- โรคอ้วน
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High Blood Pressure)
- โรคซึมเศร้า (Depression)
- มีความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep Disorder)
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease)
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจล้มเหลว
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อาจมีดังนี้
- การรับประทานอาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอล และโซเดียมในปริมาณสูง
- การสูบบุหรี่
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติด
- ยารักษามะเร็งบางชนิด
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยหัวใจล้มเหลว
เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว คุณหมออาจถามคำถามเกี่ยวกับอาการและประวัติสุขภาพ เพื่อต้องการทราบข้อมูลบางอย่าง ได้แก่
- ภาวะเกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ หรือไม่ มีการใช้สารเสพติดหรือไม่
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบหรือไม่
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่และดื่มมากเท่าใด
- เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือไม่
- ยา วิตามิน อาหารเสริม ที่กำลังใช้อยู่ปัจจุบัน
จากนั้นจึงจะทำการตรวจอย่างละเอียดในขั้นตอนถัดไปด้วยเทคนิคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด การตรวจเอกซเรย์หน้าอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เป็นต้น
การรักษาหัวใจล้มเหลว
ปัจจุบันนี้ หัวใจล้มเหลวยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจมีการรักษาต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการรุนแรง และช่วยควบคุมความดันโลหิตเท่านั้น โดยคุณหมอจะกำหนดยารักษาตามอาการ หรือโรคเป็น ดังนี้
- ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
- ยากลุ่ม Angiotensin II receptor blockers
- ยากลุ่ม Beta blockers
- ยาขับปัสสาวะ
- ยากลุ่ม Aldosterone antagonists
- ยากระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (Inotropes)
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการภาวะหัวใจล้มเหลว
คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อนำไปปรับใช้และอาจช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พยายามเลิก หรือลดการสูบบุหรี่
- จัดการความเครียด
- รักษาน้ำหนักของร่างกายอย่างเหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- จำกัดการบริโภคคอเลสเตอรอล
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย