ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเรากันแน่

ระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร ร่างกายต้องดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่คุณอาจไม่ทราบว่าร่างกายยังจำเป็นต้องขับถ่ายของเสียที่เป็นพิษออกไปด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมลำไส้ใหญ่จึงมีความสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากนำเสนอบทความเกี่ยวกับ ลำไส้ใหญ่ เพื่อให้คุณรู้จักอวัยวะสำคัญนี้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] หน้าที่ของ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ เป็นท่อกล้ามเนื้อขนาดประมาณ 1.6 เมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร มีขนาดกว้างแต่สั้นกว่าลำไส้เล็ก โดยลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ ดูดกลับน้ำ ดูดซึมวิตามินเค กำจัดกากของเสียและสารพิษจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบน ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดลงล่าง ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่กินพื้นที่บริเวณท้องส่วนล่างด้านขวา ซึ่งเป็นบริเวณที่ลำไส้เล็กขับสารอาหารเข้าสู่ส่วนแรกของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า ซีกั้ม (cecum) ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบนเริ่มจากส่วนซีกั้มจนถึงระดับของตับ จากนั้นลำไส้จะขดไปทางซ้ายและพาดผ่านช่วงท้องที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดปลายเริ่มจากส่วนท้องด้านซ้ายไปจนถึงเชิงกรานที่บริเวณตำแหน่งม้าม เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และสิ้นสุดที่ลำไส้ตรง ซึ่งเป็นบริเวณที่ของเสียถูกขับออกจากร่างกาย ในช่วงแรก เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะถูกเปลี่ยนเป็นกากอาหารหรืออุจจาระ และถูกลำเลียงไปกักเก็บไว้ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ของเสียจะถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงเมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระซึ่งเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อวัน ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุและสร้างของเสียเพื่อขับออกจากร่างกายในรูปแบบของอุจจาระ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียมากกว่า 400 ชนิดซึ่งหน้าที่หลักคือแบคทีเรียเหล่านี้คือ ช่วยย่อยอาหาร กระตุ้นการผลิตสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินเค วิตามินบีหลายชนิด สร้างสมดุลของกรดและด่าง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ผู้ที่มีสุขภาพลำไส้ใหญ่ดีควรขับถ่ายได้ง่ายและอุจจาระออกหมด และอุจจาระควรมีสีอ่อน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หิวน้ำบ่อย อยากดื่มน้ำตลอดเวลา อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

หิวน้ำบ่อย หรือ กระหายน้ำบ่อย เพราะร่างกายเสียน้ำมาก เช่น หลังออกกำลังกายอย่างหนัก หรือในวันที่อากาศร้อนจัด อาการกระหายน้ำแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยากดื่มน้ำตลอดเวลา กระหายน้ำมากผิดปกติ  ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ หิวน้ำบ่อย อาการ กระหายน้ำบ่อย มากผิดปกติ อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ กินอาหารเค็มมาก หรืออาหารรสเผ็ด มีอาการป่วย การออกกำลังกายหนัก ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือดมาก กินยาบางประเภท เช่น ลิเทียม (Lithium) ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) ยาระงับอาการทางจิตบางชนิด นอกจากนี้ อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง ได้แก่ กระหายน้ำบ่อย จากภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำ คือภาวะที่ในร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายเกิดอาการ กระหายน้ำบ่อย สำหรับสาเหตุของภาวะขาดน้ำ อาจเกิดจากการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก ท้องเสีย และอาเจียน ซึ่งคุณอาจสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ปากแห้ง ผิวแห้ง รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ โรคเบาหวาน ทางการแพทย์เรียกภาวะที่ต้องการดื่มน้ำมากผิดปกติ ว่า Polydipsia ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคเบาหวาน โดยเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปวดหลังหลังกินอาหาร อย่าชะล่าใจ! เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายแรงที่คุณคาดไม่ถึง

เชื่อว่าทุกคนคงเคยประสบกับอาการปวดหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นมานานแสนนานไม่หายสักที หรืออาการปวดหลังเฉียบพลันที่อยู่ๆ ก็ทำให้เจ็บจี๊ดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย อาการปวดหลังเกิดได้แทบจะทุกเวลา ไม่ว่าจะตอนนั่ง ตอนนอน ตอนเดิน หรือแม้แต่หลังกินอาหาร สำหรับใครที่มีอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร เป็นประจำ Hello คุณหมอ อยากบอกว่าอย่าชะล่าใจ เพราะถ้าปล่อยไว้นานวันอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร อาการปวดหลังที่เกิดขึ้นหลังกินอาหาร อาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ ท่านั่งไม่ถูกสุขลักษณะทำให้รู้สึก ปวดหลังหลังกินอาหาร หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เราเกิดอาการปวดหลังก็คือ ท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ดีต่อสุขภาพ นั่นเอง ระหว่างกินอาหาร หากคุณนั่งหลังค่อม นั่งห่อไหล่ หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่รองรับสรีระ อาจทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังมีปัญหา เมื่อกินอาหารเสร็จ จึงรู้สึกปวดหลัง ภูมิแพ้อาหารและภูมิแพ้อาหารแฝง สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้อาหาร หรือภูมิแพ้อาหารแฝง เช่น แพ้นม แพ้แอลกอฮอล์ แพ้กลูเตน แพ้น้ำตาล หากกินอาหารชนิดนั้นๆ เข้าไปก็อาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ยิ่งถ้าคุณปวดหลังอยู่ก่อนแล้ว การอักเสบจากการกินอาหารที่แพ้ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดหลังของคุณแย่กว่าเดิม ภาวะหัวใจวาย ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะเมื่อปวดหลังร่วมกับอาการ เช่น เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดแขน ขากรรไกร หรือคอ อาการจุกเสียด แสบร้อนกลางอก คนที่ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นผลมาจากอาการปวดแสบปวดร้อนกลางอก หรือที่เรียกว่า Heartburn เนื่องจากกรดไหลย้อน หรืออาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นเมื่อคุณกินอาหารเร็วเกินไป หรือกินอาหารที่เปรี้ยวหรือเผ็ดจัด ถุงน้ำดีอักเสบ ถุงน้ำดีคือแหล่งกักเก็บน้ำดีที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน หากคุณมีนิ่วในถุงน้ำดี […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กำลังควบคุมน้ำหนักห้ามพลาด ทำอย่างไร ไม่ให้ น้ำหนักขึ้น

ถ้าคุณมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณมีน้ำหนักเกินและต้องการลดน้ำหนัก ควรระวังไม่ให้ น้ำหนักขึ้น ด้วย นอกจากนี้ยิ่งเราอายุมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าจะน้ำหนักขึ้น แม้ว่าจะกินอาหารปริมาณเท่าเดิม Hello คุณหมอ จึงมีเทคนิคที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักขึ้นมาฝาก ทั้งในผู้ที่กำลังลดความอ้วน และผู้ที่ไม่อยากน้ำหนักขึ้นในอนาคต ทำไมเราถึงน้ำหนักขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น องค์ประกอบของร่างกายจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือสัดส่วนของกล้ามเนื้อลดลง และไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานช้าลง และทำให้น้ำหนักขึ้นง่ายด้วย มากไปกว่านั้นสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะน้ำหนักขึ้นด้วย ข่าวดีคือการที่น้ำหนักขึ้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งถ้าคุณมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ก็จะช่วยป้องกันโรคเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด เทคนิคแนะนำ ทำอย่างไรไม่ให้ น้ำหนักขึ้น เพิ่มกล้ามเนื้อ หนึ่งในวิธีที่ช่วยป้องกัน น้ำหนักขึ้น คือ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (strength training) ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อรักษาและสร้างมวลกล้ามเนื้อ เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย เลิกนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นิสัยต่างๆ เหล่านี้ควรปรับเปลี่ยน เพื่อให้สุขภาพดีมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย กินแบบไม่มีสติ เช่น กินไปดูทีวีไป ดื่มแอกอฮอล์ และเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไป ไม่กินอาหารเช้า กินอาหารไม่เป็นเวลา กินโปรตีนไม่เพียงพอ ค่อยๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีลดไขมัน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลชัวร์

วิธีลดไขมัน นอกจากการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ส่งผลต่อน้ำหนัก และข่าวดีคือ มีวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมัน Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลจากงานวิจัย ที่แนะนำวิธีที่อาจช่วยเผาผลาญไขมันได้ ดังต่อไปนี้ ลดน้ำหนัก VS ลดไขมันต่างกันอย่างไร ก่อนที่จะไปรู้วิธีลดไขมัน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่าลดไขมัน กับลดน้ำหนักนั้นต่างกันอย่างไร เวลาที่คุณลดน้ำหนัก อาจไม่ใช่แค่น้ำหนักของไขมันอย่างเดียว แต่รวมถึงน้ำหนักของกล้ามเนื้อ และของเหลวในร่างกายด้วย ซึ่งการลดความอ้วนที่ดีต่อสุขภาพ คือควรลดแค่ไขมันในร่างกาย และไม่ควรลดกล้ามเนื้อไปด้วย ดังนั้นจึงควรมุ่งไปที่การลดไขมัน แทนที่จะสนใจเพียงแค่ตัวเลขน้ำหนักที่ลดลงเพียงอย่างเดียว สำหรับวิธีการลดไขมัน คือต้องเผาผลาญแคลอรี่มากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน ด้วยการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น รวมถึงควบคุมอาหารไม่ให้กินในปริมาณมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีวิธีที่สามารถช่วยลดไขมันได้ ดังนี้ วิธีลดไขมัน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล ออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ยิ่งคุณใช้เวลาในการออกกำลังกายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเวลาที่คุณออกกำลังกายร่างกายจะเผาผลาญแคลอรี่ เพื่อใช้เป็นพลังงาน เพิ่มเติมไปกว่านั้นหลังจากที่คุณออกกำลังกายเสร็จแล้ว ร่างกายก็ยังคงเผาผลาญแคลอรี่ต่อ สำหรับการออกกำลังกายที่แนะนำ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการเดินเร็ว โดยอาจเพิ่มเวลาในการเดินเช่นจาก 30 นาทีเป็น 1 ชั่วโมง เพราะมีงานวิจัยชี้ว่าการออกกำลังกายนานขึ้น สามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญในช่วงพัก หรือช่วงเวลาหลังจากออกกำลังกายได้ ออกกำลังกายแบบการฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) การฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

ลูปัส (Lupus) เป็นอาการอักเสบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหันมาโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของคุณเอง การอักเสบจากโรคลูปัสอาจเกิดขึ้นกับระบบร่างกายต่างๆ มากมาย รวมทั้งข้อต่อ ผิวหนัง ไต เม็ดเลือด สมอง หัวใจและปอด นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ด้วย โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมกับบทความดีๆ สัญญาณและอาการของโรคลูปัสมีอะไรบ้าง สัญญาณแสดงและอาการของโรคลูปัส สัญญาณแสดงและอาการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ เหนื่อยล้าและเป็นไข้ ปวดข้อต่อ ข้อแข็ง และบวม ผื่นรูปร่างปีกผีเสื้อที่ใบหน้าครอบคลุมบริเวณแก้มและสันจมูก แผลที่ผิวหนังที่ปรากฎหรือมีอาการแย่ลงเมื่อเจอแสงแดด นิ้วมือและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือสีน้ำเงินในช่วงอากาศเย็นหรือเวลาเครียด หายใจถี่ ปวดหน้าอก ตาแห้ง ปวดศีรษะ สับสน และสูญเสียความทรงจำ  โรคลูปัสทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างไร เนื่องจากที่โรคลูปัสส่งผลกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ในหลายรูปแบบ โดยการกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของก้อนเลือด เพราะกิจกรรมที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สารภูมิต้านทานในผู้ป่วยโรคลูปัสอาจจู่โจมเนื้อเยื่อของเซลล์ภายในหลอดเลือด ซึ่งสามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดชั้นลึกบริเวณขา ในห้องหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่ที่ศีรษะ ในบางกรณี ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจเคลื่อนไปสู่สมองและทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันลิ่มเลือด (embolic strokes) ได้ การทำงานของสารภูมิต้านทานที่ผิดปกติในโรคลูปัสอาจทำให้เกิดการทำงานของการก่อตัวลิ่มเลือดที่ผิดปกติได้ รวมทั้งสารต้านการเกาะลิ่มเลือดลูปัส (Lupus anticoagulant) และ anticardiolipin antibodies ในผู้ป่วยโรคลูปัสบางราย สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขนาดเล็กของสารภูมิต้านทาน เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ผสมกับแร่ธาตุ โปรตีน และสารอื่นๆ ที่มาจากระบบภูมิคุ้มกัน อาจพบได้ในหัวใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้เมื่อถูกนำพาจากหัวใจไปยังสมอง ภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างของโรคลูปัสคือภาวะหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ในภาวะนี้ หลอดเลือดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงมากจนเลือดไหลผ่านไม่ได้เลย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังสมอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ข้อควรรู้สำหรับนักฟิตเนสมือใหม่! กับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อควรรู้สำหรับนักฟิตเนสมือใหม่ เกี่ยวกับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด มาฝากกัน เพื่อเป็นประโยชน์เต่อการการวางแผนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัดจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย ทำความรู้จักกับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด เคล็ดลับในการสร้างกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด  มีดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ  กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขนาดใหญ่สี่ส่วนบริเวณต้นขาด้านหน้า การออกกำลังกายบางท่าจะช่วยเสริมสร้าง กล้ามเนื้อในส่วนนี้ เช่น ท่าสควอทและลันจ์ (Squats and Lunges) กล้ามเนื้อกลุ่มแฮมสตริง คนส่วนใหญ่มักจะลืมกล้ามเนื้อกลุ่มแฮมสตริงเมื่อออกกำลังกาย บางทีอาจเป็นเพราะมองเห็นยาก กล้ามเนื้อแฮมสตริง เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาส่วนหลัง และการออกกำลังกายท่าสควอทจะส่งผลที่แฮมสตริงแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อน่องมักจะถูกละเลย เมื่อพูดถึงการสร้างกล้ามเนื้อ แม้แต่นักสร้างกล้ามเนื้อมืออาชีพก็ยังรู้สึกพอใจกับน่องที่มีขนาดเล็กขณะที่ลำตัวมีกล้ามเนื้อใหญ่โต กล้ามเนื้อน่องนั้นสร้างยาก โดยคุณจะต้องออกแรงที่กล้ามเนื้อแต่ละมัดในบริเวณน่องอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อหน้าอก เป็นหนึ่งในกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัดที่ได้รับความสนใจจากทุกคนโดยเฉพาะในผู้ชายอกสามศอกทั้งหลาย ทุกคนต่างต้องการสร้างกล้ามเนื้อหน้าอก เพราะเป็นกล้ามที่สร้างง่ายกว่าส่วนอื่น แต่คุณไม่ควรลืมว่า คุณควรสร้างกล้ามเนื้อหน้าอกให้มากพอ ๆ กับกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกันเพื่อความสมดุล กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อส่วนหลังเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในร่างกาย หากคุณอยากพัฒนากล้ามเนื้อหลังให้ดูแข็งแรงและสวยงาม ควรออกกำลังกายท่าเดทลิฟท์ (Deadlifts) เพื่อสร้างกล้ามเนื้อส่วนหลัง อย่างไรก็ตาม ควรทำท่าและใช้เทคนิคให้ถูกต้อง เพราะการทำท่าเดทลิฟท์แบบผิด ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เกมสนุกๆ เพื่อการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง

การวิ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ข้อเท้าและเท้า สำหรับนักวิ่ง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ข้อเท้าและเท้านั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาการวิ่งให้ดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้อีกด้วย  วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอเสนอแนะเกมสนุก ๆ ที่คุณสามารถใช้เป็นการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง เกมสนุก ๆ เพื่อการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง เกมเก็บของ กระจายสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 10 ชิ้นไปทั่ว ๆ พื้น แล้ววางถ้วยไว้ใกล้ ๆ ตัวคุณ จากนั้นลองเก็บวัตถุเหล่านั้น โดยใช้หัวแม่เท้าแล้วพยายามนำมาใส่ถ้วย เมื่อคุณเก็บทั้งหมดได้แล้ว ให้ทำซ้ำโดยใช้เท้าอีกข้าง ควรทำหลาย ๆ รอบสำหรับเท้าแต่ละข้าง เกมทรงตัว เริ่มด้วยการยืนบนเท้าข้างเดียว การทรงตัวจะง่ายกว่าถ้าคุณไม่หลับตา แต่เมื่อคุณเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นแล้ว ให้ลองหลับตา ทันทีที่คุณสามารถทรงตัวได้ดี อาจเพิ่มความยากขึ้นอีกระดับ โดยลองยืนบนบอลทรงตัว หรือ โบซูบอล (Bozu ball) หรือ แทรมโพลีน การบริหารแบบนี้ไม่เพียงสร้างความแข็งแรงให้แก่ข้อเท้าและฝ่าเท้าเท่านั้น แต่ยังเป็นบริหารกล้ามเนื้อลำตัวในเวลาเดียวกันอีกด้วย เกมดึงหนังยาง พันหนังยางรอบ ๆ หัวแม่เท้าทั้งสอง หนังยางควรรัดกระชับกับหัวแม่เท้า แต่ไม่แน่นเกินไป ค่อย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แนวทางการรับมือกับ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง เป็นหนึ่งในอาการของโรควิตกกังวลที่ถือว่าน่ากลัวที่สุด และยังเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพมากมายอีกด้วย นอกจากนี้ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบเรื้อรัง ยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลแย่ลงไปอีก ซึ่งอาจนำไปสู่ความเครียดขั้นรุนแรง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดังนั้น ถ้าคุณพบว่าเกิดอาการเหน็บ ชา อ่อนล้า ที่กล้ามเนื้อบ่อยผิดปกติ คุณควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษาอย่างเร่งด่วน สาเหตุของอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะสุขภาพมากมายที่สามารถนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ เช่น อาการอ่อนล้าเรื้อรัง (CFS – Chronic fatige sndrome) โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (Muscular dystrophy) โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (dermatomyosistis) โปลิโอ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ โปแตสเซียมในเลือดต่ำ โรคกระดูกอ่อน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โรคกระดูกนิ่ม (Osteomalacia) และโรคปวดเส้นประสาท (Neuralgia) เป็นต้น ต่อไปนี้เป็นสาเหตุหลักส่วนหนึ่งของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่อาจต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน สมองกระทบกระเทือน (อาการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง) ภาวะสมองขาดเลือด โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว โรคโบทูลิซึม ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง ไข้สมองอักเสบ ต่อไปนี้เป็นวิธีบรรเทาอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง 1. การเดิน  จริงๆ แล้วกล้ามเนื้อของคุณไม่ได้อ่อนแรง แต่แค่รู้สึกอ่อนแอกว่าปกติเท่านั้น ดังนั้น การออกไปเดินเล่นอาจช่วยได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการส่งสัญญาณไปยังสมองว่าคุณยังสบายดี และการเดินก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อการไหลเวียนเลือดและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย 2. หายใจ ผลกระทบของภาวะหายใจเกิน (hyperventilation) อาจลดลงได้ด้วยการควบคุมการหายใจ คุณควรหายใจช้าๆ ไม่เร็วหรือลึกเกินไป การหายใจแต่ละครั้งควรห่างกัน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ทำไมยิ่งดึกก็ยิ่งคัน...บอกลาอาการ คันตอนกลางคืน ด้วยวิธีต่อไปนี้

อาการคันตามผิวหนังสามารถเกิดขึ้นกับทุกคน แต่สำหรับบางคน ตอนกลางวัน ก็ไม่ได้คันมากเท่าไหร่ แต่พอถึงเวลานอนเท่านั้นล่ะ ต้องลุกขึ้นมาเกา เกา และ เกา เพราะรู้สึกคันจนไม่สามารถหยุดเกาได้ และหลายครั้งก็จบลงด้วยการไม่ได้หลับได้นอนกันเลยทีเดียว คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมอาการคัน จึงรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน และจะมีวิธี แก้อาการคันในตอนกลางคืน อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบสำหรับผู้ที่อาจกำลังเผชิญกับอาการ คันตอนในกลางคืน อยู่ในขณะนี้ [embed-health-tool-ovulation] อาการ คันในตอนกลางคืน คืออะไร อาการคันในตอนกลางคืน (Nocturnal Pruritus) เป็นอาการคันตามผิวหนังที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมักรุนแรงมากขึ้นในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังอักเสบ เช่น โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ อาการ คันในตอนกลางคืน เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคหิด และอาจพบได้ในผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับ หรือโรคไต อาการคันที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืนนั้น อาจรบกวนการนอนหลับ และอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง การอดนอนจากปัญหาอาการคันนี้ อาจส่งผลให้เกิดความหงุดหงิด และง่วงนอนในเวลากลางวัน รวมทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังอักเสบนั้นมีแรงปรารถนาทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการคันตามผิวหนังจะส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากวงจรของอาการคันและเกา (itch-scratch cycle) นั่นเอง เหตุใดอาการคันจึงแย่ลงในเวลากลางคืน กลไกของการเกิดอาการคันอย่างรุนแรงในช่วงเวลากลางคืนนั้น ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการคาดการณ์ว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกับการสูญเสียน้ำทางช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวหนัง ที่เป็นตัววัดความแข็งแรงของเกราะปกป้องผิวหนังของเรา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน