backup og meta

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) เกิดจากการทำงานผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก

คำจำกัดความ

อาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) คืออะไร

อาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)  เกิดจากกการทำงานที่ผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก  รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย

พบได้บ่อยเพียงใด

กลุ่มอาการซิคไซนัส เกิดขึ้นได้กับทุกวัย พบได้ในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง

อาการ

กลุ่มอาการซิคไซนัส

ผู้ที่ที่อยู่ในกลุ่มอาการซิคไซนัส มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ แสดงออกมาให้เห็น อย่างไรก็ตามหากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ในปริมาณที่เพียงพอ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส

กลุ่มอาการซิคไซนัสเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย ดังนี้

  • การผ่าตัด การเกิดเนื้อเยื่อแผล จากการผ่าตัดหัวใจ
  • ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาช่วยลดความดันโลหิตหรือยารักษาโรคหัวใจ เช่น ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) ยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers)
  • อายุมากขึ้น เซลล์กล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย เนื่องจากอายุที่มากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการซิคไซนัส

  • วัยสูงอายุ และผู้ที่ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกลุ่มอาการซิคไซนัส

แพทย์อาจทำการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้า  (Electrocardiogram) เพื่อทดสอบจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจเพื่อดูภาพโครงสร้างของหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography) การตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ  โดยการใส่เครื่องมือตรวจจับคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงสอดผ่านทางคอเข้าไปในหลอดอาหารเพื่อให้แสดงภาพของหัวใจ
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้า (Holter Monitoring) การดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงระยะเวลา 24 ชม.

การรักษากลุ่มอาการซิคไซนัส     

ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือเกิดจากการรับประทานยา แพทย์อาจทำการปรับเปลี่ยนยาให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการซิคไซนัส จะต้องฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเทียม เมื่อไซนัสที่ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะหัวใจไม่สามารถทำงานได้

อย่างไรก็ตามเครื่องกระตุ้นหัวใจเทียม อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียง ดังนี้

  • เกิดช่องว่างเป็นรู ระหว่างการเจาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การติดเชื้อแบคทีเรียระหว่างการผ่าตัด
  • ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการซิคไซนัส

การป้องกันกลุ่มอาการซิคไซนัสนั้นทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

คุณควรดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น การรับประทานอาการที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย หากพบว่าตนเองมีอาการผิดสังเกตควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษา

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sick sinus syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hunter-syndrome/symptoms-causes/syc-20350706. Accessed 12 June 2020.

Sick sinus syndrome. https://www.healthline.com/health/sick-sinus-syndrome. Accessed 12 June 2020.

Sick Sinus Syndrome. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/sick-sinus-syndrome-a-to-z. Accessed 12 June 2020

Sick sinus syndrome. https://medlineplus.gov/ency/article/000161.htm. Accessed 12 June 2020

Sick sinus syndrome. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470599/. Accessed 12 June 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/05/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่...พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีอะไรบ้าง

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา