ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กับเคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้อย่างเป็นสุข

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ เป็นแผล หรือยิ่งหากเป็นโรครุนแรงหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ใช้เวลารักษาไม่นานก็คงหาย แต่หาก ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดไม่ได้ และคุณต้องอยู่กับโรคนั้นไปตลอดชีวิต โรคเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จนทำให้คุณเครียด กังวล และไม่รู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างเป็นสุขมาฝากคุณแล้ว ทำความเข้าใจ โรคเรื้อรัง ให้กระจ่างขึ้น โรคเรื้อรัง คืออะไร โรคเรื้อรัง (Chronic diseases) หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการ หรือต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต และโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ตัวอย่าง โรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคเรื้อรังที่พบบ่อย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ โรคหืด โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม โรคลมชัก การติดเชื้อเอชไอวี โรคพาร์กินสัน โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder หรือ Cyclothymia) เมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพยิ่งแย่ลง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ ทั้งการเรียน การทำงาน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาแคปซูล ติดคอ กลืนยาก กินแต่ผงยาข้างในไม่กินแคปซูลได้ไหม

เวลากินยาแต่ละที รู้สึกเหมือนกำลังจะถูกจับไปเชือดเสียอย่างนั้น ทั้งรสชาติที่ไม่อร่อย และจำนวนยาที่ต้องกิน แค่คิดก็เอียนแล้ว ทำให้หลายคนประสบปัญหากินยายากไปโดยปริยาย ยิ่งถ้าเป็น ยาแคปซูล ด้วยล่ะก็ ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะบางทีกินแล้วก็ติดอยู่ในปาก บางทีก็ติดในลำคอ กลืนไม่ลงสักที พอเป็นแบบนี้เวลากินยาแคปซูลบ่อยเข้า หลายคนก็เลยเทเอาแต่ผงยาออกมาจากแคปซูลยาแล้วนำไปละลายน้ำดื่มก่อนกิน ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการกินยาได้จริงๆ แต่…การทำแบบนั้นจะดีต่อร่างกายของเราจริงๆ หรือเปล่า แล้ว แคปซูลยา สามารถเปิดแคปซูลออกก่อนจะกินได้ด้วยหรือ เพื่อตอบข้อสงสัยนั้น Hello คุณหมอ มีสาระดีๆ ในการกินยาแบบแคปซูลมาฝากค่ะ [embed-health-tool-bmr] ยาแคปซูล คืออะไร แคปซูล แคปซูลยา หรือยาแคปซูล เปรียบเสมือนภาชนะทรงมน รี และยาว ใช้สำหรับบรรจุยาหรือผงยา โดยตัวแคปซูลนี้ผลิตจากเจลาติน (Gelatin) ซึ่งเจลาตินนี้มาจากกระดูกหรือผิวหนังของสัตว์ ร่างกายของเราจึงสามารถที่จะละลายและดูดซึมแคปซูลยานี้ได้ แคปซูลยาจะถูกละลายเมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายตัวเข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงร่างกาย แคปซูลยานี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ในการกลบกลิ่น หรือรสชาติของตัวยา เพื่อช่วยให้การกินยาทำได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสารเคลือบที่แคปซูลยา เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการปลดปล่อยตัวยาอีกด้วย ยาแคปซูล มีกี่ประเภท แคปซูลยา มีอยู่ด้วยกันสองชนิดหลักๆ ได้แก่ แคปซูลปลอกแข็ง (Hard-shelled capsules) แคปซูลปลอกแข็ง หรือแคปซูลยาแบบแข็ง จะประกอบไปด้วยปลอกแคปซูล […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ระบบทางเดินอาหาร ระบบสำคัญของร่างกายที่เราควรต้องรู้

ร่างกายของเรา ประกอบไปด้วยระบบต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกายอยู่หลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการขับเคลื่อนร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ สมบูรณ์ และแข็งแรง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในระบบพื้นฐานและมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่าง ระบบทางเดินอาหาร แต่ระบบนี้คืออะไร และทำหน้าที่สำคัญต่อร่างกายเราอย่างไรบ้างนั้น มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันที่บทความนี้กันเลยค่ะ ระบบทางเดินอาหาร คืออะไร ระบบทางเดินอาหาร (Digestive System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป และดูดซึมเอาสารอาหารจากอาหารมื้อนั้น ๆ ไปหล่อเลี้ยงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีพลังงาน เจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่เกิดการสึกหรอ โดยการทำงานของระบบทางเดินอาหารนั้นจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ที่ปากและเรื่อยไปจนจบกระบวนการที่ทวารหนัก ความสำคัญของ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินอาหารจะทำหน้าที่ในการแปรเปลี่ยน ดูดซึม และส่งต่อสารอาหารไปยังระบบหรือเซลล์ต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี ธาตุเหล็ก แคลเซียม หรือโพแทสเซียม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารที่ได้จากกระบวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารนี้นี่เอง ที่ทำให้เรามีพลังงาน มีร่างกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพดี  ระบบทางเดินอาหาร ทำงานอย่างไร การทำงานของระบบทางเดินอาหาร จะมีลำดับและขั้นตอนที่ไล่เรียงกันไปจนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดของกระบวนการ ดังนี้ ปาก ตั้งแต่วินาทีแรกที่อาหารถูกตักเข้าปาก และฟันเริ่มทำการบดหรือเคี้ยวอาหารคำนั้น นั่นถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการของระบบทางเดินอาหารแล้ว โดยการบดหรือเคี้ยวอาหารของฟันจะช่วยแยกอาหารออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการย่อยอาหารในลำดับต่อไป […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อข้องใจ รู้หรือไม่? มีไข้สูงเท่าไหร่ถึงควรไปหาหมอ

เชื่อทุกคนน่าจะต้องผ่านการ เป็นไข้ หรือ มีไข้ กันมาอย่างแน่นอน มีไข้แต่ละครั้งนี่ก็ทำเอาสูญเสียพลังงานและกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่มิใช่น้อย อย่างไรก็ตาม เพียงพักผ่อนเยอะ ๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และรับประทานยาลดไข้ ก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้โดยไม่ต้องไปหาหมอ แต่…คุณผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า แล้วเราต้องมีไข้สูงขนาดไหน หรือเป็นไข้แบบไหนล่ะ ที่จำเป็นจะต้องไปพบกับคุณหมอ ถ้ากำลังสงสัยกันอยู่ล่ะก็ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันในบทความนี้แล้วค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุที่ มีไข้ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เรามีไข้ หรือ เป็นไข้ มักจะมาจากการที่ร่างกายติดเชื้อ หรือมีเชื้อโรคแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังทำการต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมนั้น ร่างกายจึงมีอาการตอบสนองด้วยการเป็นไข้ และนอกจากนี้การมีไข้ ยังสามารถเกิดได้จาก อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลง หรือมีอุณหภูมิสูง เป็นหวัด หรือไข้หวัด การอักเสบต่าง ๆ เช่น ไซนัสอักเสบ ลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ  การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นไข้ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นไข้จากการติดเชื้อรา สภาพอากาศ เชื้อโรคต่าง ๆ มีไข้ แบบไหนถึงควรไปหาหมอ การมีไข้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายระดับ ตั้งแต่มีไข้อ่อนๆ หรือไข้เพียงเล็กน้อย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หนังตาตก (Ptosis)

หนังตาตก (Ptosis) หมายถึงภาวะที่เปลือกตาบนนั้นมีลักษณะหย่อนคล้อย หรือตกลงมา โดยไม่สามารถควบคุมได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง คำจำกัดความหนังตาตก คืออะไร หนังตาตก (Ptosis) หมายถึงภาวะที่เปลือกตาบนนั้นมีลักษณะหย่อนคล้อย หรือตกลงมา โดยไม่สามารถควบคุมได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้เองตั้งแต่กำเนิด หนือเกิดขึ้นในภายหลัง เนื่องจากอายุ การบาดเจ็บ หรือสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ และอาจมีอาการเพียงแค่ชั่วคราว หรือเป็นอย่างถาวรก็ได้ ในกรณีรุนแรง อาการหนังตาตกนี้อาจจะรุนแรงมาก จนส่งผลกระทบกับการมองเห็น ทำให้มองเห็นได้น้อยลง หรือหนังตาหย่อนคล้อยลงมาจนปิดดวงตา ทำให้มองไม่เห็นเลยก็ได้เช่นกัน ภาวะหนังตาตก นี้เป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งจากวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแพทย์ทางเลือกต่างๆ หนังตาตกพบบ่อยแค่ไหน ภาวะหนังตาตก นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เด็กทารกบางคนก็อาจจะมี ภาวะหนังตาตกนี้ตั้งแต่แรกเกิดได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของหนังตาตก อาการหลักที่เห็นได้ชัดที่สุดของภาวะหนังตาตกก็คือ อาการเปลือกตาบนหย่อนคล้อยลงมา โดยไม่มีอาการเจ็บหรืออาการปวดใดๆ แต่หนังตาที่ย้อยลงมานี้อาจบดบังการมองเห็น ทำให้มองเห็นได้ลำบากมากขึ้น หรือทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ หากเด็กมี ภาวะหนังตาตก เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็อาจจะเกิดภาวะที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (Amblyopia) หมายถึงภาวะการที่ดวงตาไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ จนทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้สายตาพร่าเลือน และมองเห็นไม่ชัด ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของหนังตาตก ภาวะหนังตาตก อาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ การบาดเจ็บบริเวณดวงตา เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เสื้อกันยูวี ป้องกันแดด ป้องกันรังสียูวีได้จริงหรือเปล่า?

เวลาที่ไปช้อปปิ้งเสื้อผ้าชุดใหม่ คุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยผ่านหูผ่านตากับเสื้อผ้ากันยูวีมาบ้าง แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าเสื้อผ้ากันยูวี อย่าง เสื้อกันยูวี กางเกงกันยูวี มันสามารถป้องกันผิวหนังของเราจากแสงยูวีได้จริงๆ หรือ? ถ้าใส่เสื้อผ้ากันยูวีแล้วเนี่ย ไม่ต้องทาครีมกันแดดก็ได้ใช่ไหม? และถ้าหากคุณผู้อ่านกำลังสงสัยหรือกำลังตัดสินใจว่าจะลองซื้อชุดกันยูวีอยู่ล่ะก็ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณผู้อ่านในบทความนี้เลยค่ะ  เสื้อกันยูวี คืออะไร ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกันว่าเสื้อกันยูวีคืออะไร เราควรมาเริ่มทำความรู้จักกับ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีของสิ่งทอ (Ultraviolet Protection Factor) หรือค่าUPF กันเสียก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันในชีวิตประจำวันนี้ก็มีค่าUPF ที่สามารถที่ป้องกันรังสียูวีหรือแสงแดดได้ด้วยเหมือนกัน เพราะเส้นใยที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตสิ่งทออย่างเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้นจะมีค่าUPF ที่ทำหน้าที่ในป้องกันรังสียูวีทั้งยูวีเอและยูวีบีอยู่เสมอ เสื้อผ้าโดยทั่วไปจะมีค่าUPF อยู่ประมาณ 15-50 ซึ่งUPF = 15 หมายถึง จะมีรังสียูวีแค่เพียง 1/15 เท่านั้นที่สามารถเล็ดลอดเสื้อผ้าเข้าไปสัมผัสกับผิวหนังได้ หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะมีรังสียูวีแค่เพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะได้เข้าไปสัมผัสกับผิวหนังของเรา แต่ถ้าหากเสื้อผ้าชุดนั้นมีค่าUPF ตั้งแต่ 50 ขึ้นไปล่ะก็ จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีสูงในระดับสูงถึงสูงสุด โดยเสื้อผ้าที่มีค่าUPF มากกว่า 50 ขึ้นไป จะสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า 98 เปอร์เซนต์ ดังนั้น เสื้อผ้าที่มีค่าUPF ที่สูงเกิน 50 […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ระดับไอคิว เพิ่มได้ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ง่ายๆ

ทุกคนเคยสงสันกันไหมว่า ระดับไอคิว ของคนเรานั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ แล้วถ้ามันสามารถเพิ่มได้ เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเพิ่มระดับไอคิวให้กับตัวเอง หรือมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เมื่อทำแล้วจะช่วยเพิ่มระดับไอคิวของเราให้ดีขึ้น ถ้าคุณกำลังสงสัยอยู่ล่ะก็ ลองมาติดตามเรื่องนี้จากทาง Hello คุณหมอ กันดู ทำความรู้จักกับ ระดับไอคิว ไอคิว (Intelligence Quotient หรือ IQ) หมายถึง “เชาว์ปัญญา” เป็นการวัดความฉลาดทางปัญญาและศักยภาพของคนๆ หนึ่ง การวัดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1900 โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ “Alfred Binet” ระดับไอคิวจะถูกวัดโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานที่ดำเนินการโดยนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตและในบางกรณีจะดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพจิต ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งการทดสอบไอคิวมาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย Wechsler Intelligence Scale สำหรับเด็ก (WISC-V) Wechsler Intelligence Scale สำหรับผู้ใหญ่ (WAIS) Stanford-Binet Intelligence Scale แม้ว่าการทดสอบไอคิวและแอพพลิเคชั่นออนไลน์จะได้รับความนิยมมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถวัดไอคิวของคุณได้อย่างแม่นยำ เหมือนกับการทดสอบไอคิวจากนักจิตวิทยา แม้ว่าการวัดระดับไอคิวจะเป็นวิธีหนึ่งในการวัดความฉลาด แต่ก็ไม่ได้เป็นการวัดเพียงชนิดเดียวที่ใช้วัดระดับความฉลาดได้ การทดสอบไอคิวสามารถใช้เป็นขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยสุขภาพจิตอื่นๆ และความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อีกด้วย กิจกรรมที่สามารถเพิ่ม ระดับไอคิว สติปัญญาของคนเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ความฉลาดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด (Fluid Intelligence) และความฉลาดที่เกิดจากการฝึกฝนและประสบการณ์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion)

ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion) คือ ภาวะผิดปกติของเปลือกตา ทำให้เปลือกตาม้วนเข้าไปข้างใน จนเสียดสีกับกระจกตา ทำให้เจ็บ ระคายเคือง หรือตาติดเชื้อได้ คำจำกัดความภาวะเปลือกตาม้วนเข้า คืออะไร ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า (Entropion) คือ ภาวะที่เปลือกตาหรือหนังตาของผู้ป่วยม้วนเข้าไปข้างใน ทำให้ขนตาและผิวหนังเปลือกตาเสียดสีกับกระจกตา จนส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาไหล รู้สึกเจ็บ ระคายเคือง ไม่สบายตา หรืออาจถึงขั้นตาติดเชื้อได้ ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดกับเปลือกตาล่าง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีภาวะเปลือกตาม้วนเข้าทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง และบางรายอาจเกิดภาวะนี้กับตาทั้งสองข้างได้ คนที่มีเปลือกตาม้วนเข้าส่วนใหญ่จะมีภาวะนี้ถาวร แต่ในบางครั้ง การหลับตาหรือกะพริบตาแรงๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนเข้าแบบชั่วคราวได้เช่นกัน ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาม้วนถือเป็นภาวะที่พบได้ยากมากในเด็กและคนวัยหนุ่มสาว แต่จะพบมากในคนที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า ได้แก่ รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา รู้สึกเจ็บตา ตาแดง ระคายเคืองตา หรือเจ็บตา เกิดสะเก็ด หรือเมือกที่บริเวณเปลือกตา ตาไวต่อแสง หรือลม มีภาวะน้ำตาเอ่อ หรือน้ำตาไหลมากกว่าปกติ (Epiphora) ผิวหนังบริเวณดวงตาบวม หรือย้อย หากกระจกตาเสียหาย อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดได้ด้วย สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณเกิดอาการดังต่อไปนี้กะทันหัน ควรไปพบคุณหมอทันที ตาแดงฉับพลัน เจ็บตา ตาไวต่อแสงผิดปกติ อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะเปลือกตาม้วนเข้า ภาวะเปลือกตาม้วนเข้า อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยิ่งอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อใต้ตาก็จะยิ่งอ่อนแอลง เส้นเอ็นยิ่งยืดออก จนส่งผลให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนเข้าได้ และปัญหากล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนี้ก็ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ด้วย การติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่ตาที่เรียกว่า โรคริดสีดวงตา (Trachoma) เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion)

ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) คือ ภาวะผิดปกติของเปลือกตา ทำให้เปลือกตาม้วนออก ไม่แนบสนิทกับตาเหมือนปกติ จนส่งผลให้ตาเจ็บ ระคายเคือง หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น คำจำกัดความภาวะเปลือกตาม้วนออก คืออะไร ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) คือ ภาวะที่เปลือกตาหรือหนังตาของผู้ป่วยห้อยหรือย้อยออก จนมองเห็นด้านในของเปลือกตา และเปลือกตาไม่แนบสนิทกับตาเหมือนปกติ ส่งผลทำให้ดวงตาเสี่ยงต่อการระคายเคืองหรือการติดเชื้อมากขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ภาวะนี้มักเกิดกับเปลือกตาล่าง ภาวะเปลือกตาม้วนออกพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาม้วนออกพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่รุนแรงนัก อาจมีเปลือกตาม้วนออกแค่บางส่วนเท่านั้น แต่หากเป็นกรณีรุนแรง เปลือกตาล่างอาจม้วนออกทั้งแถบ อาการอาการของภาวะเปลือกตาม้วนออก อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะเปลือกตาม้วนออก ได้แก่ มีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำตาเอ่อ (Epiphora) ตาแห้งผิดปกติ แสบตา ระคายเคืองดวงตาเป็นประจำ ตาไวต่อแสง หรือตาสู้แสงไม่ได้ ตาแดงเรื้อรัง หากคุณมีอาการของภาวะเปลือกตาม้วนออกข้างต้น ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้ หรือรักษาล่าช้าเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณเกิดอาการดังต่อไปนี้กะทันหัน ควรไปพบคุณหมอทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ อยู่ ๆ ตาก็ไวต่อแสง หรือแพ้แสง เจ็บตา ตาแดงฉับพลัน อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด สาเหตุสาเหตุของภาวะเปลือกตาม้วนออก ภาวะเปลือกตาม้วนออก อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเนื้อเยื่อคลายตัว ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้เมื่อเราอายุมากขึ้น และปัญหาสุขภาพตามวัยเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะเปลือกตาม้วนออก โรคอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis หรือ Bell’s palsy) รวมถึงเนื้องอกบางชนิดที่ส่งผลให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต สามารถส่งผลให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนออกได้ มีแผลเป็น หรือเคยเข้ารับการผ่าตัด หากผิวหนังถูกทำลายจากการเผาไหม้ หรือการเกิดแผล เช่น โดนสุนัขกัด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เตือนภัยนักสูบ! หากสูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์

เป็นที่ทราบกันดีว่าโทษจากการสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง และคนที่คุณรักอีกด้วย บทความนี้  Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคเบอร์เกอร์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่สูบบุหรี่จัด เรามาทำความรู้จักกับโรคเบอร์เกอร์ให้มากขึ้นกันค่ะ ทำความรู้จักโรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) เป็นโรคหายากที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณแขนและขา ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เกิดการอักเสบและบวม อาการของโรคเบอร์เกอร์ในระยะแรกมักพบบริเวณมือและเท้า และอาจส่งผลต่อบริเวณแขนและขาด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลาย และอาจนำไปสู่การติดเชื้อและเนื้อเน่าเปื่อย นักสูบจงระวัง! สูบบุหรี่จัด ระวังเสี่ยงเป็น โรคเบอร์เกอร์ ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุสาเหตุของโรคเบอร์เกอร์อย่างแน่ชัด  แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดโรคดังกล่าว (สารเคมีในบุหรี่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดเลือด)  นอกจากการสูบบุหรี่แล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนี้ โรคเหงือกเรื้อรัง การติดเชื้อในเหงือกระยะยาว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบอร์เกอร์ เพศ พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุ มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี 5 สัญญาณอันตราย เข้าข่ายผู้ป่วย โรคเบอร์เกอร์ ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์มีอาการแสดงปรากฏ ดังต่อไปนี้ รู้สึกเสียวซ่าหรือมีอาการชาบริเวณมือและเท้า มือและเท้ามีสีซีดแดงหรือน้ำเงิน มีอาการปวดบริเวณขาและเท้า หรือแขนและมือ การอักเสบตามหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิว นิ้วและเท้าซีดเมื่อสัมผัสกับความเย็น มีบาดแผลเปิดบริเวณบนนิ้วมือและนิ้วเท้า รักษา โรคเบอร์เกอร์ อย่างไร ปรึกษาคุณหมอได้ วิธีการรักษา ในส่วนของวิธีการรักษา ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังนี้ ยา เช่น ยาขยายหลอดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดเส้นประสาทในบริเวณที่ผิดปกติ  วิธีการป้องกัน โดยวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบอร์เกอร์ คือการเลิกบุหรี่ แม้แต่การดูดบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวันก็อาจส่งผลให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมได้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน