สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เหตุผลที่คนใกล้ชิดไม่สามารถเป็น นักจิตวิทยา ให้คุณได้

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ the Journal of Counseling Psychology พบว่าคนส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นหลังจาก ปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ภายใน 7-10 ครั้ง และ 88% ของผู้ที่ได้รับการรักษาทางจิตวิทยาอย่างเต็มรูปแบบ มีรายงานว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นหลังจากครั้งแรก อย่างไรก็ตามหลายคนเลือกที่จะปรึกษาปัญหาทางจิตวิทยากับเพื่อน หรือคนในครอบครัว แต่ถ้าคุณรู้ตัวว่าไม่สามารถรับมือกับปัญหาทางจิตวิทยาได้แล้ว เช่น คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง คุณควรปรึกษานักจิตวิทยา เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนใกล้ชิดอย่างเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่สามารถเป็นนักจิตวิทยาให้คุณได้ เมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบนักจิตวิทยา รู้สึกเศร้า รู้สึกโกรธ หรือรู้สึกว่า “ไม่ใช่ตัวคุณ” ความเศร้า ความโกรธ หรือความสิ้นหวัง ที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเยียวยาได้ ถ้าการกินและการนอนของคุณผิดปกติ และภาวะซึมเศร้าของคุณเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน หรือถึงขั้นมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ควรปรึกษาแพทย์ ใช้แอลกอฮอล์ อาหาร การมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ยาเสพติดเพื่อเยียวยา ถ้าคุณใช้แอลกอฮอล์ อาหาร การมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ยาเสพติดเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น คุณอาจเสพติดสิ่งเหล่านี้จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และจะเกิดผลเสียในที่สุด ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และการเสพติดสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน คุณควรปรึกษาจิตแพทย์ คุณสูญเสียคนสำคัญ หรือสิ่งที่สำคัญไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะรับมือกับการสูญเสียได้ และความเศร้าโศกอาจเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและยาวนาน ดังนั้นคุณอาจต้องมองหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา หรือปรึกษาจิตแพทย์ บาดแผลทางจิตใจ บาดแผลในอดีตบางอย่างอาจยังกระทบต่อจิตใจของคุณ การปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์อาจเป็นหนทางที่ทำให้คุณรับมือกับบาดแผลทางจิตใจได้ เหตุผลที่การ ปรึกษานักจิตวิทยา ดีกว่าการปรึกษาเพื่อน หรือคนใกล้ชิด นักจิตวิทยาไม่ตัดสินคุณ คุณสามารถพูดคุยกับนักจิตวิทยาในเรื่องใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลั่นกรองหรือกลัวว่าจะมีคนตัดสินคุณ เนื่องจากนักจิตวิทยาจะได้รับการฝึกมาเพื่อรับฟังปัญหาทางจิตวิทยา ซึ่งจะแตกต่างจากเพื่อนของคุณหรือคนในครอบครัวที่อาจไม่ได้รับการฝึกมาเพื่อให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาตามความเป็นจริง ปัญหาของการปรึกษาปัญหากับเพื่อนคือ […]


โรคการกินผิดปกติ

หยุด กินตามอารมณ์ เพื่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก

งานวิจัยพบว่าการกินอาหารตามใจปาก เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การกินอาหารช่วยทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นหรือไม่ และคุณมักจะบรรเทาความเครียดด้วยการกินใช่หรือเปล่า ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่กินตามใจปากมากกว่าจะกินในเวลาที่ร่างกายหิว จนควบคุมตัวเองไม่ได้อาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ มาฝากว่า การกินตามอารมณ์ คืออะไรและส่งผลต่อร่างกายอย่างไร กินตามอารมณ์ (Emotional Eating) คืออะไร กินตามอารมณ์ คือ วิธีจัดการกับความรู้สึกโดยใช้การกินอาหาร เช่น หลายคนคงเคยกินมันฝรั่งทอดกรอบห่อใหญ่ในเวลาที่รู้สึกเบื่อ แต่เมื่อกินจนหมดแล้วก็มักจะพบว่ากินมากจนเกินไป การกินโดยไม่รู้ตัวจึงอาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้น และมีผลเสียต่อสุขภาพตามมา นอกจากนี้หนึ่งในความเข้าใจผิดคือ การกินตามอารมณ์จะเกิดขึ้นจากอารมณ์ในแง่ลบ เช่น ความเครียด ความเหงา ความเศร้า ความกังวล หรือความเบื่อหน่าย แต่แท้จริงแล้วการกินตามอารมณ์สามารถสัมพันธ์กับความรู้สึกในแง่บวกด้วย เช่น การกินของหวานในวันวาแลนไทน์ หรือการกินเพื่องานฉลองวันหยุด กินตามอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร การกินตามอารมณ์ อาจเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ส่งผลต่อน้ำหนักขึ้นหรือทำให้กินมากผิดปกติ ปัญหาของการกินตามอารมณ์คือ เมื่อความสุขจากการกินหมดไป ความรู้สึกที่เป็นต้นเหตุจะยังคงอยู่ เช่น คุณกินตามอารมณ์เพราะเศร้า การกินอาหารอาจทำให้ความเศร้าหายไปชั่วคราว แต่ไม่นานคุณจะกลับมาเศร้าอีกเพราะความเศร้าที่เป็นต้นเหตุยังไม่หายไป นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกแย่จากการกินอาหารปริมาณมาก ดังนั้นการแยกความแตกต่างระหว่างความหิวกับความหิวตามอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนี้ ความหิวที่แท้จริง ค่อยๆ เกิดขึ้น และสามารถชะลอเวลาได้ สามารถพอใจกับปริมาณอาหาร มีแนวโน้มว่าจะหยุดกินเมื่ออิ่ม ไม่ได้เป็นสาเหตุของความรู้สึกผิด ความหิวตามอารมณ์ เป็นความรู้สึกที่ทันทีและเร่งด่วน อยากกินอาหารที่เฉพาะเจาะจง เช่น พิซซ่า หรือไอศกรีม คุณมีแนวโน้มว่าจะกินมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกผิด อย่างไรก็ตาม การกินตามอารมณ์ไม่ได้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพเสมอไป เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งคนเราจะกินเพื่อฉลองกับเพื่อน หรือในเวลาที่รู้สึกไม่ดี […]


สุขภาพจิต

ไบโพล่า อาการ สาเหตุ การรักษา

ไบโพล่า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทาอารมณ์ที่อาจทำให้อารมณ์แปรปรวนเป็นอย่างมาก สามารถเปลี่ยนจากการมีความสุข เป็นการมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างมาก อารมณ์แปรปรวนอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี หรือแม้กระทั่ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการของไบโพล่าอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ การทำงาน การเรียน หรือแม้กระทั่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้น ผู้ที่เป็นไบโพล่าจึงควรเข้ารับการรักษา เพื่อควบคุมภาวะอารมณ์แปรปรวน   คำจำกัดความไบโพล่า คืออะไร ไบโพล่า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) หรือเป็นที่รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Manic Depression) เป็นภาวะทางจิตที่รุนแรงที่อาจทำให้มีอารมณ์แปรปรวนเป็นอย่างมาก อาจเปลี่ยนจากการมีความสุข (Mania) เป็นการมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างมาก (Depression) บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ปกติในระหว่างช่วงอารมณ์ทั้งสองนี้ได้ หากผู้ป่วยอารมณ์ไม่ดี อาจทำให้รู้สึกซึมเศร้า สิ้นหวัง และอาจไม่มีความสนใจในกิจกรรมประจำวัน แต่หากผู้ป่วยอารมณ์ดี อาจทำให้รู้สึกเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความกระตือรือร้น ภาวะอารมณ์แปรปรวนอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี หรือแม้กระทั่ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น อาการที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการเรียน หรือแม้กระทั่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้น ผู้ที่เป็นไบโพล่าจึงควรเข้ารับการรักษา เพื่อควบคุมภาวะอารมณ์แปรปรวน ไบโพล่า พบได้บ่อยแค่ไหน ไบโพล่ามักเริ่มมีอาการในระหว่างช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเป็นไบโพล่าได้ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก อาการติดมือถือกำลังบ่อนทำลายชีวิตรักของคุณอยู่หรือเปล่า

แฟนเรียกไม่ได้ยินเพราะกำลังแชทอยู่กับเพื่อน แฟนนั่งอยู่ข้างๆ แต่ตาเอาแต่จ้องหน้าจอโทรศัพท์ ระวังจะเสียคนรักโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากมีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าการ ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก ของคุณ ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก เราได้อย่างไร งานวิจัยพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบเลอร์ (Baylor University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจชาวอเมริกัน วัยผู้ใหญ่ 450 คน ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักหรือไม่ ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับความสนใจจากคู่รักมีมากกว่า 46% กลุ่มที่บอกว่า อาการติดโทรศัพท์มือถือสร้างความขัดแย้งให้คู่รัก มีจำนวน 23% กลุ่มที่บอกว่าพวกเขารู้สึกหดหู่บางครั้ง มีจำนวน 37% และมี 32% ที่บอกว่าโทรศัพท์มือถือไม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ เจมส์ โรเบิร์ต ศาสตราจารย์ภาคการตลาด หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า สิ่งที่งานวิจัยค้นพบคือ การติดมือถือจนไม่สนใจคนรัก จะทำให้เกิดความขัดแย้งและความไม่พอใจกัน ผลเสียของอาการติดมือถือคือ บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก และอาจยังส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจในตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด คู่สามีภรรยากับอาการติดมือถือ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้ โซเชียลมีเดีย ของคู่สมรส ชาวยุโรป 24,000 คน พบว่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่รัก โดยคู่รักมีแนวโน้มที่จะดูชีวิตของคนในโซเชียล มีเดีย และเอามาเปรียบเทียบกับคนรักของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อคนรัก และยังมีการสำรวจที่พบว่า โทรศัพท์มือถือทำให้คู่รักห่างกัน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)

คำจำกัดความโรค กลัวที่ชุมชน คืออะไร โรค กลัวที่ชุมชน (Agoraphobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่คุณรู้สึกกลัว และหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณหวาดกลัว และรู้สึกเหมือนกักขัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือประหม่า คุณกลัวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น เช่น การใช้ขนส่งสาธารณะ การอยู่ในสถานที่เปิดหรือปิด การเข้าคิว การอยู่ท่ามกลางคนเยอะๆ ผู้ป่วยโรค กลัวที่ชุมชน มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ที่คนเยอะ หากต้องออกไปในที่สาธารณะก็มักต้องมีคนไปด้วย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน หรือบางคนอาจหวาดกลัวมากจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ โรคกลัวที่ชุมชนพบบ่อยแค่ไหน โรคกลัวที่ชุมชนพบได้บ่อย เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โรคมักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 18-35 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ อาการอาการของโรคกลัวที่ชุมชน อาการทั่วไปของโรคกลัวที่ชุมชุน ได้แก่ ความกลัวในเรื่องต่อไปนี้ การออกจากบ้านคนเดียว การอยู่ในฝูงชนหรือการเข้าคิว การอยู่ในที่ปิด เช่น โรงหนัง ลิฟต์ ร้านค้าเล็กๆ การอยู่ในที่เปิดโล่ง เช่น ลานจอดรถ สะพาน  ห้างสรรพสินค้า การใช้ขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ เครื่องบิน รถไฟ ผู้เป็นโรคกลัวที่ชุมชนมักกลัวว่า หากต้องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ข้างต้น แล้วเกิดตื่นกลัว ทำอะไรไม่ถูก ประหม่า หรืออับอาย แล้วจะหนีออกจากสถานการณ์เหล่านั้นไม่ได้ หรือไม่มีใครช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังมีอาการได้แก่ กลัวหรือวิตกกังวลเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง กลัวหรือวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ ต้องการคนอยู่ด้วย […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

อกหัก ไม่ยักกะตาย รับมือสบาย ๆ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์

เราอาจรู้สึกว่าอาการ อกหัก เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ๆ ล้วน แต่ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความรักส่งผลต่อสมองของเราแบบเดียวกับสารเสพติด การเลิกรากันจึงทำให้เกิดอาการไม่ต่างจากการเลิกยาหรือสารเสพติด ดังนั้น Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ อาการอกหัก ในแบบวิทยาศาสตร์ และใช้วิธีการรับมือที่มีงานวิจัยรับรองแล้วว่าได้ผลกันดู วิธีรับมือกับอาการ อกหัก 1. ระบายเรื่องราวให้คนที่ไว้ใจฟัง งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Evolutionary Behavioral Sciences เปรียบเทียบ อาการอกหัก ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย พบว่า เวลาอกหักผู้หญิงจะเจ็บปวดกว่าผู้ชายในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้หญิงจะทำใจได้เร็วกว่าผู้ชาย งานวิจัยชิ้นนี้ได้สำรวจชายและหญิงกว่า 96 ประเทศ จำนวน 5,700 คน แต่เนื่องจากเป็นแบบสำรวจออนไลน์ ผลการวิจัยจึงบอกภาพรวมของเพศชายและเพศหญิง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่ม ผลการสำรวจพบว่า หลังจากแยกทางกัน ผู้หญิงโดยเฉลี่ย 68% รู้สึกเจ็บปวดทางอารมณ์ ส่วนผู้ชายที่รู้สึกเจ็บปวดแบบเดียวกันคือ 66% นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้หญิง 42% และผู้ชาย 37.5% มีอาการเจ็บปวดทางร่างกายเนื่องจากการอกหัก จะเห็นได้ว่า ผู้ชายเจ็บปวดน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยกลับพบว่า ผู้หญิงทำใจได้เร็วกว่า เพราะผู้หญิงพูดคุยกับกลุ่มเพื่อน ระบายให้เพื่อนฟัง ส่วนผู้ชายจะไม่ขอคำปรึกษาเรื่องความรักจากเพื่อน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่แตกต่างกันในผู้ป่วยต่างวัย สังเกตให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่มองข้าม!

โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ที่อาจเรียกอีกอย่างว่า ภาวะซึมเศร้ารุนแรง หรือซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depressive Disorder) โรคนี้ส่งผลกระทบต่อวิธีคิด ความรู้สึก และการกระทำในชีวิตประจำวัน แต่อาการที่แท้จริงของโรคซึมเศร้า คืออะไร บทความนี้จะนำเสนอ สัญญาณโรคซึมเศร้า ที่พบบ่อย ในกลุ่มผู้ป่วยในแต่ละวัย ดังนี้ สัญญาณโรคซึมเศร้า ในผู้ใหญ่ สัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ มีดังนี้ รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า กังวลใจ รู้สึกหมดหวัง รู้สึกโกรธ แม้กับเรื่องเล็กน้อย รู้สึกเหนื่อยล้า และหมดแรง รู้สึกไม่อยากทำอะไรที่เคยสนใจมาก่อนหน้านี้ มีปัญหาการนอนหลับ หรือนอนมากเกินไป คิดช้า เคลื่อนไหวช้า รู้สึกว่าสมาธิลดลง มีอาการปวดหลังหรือปวดศีรษะ แต่ไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกผิดหรือไม่มีคุณค่า โทษตัวเอง มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย หากคุณมีอาการดังกล่าวบ่อยครั้งต่อวัน เป็นเวลาสองสัปดาห์ขึ้นไป คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า คุณควรพบหมอเพื่อวินิจฉัยภาวะที่เกิดขึ้น สัญญาณของโรคในเด็กและวัยรุ่น สัญญาณของโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นอาจแตกต่างจากอาการในผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของเด็ก เด็กอาจรู้สึกเศร้า หงุดหงิด กังวล ปวดศีรษะ ปวดหลัง และพวกเขาไม่อยากไปโรงเรียน รวมถึงมีปัญหาด้านการกิน อาการของวัยรุ่น พวกเขาอาจรู้สึกเศร้า มองโลกในแง่ร้าย ไร้ค่า โมโห อ่อนไหว มักคิดว่าการกระทำของพวกเขาไม่ดี และไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาอาจดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ เพื่อจัดการกับปัญหา สัญญาณของโรคในผู้สูงอายุ สัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจสังเกตไม่ได้ อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุต้องได้รับการรักษา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่ายกว่าที่คุณคิด

วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า อาจเป็นปัญหาที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง แต่เมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาว วัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และภาวะซึมเศร้าจึงเป็นปัญหารุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดในช่วงนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับภาวะสุขภาพดังกล่าวนี้ การช่วยเหลือของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงจากอะไรบ้าง การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (เช่น สมาร์ทโฟน) อาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น การใช้เวลาหน้าจอ สามารถมีผลต่อคุณภาพการนอน และยังดึงเอาเวลาไปจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตจริงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โซเชียลเน็ตเวิร์คและการใช้งานอินเตอร์เน็ต ยังทำให้ลูกของคุณอาจโดนกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ การสัมผัสกับตัวละครในเชิงอุดมคติจากในละครหรือภาพยนตร์มากเกินไป อาจทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังกับโลกแห่งความเป็นจริง เนื้อหาออนไลน์ที่รุนแรงหรือเป็นในทางลบ ก็ถือเป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะมันอาจเป็นได้ทั้งต้นแบบที่ไม่ดีสำหรับลูกของคุณ หรืออาจนำมาซึ่งความหวาดกลัวต่อสภาพสังคมที่เลวร้าย ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเขาก็ได้ ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด สามารถก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ เรื่องความสัมพันธ์ สำคัญกับวัยรุ่น มิตรภาพหรือความช่วยเหลือทางสังคมอื่นๆ เป็นส่วนสำคัญในการป้องกัน และจัดการกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ปล่อยให้ลูกของคุณได้ใช้เวลากับเพื่อนที่ดี เข้าร่วมชมรมต่างๆ เข้าร่วมทีมแข่งขันกีฬา หรือให้บริการชุมชน กิจกรรมเหล่านี้สามารถเสริมสร้างความมั่นใจ และฝึกฝนทักษะด้านอารมณ์ของพวกเขาได้ ส่วนในเรื่องความรักนั้น ให้คุณให้คำแนะนำ และชี้แนะแนวทางแก่พวกเขา เนื่องจากความเครียดจากปัญหาในเรื่องความรัก สามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ พ่อแม่จะมีส่วนช่วยป้องกันได้อย่างไร สร้างรูปแบบการนอนที่ดีต่อสุขภาพ หลังจากเรียนมาตลอดทั้งวัน การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสมในตอนกลางคืน ช่วยคนเราในการฟื้นฟูทั้งทางร่างกายและจิตใจ การอดนอนเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า การศึกษาเผยให้เห็นว่า วัยรุ่นที่ถูกบังคับให้เข้านอนเร็ว มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้าได้น้อยกว่า ชักจูงวัยรุ่นให้ออกกำลังกาย มีการศึกษาว่ากิจกรรมการออกกำลังกาย ให้ผลในการลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้าได้ การออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงต่อวัน เป็นสิ่งที่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมทุกประเภท นับตั้งแต่เกิจกรรมแบบเบา เช่น การเดิน […]


การเสพติด

สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณ ติดมือถือ มากเกินไปแล้ว

ติดมือถือ เป็นโรคที่กำลังระบาดอย่างหนักในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งมีผลร้ายต่อสุขภาพมากมายหลายประการ ฉะนั้น ถ้าใครยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ ก็ลองตรวจเช็ดดูนะว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้อยู่หรือเปล่า 5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลัง ติดมือถือ 1. คุณประสาทกินเมื่อแบตมือถือเหลือน้อย ถ้าหัวใจของคุณเต้นตูมตามหรือมีเหงื่อออกที่มือ เวลาที่แบตมือถือกำลังจะหมดล่ะก็ ขอให้เข้าใจไว้เลยว่าคุณกำลังโดนโรคติดโทรศัพท์มือถือเล่นงานเข้าให้แล้วล่ะ เนื่องจากการวิตกกังวลว่าคุณจะไม่สามารถติดต่อใครได้ ไม่สามารถเช็คอีเมล และไม่สามารถตรวจดูความเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์นั้น คือตัวบ่งบอกที่ชัดเจนว่า…คุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือ! 2. คุณออกจากบ้านไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ การไม่มีสมาธิที่จะทำอะไรได้ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือนั้น คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหมกหมุ่นอยู่กับอะไรแบบไร้สติ ซึ่งควรหาวิธีบำบัดโรคติดโทรศัพท์มือถือได้แล้ว เพราะโลกใบนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ตั้งมากมาย ถ้าคุณเอาแต่ก้มหน้าก้มตาสไลด์หน้าจอโทรศัพท์มือถืออยู่ คุณก็จะพลาดสิ่งที่น่าสนใจเหล่านี้ไปจนหมด 3. คุณรู้สึกหงุดหงิดมากถ้าใช้มือถือไม่ได้ สัญญาณที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณจะรู้สึกระทมทุกข์มากถ้าอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ และรู้สึกประสาทเสียเอามากๆ ถ้าไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งถ้ามีใครมาบอกให้คุณวางมือถือลงในระหว่างดินเนอร์ล่ะก็ คุณอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาเลยก็ได้ 4. คุณเช็คมือถือในขณะขับรถ การเช็คมือถือขณะขับรถ เป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อชีวิตทั้งของคุณเองหรือของผู้อื่น อาการนี้ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือขั้นรุนแรง เพราะนั่นจะทำให้คุณตัดสินใจอะไรได้ช้ากว่าตอนเมาแล้วขับซะอีกนะ แถมยังช้าเป็นสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการยกโทรศัพท์ขึ้นมาแนบหูในขณะขับรถ นี่เป็นการกระทำที่บ่งบอกว่าคุณกลัวจะส่งข้อความไม่ทันมากกว่าจะกลัวตาย 5. คุณใช้มือถือเช็คเรื่องงานในขณะลาพักร้อน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้คน 60 เปอร์เซ็นต์ที่กลับมาจากการไปเที่ยวพักร้อนนั้น มักจะไม่รู้สึกกระปรี้เปร่าหรือเฟรซขึ้น เนื่องจากยังต้องติดต่อเรื่องงานและเช็คอีเมลอยู่ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของโรคติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ไม่รุ่งทั้งในเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้มือถือ สำหรับผู้คนโดยส่วนใหญ่แล้ว การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตน้น ไม่ใช่การเลิกใช้แบบหักดิบ แต่เป็นอะไรที่คล้ายๆ การควบคุมอาหารนั่นแหละ เพราะยังไงๆ คุณก็ยังต้องกินอาหารให้มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่แค่กินให้น้อยลง เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง และนี่คือวิธี… จัดตารางการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น จัดตารางการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน โดยอาจให้รางวัลตนเองที่จะมีเวลาใช้โทรศัพท์ได้มากขึ้น ถ้าสามารถทำงานบ้านหรืองานอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปิดโทรศัพท์มือถือ ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน อย่างเช่น เวลาที่คุณขับรถ […]


โรคการกินผิดปกติ

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa)

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ รู้เรื่องเบื้องต้น โรคอะนอเร็กเซียคืออะไร โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุและส่วนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์นี้มักกลัวอย่างมากว่าน้ำหนักจะขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคนี้จึงอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาระบาย ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เพื่อลดน้ำหนัก พบได้บ่อยแค่ไหน โรคอะนอเร็กเซียพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มักเริ่มในกลุ่มเด็กก่อนวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคอะนอร์เร็กเซีย อาการของโรคอะนอร์เร็กเซียที่พบบ่อย ได้แก่ กลัวน้ำหนักขึ้น หรือกลัวอ้วนมากเป็นพิเศษ แม้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ ล้วงคอเพื่ออาเจียน ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายเพื่อขับถ่าย กินยาลดความอ้วน กินน้อยหรือไม่กินอะไรเลย ออกกำลังกายมาก แม้ในช่วงอากาศไม่ดี หรือมีอาการบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้า คำนวณแคลอรี่ และวัดปริมาณอาหาร โรคอะนอเร็กเซียส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นตัวเอง มักพูดถึงแต่น้ำหนักและอาหารตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น อารมณ์เสียหรือเศร้าง่าย หรือไม่ต้องการเข้าสังคม ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการทางจิตหรือโรคทางร่างกายต่างๆ ดังนี้ ซึมเศร้า วิตกจริต ปากแห้ง มีปัญหาทางระบบหัวใจและหรือสมอง ทนหนาวไม่ได้ และยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ควรปรึกษาแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร หากคุณมีอาการหรือสัญญาณข้างต้นหรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ โรคคลั่งผอม หรือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน