สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

HPV ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบต่อคุณแม่และลูกน้อยอย่างไร

HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยบางสายพันธุ์สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและภาวะผิดปกติอื่น ๆ ในระบบสืบพันธุ์ สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HPV มักกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ โดยเฉพาะการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การคลอดก่อนกำหนด และการถ่ายทอดไวรัสสู่ทารกในระหว่างคลอด ผลกระทบของ HPV ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ การเกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ (Genital Warts) การติดเชื้อ HPV อาจกระตุ้นการเกิดหูดในบริเวณอวัยวะเพศ หูดเหล่านี้อาจโตขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบไหลเวียนเลือด หากหูดมีขนาดใหญ่ อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือขัดขวางการคลอดทางช่องคลอด การเปลี่ยนแปลงในปากมดลูก การติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ในบางกรณี การติดเชื้อ HPV อาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ HPV อาจกระตุ้นการอักเสบในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวสำหรับทารก เช่น การเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และหลังคลอด การติดเชื้อในทารก แม้โอกาสที่ HPV จะส่งต่อถึงทารกในครรภ์มีน้อย แต่มีรายงานว่าการคลอดทางช่องคลอดในกรณีที่แม่มีหูดหรือการติดเชื้อ HPV […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

7 วิธี เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับผู้ชาย

การที่ร่างกายของผู้ชายมีเทสโทสเตอโรนในระดับที่เพียงพออาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยผู้ชายจึงควรดูให้แน่ใจว่า ตัวเองมีระดับเทสโทสเตอโรนที่ปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ซึ่งระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชายจะเริ่มลดลงตามธรรมชาติ ดังนั้น การออกกำลังกาย กินโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน อาจช่วย เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ในร่างกาย และอาจช่วยป้องกันภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำได้ 7 วิธี เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับวิธีที่อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีดังนี้ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก เป็นประเภทการออกกำลังกายที่อาจช่วยในการเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรน เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบหนักเป็นช่วง ๆ (High-intensity interval training หรือ HIIT) ก็อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ได้เช่นกัน กินโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อาหารอาจสามารถส่งผลกระทบต่อเทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนอื่น ๆ การอดอาหารหรือการกินมากเกินไป อาจขัดขวางการสร้างเทสโทสเตอโรน ดังนั้น การกินโปรตีนให้เพียงพออาจช่วยรักษาระดับเทสโทสเตอโรนที่เหมาะสม นอกจากนี้ คาร์โบไฮเดรตที่ก็อาจช่วยอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงการออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก กินไขมันให้มากขึ้น กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้การสร้างเทสโทสเตอโรนลดลงได้ ดังนั้น การกินไขมันที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนควรเลือกไขมันอิ่มตัว หรือไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น เนย ไข่แดง น้ำมันมะกอก อัลมอนด์ อะโวคาโด เนื่องจากคอเลสเตอรอลซึ่งพบในไขมันอิ่มตัว […]


สุขภาพทางเพศ

เทสโทสเตอโรนบำบัด มีอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการรักษา

ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมาก เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น โรคอ้วน นอนไม่หลับ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจทำได้ด้วย เทสโทสเตอโรนบำบัด (Testosterone Replacement Therapy หรือ TRT) หรือการให้ฮอร์โมนทดแทน อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทำการรักษา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เทสโทสเตอโรน คืออะไร เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่างๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า รวมถึงยังอมจช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก และช่วยการทำงานของสมอง โดยทั่วไป ระดับเทสโทสเตอโรนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยเลขสอง และหลังจากอายุ 30 หรือ 40 จะค่อย ๆ ลดลงปีละ 1% เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนทีต่ำลง อาจทำให้ผู้ชายเผชิญกับปัญหาอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยะเพศตามธรรมชาติลดลง มีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง […]


สุขภาพทางเพศ

ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่าย ๆ

ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmr] ช่องคลอดมีกลิ่น ได้ยังไง ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด (Vaginal Odor) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช้นกัน นอกจากนั้น สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่น ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ กลิ่นจากปัญหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของปัญหากลิ่นช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นคาว โรคพยาธิในช่องคลอด หรือการติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis) แผลในช่องคลอด โดยเฉพาะแผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Donovanosis) และแผลริมอ่อน (Chancroid) ตกขาว หรือ ระดูขาวที่เกิดพร้อมภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด […]


การคุมกำเนิด

หลั่งข้างนอก เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้ผลจริงหรือ

หลั่งข้างนอก คือ การที่ฝ่ายชายดึงอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดเมื่อรู้สึกตัวว่าใกล้ถึงจุดสุดยอดขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดตามธรรมชาติ แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ควบคู่กับการคุมกำเนิดแบบอื่นเพื่อลดโอกาสเสี่ยงการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดด้วยวิธีหลั่งข้างนอก การหลั่งนอก คือการที่ผู้ชายดึงอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่จะมีการหลั่งอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอด ดังนั้น จึงอาจมีอสุจิปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในช่องคลอดของฝ่ายหญิงได้ รวมทั้งอสุจิที่ปนออกมากับน้ำหล่อลื่น  ทั้งนี้ เพื่อให้วิธีการหลั่งนอกได้ผลสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ดังนี้ ใช้สารทำลายหรือฆ่าเชื้ออสุจิร่วมด้วย ควรคำนวณวันตกไข่ของฝ่ายหญิงให้แน่ชัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยวิธีหลั่งข้างนอก ฝ่ายชายควรจะปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยกำจัดเชื้ออสุจิบางส่วนที่อาจยังค้างอยู่ เวลาที่ฝ่ายชายดึงอวัยวะเพศออกเพื่อมาหลั่งน้ำเชื้อข้างนอก ไม่ควรหลั่งบริเวณต้นขา หน้าขา หรือทางทวารหนักของฝ่ายหญิง เนื่องจากเชื้ออสุจิอาจมีโอกาสหลุดเข้าช่องคลอดได้ การคุมกำเนิดวิธีนี้ได้ผลแค่ไหน โดยปกติ คู่รักที่ใช้ถุงยางอนามัย ฝ่ายหญิงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 18 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคู่รักที่ไม่ได้คุมกำเนิดหรือใช้วิธีการหลั่งข้างนอก มีโอกาสจะตั้งครรภ์  85 เปอร์เซ็นต์ หากยังไม่พร้อมมีบุตร ไม่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีการหลั่งนอก เพราะมีโอกาสสูงที่ฝ่ายหญิงจะตั้งครรภ์ได้ วิธีนี้เหมาะกับใคร การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถไว้วางใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงไม่น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะกับใคร ถ้าคนๆ นั้นไม่ต้องการตั้งครรภ์ แถมยังเป็นวิธีที่เสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย ฉะนั้น ถ้ามีโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคจากคู่นอนของคุณ ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้ แต่ถ้าคู่รักคู่ไหนที่ไม่กังวลกับการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การหลั่งข้างนอกก็นับเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นวิธีที่สะดวก และไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร นอกจากนี้คุณยังไม่ต้องไปพบคุณหมอ เพื่อขอให้สั่งยาอะไรด้วย การหลั่งข้างนอกป้องกันการติดโรคได้หรือไม่ วิธีอาจเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้  เช่น หูด เริมที่อัวยวะเพศ สามารถแพร่กระจายจากการสัมผัสกันทางผิวหนังได้ หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีที่สุด การหลั่งข้างนอกที่ได้ผล วิธีที่จะทำให้การหลั่งข้างนอกได้ผลดีที่สุดก็คือ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง และวิธีป้องกันโรค

หลายคนอาจคิดว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างหญิงกับชาย หรือชายกับชายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรู้เท่าทันโรค เช่น ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะแบบผู้หญิงกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้ชาย ก็อาจเสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งสิ้น สำหรับการมีเพศสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้เซ็กส์ทอย (Sex toy) ร่วมกับผู้อื่น หรือการเคยมีคู่นอนเป็นผู้ชาย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิง สามารถติดต่อได้ทั้งจากผู้หญิงด้วยกันเองหรือจากผู้ชาย ดังนี้ โรคติดเชื้อระหว่างผู้หญิงกันเอง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อระหว่างผู้หญิงกันเอง มักแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสเป็นหลัก ได้แก่ ไวรัสเอชพีวีที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ เริม และตกขาวกลิ่นเหม็นในช่องคลอด นอกจากนี้ หากใช้เซ็กส์ทอยร่วมกันหลายคนโดยไม่ทำความสะอาดให้ดี หรือป้องกันการติดเชื้อด้วยการหุ้มด้วยถุงยางอนามัย และเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งที่แบ่งปันกันใช้ ก็อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคที่เกิดจากอดีตคู่นอนที่เป็นผู้ชาย เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หญิงรักหญิง ที่พบบ่อย การมีเพศสัมพันธ์แบบผู้หญิงกับผู้หญิง อาจทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้ โรคเริม นอกจากเริมจากอวัยวะเพศสู่อวัยวะเพศแล้ว พฤติกรรมทางเพศระหว่างหญิงกับหญิง เช่น การใช้ปากกับอวัยวะเพศ การใช้อวัยวะเพศถูไถกัน ก็อาจทำให้เป็นโรคเริมได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex […]


โรคซิฟิลิส

คุณติดเชื้อ "ซิฟิลิส" ได้อย่างไร และจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

ซิฟิลิส เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบกันบ่อย และการ ติดเชื้อ ซิฟิลิส สามารถเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว และนี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับการ ติดเชื้อซิฟิลิส เพื่อที่คุณจะได้ระมัดระวังตัวเองได้ ซิฟิลิส คืออะไร ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซิฟิลิสอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง อย่างเช่น โรคข้ออักเสบ สมองเสียหาย และตาบอด การติดต่อ คนส่วนใหญ่ติดเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากมีการสัมผัสกับแผลบนร่างกายของผู้ติดเชื้อโดยตรง แผลเหล่านั้นพบได้ตรงส่วนนอกของอวัยวะเพศของผู้ติดเชื้อ ช่องคลอด ทวารหนักหรือในไส้ตรง ในบางกรณี แผลอาจเกิดขึ้นบนริมฝีปากและในปากด้วยเช่นกัน การติดต่อของโรคนี้มักเกิดขึ้นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักและทางปาก และกิจกรรมทางเพศอื่นๆ ซิฟิลิสติดต่อได้จากการสัมผัสสิ่งของร่วมกันหรือไม่ เนื่องจากแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ ซิฟิลิส จะอ่อนแอเมื่ออยู่ข้างนอกร่างกาย ซิฟิลิสจึงจะไม่มีการลุกลามจากการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน อย่างเช่น โถส้วม อ่างอาบน้ำ ลูกบิดประตู สระว่ายน้ำ และคุณจะไม่ได้รับเชื้อซิฟิลิสจากการใช้เสื้อผ้าหรือใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ซิฟิลิสสามารถส่งผ่านไปยังลูกในช่วงตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถแพร่โรคนี้ไปยังทารกในครรภ์ได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจหาซิฟิลิส จึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงแรกก่อนการคลอด การตรวจควรทำซ้ำอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 และช่วงคลอด เด็กทารกของผู้หญิงที่เป็น ซิฟิลิส มีความเสี่ยงต่อการที่จะทำให้ทารกตายในครรภ์ (stillbirth) และเด็กที่คลอดออกมาเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเด็กที่ติดเชื้อจะรอดมาได้ แต่เด็กทารกยังจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเชื้อ เอชไอวี / เอดส์ ที่ควรทำความเข้าใจเสียใหม่

โรคติดเชื้อ เอชไอวี หรือเอดส์ เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ร้ายแรง โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนนับล้านในแต่ละปี และยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือแม้แต่ทารก ที่มารดาได้รับเชื้อขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นผู้ป่วยเอชไอวีหรือเอดส์ได้ แม้ว่าในปัจจุบันโรคติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์เป็นโรคที่พบเห็นได้สังคมทั่วไป แต่ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคที่เกิดจาก เชื้อเอชไอวี นี้ ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แน่ชัด เพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] โรคติดเชื้อ เอชไอวี / เอดส์คืออะไร เชื้อเอชไอวี หรือไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Human Immunodeficiency Virus) ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 (T cells) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านการติดเชื้อหรือโรคต่าง ๆ ได้ ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด หากผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำให้จำนวน CD4 (T cells) ในร่างกายลดลงอย่างมหาศาล จนทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการติดเชื้อได้ง่าย หรือเกิดอาการของโรคต่าง ๆ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถเกิดได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำอสจุิ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

สะเก็ดเงิน กับเคล็ดลับเรื่องบนเตียงที่ควรรู้

สะเก็ดเงิน คือ หนึ่งในภาวะความผิดปกติของผิวหนังชนิดเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันแปรปรวน สามารถเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น มือ เท้า หน้า อวัยวะเพศ เป็นต้น โรคนี้อาจส่งผลกระทบทางจิตใจ ทำให้ขาดความมั่นใจ หรือทำให้ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชีวิตการทำงาน ชีวิตรัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับเรื่องบนเตียงเหล่านี้ อาจช่วยแก้ปัญหาได้ สะเก็ดเงิน กับเคล็ดลับเรื่องบนเตียงที่ควรรู้ สื่อสารกับอีกฝ่ายให้เข้าใจ หลายคนอาจคิดว่าโรคผิวหนังทุกชนิดสามารถต่อต่อกันได้ จึงควรอธิบายให้คู่รักเข้าใจว่าโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคที่ติดต่อโดยการสัมผัส แม้จะเป็นโรคสะเก็ดเงินก็สามารถแสดงความรักด้วยการกอด จูบ หรือมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่ติดโรคนี้ หากอยู่ในช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์ แนะนำว่าไม่ควรปิดบังว่าเป็นโรคสะเก็ดเงิน แต่ควรพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้อีกฝ่ายทราบว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้โรคสะเก็ดเงินแย่ลง หากการมีเพศสัมพันธ์ทำให้รู้สึกเจ็บมากเกินไป อย่าลังเลที่จะบอกให้อีกฝ่ายทราบทันที เพื่อจะได้หาวิธีมีเพศสัมพันธ์อย่างสุขสม และกระทบต่อโรคน้อยที่สุด หากไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงินที่ถูกต้องที่สุด หาวิธีกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ สำหรับผู้หญิง การสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับตัวเอง หรือชุดชั้นในที่เปิดเผยเนื้อหนังแบบมีลูกเล่น อาจช่วยทำให้รู้สึกมั่นใจขึ้นได้ ควรเลือกชุดชั้นในหรือชุดนอนที่ทำจากผ้าไหม ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย เพราะนุ่ม ลื่น สวมใส่สบาย และไม่ทำให้ผิวระคายเคือง หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ไนลอน โพลีเอสเตอร์ เพราะระบายความร้อนได้ไม่ค่อยดี อาจทำให้ผิวหนังที่แห้งแตกเพราะโรคสะเก็ดเงินระคายเคือง และกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบได้ สำหรับการเลือกเครื่องนอน เช่น […]


สุขภาพทางเพศ

ติ่งเนื้อปากมดลูก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ติ่งเนื้อปากมดลูก หรือ เนื้องอกปากมดลูก (Cervical polyps) คือก้อนเนื้อขนาดเล็กที่เจริญเติบโตขึ้นในบริเวณปากมดลูก แต่ไม่ใช่โรคมะเร็ง อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด หากสังเกตว่ามีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ พร้อมทั้งมีเมือกสีขาว และสีเหลืองออกมาจากช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาในทันที [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ติ่งเนื้อปากมดลูก คืออะไร ติ่งเนื้อปากมดลูก จัดเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็ก และยาว ที่เติบโตในบริเวณปากมดลูก มักมีลักษณะเป็นโพรงแคบ ตั้งอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูก อีกทั้งติ่งเนื้อมีโครงสร้างเปราะบางที่เติบโตจากขั้วที่ฝังรากลงบนพื้นผิวของปากมดลูก หรือภายในโพรงมดลูก  โดยส่วนใหญ่ติ่งเนื้อ มักมีเพียงจุดเดียว หรือ 2-3 จุด เป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับติ่งเนื้อปากมดลูกอีกอย่างนั้น มักไม่ร้ายแรงมากนัก และไม่ใช่ก้อนเนื้อของมะเร็ง อย่างที่เข้าใจผิดกัน เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกมักไม่ได้เกิดจากติ่งเนื้อ แต่เกิดจากไวรัสฮิวแมนพาพิโลมา (Human Papilloma Virus: HPV) หรือเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหูดที่อวัยวะเพศ ติ่งเนื้อปากมดลูก สามารถพบบ่อยได้เพียงใด จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ติ่งเนื้อปากมดลูกพบได้มากที่สุดในผู้หญิงในช่วงอายุ 40 – 50 ปี ที่มีบุตรมากกว่าหนึ่งคน หรือระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งปากมดลูกแทบจะไม่เกิดขึ้นในผู้หญิงอายุน้อย และช่วงวัยก่อนเริ่มมีประจำเดือน อาการ อาการของ ติ่งเนื้อปากมดลูก อาการต่าง ๆ ของติ่งเนื้อปากมดลูกอาจไม่สามารถสังเกตได้แน่ชัด แต่อาจมีอาการบางอย่างที่สามารถเป็นสัญญาณเตือนแรกเริ่มได้ เช่น มีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดลักษณะเป็นเมือกสีขาว หรือสีเหลือง รวมไปถึงมีประจำเดือนมากผิดปกติ สาเหตุ สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อปากมดลูก ปัจจุบัน […]


สุขภาพทางเพศ

ปากมดลูกหลวม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปากมดลูกหลวม หรือปากมดลูกปิดไม่สนิท (Cervical Incompetence) เป็นภาวะชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการทำงานของปากมดลูก ส่งผลให้เนื้อเยื่อปากมดลูกอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือการตั้งครรภ์ผิดปกติ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการรักษากับคุณหมออย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ปากมดลูกหลวม คืออะไร อาการปากมดลูกหลวม หรือปากมดลูกปิดไม่สนิท หรือเรียกอย่างหนึ่งว่าปากมดลูกไม่แข็งแรง (Cervical Insufficiency) เป็นภาวะชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ เนื้อเยื่อปากมดลูกอ่อนแอ และทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์ผิดปกติ ก่อนการตั้งครรภ์ ปากมดลูกจะปิดและแข็งตัวตามปกติ เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไปจนถึงกำหนดคลอด ปากมดลูกจะอ่อนตัวลงทีละน้อย หดตัวบางลง และเริ่มเปิดออก หากเป็นโรคปากมดลูกหลวม ปากมดลูกจะเปิดเร็วขึ้น ส่งผลให้การเกิดการคลอดก่อนกำหนด ปากมดลูกหลวมสามารถวินิจฉัยและรักษาได้ยาก หากปากมดลูกเปิดเร็วกว่าปกติ คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาป้องกันในระหว่างตั้งครรภ์ หรือปิดปากมดลูกด้วยการเย็บให้แน่น ปากมดลูกหลวม พบบ่อยเพียงใด โรคปากมดลูกหลวมพบได้น้อยในสหรัฐฯ ซึ่งเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 1-2 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด แต่คาดว่าเป็นสาเหตุของการแท้งถึงร้อยละ 20-25 ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะ ปากมดลูกหลวม หรือปากมดลูกปิดไม่สนิท ภาวะปากมดลูกหลวมมักไม่มีสิ่งบ่งชี้หรือแสดงอาการใดๆ เนื่องจากปากมดลูกจะเริ่มเปิดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดี อาจมีความรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีเลือดประจำเดือนออกมาแบบกะปริดกะปรอย เป็นเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ ซึ่งจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วง 14 ถึง 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยควรเฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ความรู้สึกหน่วงบริเวณเชิงกราน ปวดหลัง ปวดตะคริวที่ไม่รุนแรงบริเวณช่องท้อง สารคัดหลั่งในช่องคลอดเปลี่ยนแปลง เลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย สาเหตุ สาเหตุภาวะปากมดลูกหลวม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน