สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เหงา ภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิด

เหงา เป็นความรู้สึกของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและแต่กต่างกันไป ฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจต่อความรู้สึกเหงาได้มากขึ้น เราก็ควรศึกษาให้ลึกลงไปถึงสาเหตุ ผลกระทบทางด้านสุขภาพ อาการ และการรักษา ว่าความเหงา ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขจิตของเราอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ ชวนคนเหงามาดูกันว่า แค่ “เหงา” ส่งผลอย่างไรต่อเราบ้าง  ความเหงาคืออะไร ความเหงาคือปฎิกิริยาโต้ตอบทางอารมณ์ต่อความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือการไม่มีเพื่อนฝูง ความโดดเดี่ยวกับความเหงานั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจอยู่คนเดียวที่บ้านแต่รู้สึกเพลิดเพลินเจริญใจเป็นอย่างมาก หรือคุณอาจอยู่ท่ามกลางงานปาร์ตี้ที่มีผู้คนเยอะแยะ แต่กลับรู้สึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดายก็ได้ ทำไมเราจึงรู้สึก เหงา มีผู้คนจำนวนมากมายที่รู้สึกเหงา เฝ้าถามตัวเองว่า…ทำไมเราถึงต้องรู้สึกเหงาด้วย ถึงแม้จะยังหาคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามนี้ไม่ได้ แต่มีเหตุผลอยู่มากมายที่น่าจะเป็นสาเหตุของความเงา ได้แก่ มีผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากกว่าเมื่อก่อน ชีวิตที่ไร้เพื่อน ยามอยู่ที่บ้านนี้อาจส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตทางสังคมของคนๆ นั้นได้ ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 1970 นั้น พบว่าผู้คนในประเทศอเมริกามีอายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปีสำหรับผู้หญิง และ 67 ปีสำหรับผู้ชาย และพอถึงปี 2014 ก็เพิ่มเป็น 81 ปีสำหรับผู้หญิง และ76 ปีสำหรับผู้ชาย เราทำงานที่แตกต่างไป เมื่อเปรียบชีวิตของผู้คนสมัยนี้กับผู้คนสมัยก่อน ก็ความว่าคนในยุคนี้จะใจจดใจจ่ออยู่กับงานมากกว่าจะนึกถึงเรื่องความสัมพันธ์ เราสื่อสารแตกต่างไปจากเดิม การสื่อสารทางระบบอีเลคโทรนิคกลายเป็นช่องทางหลักของสังคมในยุคนี้ไปซะแล้ว ซึ่งการสื่อสารแบบนี้ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลลดลงไปโดยปริยาย เราใช้โซเชียลมีเดีย การใช้โซเชียลมีเดียจะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อคนบางคน ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่โซเชียลมีเดียนั้นให้ประโยชน์ทางด้านสังคมกับเด็กวัยรุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขามีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตทางสังคมน้อยลง ในทางตรงกันข้ามโซเชียลมีเดียอาจช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกติดต่อกับคนอื่นๆ ได้มากขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า สารสำคัญที่อาจช่วยคุณได้

เซโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้เรารู้สึกเบิกบาน ผ่อนคลาย และมีความมั่นใจในตัวเอง ว่ากันว่าการมีสารเซโรโทนินในระดับต่ำนั้น มีส่วนที่ทำให้เรารู้สึกซึมเศร้าและหวาดวิตกขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราควรทำความรู้จักกับสารแห่งความสุขชนิดนี้เอาไว้ จะได้รู้ว่าเซโรโทนินคืออะไร และ เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เซโรโทนิน คืออะไร เซโรโทนิน (Serotonin) คือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่ช่วยถ่ายทอดสัญญานต่างๆ จากสมองในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง ถึงแม้เซโรโทนินจะถูกผลิตขึ้นในสมอง เพื่อช่วยทำหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่าง แต่ 90% ของเซโรโทนินนั้น จะพบในระบบทางเดินอาหารและเกล็ดเลือด เซโรโทนินสำคัญต่อสุขภาพของเรายังไง เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยถ่ายทอดสัญญาณจากสมอง ในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่ามีส่วนสำคัญ ต่อการทำงานทางด้านจิตใจและทางร่างกาย ซึ่งได้มีการประมาณการว่าเซลล์สมองจำนวน 40 ล้านเซลล์นั้น ถูกควบคุมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเซโรโทนิน ซึ่งก็รวมถึงเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความต้องการทางเพศ ความอยากอาหาร การนอนหลับ ความทรงจำกับการเรียนรู้ การควบคุมอุณหภูมิ และพฤติกรรมทางสังคมบางอย่าง เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า เชื่อมโยงกันอย่างไร  มีงานศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ระดับเซโรโทนินที่ไม่สมดุลนั้น อาจส่งผลทางด้านอารมณ์ จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ สาเหตุอาจเกิดจากเซลล์สมองที่ผลิตเซโรโทนินมีปริมาณต่ำ ขาดตัวรับสารเซโรโทนิน สารเซโรโทนินไปไม่ถึงตัวรับ หรือการขาดกรดอะมิโนทริพโตเฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารเซโรโทนิน ถ้ามีข้อบกพร่องทางชีวะเคมีเหล่านี้เกิดขึ้น นักวิจัยก็เชื่อว่านั่นจะนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ความหวาดวิตก อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง และอารมณ์โกรธเกินควร ยาต้านซึมเศร้าที่ใช้ได้ผลในการเพิ่มระดับเซโรโทนินก็คือ ยาในกลุ่ม SSRIs (Selective […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โดพามีน สารเคมีแห่งความสุขและความฮึมเหิมที่ร่างกายขาดไม่ได้

โดพามีน (Dopamine) มีผลต่อสุขภาพจิตของคนเรามาก ถ้าคุณตื่นขึ้นมาพร้อมกับความห่อเหี่ยวใจจิตใจ ร่างกายของคุณอาจจะขาดสารโดพามีนก็ได้นะ สารโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกฮึกเหิม ซึ่งถ้าใครมีสารเคมีชนิดนี้ไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและเจ้าอารมณ์ ยังนำไปสู่อาการผิดปกติทางจิตในระดับต่างๆ กันด้วย ฉะนั้น มาทำความรู้จักกับสารสื่อประสาทชนิดนี้ แล้วหาทางป้องกันและเยียวยากันซะ [embed-health-tool-heart-rate] โดพามีน คืออะไร โดพามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้รู้สึกดีชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับสารเซโรโทนิน อ็อกซีโทซิน และเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่างด้วยกัน สารชนิดนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “โมเลกุลแห่งความฮึกเหิม” ที่ทำให้เรารู้สึกมีแรงผลักดันและความมุ่งมั่นในการที่จำทำอะไร และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “สารเคมีแห่งความสุข” เนื่องจากเป็นตัวควบคุมระบบความรู้สึกพึงพอใจในสมอง สารโดพามีนมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งทางด้านอารมณ์ การนอนหลับ การเรียนรู้ การมีสมาธิในการทำอะไร ควบคุมการเคลื่อนไหว และความทรงจำในการทำงาน อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดสารโดพามีน การขาดสารโดพามีนจะทำให้ชีวิตเหี่ยวเฉา เฉื่อยชา ไร้ความหวัง และเศร้าสร้อย นอกจากนี้ยังทำให้เราเริ่มต้นทำสิ่งใดหรือต้องการทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ยากด้วย ฉะนั้น ลองสำรวจตัวเองดูนะว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือเปล่า อ่อนเพลีย ขาดแรงจูงใจ ไม่สามารถทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจขึ้นมาได้ นอนไม่หลับ ลุกจากที่นอนในตอนเช้าๆ ได้ยากเย็นมาก อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขี้หลงขี้ลืม สูญเสียความทรงจำ ไม่มีสมาธิจะทำอะไรได้ ไม่มีความต้องการทางเพศ อยากกินอะไรหวานๆ อยากกินอะไรที่มีคาเฟอีน ไม่สามารถรับมือกับความเครียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำไมเราจึง ฝัน ความฝันเป็นลางบอกเหตุอะไรหรือเปล่า...เรามีคำตอบ

ฝัน ทำไมเราจึงฝัน ความฝันเกิดจากอะไร ความฝันมีความหมายอะไรหรือเปล่า คำถามพวกนี้แม้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาจะยังตอบได้ไม่ชัดเจน แต่ก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้น ที่ทำให้เราพอจะเข้าใจที่มาที่ไปของความฝันนั้นได้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความ ฝัน ถึงแม้เราจะจำความฝันไม่ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างก็คิดว่าในคืนๆ หนึ่งนั้น เราจะฝันกัน 3 ถึง 6 เรื่อง เชื่อกันว่าความฝันแต่ละเรื่องนั้น มีความยาวประมาณ 5 ถึง 20 นาที เมื่อตื่นขึ้นมานั้น คนเราจะลืมความฝันถึงประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ความฝันสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ และพัฒนาความทรงจำในระยะยาวได้ ผู้พิการทางสายตา มักจะฝันเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทางด้านอื่น ได้มากกว่าคนสายตาดี ทำไมเราถึงต้องฝัน มีอยู่หลายทฤษฎีที่อธิบายว่า ทำไมเราถึงต้องฝัน ความฝัน เป็นส่วนหนึ่งของวงจรในการนอนหลับของคนเราหรือเปล่า? หรือความฝันเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น? ซึ่งคำชี้แจงที่อาจจะช่วยให้เราคลายความสงสัยลงได้มีดังต่อไปนี้ ความฝันเป็นตัวแทนของความปรารถนา และความต้องการจากจิตใต้สำนึก ความฝันเป็นการถอดความหมายของสัญญาณต่างๆ ที่ส่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายในขณะที่เรานอนหลับ ความฝันเป็นการรวบรวม และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่เราได้รับมาตลอดทั้งวัน ความฝันทำหน้าที่เป็น ‘จิตบำบัด‘ อย่างหนึ่ง จากหลักฐานและวิธีการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ นักวิจัยก็สันนิษฐานได้ว่า ความฝันเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานดังต่อไปนี้ กลั่นกรองความทรงจำในขณะนอนหลับ ซึ่งสมองได้ทำการรวบรวมการเรียนรู้ และภาระกิจทางด้านความทรงจำต่างๆ และบันทึกการรับรู้ในขณะที่ตื่นอยู่เอาไว้ จัดเตรียมภาพจำลองจากประสบการณ์ในชีวิตจริงไว้ใช้ในอนาคต เนื่องจากความฝันเป็นระบบย่อยของเครือข่ายเริ่มต้นของการตื่น ซึ่งมีบางส่วนของจิตใจยังทำงานอยู่ในขณะที่ฝัน ช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านสติปัญญา สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึกในรูปแบบของจิตวิเคราะห์ เป็นแหล่งรวบรวมประสบการณ์ในปัจจุบัน ประมวลผลประสบการณ์ในอดีต และจัดเตรียมเอาไว้สำหรับอนาคต มีสิ่งที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับความฝันอีกมากมาย ธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ ที่นำมาเรียนรู้ในห้องทดลองได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และเทคนิคในการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ ก็อาจช่วยให้เราเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับความฝันมากขึ้นได้ในอนาคต ความฝันบ่งบอกถึงอะไร ก็เหมือนกับความคิดเห็นต่างๆ นานากับคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงต้องฝันนั่นแหละ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก” หรืออะไรกันแน่?

ฮอร์โมนออกซิโทซิน บางครั้งก็มีชื่อเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน” หรือ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้ออกมา เมื่อผู้คนกอดกันหรือแสดงความรักต่อกัน แม้แต่การเล่นกับน้องหมา ก็ยังทำให้เกิดฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้น ควรจะต้องทำความรู้สึกกับฮอร์โมนชนิดนี้กันให้มากขึ้นได้แล้วล่ะ [embed-health-tool-bmr] ฮอร์โมนออกซิโทซิน คืออะไรกันแน่ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) คือฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่ถูกผลิตขึ้นในสมองส่วนไฮโปธาลามัส แล้วถูกลำเลียงไปยังต่อมใต้สมอง และถูกหลั่งออกมาจากบริเวณนั้น ซึ่งโดยปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย ฮอร์โมนออกซิโทซินมีบทบาทอย่างมากกับการทำงานทางระบบสืบพันธ์ของผู้หญิง ซึ่งมีตั้งแต่กิจกรรมทางเพศ เรื่อยไปจนถึงการคลอดบุตรและการป้อนนมแม่ ซึ่งการกระตุ้นหัวนมก็ทำให้หลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาได้แล้ว ในช่วงการคลอดลูกนั้น ฮอร์โมนออกซิโทซินจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวในมดลูก ทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว ในขณะที่คอมดลูกและช่องคลอดเริ่มขยายใหญ่เพื่อเตรียมคลอดนั้น ฮอร์โมนออกซิโทซินจะถูกหลั่งออกมา ซึ่งยิ่งมีฮอร์โมนออกซิโทซินมาก ก็ยิ่งทำให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ฮอร์โมนออกซิโทซินก็มีบทบาททางด้านสังคมด้วย โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านความผูกพัน การสร้างกลุ่มความทรงจำ การยอมรับทางสังคม และการทำงานทางด้านสังคมอื่นๆ ความเชื่อมโยงระหว่างความรักกับฮอร์โมนออกซิโทซิน ฮอร์โมนออกซิโทซินป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่มีส่วนเชื่อมโยงระหว่างเด็กแรกเกิดกับการป้อนนมแม่ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจ กิจกรรมทางเพศ และการสานสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย ฮอร์โมนชนิดนี้บางครั้งก็ถูกอ้างถึงในชื่อ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะเพิ่มระดับมากขึ้น ในช่วงที่มีการกอด หรือถึงจุดสุดยอด นอกจากยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคซึมเศร้า หวาดวิตก หรือปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2012 นักวิจัยได้รายงานว่า คนที่มีความรักในระยะแรก จะมีระดับฮอร์โมนออกซิโทซินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนโสด  ซึ่งระดับออกซิโทซินจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปได้อย่างน้อย 6 เดือน มีการพบว่ากิจกรรมทางเพศ ก็ช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินด้วยเช่นกัน และยังมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคซึมเศร้า เป็นกรรมพันธุ์ที่ส่งต่อกันในครอบครัวหรือเปล่า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหากันอยู่ว่า มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่มีผลการศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้า อาจจะมาจากหน่วยพันธุกรรมของเรา หากสมาชิกในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคนี้ ลองมาอ่านบทความนี้กันดูสิคะ เพื่อที่จะได้รู้ว่า โรคซึมเศร้านั้น เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทาง กรรมพันธุ์ กันได้รึเปล่า โรคซึมเศร้าต่างจากความเศร้าตามปกติยังไง คนเราก็มักต้องพบเจอกับเรื่องเศร้าๆ ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อย แต่คนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีอาการรุนแรง ที่ต่างจากความรู้สึกเศร้าตามปกติเยอะ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะมีอาการเศร้าอยู่นานหลายๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาการที่พบได้บ่อยๆ ก็ได้แก่ ร้องไห้น้ำตาพรั่งพรู รู้สึกหมดหวังหรือไม่มีค่า ไม่อยากอาหาร มีปัญหาทางด้านการนอนหลับ สูญสิ้นพลัง ไม่มีความต้องการทางเพศ แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนและครอบครัว หรือแม้แต่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า เป็น กรรมพันธุ์ หรือเปล่า คุณอาจจะเห็นคุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งการที่ต้องเฝ้าดูพวกเขาต้องทนทุกข์กับอาการซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่การเห็นอาการแบบนั้นบ่อยๆ จะทำให้คุณมีอาการเดียวกับพวกเขาได้มั้ย? มีการประเมินกันว่าผู้คนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์มักจะต้องประสบพบเจอกับอาการซึมเศร้าในชีวิตไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง ซึ่งอาการซึมเศร้าแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในหมู่ญาติพี่น้องและเด็กๆ คนที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้าจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึงห้าเท่า ผลการศึกษาวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยพันธุกรรมกับโรคซึมเศร้า พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้นั่นเอง ยีนภาวะซึมเศร้า ทีมนักวิจัยในประเทศอังกฤษได้ค้นพบยีนตัวหนึ่ง ที่ปรากฎอย่างแพร่หลายในสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า มีการพบโครโมโซม 3p25-26 ในครอบครัวมากกว่า 800 ครอบครัว ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ […]


การจัดการความเครียด

ข้อดี ข้อเสีย ของการเยียวยาจิตใจด้วย การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

สุขภาพจิตก็เหมือนสุขภาพกาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีแก้ไขหรือเยียวยา  และวิธีการทีเรียกว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ก็เป็นหนึ่งในวิธีการบำบัดที่ใช้รักษาอาการทางจิตใจหลากหลายแบบ ข้อดี และ ข้อเสีย ของ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ด้วยวิธีนี้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หมายถึงอะไร การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) เป็นการบำบัดโดยการพูดคุยประเภทหนึ่ง โดยนักบำบัดจะพูดคุยกับคุณเพื่อค้นหาปัญหาที่ซ่อนอยู่ และทำให้ปัญหานั้นเป็นเรื่องเล็กลง สามารถจัดการได้สะดวกขึ้น วิธีการนี้จะชี้ให้คุณเห็นว่า คุณสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีคิดและพฤติกรรมได้อย่างไร การบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม หรือการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมนี้ มักใช้เพื่อลดอาการวิตกกังวล รักษาอาการซึมเศร้า รวมถึงความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder – OCD) โรคตื่นตระหนก ความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-traumatic stress disorder -PTSD) โรคกลัว (Phobia) พฤติกรรมการกินผิดปกติ พฤติกรรมการนอนผิดปกติ ดื่มสุรามาก โรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น ลำไส้แปรปรวน (IBS) และอาการล้าเรื้อรัง (CFS) การบำบัดวิธีนี้อาจไม่ได้ส่งผลต่อโรคทางกาย หรือสามารถใช้รักษาโรคทางกายได้โดยตรง แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับโรคทางกายที่เป็นได้ดีขึ้น ข้อดี และ ข้อเสีย ของ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ข้อดี การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมมีประสิทธิภาพดี ในผู้ป่วยรายที่รู้สึกว่าใช้ยารักษาอย่างเดียวแล้วอาการไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ การบำบัดวิธีนี้ยังมีรูปแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความสุข ที่ใครๆ ก็อยากมี คุณรู้จักมันดีแล้วหรือ

ความสุข ของคุณคืออะไร คำถามที่ยากแก่การหาคำตอบ หลายล้านคนบนโลกไม่สามารถหาคำตอบของคำถามนี้ได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา นักศาสนา หลายคน พยายามค้นหาว่าความจริงว่า แล้วแก่นแท้ของความสุขคืออะไร และสิ่งใดคือปัจจัยที่กำหนดความสุขของเรา และความสุขง่ายๆของเราเริ่มจากอะไร ความสุข คืออะไร  แม้ว่าบนโลกนี้ จะมีคนนิยามความหมายของความสุขไว้มากมาย แต่จุดร่วมของความหมายที่มีความคล้ายคลึงกันความสุขทางกาย และความสุขทางใจที่แต่ละคนมี นั่นก็มีสิ่งที่ก่อให้เกิดสุขที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า คนเรามักจะคิดแต่เรื่องทำให้จิตใจเศร้าหมอง คิดแต่เรื่องที่ทำไม่ดี ข้าวของที่หายหกตกหล่นไป และสิ่งของที่ยังขาดอยู่ แทนที่จะพอใจในสิ่งที่มีอยู่สมใจอยู่แล้ว ที่จริงเราควรจะหาความสุขในชีวิตกันไว้ เพราะเหตุว่าชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก โดยมีความเห็นว่า ความสุขไม่ได้ขึ้นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว อย่างเช่น รักแท้ ความมั่งมี หรือการงานอันท้าทาย หากแต่เป็นเรื่องซับซ้อนยิ่งกว่านั้น นักจิตวิทยา ทาล เบน ซาร์ฮาร์ นักจิตวิทยาตะวันตกได้นิยามความสุขไว้ว่า เป็นประสบการณ์โดยรวมของความพึงพอใจและการมีจุดหมายในชีวิต โดยอธิบายว่าคนมีที่ความสุข จะมีอารมณ์บวกที่เกิดขึ้นจากความพึงพอใจในปัจจุบัน และมีจุดหมายในชีวิตเป็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในมุมมองนี้ไม่ได้ปล่อยให้ความสุขเป็นเพียงความพอใจ หรือความสุขสบายที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ในระยะยาว ที่ก่อให้เกิดความสุขในระยะยาวต่อไป พุทธศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ความสุข หมายถึง ความสบายกาย สบายใจ อยู่ดีมีสุข อยู่เย็นเป็นสุขหรือพบกับความสุขสมหวัง ซึ่งเป็นการสนองต่อความต้องการ เป็นความสมอยาก สมปรารถนาทั้งทางประสาทสัมผัส […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ร้องไห้ เป็นสัญญาณของความอ่อนแอจริงหรือ

การ ร้องไห้ คือสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่รับรู้ว่า นี่เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ แต่เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ? นักวิจัยได้เผยว่าการร้องไห้นั้น จะเป็นสัญญาณของความอ่อนแอหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และการร้องไห้ก็ไม่ได้ไร้ประโยชน์ไปเสียทีเดียว เพราะการร้องไห้ไม่เพียงแต่จะช่วยทำความสะอาดตา แต่ยังมีประโยชน์ทางด้านจิตใจอื่น ๆ อีกด้วย ทำไมเราถึง ร้องไห้ ความสุขและความเศร้า อาจจะเป็น 2 ด้านที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงของเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงร้องไห้ แต่นั่นก็ฟังดูง่ายเกินไป เพราะเราร้องไห้ด้วยเหตุผลที่มากกว่านั้น มันจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราเผลอตัว แล้วปล่อยให้ตัวเองอ่อนไหวไปสักชั่วขณะหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เรามักจะร้องไห้ เพราะรู้สึกเศร้าและเจ็บปวด แต่เราก็สามารถร้องไห้ให้กับสิ่งที่สวยงามได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เรายังสามารถร้องไห้ เนื่องจากความรู้สึกอึดอัด ไม่พอใจ หรือกำลังอยากเรียกร้องความสนใจจากใครสักคน ในแบบที่สิ้นหวังเป็นอย่างยิ่ง การร้องไห้ ยังมีหน้าที่อื่นที่มากไปกว่านั้น อย่างเช่น เพื่อพยายามชักจูงคนอื่นให้ทำตามใจตัวเอง เพื่อให้ได้การยอมรับจากคนที่กำลังมองดูอยู่ แม้สาเหตุที่ทำให้เราร้องไห้นั้นจะมีอยู่มากมาย แต่ประเภทของการร้องไห้ที่เราจะกล่าวถึงนี้ คือการร้องไห้ที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทางจิตใจ การร้องไห้และสุขภาพทางอารมณ์ อาการน้ำตาคลอด้วยอารมณ์อันล้นเหลือ สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสมองได้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ทุกครั้งที่เราร้องไห้เนื่องจากความเครียด หรืออะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ในน้ำตาของเราจะมีสารอย่างอื่นนอกจากน้ำอีกด้วย มีการค้นพบฮอร์โมนความเครียดในน้ำตา เช่นเดียวกับสารพิษที่ก่อตัวขึ้นมาในขณะที่เราเครียด ยิ่งกว่านั้น ก็มีรายงานว่ามีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมาในน้ำตาด้วย ซึ่งทำให้เรารู้สึกดีขึ้นออกมา โดยทำหน้าที่เหมือนยาแก้ปวดตามธรรมชาติ จากที่กล่าวมา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชีวิตมันแย่ หรือคุณก็แค่เสพติด การสงสารตัวเอง

การสงสารตัวเอง คือหนึ่งในสิ่งที่ควรระวังที่สุด เพราะหากรู้สึกสงสารตัวเองตลอดเวลา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ เราเข้าใจดีว่า เมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกแย่ได้ง่าย ๆ แต่การแยกตัวออกจากความเป็นจริง กับการเปรียบเทียบตัวคุณกับคนอื่น ๆ นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การสงสารตัวเองทำให้คนที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นเหยื่อ รู้สึกพึงพอใจและสบายใจในแบบผิด ๆ และคุณเชื่อไหมว่า หากทำบ่อย ๆ เข้าสามารถกลายเป็นอาการเสพติดได้ด้วย บทความนี้ Hello คุณหมอ มีสาระที่น่าสนใจมากคุณผู้อ่านทุกท่าน การสงสารตัวเอง คืออะไร ก่อนจะข้ามไปสู่วิธีการกำจัดอาการสงสารตัวเอง เราต้องเรียนรู้ก่อนว่า การสงสารตัวเองคืออะไรกันแน่ และมีอาการอย่างไรบ้าง ซึ่งคนที่มีอาการสงสารตัวเองมักจะมีอาการ ดังนี้ รู้สึกเสียใจ ซึมเศร้า และไม่พอใจชีวิตของตัวเอง คุณรู้สึกว่าการยอมรับสถานการณ์ที่เข้ามาในชีวิตโดยที่คุณไม่ได้ปรารถนาจะให้มันเข้ามานั้นเป็นเรื่องยากมาก โหยหาความเห็นอกเห็นใจ ความสนใจ และการกระตุ้นอารมณ์จากผู้อื่น สิ่งนี้มาจากกระบวนการทางความคิดแบบสุดโต่ง และความต้องการการสนับสนุนทางอารมณ์ และการเอาอกเอาใจ พึงพอใจที่จะอยู่กับอดีตมากกว่าปัจจุบัน หรืออนาคต คุณไม่สามารถก้าวผ่าน หรือสลัดความผิดพลาดที่คุณเคยทำไว้ได้ เหตุการณ์ที่น่าเศร้าเหล่านั้น ทำให้คุณติดอยู่ในห้วงอดีต มีความนับถือในตัวเองน้อยมาก หรือไม่มีเลย คุณเลยต้องหาความเข้าใจและการสนับสนุนจากผู้อื่น เพื่อให้คุณรู้สึกดีกับตัวคุณมากขึ้น หรือเพื่อได้ยินว่าคุณนั้นเข้มแข็ง แต่ไม่ต้องการที่จะรับมันไว้ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือไม่คู่ควรกับสิ่งใดเลยแม้แต่ความรัก ทำให้คุณแยกตัวออกมาจากคนที่รักคุณ และคนที่คุณให้ความสำคัญ รู้สึกผิดอยู่เสมอ กับสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ การสงสารตัวเองทำให้รู้สึกว่าตัวเองกลายเหยื่อตลอดเวลา คิดว่าความผิดต่าง ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน