backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ช่องคลอดหดเกร็ง ประเภท สาเหตุ วิธีรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/02/2023

ช่องคลอดหดเกร็ง ประเภท สาเหตุ วิธีรักษา

ช่องคลอดหดเกร็ง เป็นภาวะที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นหารสอดใส่ หรือว่าผ้าอนามัยแบบสอด เมื่อมีการสอดใส่จะทำให้ผู้หญิงรู้สึกเจ็บปวดมากๆ จนบางครั้งไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์

ช่องคลอดหดเกร็ง คืออะไร

กล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดในผู้หญิงบางคน มักจะหดตัวโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในช่องคลอด ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า ช่องคลอดหดเกร็ง (Vaginismus) ซึ่งภาวะช่องคลอดหดเกร็งทำให้ เมื่อมีเพศสัมพันธ์จะสร้างความเจ็บปวดให้ผู้หญิงเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เลยทีเดียว ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเริ่มมีการสอดใส่ การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด และเมื่อมีการสัมผัสบริเวณช่องคลอด

อาการช่องคลอดหดเกร็งนั้น ไม่ส่งผลต่อการเร้าอารมณ์ทางเพศ แต่จะเกิดปัญหาเมื่อมีการสอดใส่ และการตรวจอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงก็ไม่ทำให้พบสาเหตุของการเกิดอาการช่องคลอดหดเกร็ง ซึ่งความผิดปกติทางเพศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและ ผู้หญิง แม้อาการช่องคลอดหดเกร็งจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคู่ของคุณได้

ประเภทของช่องคลอดหดเกร็ง

ช่องคลอดหดเกร็งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  • Primary Vaginismus เป็นรูปแบบของอาการช่องคลอดหดเกร็งที่ ไม่สามารถสอดใส่เข้าไปได้เลย
  • Secondary Vaginismus เป็นรูปแบบของอาการช่องคลอดหดเกร็งที่ ผู้ชายสามารถสอดใส่เข้าไปได้ แต่ไม่สามารถทำกิจกรรมทางเพศในครั้งต่อไปได้ เพราะปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และการได้รับประสบการณ์ที่เลวร้ายในการมีเพศสัมพันธ์

ผู้หญิงบางคนจะมีอาการช่องคลอดหดเกร็ง หลังจากเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การขาดสารหล่อลื่นในช่องคลอดและความยืดหยุ่น ทำให้เวลามีมีเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดความเครียดด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถนำไปสู่ภาวะช่องคลอดหดเกร็งในผู้หญิงบางคนได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการช่องคลอดหดเกร็ง

สาเหตุของการเกิดอาการช่องคลอดหดเกร็งนั้น แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุและที่มาอย่างแน่ชัด แต่ว่าจากการวิเคราะห์แล้วความวิตกกังวลและความกลัวการมีเพศสัมพันธ์อาจมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับอาการช่องคลอดหดเกร็ง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจริงๆ แล้ว ความวิตกกังวลหรือว่าอาการช่องคลอดหดเกร็งอาการใดเกิดขึ้นก่อนกัน

อย่างไรก็ตามผู้หญิงบางคนก็มีภาวะช่องคลอดหดเกร็งได้ในทุก ๆ สถานการณ์ เมื่อมีวัตถุหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอดไม่ใช่เพียงแต่การมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดด้วย แต่ความเจ็บปวดที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาการช่องคลอดหดเกร็งเพียงอย่างเดียว ยังมีปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอีก ซึ่งอาจะเกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

วิธีแก้ปัญหาช่องคลอดหดเกร็ง

อาการช่องคลอดหดเกร็งเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ ด้วยการได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือการออกกำลังกาย โดยวิธีการรักษา มีดังนี้

การบำบัดทางแพทย์และการเข้ารับคำปรึกษา

การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการเรียนรู้หลักหารทำงานของร่างกาย โดยอาจจะเริ่มจากการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นขณะเร้าอารมณ์และการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกล้ามเนื้อที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับช่องคลอด ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าทำงานอย่างไร และร่างกายนั้นจะตอบสนองอย่างไร

นอกจากนี้ยังมีการให้คำปรึกษา โดยสามารถเข้ารับการปรึกษาได้ทั้งแบบคนเดียวและให้คำปรึกษาพร้อมคู่ของคุณ ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความผิดปกติทางเพศ ที่อาจเป็นประโยชน์กับคุณ รวมถึงเทคนิคการผ่อนคลายและการสะกดจิตที่ช่วยส่งเสริมการผ่อนคลายและช่วยให้รู้สึกสบายใจกับการมีเพศสัมพันธ์

การใช้อุปกรณ์ขยายช่องคลอด

แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำ ให้คุณเรียนรู้การใช้เครื่องขยายช่องคลอด ซึ่งจะต้องใช้เครื่องขยายช่องคลอดภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเครื่องขยายช่องคลอดจะเป็น แท่งทรงกรวย ใช้สำหรับสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้ขยายใหญ่ขึ้นและช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

การออกกำลังกายแบบคีเกล (Kegel)

การออกกำลังกายแบบคีเกล เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้เกิดความกระชับและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งควบคุมช่องคลอด ไส้ตรงและกระเพาะปัสสาวะได้ซึ่งการฝึกนี้ จะช่วยให้การหดตัวของกล้ามเนื้อและช้วยผ่อนคลายได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา