สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

รักเพศเดียวกัน และข้อควรรู้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ

เรื่องทางเพศเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ และสำหรับ รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) หมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกเชิงชู้สาว และความดึงดูดทางเพศ เช่น รักเพศตรงข้าม รักเพศเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของรสนิยมทางเพศ อาจช่วยให้เข้าใจและปฏิบัติกับแต่ละกลุ่มบุคคลได้ดีขึ้น รสนิยมทางเพศ คืออะไร รสนิยมทางเพศ หรือเพศวิถี (Sexual Orientation) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. เฮเตอโรเซ็กชวล (Heterosexual) กลุ่มที่ดึงดูดบุคคลที่มีเพศตรงข้าม ผู้ที่เป็นเฮเตอโรเซ็กชวล จะมีความรู้สึกทางร่างกายและทางจิตใจ ที่ดึงดูดกลุ่มที่มีเพศตรงข้าม เช่น ผู้ชายดึงดูดผู้หญิง และผู้หญิงดึงดูดผู้ชาย กลุ่มเฮเตอโรเซ็กชวลมีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สเตรท (Straight) 2. โฮโมเซ็กชวล (Homosexual)  กลุ่มที่ดึงดูดบุคคลที่มีเพศเดียวกัน ผู้ที่เป็นโฮโมเซ็กชวล จะมีความรู้สึกทางร่างกายและทางจิตใจ ที่ดึงดูดกลุ่มที่มีเพศเดียวกัน เช่น ผู้หญิงดึงดูดผู้หญิง และผู้ชายดึงดูดผู้ชาย ซึ่งกลุ่มโฮโมเซ็กชวลทั้งเพศชายและเพศหญิง จะใช้คำเรียกในภาษาอังกฤษว่า เกย์ (Gay) และเกย์ที่เป็นผู้หญิงจะมีคำเรียกว่า เลสเบี้ยน (Lesbian) ด้วย 3. ไบเซ็กชวล (Bisexual) กลุ่มที่ดึงดูดบุคคลทั้งเพศหญิงและเพศชาย ผู้ที่เป็นไบเซ็กชวล จะมีความรู้สึกทางร่างกายและทางจิตใจ ที่ดึงดูดทั้งเพศชายและเพศหญิง ทำไมบางคนถึงเป็นโฮโมเซ็กชวล และไบเซ็กชวล นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

เจลหล่อลื่น ชนิด และข้อควรระวังในการใช้งาน

เจลหล่อลื่น (Lubricants) อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ส่งผลดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางอวัยวะเพศ หรือทางทวารหนัก รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ และการใช้อุปกรณ์ทางเลือกสำหรับการร่วมรักอย่างเซ็กซ์ทอย เพราะเจลหล่อลื่นช่วยลดแรงเสียดทานเวลาผิวสัมผัสกัน โดยเฉพาะเมื่อร่วมรักทางทวารหนัก หรือผู้หญิงมีภาวะช่องคลอดแห้ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกชนิดของเจลหล่อลื่นให้เหมาะสม และใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อให้เจลหล่อลื่นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ชนิดของเจลหล่อลื่น เจลหล่อลื่น อาจช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้หญิงมีน้ำหล่อลื่นน้อย หรือมีภาวะช่องคลอดแห้ง นอกจากนี้ เจลหล่อลื่นยังอาจจำเป็นต่อการร่วมรักทางทวารหนัก เนื่องจากร่างกายไม่ได้ผลิตน้ำหล่อลื่นอย่างเพียงพอ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจึงอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนี้ฉีกขาดจนเกิดการติดเชื้อ เจลหล่อลื่นมีหลายประเภท ดังนี้ น้ำ ซิลิโคน ออยล์ ไฮบริด หรือแบบผสม เช่น เจลหล่อลื่นสูตรน้ำและซิลิโคน สูตรน้ำ (Water-based) เจลหล่อลื่นสูตรน้ำ หรือ เจลอเนกประสงค์ (Versatile) อาจเมื่อทำกิจกรรมทางเพศ หรือใช้กับเซ็กซ์ทอยที่ทำมาจากซิลิโคน ที่สำคัญ คือ เจลหล่อลื่นแบบน้ำ ถือว่าปลอดภัยหากใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย ทั้งแบบที่ทำจากยางพารา และถุงยางอนามัยที่ไม่ได้ผลิตจากยางพารา จึงอาจช่วยลดโอกาสที่ถุงยางอนามัยจะฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์ สูตรซิลิโคน (Silicone-based) เจลหล่อลื่นสูตรซิลิโคน ปลอดภัยเมื่อใช้กับถุงยางอนามัย และเป็นชนิดที่ติดทนนาน ทำให้ไม่ต้องทาซ้ำบ่อยเมื่อเทียบกับเจลหล่อลื่นประเภทอื่น แต่ข้อควรระวัง คือ เจลหล่อลื่นชนิดนี้อาจทำให้พื้นผิวของเซ็กซ์ทอยที่ทำมาจากซิลิโคนเสื่อมสภาพ และถ้าเซ็กซ์ทอยมีรอยขีดข่วน หรือสึกหรอ อาจกลายเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย ดังนั้น ถ้าใช้เซ็กส์ทอยควรใช้เจลหล่อลื่นแบบน้ำ สูตรออยล์ (Oil-based) ข้อดีของการใช้เจลหล่อลื่นแบบออยล์ คือ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ผู้หญิงช่วยตัวเอง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ผู้หญิงช่วยตัวเอง หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมกระตุ้นอารมณ์ทางเพศที่กระทำกันโดยทั่วไป กิจกรรมนี้อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยปรับปรุงเรื่องทางเพศ ช่วยผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม หากผู้หญิงช่วยตัวเองบ่อยเกินไปหรือช่วยตัวเองผิดวิธีก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพบางประการได้เช่นกัน [embed-health-tool-ovulation] ผู้หญิงช่วยตัวเอง กับผลต่อสุขภาพ เมื่อผู้หญิงช่วยตัวเอง อาจส่งผลต่อสุขภาพดังนี้ 1. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและการหลั่งฮอร์โมน การช่วยตัวเองทำให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น เลือดจึงลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างพอเพียง ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ การช่วยตัวเองยังช่วยกระตุ้นกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ทั้งยังกระตุ้นการหลั่งสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า เอนดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยคลายเครียด และบรรเทาความเจ็บปวด อีกทั้งเอนดอร์ฟินยังส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศ และอาจช่วยชะลอวัยได้ด้วย 2. อาจช่วยให้กิจกรรมทางเพศดีขึ้น การช่วยตัวเองอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเองและช่วยคลายความวิตกกังวลหรือความรู้สึกอึดอัดเวลามีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเวลาที่ผู้หญิงช่วยตัวเอง จะทำให้รู้จักร่างกายตัวเองดีมากขึ้น รู้ว่าการสัมผัสหรือกิจกรรมเล้าโลมแบบไหนที่ทำให้ตัวเองพึงพอใจ นอกจากนี้ การทดลองทำในสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดี ยังอาจช่วยให้มีประสบการณ์ทางเพศที่ดีขึ้นทั้งต่อตัวเองและคนรัก 3. อาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องทางเพศในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไป และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยคือ การเปลี่ยนแปลงของช่องคลอด โดยเมื่ออายุมากขึ้น ช่องคลอดอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ช่องคลอดสั้นและแคบลง ผนังช่องคลอดหนาและแข็งขึ้น ช่องคลอดแห้ง หรือไม่มีน้ำหล่อลื่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ จนอาจทำให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือรู้สึกไม่มีความสุขเวลามีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนช่วยตัวเอง อาจช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากการช่วยตัวเองจะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะช่องคลอดแคบ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อและความชุ่มชื้นของช่องคลอด รวมถึงอาจช่วยเพิ่มความปรารถนาทางเพศให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ด้วย 4. […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

จุดสุดยอด มีกี่ประเภทและเทคนิคช่วยให้ผู้หญิงสำเร็จความใคร่ได้เร็วขึ้น

จุดสุดยอด คือ ความรู้สึกเสียวขั้นสุดของอารมณ์ทางเพศ ซึ่งเป็นวงจรตอบสนองทางเพศ (Sexual Response Cycle) ระหว่างการร่วมเพศ หรือจากการสัมผัสอวัยวะเพศซึ่งเป็นจุดที่มีประสาทรับความรู้สึกอยู่มาก โดยสมองจะเพิ่มระดับของฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน หรือฮอร์โมนแห่งความรัก ทำให้รู้สึกมีความสุขจากการร่วมเพศหรือจากการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ทั้งนี้ จุดสุดยอดของผู้หญิงนั้นมีหลายประเภทและวิธีการทำให้ถึงจุดสุดยอดขณะมีกิจกรรมทางเพศนั้นมีหลายวิธีเช่นกัน [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของ จุดสุดยอด จุดสุดยอดในผู้หญิงนั้นมีหลายประเภท โดยจุดสุดยอดที่พบบ่อยมากสุด ได้แก่ คลิตอรอล (Clitoral) การสำเร็จความใคร่ประเภทนี้มักรู้สึกบริเวณด้านหน้าของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกเสียวซ่านบนผิวและในสมอง ซึ่งการสำเร็จความใคร่ประเภทนี้ เกิดจากการกระตุ้นปุ่มกระสัน หรือคลิตอริส (Clitoris) ซึ่งเป็นการถึงจุดสุดยอดของฝ่ายหญิง ช่องคลอด (Vaginal) จุดสุดยอดประเภทนี้จะเกิดจากการสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปภายในช่องคลอด เมื่อช่องคลอดถูกกระตุ้นเกิดเป็นความรู้สึกจุดสุดยอดได้ ทวารหนัก (Anal) เป็นการสำเร็จความใคร่ทางทวารหนัก คอมโบ (Combo) เกิดขึ้นเมื่อช่องคลอด โดยเฉพาะบริเวณจีสปอต (G-spot) และคลิตอริสได้รับการกระตุ้นในเวลาด้วยกัน จนทำให้สำเร็จความใคร่ ที่ทำให้ผู้หญิงมีอาการกระตุกเกร็ง และอาจมีการหลั่งน้ำกามได้เช่นกัน ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นน้ำปัสสาวะ โซนกระตุ้นอารมณ์ (erogenous zones) ส่วนต่างๆ บนร่างกายสามารถกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้ เช่น หู คอ หัวนม ข้อศอก และหัวเข่า ซึ่งบริเวณเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อจูบหรือสัมผัส นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ไวต่อความรู้สึก […]


การคุมกำเนิด

ถุงยาง กับความเข้าใจผิด ๆ

ถุงยาง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดและช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากใช้ถูกวิธีและสวมใส่อย่างถูกต้องจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด 98 เปอร์เซ็นต์ แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย  [embed-health-tool-ovulation] ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับถุงยาง 1. ถุงยาง 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่าชั้นเดียว การสวมถุงยางอนามัย 2 ชั้นอาจทำให้เพิ่มแรงเสียดทานระหว่างถุงยางอนามัยซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่ถุงยางอนามัยฉีกขาดได้ ทำให้ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยลดลง 2. ขนาดของถุงยางไม่ใช่ประเด็น เนื่องจาก อวัยวะเพศชายมีขนาดแตกต่างกัน จึงควรใช้ถุงยางให้ถูกขนาดขององชาตแต่ละคน เพราะการใช้ถุงยางที่มีขนาดพอดีกับอวัยวะเพศชายจะช่วยทำให้ถุงยางมีประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิด แต่หากใช้ถุงยางผิดขนาดอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การใช้ถุงยางที่มีขนาดเล็กเกินไป หรือคับเกินไป อาจทำให้ถุงยางขาด รวมถึงในกรณีที่สวมถุงยางขนาดใหญ่เกินไป หรือหลวมเกินไปมักเสี่ยงทำให้ถุงยางอนามัยหลุดออก จึงควรเลือกขนาดถุงยางให้พอดีกับขนาดขององคชาตตนเอง 3. ถุงยางอาจมีรูรั่ว หรือผลิตมาไม่ดี ถุงยางอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภท 2 (Class II Medical Devices) ซึ่งหมายความว่า การผลิตถุงยางอนามัยได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น ถุงยางอนามัยจึงต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรมซึ่งรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังต้องได้รับการทดสอบรูรั่วและข้อบกพร่องอื่น ๆ ในขั้นตอนการผลิต ปัญหาถุงยางมีรูรั่วหรือผลิตมาไม่ดีนั้นพบได้ยากเพราะโดยปกติแล้วปัญหาถุงยางรั่วซึมมักเกิดจากถุงยางหมดอายุหรือเก็บไว้ในที่ร้อนจัด 4. ถุงยางอนามัยใช้ยาก และทำให้ไม่สะดวก มีความเชื่อว่าถุงยางอนามัยใช้ยากและอาจส่งผลต่อให้การมีเพศสัมพันธ์ต้องสะดุด แต่ความจริงแล้ว การใช้ถุงยางอนามัยไม่ได้รบกวนช่วงเวลาแห่งความสุข เนื่องจาก ถุงยางอนามัยมีหลายลักษณะให้เลือกใช้  ทั้งสี ผิวสัมผัส รวมถึงรสชาติต่าง ๆ ซึ่งมักช่วยสร้างความพึงพอใจและเพิ่มความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม หากสวมใส่ถุงยางอนามัยแล้วรู้สึกอึดอัด […]


สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ มีปัญหา อาจเกิดจากโรคซึมเศร้า

สุขภาพทางเพศ มีปัญหา เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยปัญหาสุขภาพทางเพศที่พบส่วนใหญ่ เช่น ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่สามารถสำเร็จความใคร่ ไม่มีอารมณ์ทางเพศ สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าและเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ อาจทำให้สารสื่อประสาททำงานไม่ถูกต้องจนส่งผลต่อวงจรการสื่อสารของสมอง ซึ่งอาจส่งผลต่อเรื่องทางเพศได้เช่นกัน ดังนั้น หากเกิดปัญหาเรื่องทางเพศและโรคซึมเศร้า จึงควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและเรื่องทางเพศ [embed-health-tool-bmi] โรคซึมเศร้าส่งผลต่อ สุขภาพทางเพศ อย่างไร สมองเป็นอวัยวะที่ไวต่อเรื่องทางเพศ โดยความปรารถนาในเรื่องเพศเกิดขึ้นที่สมอง แล้วจึงค่อยไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เนื่องจากสารเคมีพิเศษในสมอง หรือที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) อาจเพิ่มการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง และการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะที่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าและเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ก็อาจส่งผลให้วงจรการสื่อสารของสมองที่เกิดจากสารสื่อประสาททำงานไม่ถูกต้อง โรคซึมเศร้าจึงอาจส่งผลต่อสุขภาพทางเพศของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ยาต้านซึมเศร้ากับเรื่องทางเพศ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าบางรายอาจต้องกินยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) ซึ่งยาต้านซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Serotonin Reuptake Inhibitors หรือ SSRIs) อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อปัญหาเรื่องทางเพศได้ เนื่องจากยาต้านซึมเศร้าอาจส่งผลต่อทางเดินของเส้นประสาทที่ควบคุมการตอบสนองทางเพศ จนทำให้เกิดความผิดปกติทางเพศ และบางครั้งผลข้างเคียงในเรื่องทางเพศอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณของยาที่เพิ่มขึ้น ปัญหา สุขภาพทางเพศ กับ โรคซึมเศร้า หากได้รับยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) อาจมีปัญหาในเรื่องทางเพศ เช่น ไม่รู้สึกดีหรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) หรือภาวะหลั่งช้าของผู้ชาย […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

เซ็กส์เสื่อม ความอ้วน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เซ็กส์เสื่อม คนอ้วน เป็นปัญหาสุขภาพทางเพศของผู้ที่มีน้ำหนักมากผิดปกติ  เช่น ความต้องการทางเพศน้อยลง ไม่มีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ถึงจุดสุดยอด อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เนื่องจากความอ้วนมักส่งผลต่อความปรารถนาทางเพศ ท่าทางและการเคลื่อนไหวขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งความพึงพอใจต่อรูปร่าง และอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วย เซ็กส์เสื่อม กับ ความอ้วน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ความอ้วน อาจส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ความอ้วนอาจไม่ได้ส่งผลแค่ปัญหาทางร่างกายเท่านั้น แต่ส่งผลต่อปัญหาทางจิตใจเช่นกัน โดยคนอ้วนอาจกังวลเรื่องรูปร่างและการเคลื่อนไหวเวลามีเพศสัมพันธ์ งานวิจัยหนึ่งของสมาคม The North American Association for the Study of Obesity ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนอ้วน 928 คนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) มากกว่า 40 และกลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งที่มองหาการรักษาโรคอ้วน รวมถึงมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่มีน้ำหนักปกติด้วย ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับแง่มุมในเรื่องเพศ ได้แก่ ความสุขเวลามีเพศสัมพันธ์ ความปรารถนาทางเพศ ความยากลำบากเวลามีเพศสัมพันธ์ และการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า คนอ้วนเกือบ 25 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาเรื่องเพศ […]


สุขภาพทางเพศ

สีของตกขาว สีไหนปกติ สีไหนบ่งบอกปัญหา

สีของตกขาว โดยปกติแล้วควรมีสีขาวขุ่นหรือสีใส อย่างไรก็ตาม บางครั้งตกขาวก็อาจมีสีอื่น ๆ เช่น สีชมพู สีแดง สีเทา ซึ่งอาจสามารถบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสีของตกขาวอาจช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาวเปรียบเสมือน “แม่บ้าน” ที่คอยดูแลสุขภาพช่องคลอดของสาว ๆ โดยเกิดจากต่อมที่อยู่ในช่องคลอด และปากมดลูก ทำหน้าที่คอยกำจัดเซลล์ และแบคทีเรียในช่องคลอด และส่งออกมานอกร่างกาย ทำให้ช่องคลอดสะอาดป้องกันการติดเชื้อ ส่วนใหญ่การมีตกขาวถือเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่ สีของตกขาว จะเป็นเมือกเหนียวสีขาวขุ่น พร้อมกลิ่นไม่พึงประสงค์เล็กน้อยปะปน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของรอบเดือนของผู้หญิง เช่น ผู้หญิงสามารถมีตกขาวเพิ่มมากขึ้นได้เมื่อมีการตกไข่ เวลาให้นมบุตร หรือเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ เพราะฉะนั้นการมีตกขาวไม่ใช่เรื่องต้องเป็นกังวลจนเกินไป แต่ในบางกรณีก็อาจมีตกขาวบางประเภทที่บ่งบอกได้ถึงความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอาจเกิดมาจากการติดเชื้อ และสีที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง สีของตกขาว บอกอะไรได้บ้าง สีขาวหรือสีครีมคล้ายนม ตกขาวที่เป็นสีขาว ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะเป็นลักษณะทั่วไปของการตกขาว ที่หลั่งออกมาเพื่อเพิ่มความหล่อลื่น และให้ความชุ่มชื้นกับช่องคลอดเท่านั้น เว้นแต่จะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการคัน เป็นก้อนเหมือนคอตเตจชีส หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์รุนแรง เป็นต้น ที่อาจบ่งชี้ได้ถึงอาการผิดปกติอย่างการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างได้ สีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน ความจริงแล้วตกขาวสีเหลืองอ่อนเป็นหนึ่งในเฉดสีปกติ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการกินอาหาร หรือกินอาหารเสริม ที่อาจทำให้ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน อีกทั้งยังบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติอื่น ๆ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ จัดการอย่างไรเพื่อเติมความสุขให้ชีวิตคู่

อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ คือ อาการปวดหลังซึ่งเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ หรืออาการปวดหลังซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังและถูกกระตุ้นให้เจ็บปวดมากกว่าเดิมหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการปวดหลังมักมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักได้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ ไม่ควรปล่อยไว้เพราะเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลัง และทำให้ชีวิตคู่มีปัญหา การจัดการ อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ด้วยตนเอง การจัดการกับอาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้วิธีพูดคุย ดังนี้ เปิดใจคุยกับคู่รักเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากผู้ที่ไม่มีอาการปวดหลัง มักจะไม่เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งที่ประสบปัญหานี้ อาการปวดหลังอาจทำให้หงุดหงิดและซึมเศร้า จนทำให้ไม่รู้สึกอยากร่วมเพศเพราะกลัวเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็กังวลใจว่าคู่รักจะไม่พอใจหรือเข้าใจผิด ควรบอกอีกฝ่ายถึงความรู้สึกภายในใจ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ควรเก็บไว้คนเดียวเพราะจะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์แย่ไปด้วย บอกปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างนุ่มนวล โดยให้เหตุผลที่หนักแน่นว่าเป็นเพราะปัญหาปวดหลังไม่ใช่เป็นเพราะหมดความรู้สึกรักอีกฝ่าย ในขณะเดียวกันควรแสดงออกหรือบอกรักอีกฝ่ายอยู่เสมอด้วยการสัมผัส หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ วิธีบรรเทาอาการปวดหลังเบื้องต้น อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ อาบน้ำอุ่น หรือแช่ในอ่างน้ำอุ่น โดยให้อีกฝ่ายช่วยนวดหลังเบาๆ เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย ใช้ยานวดคลายอาการปวดกล้ามเนื้อ รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือวิธีการรักษาอาการปวดหลัง การปรับท่าร่วมรักขณะมีเพศสัมพันธ์  อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ อาจแก้ไขได้ ด้วยการเลือกท่าร่วมรักที่เหมาะสมในการมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ที่ปวดหลังโดยเฉพาะ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แนวทางในการเลือกท่าทางที่เหมาะสมสำหรับอาการปวดหลัง มีดังนี้ ผู้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นประจําเดือน อารมณ์แปรปรวน รับมือได้อย่างไร

เป็นประจําเดือน อารมณ์แปรปรวน เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยอาจส่งผลให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเศร้า เดี๋ยวโกรธ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือกับอาการอารมณ์แปรปรวน เมื่อเป็นประจำเดือน หรือหากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] เป็นประจําเดือน อารมณ์แปรปรวน เกิดจากสาเหตุใด อารมณ์แปรปรวน เป็นหนึ่งในอาการของอาการก่อนมีประจำเดือน (Pre-Menstrual Syndrome : PMS) ที่จะประกอบด้วยอาการทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งจะเริ่มมีอาการในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน โดยอาการก่อนมีประจำเดือนหรือพีเอ็มเอสนั้น สามารถทำให้บางคนรู้สึกมีอารมณ์รุนแรงกว่าปกติ หรือบางคนอาจมีอาการท้องอืด และปวดตามร่างกาย สำหรับอาการอารมณ์แปรปรวน ในช่วงก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างฉับพลัน และไม่สามารถอธิบายได้ เช่น อาจตื่นนอนตอนเช้าอย่างสดใส แต่ไม่ทันไรก็เปลี่ยนเป็นรู้สึกรำคาญใจ โกรธ หรือหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล ในเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อมา นอกจากนี้อาการทางอารมณ์ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ ความเศร้า ความหงุดหงิด ความวิตกกังวล ความโกรธ มากไปกว่านั้น 2 เงื่อนไขที่เชื่อมโยงกับอาการอารมณ์แปรปรวนในช่วงก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder / PMDD) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน