backup og meta

รู้หรือไม่! เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดเวลา อาการแบบนี้เสี่ยงเป็น โรคติดน้ำแข็ง

รู้หรือไม่! เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งตลอดเวลา อาการแบบนี้เสี่ยงเป็น โรคติดน้ำแข็ง

สำหรับใครที่สังเกตว่าคนรอบข้าง หรือตนเอง กำลังเริ่มชอบนำน้ำแข็งมาเคี้ยวเล่นตลอดเวลาที่ปากว่าง และไม่สามารถลดละในการทานได้แม้แต่นาทีเดียว นั่นอาจหมายความว่าพวกเขาอาจเข้าข่ายอยู่ในภาวะที่เรียกว่า โรคติดน้ำแข็ง โรคที่เสพติดความเย็ดจัด แม้กระทั่งการดื่มน้ำเย็นก็ทดแทนกันไม่ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ นำบทความดี ๆ เกี่ยวกับอาการแปลก ๆ นี้ มาให้ทุกคนได้ทราบกัน เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของคุณที่ควรเร่งรีบรักษาโดยด่วน

โรคติดน้ำแข็ง (Pagophagia) คืออะไร

ส่วนใหญ่โรคติดน้ำแข็ง (Pagophagia) มักเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก ๆ คือมีความเครียดจากปัญหาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และจิตใจ จนไปสู่อาการขบเคี้ยวเพื่อเป็นการผ่อนคลายตนเอง โดยบางคนอาจเป็นการเคี้ยวน้ำแข็ง กัดเล็บ ดึงเส้นผม เป็นต้น นอกจากนี้หากคุณ หรือคนรอบข้างของคุณยังไม่หยุด หรือปรับพฤติกรรม อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง การขาดแร่ธาตุอาหารได้

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการสรุปคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 81 คน ไว้ พวกเขาพบว่า 16%  คือผู้ที่ขาดแร่ธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก รวมทั้งสารอาหารรองอื่น ๆ ไปบำรุงร่างกาย จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเกิดการเจ็บป่วยในที่สุด

อาการเบื้องต้น ของโรคติดน้ำแข็ง

ลักษณะอาการต่อไปนี้ คืออาการของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคติดน้ำแข็ง และโรคโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร หากผู้ป่วยคนใดมีอาการรุนแรง โปรดเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะมีความเป็นไปได้ว่าคุณอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วยก็เป็นได้

  • อยากทานน้ำแข็ง หรือกัดก้อนน้ำแข็งตลอดเวลา
  • ผิวเริ่มซีด
  • เล็บเปราะบาง
  • ใบหน้า ลิ้น บวม
  • ร่างกายรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่ขึ้น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มือ และเท้ารู้สึกชา เย็น รวมทั้งอาจมีอาการของตะคริวร่วม

จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อาจเป็นอันตรายต่อลูกรักของคุณอย่างมาก เพราะการขาดสารอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจนำเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ภาวะแท้งบุตร หรืออาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรปรับพฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็งนี้โดยด่วน หากไม่อยากเสียทารกในครรภ์ไป

ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนเราควร รักษา โรคติดน้ำแข็ง อย่างไร

เบื้องต้นเราควรเริ่มจากการหยุดการเคี้ยวน้ำแข็ง และนำอาหารเสริมที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มาเคี้ยวทดแทน เพื่อให้สารอาหารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายไปปรับปรุงสุขภาพภายในโดยผ่านการรับประทานอาหารประจำวัน เช่น

  • ผักใบเขียวต่าง ๆ ได้แก่ บร็อคโคลี่
  • ผลไม้รสเปรี้ยว หรือผลไม้ที่มีวิตามินสูง ได้แก่ ส้ม กีวี่ สตรอว์เบอร์รี่
  • เนื้อสัตว์ หอยนางรม หอยเชลล์
  • ธัญพืชต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว

ในกรณีที่คุณไม่สามารถรักษา หรือป้องกันโรคติดน้ำแข็งด้วยตนเอง ให้รับเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที แพทย์ของคุณอาจใช้เป็นอาหารเสริมแคลเซียม เพื่อรักษาอาการขาดสารอาหาร และช่วยปรับความบกพร่องของแคลเซียมฟอสเฟต (Calcium phosphate) แคลเซียมคาร์บอเนต ( Calcium carbonate) เป็นการเพิ่มระดับแร่ธาตุในร่างกายให้คงที่ต่อไป

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Pagophagia? Causes, Treatment, and More https://www.healthline.com/health/pagophagia Accessed April 24, 2020

What to know about pagophagia https://www.medicalnewstoday.com/articles/pagophagia Accessed April 24, 2020

An Overview of Pagophagia https://www.verywellhealth.com/eating-ice-a-common-symptom-of-iron-deficiency-anemia-2634365 Accessed April 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่! รับฟังปัญหาชีวิตของผู้อื่นบ่อย ๆ อาจกลายเป็น โรคเครียดมือสอง ได้ โดยไม่รู้ตัว

น้ำแข็ง คุณประโยชน์ที่มากกว่าความเย็น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา