backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/08/2022

คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันได้อย่างไร

คอเลสเตอรอลสูง เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก อย่างเนื้อสัตว์ติดมันหรืออาหารทะเล รวมทั้งอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งหากร่างกายมีคอเลอเตอรอลสูง จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น ควรจำกัดอาหารและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คอเลสเตอรอลสูง คืออะไร

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกระแสเลือด มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดี ส่วนคอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงกว่าปกติ โดยปัญหาคอเลสเตอรอลสูงสามารถทำให้หลอดเลือดตีบตันหรืออุดตัน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจ

ปัญหาคอเลสเตอรอลสูง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ดังนั้น เพื่อป้องกันคอเลสเตอรอลสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย โดยวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัด

คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงในระยะยาว จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เพราะไขมันจะเข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน หรือตีบตัน นำไปสู่การขาดเลือด จนร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจ  สมอง และระบบการทำงานต่าง ๆ ได้ตามปกติ ส่งผลให้หัวใจเกิดการขาดเลือด เสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ตามมา

วิธีป้องกัน คอเลสเตอรอลสูง

การรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่ปกติขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถปฏิบัติตนตมคำแนะนำต่อไปนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก หากน้ำหนักเกิน มักทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น อีกทั้งเพิ่มความเครียดให้หัวใจการควบคุมน้ำหนักอาจมีส่วนช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลค่อย ๆ ลดลง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น และช่วยปรับปรุงระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เลือกรับประทานผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ถั่ว อาหารที่มีกากใยอาหารสูง เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูง เพราะอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงจะยิ่งทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • งดสูบบุหรี่ สารนิโคตินและสารเคมีในบุหรี่ ออกฤทธิ์ทำลายผนังหลอดเลือด และทำให้ไขมันดีลดลง การงดสูบบุหรี่จะช่วยลดการสะสมของไขมันและช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำจะยิ่งทำให้เกิดการสะสมไขมันมากขึ้น ระดับคอเลอเตอรอลสูงขึ้นตามไปด้วย หากงดการดื่มจะช่วยให้ปริมาณคอเลสเตอรอลลดลง ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้สามารถดูแลร่างกายได้ดีขึ้น หากพบความผิดปกติ สามารถรักษาได้ทันท่วงที

เพื่อให้วิธีลดระดับคอเลสเตอรอลเหมาะสมแก่ภาวะทางสุขภาพ ควรตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้น และขอคำแนะนำจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการให้ช่วยวางแผนเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา