สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหญิง เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหญิง

สุขภาพหญิง

ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? ตกขาวแบบไหนที่ควรพบคุณหมอ

ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? เป็นคำถามที่สาว ๆ หลายคนอาจสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เนื่องจากอาการดังกล่าว อาจเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกและเกิดเป็นการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม เลือดปนออกมากับตกขาวอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรง ดังนั้น หากสังเกตว่ามีตกขาวปนเลือดควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอด ตกขาวปกติจะมีลักษณะเป็นเมือกหรือของเหลวใส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดที่ช่วยดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ก่อนจะถูกขับออกมาในรูปแบบของตกขาว นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ป้องกันช่องคลอดแห้ง และลดอาการเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยลักษณะตกขาวหรือมูกปากช่องคลอดจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายด้วย ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? หากตกขาวปนเลือดอาจมีความเป็นไปได้ว่าตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นสัญญาณเตือนแรกที่เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก จะเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ ทำให้มีเลือดออกผสมกับตกขาวหรือมูกเลือดและอาจมีอาการปวดท้องเกร็ง และปวดท้องน้อยคล้ายกับปวดประจำเดือน หากสังเกตว่าประจำเดือนไม่มานานกว่า 1 เดือน ควรตรวจสอบการตั้งครรภ์โดยใช้ชุดตรวจครรภ์ด้วยตัวเองหรือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ตกขาวปนเลือดยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ส่งผลให้การผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง นำไปสู่อาการช่องคลอดแห้ง […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเป็นน้ำใสๆ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

ในบางเดือน ผู้หญิงหลายคนอาจพบว่า ตกขาวเป็นน้ำใสๆ หรือมีตกขาวมากขึ้นเล็กน้อย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะและปริมาณของตกขาวจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรอบเดือน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของฮอร์โมน และความสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด หากรู้สึกว่าตกขาวเปลี่ยนแปลง อาจเกิดจากได้จากหลายปัจจัย เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ ช่องคลอดระคายเคือง ทั้งนี้ หากตกขาวเปลี่ยนแปลงร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น อาการแสบ คัน บวม แดง ระคายเคืองช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่น ตกขาวเปลี่ยนสี อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับช่องคลอดที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเป็นน้ำใสๆ เกิดจากอะไร ตกขาว คือ มีเมือกใสๆออกมาจากช่องคลอด ทำหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกและรักษาความสะอาดภายในช่องคลอด โดยปกติตกขาวจะมีปริมาณและความเหนียวข้นแตกต่างกันไปในรอบเดือนตามระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง หากพบว่า ตกขาวเป็นน้ำใสๆ มีปริมาณหรือสีที่แตกต่างจากปกติเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีกลิ่นเหม็น จับตัวเป็นก้อน มีสีผิดปกติอย่างสีเหลือง มีอาการคันหรือแสบ อาจไม่ได้เป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่เป็นอันตราย แต่เป็นเพียงลักษณะของตกขาวที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของแต่ละเดือนเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ตกขาวเปลี่ยนไป ตกขาวที่มีปริมาณ สี หรือเนื้อสัมผัสต่างจากปกติ อาจเกิดแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลจากปัจจัยดังตัวอย่างต่อไปนี้ การตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ผนังช่องคลอดนิ่มและตกขาวเคลื่อนตัวได้ง่าย ทำให้มีตกขาวออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น การใช้ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้สารคัดหลั่งในช่องคลอดเพิ่มปริมาณเพื่อทำให้ให้อสุจิเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม […]


สุขภาพหญิง

Endometriosis คือ อะไร สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

Endometriosis คือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แทนที่เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตอยู่ในโพรงมดลูก กลับไปเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูก และแทรกตัวเข้ากับอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น บริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน รังไข่ ท่อนำไข่ ผิวมดลูก ปากมดลูก เยื่อบุช่องท้อง และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพ เช่น มีบุตรยาก ปวดประจำเดือนรุนแรง ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมาก มีประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ ด้วยการตรวจภายใน เป็นต้น อีกทั้งคุณหมอจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด [embed-health-tool-ovulation] Endometriosis คือ อะไร Endometriosis คือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุที่อยู่ภายในโพรงมดลูกไปเติบโตในอวัยวะภายนอกมดลูก เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ และอาจกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่อยู่ห่างออกไป เช่น กระบังลม ปอด ผ่านทางหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองได้ด้วย ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปวด มีเลือดออกมากทั้งในระหว่างมีประจำเดือนและไม่มีประจำเดือน มีบุตรยาก เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงของ Endometriosis หรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะ […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เกิดจากอะไร วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เป็นภาวะตกขาวผิดปกติที่อาจเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา แอลบิแคนส์ (Candida albicans) เนื่องจากมีเชื้อราชนิดนี้บริเวณช่องคลอดมากจนเสียสมดุล การติดเชื้อรานอกจากจะทำให้มีตกขาวเป็นก้อนแป้งคล้ายยีสต์หรือชีสคอตเทจแล้ว ยังมักทำให้รู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอดด้วย ตกขาวที่เกิดจากเชื้อราส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น และสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากดูแลตัวเองเบื้องต้นและใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เกิดจากสาเหตุใด ตกขาวเป็นก้อนแป้ง อาจเกิดจากการติดเชื้อราบริเวณช่องคลอด เชื้อราชนิดที่พบได้บ่อยมีชื่อว่า แคนดิดา แอลบิแคนส์ ซึ่งเป็นเชื้อราประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดร่วมกับเชื้อราชนิดอื่น ๆ แต่หากมีปัจจัยมากระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณจนเสียสมดุล ก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและเกิดภาวะตกขาวผิดปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตกขาวเป็นก้อนแป้ง มีดังนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจกระทบต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอด เป็นโรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือการใช้ยาที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น สเตียรอยด์ เคมีบำบัด การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือใช้ยาฮอร์โมนที่เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในช่องคลอดหลังจากมีประจำเดือน หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น อาการเมื่อ ตกขาวเป็นก้อนแป้ง อาการอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการตกขาวเป็นก้อน อาจมีดังนี้ รู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอด รู้สึกแสบร้อนโดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์หรือขณะปัสสาวะ บริเวณอวัยวะเพศบวมหรือแดง ปวดเมื่อยบริเวณบริเวณอวัยวะเพศ เกิดผื่นคันบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีขาวเหนียวข้น จับเป็นก้อนแป้ง เหมือนคราบนมหรือชีส วิธีการรักษาเมื่อ ตกขาวเป็นก้อนแป้ง การรักษาอาการตกขาวเป็นก้อนแป้งส่วนใหญ่จะรักษาตามระดับความรุนแรงและความถี่ของการติดเชื้อ ดังนี้ อาการเล็กน้อยถึงปานกลางและติดเชื้อไม่บ่อย การรักษาระยะสั้น คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) อิทราโคนาโซล […]


การมีประจำเดือน

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด หรือ ประจำเดือน หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดผ่านทางช่องคลอดทุกเดือน โดยเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหากไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เมื่อไข่ในร่างกายเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกตามธรรมชาติ โดยทั่วไป ปจด มักเป็นสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม แต่บางครั้งอาจพบเป็น ปจด สีดำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่อาการน่ากังวล ยกเว้นแต่ว่ามี ปจด สีดำ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันบริเวณช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ปจด คืออะไร ปจด หรือประจำเดือน เป็นภาวะปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี ประจำเดือน จะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน โดยมีลักษณะเป็นเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไข่ของเพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชาย ร่างกายจึงขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนให้หลุดลอกออกตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะไหลติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน โดยถ้าไหลน้อยกว่า 2 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ทั้งนี้ ระหว่างมีประจำเดือน เพศหญิงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย […]


การมีประจำเดือน

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อันตรายหรือไม่

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการตกไข่ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน (Progesterone) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงของการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับตกขาวที่มีลักษณะเหนียวและข้นกว่าตกขาวในช่วงตกไข่ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าตกขาวมีสีที่เปลี่ยนไป เช่น สีเขียว สีเทา สีเหลือง รวมถึงมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีอาการคันช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เกิดจากอะไร ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับสารคัดหลั่งออกมาเป็นน้ำเมือกสีใสในปริมาณมาก หรืออาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงหลังจากการตกไข่ ที่อาจทำให้มีอาการตกขาวที่มีลักษณะหนา เหนียว และอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง แต่จะไหลออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าช่วงตกไข่ บางคนอาจมีตกขาวสีน้ำตาลที่เกิดจากการผสมกับเลือดก่อนเป็นประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งบอกได้ว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมา ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือนอันตรายหรือไม่ ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ก่อนจะถูกขับออกจากช่องคลอด เป็นกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ดังนั้น การมีตกขาวไหลออกมาจากช่องคลอดก่อนเป็นประเดือน จึงถือเป็นเรื่องปกติและอาจไม่ส่งผลอันตราย ยกเว้นกรณีที่มีตกขาวผิดปกติ ดังนี้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเป็นตกขาวที่ผสมกับเลือดเก่าที่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกกะปริบกะปรอย หรืออาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของหญิงแต่ละคน ตกขาวสีเทา อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด และช่องคลอดบวมแดง ตกขาวสีขาวเป็นก้อนหนา อาจเกิดจากการติดเชื้อราในช่องคลอด ที่อาจสังเกตได้จากอาการคัน ช่องคลอดบวม และเจ็บช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนเลื่อน เกิดจากอะไร มาช้าหรือเร็วแค่ไหนคือผิดปกติ

ประจำเดือนเลื่อน หมายถึง การที่เลือดประจำเดือนซึ่งเคยมาทุกเดือนในรอบเดือนที่เท่า ๆ กัน เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ โดยมีสาเหตุมาจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การตั้งครรภ์ การออกกำลังกายอย่างหนัก การลดหรือเพิ่มน้ำหนักในเวลาอันรวดเร็ว ความอ้วน หากประจำเดือนเลื่อนบ่อยครั้ง ควรหาเวลาไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยหาสาเหตุ [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนคืออะไร ประจำเดือนมาปกติเป็นแบบไหน ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ เมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกจากมดลูก และกลายเป็นเลือดประจำเดือน โดยทั่วไป ผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 12-15 ปี อย่างไรก็ตาม บางรายอาจเป็นประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 8 ปี หรือช้ากว่านั้นแต่มักไม่เกิน 16 ปี เมื่อเป็นประจำเดือน ผู้หญิงจะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด ติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจเป็นประจำเดือนน้อยกว่านั้น ประมาณ 3-5 วันโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน สิวขึ้น หิวมากเป็นพิเศษ ประจำเดือนเลื่อน ปกติหรือไม่ โดยเฉลี่ย ผู้หญิงจะเป็นประจำเดือนทุก ๆ 28 วัน อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนอาจเลื่อน มาช้าหรือเร็วกว่าเดือนก่อนหน้า […]


การมีประจำเดือน

5 เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน ที่ควรรู้

เมื่อ เป็นประจำเดือน เพศหญิงจะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดทุก ๆ 21-35 วัน เป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายผลิตไข่ และไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ แม้ว่าการมีประจำเดือนถือเป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือผู้ที่มีอายุประมาณ 12-55 ปี แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนอยู่หลายประการ เช่น มีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนแล้วไม่ท้อง ประจำเดือนเป็นเลือดสกปรก น้ำมะพร้าวทำให้ประจำเดือนหยุดไหล ไม่ควรออกกำลังกาย ระหว่างเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน แม้ประจำเดือนจะเป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงทุกคน แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนอยู่ซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อย มีดังนี้ มีเพศสัมพันธ์ระหว่างเป็นประจำเดือนแล้วจะไม่ท้อง คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่าง เป็นมีประจำเดือน จะไม่ทำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากประจำเดือนเกิดขึ้นหลังจากไข่ตกและไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้ในขณะมีประจำเดือนไม่มีไข่ที่พร้อมปฏิสนธิ จึงไม่ทำให้ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่มีรอบเดือนสั้น หรือระหว่าง 21-24 วัน เมื่อเป็นประจำเดือน ร่างกายจะตกไข่ฟองใหม่ภายใน 4-5 วันนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน และหากมีเพศสัมพันธ์ในวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน เซลล์อสุจิซึ่งมีชีวิตอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้นานประมาณ 5 วัน อาจสามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่ตกระหว่างเป็นประจำเดือน และอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ ไม่ควรออกกำลังกาย ขณะเป็นประจำเดือน เพศหญิงมักเข้าใจว่าระหว่าง เป็นประจำเดือน ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง […]


การมีประจำเดือน

ปจด. กับปัญหากวนใจที่พบได้บ่อยในเพศหญิง

ปจด. หรือประจำเดือน หมายถึงภาวะเลือดออกทางช่องคลอดของเพศหญิงทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ 21-35 วัน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน หลังจากที่ร่างกายตกไข่แล้วไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิของเพศชาย ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ เพศหญิงอาจพบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับประจำเดือนแตกต่างกันไป เช่น ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนขาด ปวดท้องประจำเดือน หากปัญหาเหล่านี้สร้างความไม่สบายตัวหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ได้ [embed-health-tool-ovulation] ปจด. คืออะไร ปจด. เป็นคำย่อของประจำเดือน หรือการที่ร่างกายเพศหญิงมีเลือดออกทางช่องคลอดเดือนละครั้ง ซึ่งนับเป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยทั่วไป ผู้หญิงมักมีประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุ 12-16 ปี และจะหยุดมี ปจด. เมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือเมื่ออายุราว ๆ 45-55 ปี ซึ่งร่างกายจะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทั้งนี้ ประจำเดือนแต่ละรอบ จะเกิดห่างกันประมาณ 21-35 วัน และเลือดประจำเดือน จะไหลติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน ปัญหา ปจด. ที่พบบ่อย ปัญหาสุขภาพในเพศหญิงเกี่ยวกับประจำเดือนที่อาจพบได้บ่อย ประกอบด้วยปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมามาก (Menorrhagia) […]


เนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกมดลูก สาเหตุ อาการ การรักษา

เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ภาวะนี้พบบ่อยในผู้หญิงอายุ 40-50 ปี แต่ก็สามารถเกิดในผู้หญิงในวัยอื่นได้เช่นกัน เนื้องอกมดลูกเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติ อาจเกิดได้ทั้งบริเวณภายในเนื้อมดลูก ผนังมดลูก หรือปากมดลูก มีขนาดและรูปร่างที่หลากหลาย สาเหตุอาจเกิดได้จากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศหญิง โดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมักไม่แสดงอาการ ทั้งยังมีโอกาสเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายหรือก้อนมะเร็งเพียง 0.25-1.08% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีเนื้องอกมดลูกไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมมากที่สุด [embed-health-tool-ovulation] เนื้องอกมดลูก เกิดจากอะไร เนื้องอกมดลูกอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ระดับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีหน้าที่กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นในแต่ละรอบเดือน แต่ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เนื้องอกในมดลูกก่อตัวขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อการผลิตฮอร์โมนช้าลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื้องอกมักจะหดตัวและมีขนาดเล็กลง พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นเนื้องอกมดลูก อาจมีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมดลูกสูงขึ้น อาการที่เป็นสัญญาณของเนื้องอกมดลูก โดยทั่วไป เนื้องอกมดลูกจะไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน หากมีอาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของเนื้องอกมดลูกที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนมานานกว่า 1 สัปดาห์ รู้สึกหน่วงหรือเจ็บบริเวณท้องน้อยซึ่งเป็นตำแหน่งของกระดูกเชิงกราน คลำพบก้อนเนื้อในท้อง หรือรู้สึกว่าท้องโตขึ้นแบบไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย รู้สึกปวดบริเวณหลังและขา มีอาการท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกไปเบียดทับลำไส้ใหญ่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกโตจนไปดันกระเพาะปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด เนื้องอกมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเนื้องอกมดลูก อาจมีดังนี้ มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้ที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อยมีแนวโน้มเกิดเนื้องอกมดลูกได้ง่ายกว่าคนที่มีประจำเดือนตามปกติ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน