สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ไส้เลื่อนในผู้หญิง อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

ไส้เลื่อนในผู้หญิง คือภาวะที่ลำไส้เคลื่อนที่มายังผนังช่องท้อง ส่งผลให้เกิดอาการบวม โดยเฉพาะในบริเวณหน้าท้อง สะดือ ขาหนีบ และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องคล้ายกับเวลามีประจำเดือน หากพบว่ามีอาการปวดท้องผิดปกติ และมีอาการบวม ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] ไส้เลื่อนคืออะไร ไส้เลื่อน คือ อาการที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมมายังผนังช่องท้อง จนมองเห็นเป็นลักษณะก้อนกลม บวม สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายจุด เช่น หน้าท้อง สะดือ สะโพก ขาหนีบ โดยทั่วไปแล้วไส้เลื่อนไม่ถือว่าเป็นอันตรายที่รุนแรง แต่ถึงอย่างนั้นไส้เลื่อนก็ไม่สามารถหายเองได้ และจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะก่อให้เกิดอันตราย ไส้เลื่อนในผู้หญิง เป็นอย่างไร อาการไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้น ช่วงระยะแรกจะไม่มีอาการใดให้สังเกตหรือรู้สึกได้ อาจจะต้องใช้เวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปีจนกว่าจะมีอาการแสดงออกมา แต่ถ้าหากไส้เลื่อนไปเกิดตรงบริเวณที่ผนังหน้าท้องมีความบอบบาง จะก่อให้เกิดอาการปวดท้องขึ้นมา มากไปกว่านั้น อาการปวดไส้เลื่อนในผู้หญิงที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ก็คือ มีอาการปวดแบบเรื้อรังที่กระดูกเชิงกรานอย่างเฉียบพลัน และปวดเป็นระยะเวลานาน ไส้เลื่อนในผู้หญิง แตกต่างจากไส้เลื่อนในผู้ชายอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว อาการของ ไส้เลื่อน ในผู้หญิงและไส้เลื่อนในผู้ชายจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก จะต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีความลึกลงไปในร่างกาย ทำให้ยากต่อการสังเกต ขณะที่ไส้เลื่อนในผู้ชายจะสามารถมองเห็นเป็นก้อนเนื้อนูน ๆ ได้ชัดเจนกว่า หรือเป็นก้อนนูนที่ใหญ่กว่าไส้เลื่อนในผู้หญิง การวินิจฉัยไส้เลื่อนในผู้หญิง วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ คือการสังเกตดูว่ามีก้อนนูน ๆ ขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง หน้าขา หรือขาหนีบหรือไม่ หรือหากรู้สึกว่ามีอาการปวดเชิงกรานแบบเรื้อรัง ปวดขึ้นมาแบบเฉียบพลันและใช้เวลานานมากแต่ละครั้งกว่าอาการปวดจะหายไป หากมีลักษณะอาการดังกล่าว […]


สุขภาพทางเพศ

ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่

ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง เป็นอาการที่เกิดเมื่อถึงจุดสุดยอด แต่ไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิออกมา หรือหลั่งออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอาการถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่งอาจเกิดจากพันธุกรรม การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง หรือกระเพาะปัสสาวะออก แม้อาการที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อยากมีลูกได้  [embed-health-tool-ovulation] ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง คืออะไร ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง (Dry Orgasm) คือ ปัญหาสุขภาพทางเพศที่อาจเกิดขึ้นเมื่อถึงจุดสุดยอด แต่ไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิออกมา หรือหลั่งออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอาการถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่งอาจเกิดจากพันธุกรรม การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง หรือกระเพาะปัสสาวะออก แม้อาการที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อยากมีลูกได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว หรืออาจจะเกิดขึ้นตลอดไปก็ได้ ซึ่งจะเป็นไปตามปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของอาการ ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง เหตุผลที่ทำให้เกิดอาการถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง อาจมีดังนี้ การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดที่บริเวณต่อมลูกหมาก อัณฑะ กระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมน้ำเหลือง อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือส่งผลต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการถึงจุดสุดยอดหรือการหลั่งน้ำอสุจิ หรืออาจส่งผลให้ถุงน้ำเชื้อเกิดความแห้งแบบถาวรจนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งน้ำอสุจิหรือการปัสสาวะได้ ความผิดปกติของการลำเลียงน้ำอสุจิ อาการถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง อาจเกิดขึ้นจากการที่เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้ว แทนที่น้ำอสุจิจะหลั่งออกมาที่องคชาต แต่กลับกลายเป็นว่าน้ำอสุจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแทน ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาโรค อาการทางสุขภาพอื่น ๆ หรือการผ่าตัดเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก  ความผิดปกติทางพันธุกรรม อาการถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง อาจมีผลมาจากความผิดปกติของพันธุกรรมระบบสืบพันธุ์เพศชาย ถุงน้ำเชื้ออาจมีการผลิตน้ำเชื้อน้อยจนเกินไป ไม่มากพอที่จะหลั่งออกมา หรือหลั่งออกมาน้อย การถึงจุดสุดยอดซ้ำ ๆ หลายครั้ง ในหนึ่งวันหากมีการสำเร็จความใคร่หรือมีเซ็กส์มากกว่าหนึ่งครั้ง การถึงจุดสุดยอดหลายครั้งต่อวัน หรือถึงจุดสุดยอดแบบซ้ำ ๆ โดยมีระยะห่างกันแค่เพียงไม่กี่สิบนาที อาจทำให้น้ำอสุจิแห้ง หรือผลิตออกมาไม่ทัน […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

วิธีเล้าโลม เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศก่อนร่วมรัก

วิธีเล้าโลม หมายถึง การกระตุ้นอารมณ์ทางเพศก่อนการมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสัมผัสไปตามอวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการขบ เม้ม เลีย ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายแต่ละคนนั้นจะมีจุดอ่อนไหวที่แตกต่างกัน หากรู้จักวิธีเล้าโลมเพื่อเพิ่มอารมณ์ทางเพศแล้วก็จะยิ่งสร้างความพึงพอใจให้กันและกันทำให้โอกาสในการถึงจุดสุดยอดของคู่รักนั้นมีมากขึ้นด้วย คู่รักแต่ละคู่ควรเรียนรู้วิธีเล้าโลมอีกฝ่ายว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อสร้างความสุขและกระชับความสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] การเล้าโลมสำคัญอย่างไร การเล้าโลม (Foreplay) เป็นหนึ่งในกิจกรรมทางเพศที่คู่รักหลาย ๆ คู่อาจมองข้าม เพียงแค่รู้สึกว่ามีความต้องการทางเพศก็มุ่งไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสอดใส่ในทันที ซึ่งปัญหาที่มักจะตามมาข้อแรก ๆ ก็คือ การไม่สุขสมอารมณ์หมายหรือการไม่ถึงจุดสุดยอดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งคู่ การเล้าโลมจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศของอีกฝ่ายให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย มีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่มากมาย การเล้าโลมอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งแม้เพียงไม่กี่นาที ก็สามารถปลุกเร้าอารมณ์ของอีกฝ่ายให้เข้าใกล้ความสุขที่เรียกว่าจุดสุดยอดได้  นอกจากนี้ การเล้าโลม ยังเป็นการอุ่นเครื่องให้ร่างกายพร้อมสำหรับกิจกรรมทางเพศด้วย การเล้าโลมไปที่จุดเสียวของอีกฝ่าย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มักจะถึงจุดสุดยอดได้ยากกว่าผู้ชาย การเล้าโลม ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ช่องคลอดเกิดการขยายตัว มีน้ำหล่อลื่นออกมา ทำให้เซ็กส์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นไปได้ด้วยดี ไม่เกิดการติดขัด หรือเจ็บปวด และมีโอกาสถึงจุดสุดยอดได้เร็วขึ้น วิธีเล้าโลม ทำได้อย่างไรบ้าง วิธีเล้าโลมคู่รักนั้นทำได้ด้วยการใช้ปาก มือ หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสไปตามอวัยวะหรือจุดอ่อนไหวของอีกฝ่าย ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศให้มีมากขึ้น วิธีเล้าโลมอาจเลือกการจูบ ขบ เม้ม ลูบ เลีย คลำ ดูด […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การทำใจยอมรับ เมื่อรู้ว่าติดเชื้อ HIV

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) ส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาวะอารมณ์แปรปรวน อันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า การถูกตีตราทางสังคมจนทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางด้านจิตใจ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรเรียนรู้วิธีการทำใจยอมรับเมื่อรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV [embed-health-tool-ovulation] ปฏิกิริยาของผู้ป่วย ติดเชื้อ HIV แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากติดเชื้อเอชไอวี และเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อทราบข่าวจะมีปฏิกิริยาปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ เช่น ไม่ยอมรับความจริง โกรธคนที่ทำให้ติดเชื้อ (อาการแสดงออกมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลมีอาการตอบสนองแตกต่างกัน) ดังนั้นแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษา รวมถึงผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องเข้าใจโดยปฏิกิริยาเหล่านี้  คุณหมอเรียกว่า “ปฏิกิริยาของความโศกเศร้า” หรือ “Stage of grief” แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้ ระยะปฏิเสธ (Denial) เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่สามารถรับความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ระยะโกรธ (Anger) ความผิดหวังที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกโกรธ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้น บุคคลที่ทำให้ติดเชื้อ รวมถึงแพทย์ที่ทำการรักษา ระยะต่อรอง (Bargaining) การร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อยากให้หายจากโรคนี้ ระยะซึมเศร้า (Depression) ระยะนี้ผู้ติดเชื้อเริ่มยอมรับกับความจริงที่เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่ง  ต้องคอยระวังอารมณ์เพราะอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า […]


สุขภาพทางเพศ

ใส่บราผิดขนาด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

สำหรับหลาย ๆ คน การใส่เสื้อชั้นในอาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หรือบางครั้งเสื้อชั้นในที่หลวมเกินไป จนสายเสื้อชั้นในหลุดไหล่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความรำคาญ และอึดอัดให้กับเราเท่านั้น ปัญหาการ ใส่เสื้อชั้นในผิดขนาด อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่มาจากการเลือก ใส่บราผิดขนาด พร้อมเทคนิคการเลือกบราอย่างไรให้พอดีมาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-ovulation] ใส่บราผิดขนาด ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ระคายเคืองผิวหนัง การใส่บราที่แน่นเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ เช่น ผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ เกิดผื่นที่มาจากความร้อน เป็นลมพิษ การใส่เสื้อชั้นในที่รัดรูปเกินไป จะทำให้มีเหงื่อมากกว่า จนทำให้เกิดการอักเสบที่รูขุมได้ อีกทั้งยังทำให้เชื้อราและแบคทีเรียแทรกซึมเข้าไปในผิวหนังได้ง่ายและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ มีอาการกรดไหลย้อน การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นเกินไป อาจทำให้เกิดแรงกดที่ช่องท้อง จนทำให้อาการกรดบริเวณช่องท้องไหลย้อนขึ้นมาถึงที่ลำคอ จนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน ปวดลำตัวส่วนบน การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นหรือหลวมไปจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว จนบางครั้งเกิดอาการปวดไหล่และปวดหลังได้ สำหรับผู้ที่ซื้อเสื้อชั้นในมาหลวมเกินไป ก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการปรับสายเสื้อในให้ตึงขึ้น ซึ่งบางครั้งสายอาจจะตึงไปจนทำให้เกิดอาการปวดไหล่ได้ แต่สำหรับผู้ที่เลือกใส่เสื้อชั้นในที่แน่นเกิดไป เมื่อไรไปแล้วอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ บุคลิกภาพไม่ดี การใส่เสื้อชั้นในผิดขนาด นอกจากจะทำให้รู้สึกปวดไหล่และปวดหลังแล้ว อาการปวดเหล่านั้นยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สวมใส่จนทำให้เกิดปัญหาหลังค่อม ซึ่งปัญหาหลังค่อมไม่เพียงแต่ทำให้เสียบุคลิกภาพเท่านั้น การเดินหลังค้อม หลังงอ จะทำให้เราไม่สามารถหายใจได้สั้นลง ส่งผลให้อากาศเข้าไปในปอดได้อย่างไม่เต็มที่ เลือก เสื้อชั้นใน อย่างไรให้พอดี การเลือกเสื้อชั้นในให้พอดี เหมาะสมกับเรามากที่สุด ไม่ใหญ่ไป ไม่เล็กไป จะช่วยให้การใส่บรานั้นรู้สึกสบายขึ้น ที่สำคัญการเลือกขนาดที่ถูกต้องยังมีส่วนช่วยลดปัญหาสุขภาพได้ด้วย ซึ่งพื้นฐานในการเลือกเสื้อชั้นในควรเลือก ดังนี้ สายรัดรอบอกมีขนาดพอดี การเลือกสายรัดรอบอกควรเลือกขนาดที่มีความพอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคเอดส์ (AIDS) เป็นภาวะสุขภาพที่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีหรือยาที่จะช่วยรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การรักษาด้วยยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อกดไวรัสไว้ในร่างกายไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับโรคที่เป็นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ ก็คือ วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้ได้ วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวี (HIV) การติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดต่อได้จาก 3 ช่องทางหลัก ๆ ได้แก่ ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการทำกิจกรรมทางเพศ เช่น ออรัลเซ็กส์ ติดต่อผ่านทางเลือด เช่น การใช้เข็ดฉีดยาร่วมกัน การติดต่อผ่านอุปกรณ์สัก การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก เชื้อเอชไอวีสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอด และให้นมบุตร การติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นช่องทางที่พบได้บ่อยและสำคัญที่สุดของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่ง นายแพทย์วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม เผยว่า วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง เช่น เลือกขนาดให้เหมาะสม สวมถุงยางอนามัยก่อนสัมผัสอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำไม่ใช่น้ำมัน จะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 90% และถึงแม้ในปัจจุบันจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวีในรูปแบบอื่น ๆ แล้ว แต่ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยเสมอเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์หรือประกอบกิจกรรมทางเพศ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้แล้ว ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ และป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีด้วย การใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี การใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี ที่เรียกว่า “ยาเพร็พ” (Pre-Exposure […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

แนวทางที่ควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่นั้น มักจะถูกเลือกปฏิบัติและกีดกันจากคนในสังคมอยู่เสมอ ความจริงแล้ว ผู้ติดเชื้อนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี  เพื่อทำความเข้าใจ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข [embed-health-tool-ovulation] ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมีโอกาสในการเกิดโรคและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่ โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็เหมือนผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง เหมือนผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถทำได้ เพียงแค่ควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ ว่าเชื้อเอชไอวีนั้นแพร่เชื้ออย่างไร และจะสามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อเอชไอวีได้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการรักษาและการไปปรึกษาคุณหมอเพื่อติดตามการรักษา แนวทางใน การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ เช่น เลือด น้ำนม อสุจิ หรือน้ำหล่อลื่น ดังนั้น คนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีจึงสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้ตามปกติ สามารถรับประทานอาหารร่วมกัน เข้าห้องน้ำ ซักผ้า ใช้สบู่ และใช้ยาสีฟันร่วมกันได้ตามปกติ โดยไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อเอชไอวีแต่อย่างใด ข้อควรปฏิบัติสำหรับ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และตรวจคัดกรองโรค […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

เราสามารถ ติดเชื้อ HIV ได้อย่างไรบ้าง

เชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อไวรัสเอชไอวี จะไปลดจำนวนของ CD4 (Cluster of Differentiation 4) ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนที่มีอยู่บนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด ซึ่งสามารถตรวจนับจำนวนของ CD4 เพื่อใช้แทนการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว โดยสำหรับผู้ที่ ติดเชื้อ HIV จะมีปริมาณของ CD4 ในปริมาณที่ต่ำ หมายถึงระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ ซึ่งระดับของ CD4 ของผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จะอยู่ระหว่าง 500-1,500 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ผู้ป่วยเอชไอวีถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรืออีกชื่อคือ โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อสู้กับการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก นายแพทย์ วิฉกร จิตประพันธ์ แพทย์ประจำคลินิก Pulse สีลม ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อเอชไอวี มาให้อ่านกันค่ะ ว่าการติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดและส่งต่อได้ทางใดบ้าง การ ติดเชื้อ HIV ติดได้อย่างไรบ้าง การติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการดูแลทางการแพทย์อย่างดี […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

HIV โรคเอดส์ ต่างกันอย่างไร

HIV โรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย การเข้าใจความแตกต่างของปัญหาสุขภาพทั้งสองอย่างนี้ อาจช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับ HIV และโรคเอดส์สามารถรับมือได้ดีขึ้น ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] HIV โรคเอดส์ เหมือนหรือแตกต่างกัน   ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อ HIV และ โรคเอดส์ ไว้ดังนี้ การติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus; HIV) คือการติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเข้าไปทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้ เมื่อได้รับเชื้อในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยอาจอยู่ร่วมกับเชื้อชนิดนี้ได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะโรคเอดส์ได้ โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome; AIDS) คือภาวะของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีและไม่ได้รับการรักษาจนนำไปสู่ระยะท้ายของโรคซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงในการเรียกผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยเอดส์ หรือ ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ แต่จะใช้คำเรียกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีแทน อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ประมาณ 80-90% ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี จะไม่มีอาการป่วย เนื่องจากได้รับการรักษา ได้รับยาต้านไวรัส และเรียก ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ว่า “ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี” (People living with HIV) เอชไอวี […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

คริสตอริส คืออะไร อยู่ตรงไหน และวิธีกระตุ้นคริสตอริส

คริสตอริส (Clitoris) หรือ ปุ่มกระสัน เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศที่อยู่เหนือปากช่องคลอดและรูเปิดของท่อปัสสาวะขึ้นไป มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ทรงรี คล้ายไข่มุก คลิทอริสเทียบได้กับองคชาตของอวัยวะเพศชายมองจากภายนอกอาจดูเหมือนคริสตอริสมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่หากตรวจสอบลึกลงไป จะพบว่าคริสตอริสอาจมีขนาดใหญ่ถึง 7-9 เซนติเมตร พื้นผิวของคริสตอริสค่อนข้างบอบบาง ทำให้บางครั้งเมื่อได้รับการกระตุ้นที่รุนแรงเกินไป อาจทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณคริสตอริสได้ การเรียนรู้วิธีกระตุ้นคริสตอริสอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่อาจช่วยให้การทำกิจกรรมทางเพศสุขสมยิ่งขึ้น และไม่ส่งผลเสียต่อคริสตอริสและอวัยวะใกล้เคียง [embed-health-tool-ovulation] คริสตอริส คืออะไร คริสตอริส (Clitoris) หรือ ปุ่มกระสัน เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศที่อยู่เหนือปากช่องคลอด มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ทรงรี คล้ายไข่มุก มองจากภายนอกอาจดูเหมือนคริสตอริสมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่หากตรวจสอบลึกลงไป จะพบว่าคริสตอริสอาจมีขนาดใหญ่ถึง 7-9 เซนติเมตร คริสตอริสมีเส้นปลายประสาทจำนวนมากอยู่ภายใน หากกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศด้วยการสัมผัสที่เหมาะสม มักช่วยให้เกิดอารมณ์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นและถึงจุดสุดยอดได้ สภาวะทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับคริสตอริส ผิวหนังบริเวณคริสตอริสค่อนข้างบอบบาง ทำให้บางครั้งเมื่อได้รับการกระตุ้นที่รุนแรงจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพเหล่านี้ได้ รู้สึกปวดบริเวณปากช่องคลอด หรืออวัยวะเพศ เกิดอาการคันระคายเคืองจากการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น การติดเชื้อจากยีสต์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการคันที่เชื่อมโยงกับมะเร็งปากมดลูก อาการปวดจากการบีบรัดอวัยวะเพศของผู้หญิง เมื่อเกิดอาการดังกล่าวขึ้นอาจขอเข้ารับคำปรึกษาในเบื้องต้นจากคุณหมอ หากเป็นในกรณีที่ไม่รุนแรงมากนัก คุณหมออาจแนะนำการรักษาด้วยการทาครีม หรือยาปฏิชีวนะอย่างสม่ำเสมอ แต่ในกรณีที่รุนแรง เช่น เนื้องอก มะเร็ง ที่เผยลักษณะเป็นก้อน อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพิ่มเติมอย่างทันท่วงที […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน