต่งงานนั้นจะเป็นอย่างไร สร้างความสุขให้กับชีวิตเราได้จริงหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ การแต่งงาน สร้างความสุขในชีวิตจริงหรือ ผลจากงานวิจัยเกี่ยวกับชีวิตคนที่แต่งงานแล้วและชีวิตคนโสด พบว่าผู้ที่แต่งงานแล้วมีความพึงพอใจในชีวิตพอๆ กับการมีรายได้จำนวน 2.5 เท่าของรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย โดยผู้ที่แต่งงานแล้วจำนวน 3 ใน 10 มีความพึงพอใจในชีวิตในระดับเท่าๆ กับความพึงพอใจที่มีงานทำ สำหรับคู่ที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน พบว่ามีความพึงพอใจคล้ายคลึงกันโดยคิดเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนของผู้ที่แต่งงานแล้ว มีการศึกษาวิจัยด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และระบาดวิทยา ถึงข้อดีของการแต่งงาน โดยนักวิจัยในสาขาดังกล่าวได้ทำการศึกษาโดยการเปรียบเทียบคนที่แต่งงานแล้วกับคนโสด และพบว่าผู้แต่งงานแล้วนั้นมักมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ยังโสด (เช่น ใช้สารเสพติดน้อยกว่า และมีอาการซึมเศร้าน้อยกว่า) และยังมีอายุที่ยืนยาวกว่าอีกด้วย ผลการวิจัยยังระบุด้วยว่า ผู้ที่แต่งงานแล้วมักมีรายได้มากกว่าคนโสด  ซึ่งนั่นอาจเป็นเพียงเพราะว่า เพศชายที่มีรายได้สูงนั้น มีแนวโน้มว่าจะมีคู่ครองและแต่งงานมากกว่านั่นเอง การแต่งงานทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ประการแรก การแต่งงานสามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของคู่สมรส เช่น มีที่ให้หลบพักจากความเครียดจากบางแง่มุมของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องงาน ซึ่งการแต่งงานนั้นมีประโยชน์ในแง่การมีที่พึ่งทางใจ ไม่ต้องแบกรับปัญหาไว้เพียงคนเดียว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน