ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เช็ก! ตารางวัคซีน ตามช่วงอายุ อายุเท่าไหร่ควรฉีดวัคซีนอะไร?

การฉีดวัคซีน เป็นวิธีในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อช่วยในการป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละประเทศก็อาจจะมีแผนงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันออกไป แต่ว่าวัคซีนอะไร ควรฉีดเมื่อไหร่ ลองเช็กได้ใน ตารางวัคซีน ตามช่วงอายุ ในบทความนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ตารางวัคซีน ตามช่วงอายุ แรกเกิด วัคซีนป้องกันตับอักเสบ B (HB1): ควรให้เข็มแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด วัคซีนป้องกันอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus): วัคซีน 1 เข็ม สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 8 เดือน วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG): ฉีดก่อนจะออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน วัคซีนป้องกันตับอักเสบ B (HB2): เฉพาะสำหรับทารกที่คลอดจากแม่ที่มีพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 2 เดือน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib1): เข็มที่ 1 วัคซีนป้องกันโปลิโอ (IPV1): วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ เข็มที่ 1 วัคซีนโรต้า (Rota1): วัคซีนโรต้า เข็มที่ 1 วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (PCV): เข็มที่ 1 […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตรวจสุขภาพประจําปี สำคัญอย่างไร อายุเท่าไหร่ควรตรวจทุกปี

สุขภาพกับอายุเป็นสิ่งที่สวนทางกัน อายุที่มากขึ้นทุกวัน ความแข็งแรงของร่างกายก็กลับเสื่อมถอยลงไปทุกปี เพราะอวัยวะที่ใช้งานมาอย่างหนักเริ่มเกิดความเสื่อมไปตามวัย ตรวจสุขภาพประจําปี จึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งอายุมากยิ่งต้องตรวจเป็นประจำทุกปี  [embed-health-tool-bmi] ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจําปี ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการเจ็บป่วยออกมา การตรวจสุขภาพประจําปีเพื่อดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโอกาสการเกิดโรคในอนาคต เตรียมพร้อม ป้องกัน หรือรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ  การตรวจเช็คสุขภาพจะช่วยพยากรณ์โอกาสการเกิดโรค ความเสี่ยงของโรค หรือค้นหาโรค ที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย เมื่อพบเร็วการรักษาให้หายขาดก็ง่ายขึ้น หรือถ้าพบความเสี่ยงของโรคบางชนิด การรู้ก่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั้นได้ ซึ่งร่างกายของคนทุกคนล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอยู่แล้ว หากใช้ชีวิตโดยไม่ป้องกันการเกิดโรคเลย เมื่อเกิดโรคแล้ว อาการอาจรุนแรง รักษาได้ยาก บางโรคอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติมเข้ามา หากการดำเนินโรคนั้นเข้าสู่ระยะที่หนักขึ้น กลุ่มไหนที่ควรตรวจสุขภาพประจําปี ตั้งแต่แรกเกิด วัยทารกจวบจนผู้สูงวัย ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจําปี แต่ละกลุ่มมีแนวทางการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น อายุ 0-18 ปี กลุ่มวัยทำงาน อายุ18-60 ปี ช่วงวัยที่ควร ตรวจสุขภาพประจําปี กลุ่มวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ช่วงวัยที่ควรตรวจสุขภาพประจําปี หรือตรวจสุขภาพเป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ กลุ่มหญิงมีครรภ์  ตรวจสุขภาพประจําปี โรงพยาบาลรัฐกับโรงพยาบาลเอกชน ต่างกันหรือไม่ โปรแกรมตรวจสุขภาพสามารถเลือกได้หลายรายการ เกณฑ์การตรวจสุขภาพควรแบ่งตามช่วงอายุเพื่อความเหมาะสม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ใบรับรองแพทย์ มีกี่ประเภท และใช้ทำอะไรได้บ้าง

การใช้ ใบรับรองแพทย์ ในปัจจุบันมีอยู่หลายวัตถุประสงค์ เพราะเป็นเอกสารสำคัญใช้ในรับรองสุขภาพ โดยผู้ป่วยจะเข้ารับการตรวจสุขภาพได้จากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยแพทย์จะออกใบรับรองด้านสุขภาพเมื่อทำการตรวจร่างกาย หรือตรวจโรคให้ผู้เข้ารับบริการ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้ใบรับรองแพทย์แตกต่างกันไป [embed-health-tool-bmi] ใบรับรองแพทย์ คืออะไร  ใบรับรองแพทย์ ใบรับรองสุขภาพ หรือใบแพทย์ ปัจจุบันมีทั้งเป็นเอกสารและใบรับรองแพทย์ดิจิทัล เป็นเอกสารสำคัญที่ออกโดยแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อใช้ยืนยันว่า แพทย์ได้ตรวจร่างกาย หรือตรวจโรค เรียบร้อยแล้ว และมีผลการตรวจสุขภาพหรือการรับรองด้านสุขภาพ ดังที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์  ใบรับรองแพทย์ใช้ยื่นเรื่องอะไร ใบรับรองแพทย์แต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันไป เพื่อยืนยันการมารับการตรวจที่สถานพยาบาลจริง โดยประเภทของใบรับรองแพทย์ จำแนกได้โดย เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องการ เช่น เกี่ยวข้องกับการมาตรวจรักษา เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่าย (ค่ารักษาพยาบาล) เกี่ยวข้องกับการลางาน ลาป่วย ลาหยุดงาน หรือลาการเรียน เกี่ยวข้องกับทางประกัน (เรียกร้องสิทธิ์ทางประกันภัยประเภทต่างๆ) หรือใช้ประกอบในการเบิกค่ารักษาพยาบาล เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง หรือดำเนินการทางคดี ใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องทางแพ่งหรือค่าสินไหมทดแทน  ใบรับรองแพทย์ยังใช้เพื่อรับรองสุขภาพ เช่น การศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ การเดินทางไปต่างประเทศ ใช้ในการเล่นกีฬา การสมัครเข้าทำงาน และใช้เพื่อขออนุญาต เช่น การขอทำใบขับขี่รถยนต์   ใบรับรองแพทย์ 5 โรค ก่อนปี 2551 ใบรับรองแพทย์ถูกเรียกว่าใบรับรองแพทย์ 5 โรค เพราะมีโรคที่จำเป็นต้องให้แพทย์รับรอง 5 โรค ประกอบด้วย […]


สุขภาพ

5 คำถามที่ต้องตอบก่อนทำ ศัลยกรรม

ความไม่พึงพอใจต่อการรับบริการศัลยกรรมความงาม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งในเรื่องมาตรฐานของคลินิกหรือสถานพยาบาล ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่ขั้นตอนให้คำปรึกษา เทคนิคการผ่าตัดของทีมแพทย์พยาบาล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ และความพร้อมของเครื่องมือ หรือแม้แต่สุขภาพร่างกายของผู้เข้ารับการศัลยกรรมเอง ล้วนมีส่วนทั้งสิ้น ก่อนตัดสินใจทำ ศัลยกรรม ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจและป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-ovulation] 5 คำถามที่ต้องตอบก่อนตัดสินใจทำ ศัลยกรรม ปัจจัยใดบ้างที่จะสร้างมั่นใจในการเข้ารับบริการศัลยกรรมความงามแต่ละครั้ง  ก่อนตัดสินใจไปทำศัลยกรรม ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้มั่นใจเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ 1.สุขภาพตนเอง แข็งแรงมากพอ และพร้อมทุกข้อในการผ่าตัดศัลยกรรม หรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด ไม่กังวล นอนพักผ่อนเพียงพอ เพื่อไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในช่วงรับบริการ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เข้ารับการผ่าตัด ตั้งแต่ระดับความดัน ประวัติการรักษาโรคประจำตัว และการใช้ยา 2.มาตรฐานศูนย์ศัลยกรรมฯ มีการรับรองความน่าเชื่อถือของสถานพยาบาล หรือไม่ ต้องมีมาตรฐาน ถูกต้องตามกฏหมาย ได้รับใบอนุญาตประกอบการ จากกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีคุณสมบัติทางกายภาพของศูนย์ฯ พร้อม เช่น มีห้องผ่าตัดใหญ่ สำหรับการศัลยกรรมฯ ต้องมีความน่าไว้วางใจ ด้วยประสบการณ์การบริการเคสศัลยกรรมความงามที่มากเพียงพอ และต่อนเนื่องมายาวนาน 3. มาตรฐานบุคลากรทางการแพทย์และความชำนาญการ มีมากน้อยแค่ไหน ทีมแพทย์และพยาบาลที่ประกอบการทำหัตถการ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติและความสามารถตรงสายงานด้านศัลยกรรมฯ ทีมแพทย์และพยาบาล […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อาการวัยทอง เกิดจากอะไร และรับมือได้อย่าง

อาการวัยทอง คือ ช่วงวัยที่มีระดับฮอร์โมนเพศลดลงเมื่ออายุมากขึ้นที่เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยอาจสังเกตได้จากอารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อย สภาพผิวเปลี่ยนแปลง  [embed-health-tool-ovulation] อาการวัยทองเกิดจากอะไร อาการวัยทอง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่มีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้ อาการวัยทองในผู้หญิง ฮอร์โมนเพศลดลง ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป การทำงานของรังไข่ที่ช่วยผลิตระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเริ่มน้อยลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญในภาวะเจริญพันธุ์และการมาของประจำเดือน จึงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมาน้อย และอาจหยุดลงเมื่ออายุ 40-50 ขึ้นไป การผ่าตัดรังไข่ออก เพราะรังไข่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ช่วยผลิตฮอร์โมนเพศและควบคุมการมาของประจำเดือน ดังนั้น เมื่อผ่าตัดนำรังไข่ออกทั้งหมดจะทำให้ประจำเดือนหยุดและเข้าสู่ช่วงวัยทอง การทำเคมีบำบัดและการฉายรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของรังไข่ที่ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนลดลง ประจำเดือนหยุดลงและเริ่มมีอาการวัยทอง ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Primary ovarian insufficiency) อาจพบได้น้อยในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุมาจากรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกาย จึงส่งผลให้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนถึงช่วงวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ อาการวัยทองในผู้ชาย อาการวัยในทองในผู้ชายอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 45-50 ปีขึ้นไป และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นหลังจากอายุ 70 ปี ซึ่งอาจตรวจสอบด้วยการเข้ารับการตรวจเลือดเมื่อเช็กระดับฮอร์โมนว่าลดลงหรือไม่ เพื่อรับการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวัยทอง หากมีอาการระดับรุนแรงที่นำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและภาวะซึมเศร้า อาการวัยทอง เป็นอย่างไร อาการวัยทองอาจสังเกตได้ ดังนี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนหมดในผู้หญิงอารมณ์แปรปรวน ช่องคลอดแห้ง เจ็บเต้านม ซึมเศร้าและรู้สึกหดหู่ ปวดไมเกรน ร้อนวูบวาบ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เครื่องช่วยหายใจ คืออะไร ใช้อย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจมักใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในปอด ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เป็นโรคหอบหืดหรือโรคปอดอักเสบ รวมทั้งใช้ระหว่างผ่าตัดด้วย [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องช่วยหายใจคืออะไร เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical Ventilation หรือ Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่หายใจได้ลำบากหรือไม่สะดวก หายใจได้ตามปกติ ด้วยการปล่อยออกซิเจนเข้าไปในปอด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอดในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจนิยมใช้ในสถานพยาบาลหรือรถพยาบาล แต่หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง จึงมีการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่ออยู่บ้านด้วย ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจมีอยู่ 2 แบบ คือแบบไม่ใส่ท่อ (Noninvasive Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับหน้ากากพลาสติกที่รัดกับใบหน้าของผู้ป่วย และแบบใส่ท่อ (Invasive Mechanical Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อที่สอดเข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย และนิยมใช้ในกรณีที่มีอาการหายใจติดขัดหรือมีปัญหาระบบหายใจผิดปกติรุนแรง เครื่องช่วยหายใจใช้ตอนไหน เครื่องช่วยหายใจมักใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี้ เมื่อเป็นโรคเกี่ยวกับปอด หรือมีการติดเชื้อบริเวณปอด ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหายใจ เมื่อมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน เช่น ภาวะแพ้รุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก เมื่อมีอาการป่วยหรือบาดเจ็บบริเวณสมอง ซึ่งทำให้การทำงานระหว่างสมองกับปอดบกพร่อง เป็นผลให้หายใจไม่สะดวก เมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ หรือออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เมื่อมีความเสี่ยงที่ของเหลวจะไหลเข้าไปในปอด ระหว่างผ่าตัด เนื่องจากยาสลบที่คุณหมอใช้มีออกฤทธิ์ทำให้หายใจลำบาก เครื่องช่วยหายใจ ต้องใช้นานแค่ไหน ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจนั้นขึ้นอยู่กับอาการป่วยหรือภาวะสุขภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณหมอมักเปลี่ยนจากการสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผ่านลำคอ เป็นการเจาะคอแล้วสอดท่อเข้าไปในหลอดลมแทน กระบวนการอื่น ๆ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุ อาการ การรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) หมายถึง การที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนจนมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งมักส่งผลให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลดลง หรือรู้สึกร้อนกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ไทรอยด์เป็นพิษรักษาให้หายได้จากการรับประทานยาและการผ่าตัด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษหมายถึงภาวะที่ร่างกายมีฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพหรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา จนก่อให้เกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา ทั้งนี้ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) หรือการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งมักพบในเพศหญิงประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ และพบในเพศชายประมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์ อาการ อาการ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่พบได้ เมื่อมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีดังนี้ อาการในระดับเบาหรือปานกลาง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว มักเกิน 100 ครั้ง/นาที กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัวสั่น ประหม่า วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด รู้สึกร้อนกว่าปกติ เหงื่อออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการในระดับรุนแรง หัวใจเต้นเร็วมาก ไข้สูง รู้สึกมึนงง ปั่นป่วน ท้องร่วง หมดสติ สาเหตุ สาเหตุของ ไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเกรฟส์ (Graves’ Disease) เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากกว่าปกติ หรือมีภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาเสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกาย จิตใจและสังคมอย่างไร

ยาเสพติด ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เนื่องจากยาเสพติดออกฤทธิ์กด กระตุ้น และหลอนประสาทจนทำให้เกิดอาการติดยาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เสพมีอาการเห็นภาพหลอน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ขาดสติ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผู้เสพมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาในสังคม เช่น การลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น เกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-bmr] ยาเสพติด คืออะไร ยาเสพติด คือ สารที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือถูกสังเคราะห์ขึ้น และมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสมองและร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาในสังคมได้ด้วย โทษของยาเสพติด ต่อสุขภาพร่างกาย โทษของยาเสพติดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความถี่ในการเสพ โดยอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อง่ายและป่วยง่าย ความผิดปกติของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจวาย เส้นเลือดยุบตัว การติดเชื้อในกระแสเลือด อาการคลื่นไส้และปวดท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารจนอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลง เซลล์และเนื้อเยื่อในตับอักเสบมาก เนื่องจากตับต้องทำงานหนักในการขับสารพิษจากยาอยู่ตลอดเวลา จึงอาจส่งผลให้ตับอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาต่อตับได้ ความผิดปกติทางสมอง เช่น อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง ความสับสนทางจิตใจ สมองได้รับความเสียหาย โรคปอด โดยเฉพาะการใช้ยาเสพติดด้วยการสูดดม อาจทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้นจนลุกลามกลายไปเป็นโรคปอดได้ ปัญหาในการใช้ชีวิต […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์ และโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคบางอย่างหรือเมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่น อยู่ในภาวะหลังคลอดบุตร หรือได้รับการฉายแสง อาจส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ [embed-health-tool-bmi] ไทรอยด์คืออะไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ หรือข้างใต้ลูกกระเดือก เรื่อยไปจนถึงหลอดลม มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อแบ่งเป็นสองพูซึ่งเชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (Isthmus) โดยมีน้ำหนักรวมประมาณ 25 กรัม ไทรอยด์ สำคัญต่อร่างกายอย่างไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไธรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) และไธไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine หรือ T3) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ การทำงานของไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ผ่านฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating Hormone หรือ TSH) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากหรือน้อยเกินไป จนนำไปสู่ความผิดปกติภายในร่างกาย นอกจากนั้น ฮอร์โมนไธรอกซินและไธไอโอโดไธโรนีน ยังมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ เร่งหรือชะลอการเต้นของหัวใจ เพิ่มหรือลดอุณหภูมิภายในร่างกาย เสริมสร้างพัฒนาการให้สมองส่วนต่าง ๆ ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ รักษาความแข็งแรงของผิวหนังและกระดูก โรคต่าง ๆ เกี่ยวกับ ไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

diabetes insipidus (โรคเบาจืด) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone หรือ ADH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป อาจทำให้มีอาการกระหายน้ำมาก ปากแห้ง อ่อนเพลีย ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้   คำจำกัดความdiabetes insipidus คืออะไร diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด คือ โรคที่ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป โดยอาจปัสสาวะมากถึง 20 ลิตร/วัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายปกติจะปัสสาวะเฉลี่ยเพียง 1-2 ลิตร/วัน เท่านั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาจืดจึงปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง เนื่องจากมีอาการกระหายน้ำตลอดเวลาและดื่มน้ำมากขึ้น หรือเรียกว่า ภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ (Polydipsia) โรคเบาจืดไม่เหมือนกับโรคเบาหวาน แม้ว่าจะมีอาการกระหายน้ำมากและมีการปัสสาวะมากขึ้นเหมือนกัน แต่โรคเบาหวานเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปและไตจะพยายามขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ส่วนโรคเบาจืดจะมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ไตมีความผิดปกติที่ไม่สามารถขับปัสสาวะได้อย่างเหมาะสม อาการอาการของ diabetes insipidus อาการของโรคเบาจืดอาจสังเกตได้ ดังนี้ กระหายน้ำและต้องการดื่มน้ำมากขึ้น ปวดปัสสาวะมากขึ้น ประมาณ 20 ลิตร/วัน และปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน ปัสสาวะมีสีซีด ปวดกล้ามเนื้อ ร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ อาการของโรคเบาจืดในทารกหรือเด็กเล็ก อาจมีดังนี้ ปัสสาวะรดผ้าอ้อมและที่นอน นอนหลับยาก มีไข้ อาเจียน น้ำหนักลดลง ท้องผูก การเจริญเติบโตล่าช้า หากมีอาการปัสสาวะมากเกินไปและกระหายน้ำผิดปกติควรรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุสาเหตุของ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วัคซีนมีความสำคัญอย่างไร และสามารถเข้ารับวัคซีน ได้ที่ไหนบ้าง?

การรับวัคซีน สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้เรียนรู้และเตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคก่อนที่ร่างกายจะได้รับเชื้อ เมื่อเชื้อโรคชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การรับวัคซีนสำคัญอย่างไร การฉีดวัคซีน อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้สนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรง โดยเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบซากเชื้อหรือเชื้อโรคที่ผ่านการดัดแปลงจนอ่อนแอลงภายในวัคซีน ก็จะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาจัดการกับเชื้อโรคนั้น ทำให้เมื่อได้รับเชื้อจริง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ทันที และลดโอกาสการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง นอกจากนี้ การรับวัคซีนสามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการเกิดโรคในผู้อื่นได้อีกด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีน จากข้อมูลของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่า สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่แรกเกิด และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด ดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมง หลังคลอด วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ก่อนจะออกจากโรงพยาบาล วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี (DTP-HB) อาจเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน และเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือนอาจเปลี่ยนฉีดเพียงแค่วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน (DTP) และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 4 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน