สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นอาการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเติบโตภายนอกมดลูก และยังสลายตัวหลายเป็นเลือดในระหว่างมีประจำเดือน แต่ถูกกักไว้ทำให้เกิดอาการอักเสบภายใน ส่งผลให้มีอาการปวดอุ้งเชิงกรานในช่วงมีประจำเดือน มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดหลัง อ่อนเพลีย และอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ดังนั้น จึงควรพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาในทันที [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คืออะไร ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นภาวะที่สามารถมีได้ เมื่ออยู่ในช่วงที่สามารถมีบุตรได้ หากมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้อเยื่อที่ปกติจะอยู่ในมดลูก จะไปเติบโตภายนอกมดลูก และเข้าไปยังท่อนำไข่ เยื่อบุมดลูกที่อยู่ผิดที่นี้ยังคงทำหน้าที่เหมือนเนื้อเยื่อมดลูกปกติ ซึ่งจะสลายตัวและกลายเป็นเลือดในระหว่างที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ดี เนื่องจากเนื้อเยื่อดังกล่าวเจริญเติบโตนอกมดลูก เลือดจึงไม่สามารถไหลออกจากร่างกาย และถูกกักไว้ ก่อให้เกิดอาการเลือดออกภายในและอาการอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมาอีกหลายประการ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มักเกี่ยวข้องกับท่อนำไข่ รังไข่ ลำไส้ หรือเนื้อเยื่อบริเวณเชิงกราน เนื้อเยื่อโดยรอบอาจมีอาการระคายเคือง และมีอาการปวด ก่อให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นหรือถุงน้ำ ที่ส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ยาก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ พบได้บ่อยเพียงใด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักพบได้มากในผู้หญิงในช่วงอายุ 30 และ 40 แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ สามารถรับมือได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่ ปวดกระดูกเชิงกรานในระหว่างรอบเดือน ซึ่งมีอาการกว่าปกติมาก และมีอาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป มีอาการปวดบริเวณหลังด้านล่างและช่องท้อง มีอาการปวดในระหว่างการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ในระหว่างรอบเดือน มีเลือดออกมาก อาจมีประจำเดือนหนักโดยมีเลือดออกมาก หรืออาจมีเลือดออกมากในระหว่างรอบเดือน มีเลือดปนในปัสสาวะหรืออุจจาระ […]


สุขภาพทางเพศ

Hypogonadism คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

ฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonadism) เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้มากเพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการเติบโตและพัฒนาของเพศชายขณะที่อยู่ในวัยรุ่น หรือมีความสามารถในการผลิตอสุจิได้ต่ำ หรือทั้ง 2 อาการ โดยฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังก็ได้เช่นกัน [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ Hypogonadism คือ อะไร Hypogonadism คือ อาการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนได้มากเพียงพอ ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการเติบโตและพัฒนาของเพศชายขณะที่อยู่ในวัยรุ่น หรือมีความสามารถในการผลิตอสุจิได้ต่ำ หรือทั้ง 2 อาการ ฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นในภายหลังก็ได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุ และช่วงเวลาของการเกิดภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ ซึ่งภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำบางประเภทอาจรักษาได้ด้วยการบำบัดทดแทนฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน Hypogonadism พบได้บ่อยได้แค่ไหน ฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกช่วงอายุ แต่อาการฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนต่ำนั้นมักจะพบมากในผู้ชายสูงอายุ มากกว่า 60% ของผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปีนั้น มีปริมาณของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนกว่าระดับปกติของผู้ชายที่อายุ 30-35 ปี อาการ อาการของ Hypogonadism การขาดฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนอาจทำให้เกิดอาการได้มากมาย โดยอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ อายุขณะที่มีอาการ ระดับของการขาดฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน อาการเกิดขึ้นมานานเท่าไหร่แล้ว หากฮอร์โมนเพศชายต่ำ เกิดขึ้นกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ช่วงต้นที่ยังไม่แตกหนุ่มอย่างเต็มตัว อาจทำให้ดูเด็กกว่าอายุจริง มีองคชาตขนาดเล็ก มีหนวดน้อย เสียงไม่แตกหนุ่ม และสร้างมวลกล้ามเนื้อได้ยาก แม้จะออกกำลังกาย แต่ถ้าฮอร์โมนเพศชายต่ำเกิดขึ้นกับผู้ที่เริ่มแตกหนุ่มอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ การพัฒนาทางเพศไม่สมบูรณ์ ขนาดของอัณฑะลดลง […]


สุขภาพทางเพศ

เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชายที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ การรักษากล้ามเนื้อ และสุขภาพของผู้ชาย เช่น การเพิ่มพลังทางเพศ ช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ให้ดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายบางประเภทอาจช่วย เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย การที่ผู้ชายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้ โรคกระดูกพรุน ความต้องการทางเพศลดลง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ เนื่องจากโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอาจเปลี่ยนไปตามธรรมชาติตลอดทั้งวัน และลดลงอย่างช้า ๆ ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทาน (Resistance exercise) เช่น วิดพื้น อาจช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายด้วยท่าสควอท และการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ก็อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เช่นกัน ซึ่งการออกกำลังกายที่อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย อาจมีดังนี้ ออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทาน (Resistance exercise) การยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ โดยการออกกำกายแบบฝืนแรงต้านอาจทำได้ ดังนี้ ใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น อาจลองออกกำลังกายแบบที่ใช้ร่างกายทุกส่วน (Full-body Workout) อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากกว่าการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เนื่องจากได้ใช้กล้ามเนื้อหลายมัดในร่างกาย เพิ่มน้ำหนัก แทนการยกน้ำหนักที่เบาเท่าเดิม แต่ยกหลายครั้ง ใช้เวลาพักน้อยลง ในการพักระหว่างออกกำลังกาย ออกกำลังกายด้วยท่าสควอท การสควอท 4 เซต เซตละ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

STD (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ไม่ต้องมีเซ็กส์ก็เสี่ยงติดได้

STD (Sexually transmitted diseases) หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ แม้เพียงแค่การกอด จูบ หรือการเล้าโลม รวมทั้งการใช้นิ้วหรือการทำออรัลเซ็กส์ โดยที่ไม่ได้สอดใส่อวัยวะเพศ หรือพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันก็อาจทำให้เสี่ยงติดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ความเสี่ยงในการเป็น STD แม้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะหมายถึงโรคที่ติดต่อผ่านกันเนื่องจากการมีเซ็กส์ แต่ทั้งนี้ แม้ว่าจะใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคและป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ แต่การสัมผัสกันทางร่างกายก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมทั้งโอกาสเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ดังนี้ ผ่านการจูบ การจูบเป็นการแสดงความรักรูปแบบหนึ่ง แต่น้ำลายสามารถเป็นตัวนำในการแพร่เชื้อ “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” บางประเภทได้ เช่น โรคเริม HIV ที่สามารถแพร่จากแผลได้ หรืออาจจะติดต่อกันได้ผ่านผิวหนัง ดังนั้น หากมีแผลบริเวณริมฝีปาก อาจต้องระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการจูบ รวมทั้งก่อนและหลังจูบควรทำความสะอาดช่องปาก อาจด้วยการแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากทุกครั้ง ผ่านการทำออรัลเซ็กส์ คู่รักบางคู่อาจเลือกการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ แต่ใช้ลิ้นในการสำเร็จความใคร่หรือที่เรียกว่าออรัลเซ็กส์ และอาจคิดว่าสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่โรคทางเพศสัมพันธ์บางประเภทอย่างโรคเริม โรคหนองใน HIV ก็สามารถติดต่อได้ผ่านแผลบนผิวหนัง และเชื้ออาจลุกลามผ่านช่องคอกลายเป็นโรคผิวหนังผุพอง หรือมะเร็งในช่องคอหรือกล่องเสียง (laryngeal cancer) รวมทั้งซิฟิลิสก็สามารถติดได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นต้องสอดใส่ ผ่านผิวสัมผัส การกอดหรือการสัมผัสผิวอาจเสี่ยงน้อยในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถส่งผ่านเชื้อโรค อย่างโรคเริม และมะเร็งปากมดลูกได้ ซึ่งแนวโน้มของการติดเชื้อผ่านผิวหนังนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างทั้งสภาพผิวและแผลทางผิวหนัง ผ่านการปนเปื้อนในอาหาร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถติดต่อได้ผ่านอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจจติดมาจากห้องน้ำ หรือการล้างมือไม่สะอาด […]


สุขภาพทางเพศ

ผู้ชาย อารมณ์แปรปรวน เกิดจากอะไร

เทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่างๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก ช่วยการทำงานของสมอง รวมถึงยังอาจส่งผลต่ออารมณ์และสภาวะทางจิตใจได้อีกด้วย เมื่อภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำก็อาจส่งผลให้ ผู้ชาย อารมณ์แปรปรวน ได้ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของอารมณ์แปรปรวน อาจช่วยให้รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ ผู้ชาย อารมณ์แปรปรวน เกิดจากอะไร อารมณ์แปรปรวนอาจเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้ชาย โดยทั่วไป อาจทำให้มีอาการหงุดหงิด อารมณ์เสียคล้ายกับผู้หญิง แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า อารมณ์แปรปรวนในผู้ชายมักมีลักษณะเด่นที่อารมณ์เศร้า และการปลีกตัวจากผู้คน ซึ่งอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการซึมเศร้าโดยทั่วไป แทนที่จะเป็นปัญหาของฮอร์โมนที่ลดลง นอกจากนี้ ความเครียดยังอาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ เมื่อ ผู้ชาย อารมณ์แปรปรวน ควรทำอย่างไร เมื่อผู้ชายอารมณ์แปรปรวนและมีปัญหาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ จัดการความเครียด ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจมีความเชื่อมโยงกับความเครียด ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ดังนั้น การจัดการกับความเครียดด้วยกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ เช่น เล่นดนตรี ฟังเพลง ออกกำลังกาย อาจช่วยทำให้ความเครียดลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนกลับมาปกติได้ ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนก็อาจส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วน และอาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ ดังนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ […]


สุขภาพทางเพศ

วงจรฮอร์โมนเพศชาย แตกต่างกันอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา

วงจรฮอร์โมนเพศชาย อาจมีความแตกต่างจากวงจรฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอย่างมาก คือ แทนที่จะมีรอบวงจร 1 เดือนเหมือนผู้หญิง แต่วงจรฮอร์โมนเพศชายจะขึ้น ๆ ลง ๆ แตกต่างกันไปใน 24 ชั่วโมงหรือในทุกวัน นอกจากนี้ วงจรฮอร์โมนเพศชายยังแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของชีวิตอีกด้วย ระดับฮอร์โมนแค่ไหนที่ถือว่าปกติ ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ของผู้ชายอาจแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการทำงานของไทรอยด์ ระดับโปรตีน อายุ ช่วงเวลาในแต่ละวัน และแม้แต่การตรวจตัวอย่างเลือดของแต่ละแล็บ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวัดเทสโทสเตอโรนที่ใช้กันโดยทั่วไป ก็อาจทำให้ระดับของเทสโทสเตอโรนออกมาแตกต่างกันได้ โดยปกติแล้ว ระดับเทสโทสเตอโรน จะวัดด้วยหน่วยนาโนแกรมต่อเดซิลิตร (ng/dl) และโดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก เช่น Endocrine Societyและ The American Urological Association ของสหรัฐฯ ถือว่าระดับเทสโทสเตอโรนที่ปกติ อยู่ในช่วงระหว่าง 300-1,000 ng/dL ความแตกต่างของฮอร์โมนในแต่ละช่วงวัย ความสำคัญของเทสโทสเตอโรนของผู้ชาย เริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในมดลูก โดยเทสโทสเตอโรนจำเป็นต่อพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ในผู้ชาย และยังส่งผลต่อการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา แต่ระดับเทสโทสเตอโรนก็จะลดลงในช่วงแคบ ๆ เพื่อรักษาความแข็งแรงของสมอง เพราะระดับเทสโทสเตอโรนที่สูงเกินไปในตัวอ่อน อาจเชื่อมโยงกับการเป็นออทิซึ่มของเด็ก หลังจากนั้น ระดับเทสโทสเตอโรนจะสูงสุดในระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในเด็กผู้ชาย สัญญาณแรกทางร่างกายของเทสโทสเตอโรน หรือแอนโดรเจนในร่างกาย คือ ในช่วงแตกเนื้อหนุ่ม เสียงจะเปลี่ยนไป […]


สุขภาพทางเพศ

ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ คืออะไร และส่งผลต่อผู้ชายอย่างไร

ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Male Hypogonadism) เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ชายในช่วงวัยแรกรุ่น รวมถึงยังอาจทำให้ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ คืออะไร ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ คือ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ชายในช่วงวัยแรกรุ่น รวมถึงยังอาจทำให้ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ ภาวะนี้อาจเกิดได้ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังก็ได้เช่นกัน โดยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำบางประเภทอาจรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ เกิดจากอะไร สำหรับสาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำแบบปฐมภูมิ (Primary Hypogonadism) เป็นภาวะที่เกิดกับลูกอัณฑะโดยตรง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome) ภาวะทางพันธุกรรมที่ผู้ชายเกิดมาพร้อมกับโครโมโซม X ที่มากกว่าปกติ ทำให้พัฒนาการของอัณฑะไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตเทสทอสเทอโรนได้ ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงตั้งแต่ก่อนคลอด ลูกอัณฑะจะถูกสร้างขึ้นในช่องท้อง และปกติจะเลื่อนลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ แต่บางทีอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่เลื่อนตัวลงมาในตอนเกิด ภาวะนี้มักจะหายไปได้เองภายใน 2-3 ปีแรก โดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าภาวะนี้ไม่หายไปในช่วงวัยเด็ก ก็อาจนำไปสู่การทำงานผิดปกติของอัณฑะและการสร้างเทสโทสเตอโรน อัณฑะอักเสบจากเชื้อคางทูม ถ้าคางทูมทำให้เกิดการอักเสบที่อัณฑะนอกเหนือจากต่อมน้ำลาย ในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อลูกอัณฑะ ส่งผลต่อการทำงานของอัณฑะและการสร้างเทสโทสเตอโรน ภาวะเหล็กเกิน อาจทำให้การทำงานของลูกอัณฑะล้มเหลว […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

จูบ มีประโยชน์อย่างไร และมีความเสี่ยงอย่างไรต่อสุขภาพ

จูบ เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่อาจมีความหมายแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่มักจะรับรู้โดยทั่วไปว่า การจูบเป็นการแสดงความรักอย่างหนึ่งที่สามารถส่งผลต่ออารมณ์ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้ จูบ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร เมื่อจูบกับคนรัก สมองจะหลั่งสารเคมีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท โดย ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ ศาสตราจารย์วิชามานุษยวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยรัทเจอร์ส ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การจูบขึ้นอยู่กับบริบท โดยอาจแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ความต้องการทางเพศ (Lust) เป็นความปรารถนาทางเพศกับอีกฝ่าย ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ความรักโรแมนติก (Romantic Love) ความรู้สึกงงงวย รู้สึกสบายใจ รู้สึกกินไม่ได้นอนไม่หลับเมื่อกำลังมีความรักครั้งใหม่ เกิดขึ้นจากสารโดพามีน และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ความผูกพัน (Attachment) ความรู้สึกปลอดภัยที่อาจพบได้ในความสัมพันธ์ระยะยาว โดยมีฮอร์โมนออกซิโทซินเป็นปัจจัยที่ทำให้รู้สึกสงบสุขและปลอดภัย การจูบจึงอาจให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าในบริบทนั้นมีรู้สึกอย่างไร และสารเคมีในสมองชนิดใดหลั่งออกมา ประโยชน์สุขภาพของการจูบ 1. อาจเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข การจูบสามารถกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข ได้แก่ ฮอร์โมนออกซิโทซิน โดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะทำให้รู้สึกดี รู้สึกร่าเริง และกระตุ้นให้เกิดความรักและความผูกพัน นอกจากนี้ ยังช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนเครียดอีกด้วย 2. อาจช่วยสร้างความสัมพันธ์ ออกซิโทซิน (Oxytocin) […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

10 เทคนิคช่วยให้การมีเซ็กส์ดีขึ้น

การมีเซ็กส์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งช่วยทำให้รู้สึกดี ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความสุข อีกทั้งยังช่วยบรรเทาความเครียด ดังนั้น หากอยากให้การมีเซ็กส์ดีขึ้น จึงควรศึกษาเทคนิคต่าง ๆ เช่น การเล้าโลม การใช้อุปกรณ์ช่วย การเปลี่ยนสถานที่ เพื่อช่วยสร้างสรรค์ให้ประสบการณ์การมีเซ็กส์เป็นที่น่าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] เทคนิคที่ช่วยให้การมีเซ็กส์ดีขึ้นกว่าเดิม 1. รู้ความต้องการของตัวเองและคนรัก การสำรวจออนไลน์ในปี 2016 ที่ได้ทำการสำรวจผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 1,200 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ผลการสำรวจพบว่าผู้ชายและผู้หญิงมีความคาดหวังในเรื่องทางเพศแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งความคาดหวังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วข้ามคืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพูดคุยกับคนรัก โดยควรรู้ความต้องการของตัวเองว่าชอบมีเซ็กส์แบบใด นอกจากนี้ อาจถามคนรักด้วยว่า อีกฝ่ายมีความต้องการอะไรในเรื่องเซ็กส์ และมีอะไรที่อยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นบ้าง 2. รักษาการสัมผัส แม้ว่าจะเหนื่อย เครียด หรืออารมณ์ไม่ดี การกอดและการจูบกับคนรักยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ทางด้านร่างกายและอารมณ์ 3. ใช้เจลหล่อลื่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนอาจเกิดภาวะช่องคลอดแห้ง ซึ่งการใช้เจลหล่อลื่นจะช่วยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าการใช้เจลหล่อลื่นไม่ได้ผล ควรปรึกษาคุณหมอ 4. ลองเปลี่ยนท่าทาง การใช้ท่าต่างๆ เวลามีเพศสัมพันธ์นอกจากนะเพิ่มความน่าสนใจแล้ว ยังอาจช่วยแก้ปัญหาในเรื่องทางเพศด้วย ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นจุดจี-สปอต (G-spot) จะเพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ในท่าที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงทางด้านหลัง ซึ่งจะส่งผลให้ฝ่ายหญิงสำเร็จความใคร่ได้ในที่สุด 5. ผ่อนคลายอารมณ์ ควรทำกิจกรรมบางอย่างที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เล่นเกม หรือกินอาหารเย็นร่วมกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ได้เช่นกัน 6. ใช้เซ็กส์ทอย ของเล่นเซ็กส์เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ฝ่ายหญิงสามารถเรียนรู้การตอบสนองทางเพศได้ และสามารถแสดงความต้องการให้ฝ่ายชายรู้ว่าชอบแบบไหน 7. การช่วยตัวเอง นอกจากการใช้ของเล่นเซ็กส์แล้ว การช่วยตัวเองหรือใช้คนรักช่วยก็ถือเป็นวิธีหนึ่งในการกระตุ้นอารมณ์ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ชีวิตทางเพศหลังมีลูก เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รับมือวิธีใดได้บ้าง

การมีลูก นอกจากจะทำให้ไลฟ์สไตล์ของคู่สามีภรรยาต้องเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ชีวิตทางเพศหลังมีลูก หรือชีวิตเซ็กส์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยหลายปัจจัย เช่น การเลี้ยงลูกจนพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดในการเลี้ยงดูลูก บางคู่อาจต้องใช้เวลาปรับตัวนานกว่าจะมีเซ็กส์ได้เหมือนในช่วงก่อนมีลูก หากรู้สึกว่าชีวิตเซ็กส์หลังมีลูกเปลี่ยนแปลงไป อาจต้องรีบหาวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพราะหากปล่อยไว้ อาจกลายมาเป็นปัญหาสำคัญที่สั่นคลอนชีวิตคู่ในเวลาต่อมา ทำไม ชีวิตทางเพศหลังมีลูก จึงเปลี่ยนไป หกสัปดาห์แรกหลังจากคลอดลูก เป็นช่วงที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต้องปรับตัวมากที่สุด ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ยังต้องรับมือกับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงมาก จนอาจส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้ช่องคลอดแห้ง และมีน้ำหล่อลื่นน้อย เวลามีเพศสัมพันธ์จึงอาจรู้สึกเจ็บ จนไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนในเพศชาย มีงานวิจัยที่พบว่า เมื่อกลายเป็นคุณพ่อ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชายจะลดลง และยิ่งถ้าคุณพ่อมือใหม่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์เป็นเวลานาน ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอาจลดลงเรื่อย ๆ จนส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง หลังคลอดลูก ต้องรอนานแค่ไหน จึงจะมีเซ็กส์ได้ ข้อมูลจากสมาคมสูตินารีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) เผยว่า อาจไม่มีช่วงเวลาระบุแน่ชัดว่าผู้หญิงจะสามารถมีเซ็กส์ได้หลังจากคลอดลูกนานเท่าใด แต่โดยปกติแล้ว อาจต้องรอประมาณ 6 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับวิธีในการคลอดลูกด้วย หากคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ อาจต้องรอให้แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บหรือบริเวณช่องคลอดที่เกิดจากการคลอดสมานดีก่อน ไม่ควรมีเซ็กส์ก่อนครบกำหนด 4 สัปดาห์หลังคลอด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงช่องคลอดติดเชื้อได้ หากผ่าคลอด อาจต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน