สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหญิง เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหญิง

การมีประจำเดือน

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณและอาการที่บอกได้ว่าไม่ใช่แค่ปวดประจำเดือน

อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่า สาวๆ อาจกำลังมีอาการ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อให้ทำการวินิจฉัย และรักษาต่อไป เนื่องจาก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จะตรวจพบได้จากการใช้กล้อง เพื่อดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy) จึงต้องพบคุณหมอ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกไปเกิดขึ้นนอกโพรงมดลูก เช่น รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ หรือผนังกระเพาะปัสสาวะ โดยบางครั้งก็อาจกระจายออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป อย่างเช่น กระบังลม ปอด เยื่อหุ้มช่องปอด เป็นต้น โดยถึงแม้จะยังอยู่นอกมดลูก แต่เยื่อบุมดลูกเหล่านี้ ก็ยังมีปฏิกิริยาแบบเดิม นั่นก็คือ เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้น และหลุดลอกเป็นเลือดประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดประจำเดือนที่ข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดท้องเวลามีประจำเดือน หรือมีบุตรยาก สัญญาณที่บอกว่าสาวๆ กำลังมีอาการของ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 1. ปวดท้องโดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน อาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่ชัดเจนที่สุด ของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังไม่หาย และจะปวดมากยิ่งขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนและระหว่างมีประจำเดือน เนื่องจากเนื้อเยื่อและเลือดที่ถูกขับออกมาจากเยื่อบุมดลูกที่ไม่ได้อยู่ในมดลูก จะไม่สามารถออกจากร่างกายได้ จึงทำให้เกิดอาการคั่งของเลือด เกิดอาการบวม และเจ็บปวด โดยจะเจ็บปวดมากที่สุด บริเวณหน้าท้องส่วนล่างและบั้นเอว เหมือนกับอาการปวดท้องกระจำเดือนทั่วไป อาการปวดอาจอยู่เฉพาะที่ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดลามไปยังส่วนอื่นๆที่อยู่รอบๆอย่างเช่น หลัง ขาหนีบ หรือทวารหนักได้ ความแตกต่างระหว่างปวดท้องประจำเดือนธรรมดา […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ ปัญหาสุขภาพสตรีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย

ช่องคลอดอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะภาวะช่องคลอดอักเสบจะทำให้มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเกิดการเปรอะเปื้อนระหว่างวัน ดังนั้น จึงควรสังเกตและตรวจสอบสุขภาพช่องคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นช่องคลอดอักเสบ หรือหากทราบถึงอาการหรือสัญญาณเตือนก็จะทำให้รักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของช่องคลอดอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เป็นโรคทางนรีเวชที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ในช่องคลอดขาดความสมดุล มีสภาพเปลี่ยนแปลงเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งแอนนาโรบีส (Anaerobes) หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากกว่าแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เป็นแบคทีเรียที่ดี จึงทำให้ช่องคลอดขเต็มไปด้วยจุลินทรีย์จนเกิดการอักเสบตามมา พร้อมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบได้ ดังนี้ การมีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนใหม่บ่อยๆ การมีกิจกรรมทางเพศบ่อยครั้ง หรือเปลี่ยนคู่นอนคนใหม่ อาจส่งผลให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ จนช่องคลอดอักเสบและรู้สึกเจ็บปวด การทำความสะอาดแบบสวนล้าง การล้างช่องคลอดโดยการนำของเหลว เช่น น้ำ ฉีดอัดเข้าไปบริเวณช่องคลอดด้วยความแรง อาจทำให้ช่องเกิดการอักเสบนำและทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ สัญญาณ และอาการของช่องคลอดอักเสบ  หากมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อาจสังเกตสัญญาณเตือน หรืออาการบางอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ช่องคลอดมีของเหลวที่เหมือนน้ำ ไม่เข้มข้น มีสีเทาหรือขาว ไหลออกมา ช่องคลอดมีกลิ่นแรงอันไม่พึงประสงค์ และมีกลิ่นเหมือนคาวปลา คันรอบนอกช่องคลอด รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน แบคทีเรียในช่องคลอดอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเสมอไป แต่ในบางกรณี การมีแบคทีเรียในช่องคลอด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม อย่างเช่น ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ช่องคลอดอักเสบ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แบคทีเรียในช่องคลอดเพิ่มความน่าจะเป็นของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อเอชไอวี เชื้อเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes […]


ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

แบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ

แบคทีเรียในช่องคลอด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี และหากแบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล คือมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีมากเกินไป อาจทำให้เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอดอย่างถูกวิธี หรือการใช้ยาและรับประทานยาตามที่คุณหมอสั่ง หากพบว่าติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อาจลดความเสี่ยง หรือบรรเทาอาการของโรคได้ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หากแบคทีเรียบางชนิดเติบโตขึ้นในช่องคลอดมากเกินไป จำนวนแบคทีเรียจะเสียสมดุล จนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ อาการนี้เรียกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่แน่ชัดของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมากกว่า หากคุณมีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน หรือเพิ่งมีคู่นอนคนใหม่ หรือในกรณีที่คุณชอบสวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ แต่ในทางกลับกันหากคุณมีคู่นอนเพียงคนเดียว และไม่ได้สวนล้างช่องคลอด หรือไม่สูบบุหรี่ คุณอาจมีความเสี่ยงต่ำกว่าในการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด และแม้ว่าอาการนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็อาจเป็นได้เช่นกัน จะรู้ได้อย่างไรหากติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดไม่ได้แสดงอาการเสมอไป อาการที่พบบ่อยที่สุด ก็คือ ความผิดปกติของตกขาว คุณอาจสังเกตสีที่เปลี่ยนไป กลิ่นที่แย่ผิดปกติของตกขาว หรืออาจมีความรู้สึกแสบ คัน หรือเจ็บปวดในช่องคลอด หรือบริเวณใกล้ๆ ช่องคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดเป็นอันตรายหรือไม่ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดมักจะไม่เป็นอันตราย อาการอาจจะหายได้เองหลังจากไม่กี่วัน แต่สามารถทำให้คุณมีปัญหาหากเกิดภาวะอื่นๆร่วมด้วย อย่างเช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนดหรือการติดเชื้อที่มดลูกหลังคลอด การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด จะทำให้คุณเสี่ยงที่จะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ระหว่างการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน เช่น การผ่าคลอด การทำแท้ง หรือการตัดมดลูกออก การติดแบคทีเรียในช่องคลอด จะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า หากคุณสัมผัสกับเชื้อนี้ การวินิจฉัยและการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด แบคทีเรียในช่องคลอด สามารถแพร่กระจายระหว่างคู่นอนที่เป็นหญิงรักหญิงได้ อย่างไรก็ตาม คุณจะไม่ติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดจากฝาชักโครก การนอนเตียงร่วมกัน หรือการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเดียวกัน […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ถ้า หยุดกินยาคุมกำเนิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายผู้หญิง

สาวๆ แต่ละคนก็มีเหตุผลในการกินยาคุมกำเนิดไม่เหมือนกัน บางคนต้องการคุมกำเนิด บางคนกินเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับร่างกายบางอย่าง เช่น สิว ขนตามร่างกาย หรือบางคนกินเพราะแพทย์สั่ง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร Hello คุณหมอ จะชวนมาดูว่าหากสาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด ร่างกายอาจจะเกิดอาการอย่างไรบ้าง ผลข้างเคียงต่อร่างกายเมื่อ หยุดกินยาคุมกำเนิด มีผลต่อประจำเดือน ตอนที่กินยาคุมกำเนิดก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับการมีประจำเดือนอยู่แล้ว เช่น การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่ทำให้สาวๆ บางคนประจำเดือนเปลี่ยนไป มาเร็วไป มาช้าไป หรือเลือดออกน้อย ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ผู้หญิงหลายๆ คนก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงจนต้องไปหาคุณหมอ และเมื่อเวลาที่สาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมีความเป็นไปได้ที่ประจำเดือนจะผิดปกติ เนื่องจากในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีผลต่อประจำเดือนโดยตรง การหยุดกินยาคุมจะทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงกลับมาเป็นเหมือนเดิม ตอนที่ไม่ได้กินยาคุมกำเนิด จึงอาจเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เช่น มามากกว่าปกติ มาน้อยกว่าปกติ หากหยุดยาคุมกำเนิดแล้วประจำเดือนไม่มาหลายเดือนควรไปพบคุณหมอ สิวขึ้น ในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีผลทำให้ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง ซึ่งฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวผลิตไขมันซีบัม (Sebum) ออกมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว การกินยาคุมจึงช่วยลดการเกิดสิวได้ กลับกันหากสาวๆ หยุดกินยาคุม ฮอร์โมนก็จะกลับมาอยู่ในระดับปกติ […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ปากมดลูกปลิ้น สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปากมดลูกปลิ้น (Cervical ectropion) คือภาวะที่เซลล์ปากมดลูกที่อยู่ภายในช่องคอมดลูก ปลิ้นออกไปยังด้านนอกปากมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาว และเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ปากมดลูกปลิ้นคืออะไร ปากมดลูกปลิ้น คือการที่เซลล์ในคลองปากมดลูกซึ่งเรียงเป็นเเนวอยู่ภายในช่องคอมดลูกกระจายตัวออกไปยังพื้นผิวนอกปากมดลูก ปกติเเล้วเซลล์นอกปากมดลูกจะเป็นเซลล์แข็ง บริเวณที่ซึ่งเซลล์ทั้งสองประเภทมาบรรจบกันนี้เรียกว่าพื้นที่เปลี่ยนผ่าน โดยปากมดลูกถือเป็น “คอ” ของมดลูก เพราะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างมดลูกกับช่องคลอด อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ใช่มะเร็ง เเละไม่ได้กระทบกับภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิง เเท้จริงเเล้ว อาการดังกล่าวไม่ใช่โรค เแต่กระนั้น อาการนี้ก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสำหรับผู้หญิงบางคนได้ อาการ อาการปากมดลูกปลิ้นเป็นอย่างไร บางคนอาจไม่มีอาการใดปรากฏเลย จนกระทั่งได้รับการตรวจภายใน ถ้ามีอาการปรากฏ อาการดังนี้ มีตกขาว เลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงไม่มีรอบเดือน อาการเจ็บเเละมีเลือดไหลระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ อาการเจ็บเเละเลือดไหลอาจเกิดขึ้นระหว่างหรือภายหลังการตรวจภายในได้เช่นกัน อาการดังกล่าวจะรุนเเรงสำหรับผู้หญิงบางคน ตกขาวจะก่อให้เกิดความรำคาญ เเละอาการเจ็บปวดจะขัดความสุขที่เกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ อาการปากมดลูกปลิ้นยังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ในการทำให้มีเลือดไหลในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดจากเซลล์ปากมดลูกที่บอบบางว่าเซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ปากมดลูดจึงผลิตมูกออกมามากกว่าเเละมีเเนวโน้มที่จะมีเลือดออกได้ง่าย เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ ควรติดต่อคุณหมอเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เลือดไหลในช่วงต่อของการมีประจำเดือน ตกขาวผิดปกติหรือเจ็บปวดในระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ อาการปากมดลูกปลิ้นไม่ได้ร้ายแรง เเต่สัญญาณเเละอาการเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากโรคอื่น ที่ควรจะได้รับการรักษาหรือชี้ชัดว่าเป็นโรคนั้นหรือไม่ อาการดังกล่าวบางอย่างได้แก่ การติดเชื้อ มีเนื้องอกมดลูกหรือติ่งเนื้อยื่นออกมา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ปัญหากับห่วงอนามัย ปัญหากับการตั้งครรภ์ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก เเละมะเร็งประเภทอื่นๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ หากมีสัญญาณหรืออาการข้างต้น รวมถึงหากมีข้อสงสัย ร่างกายของทุกคนต่างมีการตอบสนองที่เเตกต่างกัน วิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาคุณหมอว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ สาเหตุ สาเหตุของอาการปากมดลูกปลิ้น ผู้หญิงบางคนเกิดมาพร้อมกับอาการปากมดลูกปลิ้น โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จาก […]


การมีประจำเดือน

ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause)

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปีแต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่น ๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร คืออะไร การหมดประจำเดือนเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ เมื่อวงจรการมีประจำเดือนหยุดลง ทั้งนี้ หากไม่มีรอบเดือนเป็นเวลานาน 12 เดือนติดต่อกัน ถือว่าได้เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เนื่องจากสาเหตุทางพันธุกรรม ความเจ็บป่วย หรือสภาวะอื่นๆ การหมดประจำเดือนในช่วงวัยก่อนอายุ 40 ปีนี้ จะถือว่าเป็น ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควรพบได้ไม่บ่อยนัก ตามข้อมูลจากสถิติที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา ภาวะนี้จะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 1,000 คน ของผู้หญิงในช่วงอายุ 15-29 ปี และ 1 ใน 100 คนของผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน