สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

หลายคนคงเคยประสบกับ อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว บทความนี้มาพร้อมกับข้อมูลดี ๆ ให้คุณรู้จักอาการนี้ดีขึ้น คำจำกัดความอาการอาหารไม่ย่อย คืออะไร อาการอาหารไม่ย่อย หรือทางการแพทย์เรียกว่า ดิสเพปเซีย (Dyspepsia) คือ ความรู้สึกอึดอัดและปวดบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน (กระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) อาหารไม่ย่อยประกอบไปด้วยหลายกลุ่มอาการ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ และเรอ ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของอาหารไม่ย่อย พบได้บ่อยเพียงใด อาการอาหารไม่ย่อยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรค แต่คือการแสดงออกทางอาการพื้นฐานของความผิดปกติทางสุขภาพและเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการ ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่ ท้องอืด คลื่นไส้และอาเจียน แสบร้อนในกระเพาะอาหาร อิ่มง่าย แม้รับประทานอาหารในขนาดปกติ รับรู้ได้ถึงรสชาติกรดภายในปาก ปวดท้อง เรอเปรี้ยว อาจมีอีกหลายอาการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อรักข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียนรุนแรงหรืออาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีปัญหาในการกลืน เจ็บปวดหน้าอก ตาและผิวเหลือง หายใจลำบาก กรดไหลย้อน หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ทั้งนี้แต่ละคนมีการแสดงออกของอาการแตกต่างกันไป การเข้ารับการรักษากับแพทย์เป็นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สาเหตุสาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อย ดิสเพปเซียเป็นการแสดงออกของอาการมากกว่ากลุ่มโรค อาการเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน (GERD) อาการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดการระคายเคืองและสร้างความเสียหายแก่ทางเดินอาหาร ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาหารไม่ย่อย ความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ความผิดปกติในการทำงานของลำไส้ใหญ่ การติดเชื้อในกระเพาะอาหารสาเหตุจากเชื้อเอชไพโลไร แผลในกระเพาะอาหาร รอยขีด หรือรูในผนังกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ยาที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย แอสไพรินและยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยาที่มีส่วนผสมของไนเตรท (เช่น ยาลดความดันโลหิต) เอสโตรเจนและยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยารักษาไทรอยด์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของอาการอาหารไม่ย่อย กิจวัตรประจำวันอาจมีผลต่อการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย นอกจากนี้โรคและสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ รับประทานอาหารมากเกินไปและเร็วเกินไป ความเครียดและเหนื่อยล้า การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำการรักษาทางการแพทย์ โปรดเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ทุกครั้งเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย แพทย์อาจสอบถามอาการของโรค ประวัติการใช้ยา และอาจตรวจสอบกระเพาะและทรวงอกร่วมด้วย แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อทำความเข้ากับอาการและวินิจฉัยโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อย การส่องกล้อง วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

คำจำกัดความการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คืออะไร เอ็นไหล่ (rotator cuff) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงไหล่ เอ็นไหล่เป็นส่วนที่สำคัญประการหนึ่งของไหล่ เอ็นไหล่ทำให้ยกแขนและเอื้อมได้ อาการบาดเจ็บที่เอ็นไหล่ เช่น การฉีกขาด อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อหกล้มลงบนมือที่ยืดออกไปหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ การเสื่อมและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ยังอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้นได้อีกด้วย หากเอ็นไหล่ได้รับบาดเจ็บ คุณอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษา ได้แก่ การขูดกระดูกที่งอกออกมาที่ส่งผลต่อไหล่หรือการรักษาเอ็นหรือกล้ามเนื้อไหล่ที่ฉีกขาด เทคนิคการผ่าตัดที่อาจใช้รักษาเอ็นไหล่ขาด ได้แก่ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (arthroscopy) การผ่าตัดแบบเปิด (open surgery) หรือเทคนิคทั้งสองประการร่วมกัน วัตถุประสงค์ในการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานและความยืดหยุ่นของไหล่และเพื่อบรรเทาอาการปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาอื่นๆ ความจำเป็นในการผ่าตัด การผ่าตัดมักเป็นการรักษาที่แนะนำประการแรกสำหรับการบาดเจ็บที่ไหล่ เริ่มแรกแพทย์อาจแนะนำการพักผ่อน การประคบด้วยน้ำแข็ง และการออกกำลังกายแบบพิเศษ หากการบาดเจ็บไม่รุนแรง วิธีการรักษาเหล่านี้อาจเพียงพอ หากเอ็นฉีกขาด การพักผ่อนและการออกกำลังกายอาจลดอาการปวดแต่ไม่รักษาอาการฉีกขาด อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด แพทย์ที่ทำการรักษาจะแนะนำให้คุณปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ออร์โธปีดิกหากว่าคุณ มีอาการปวดไหล่ที่คงอยู่เป็นเวลานานกว่าหกเดือน ถึงแม้ว่าหลังการเข้ารับกายภาพบำบัดแล้ว มีอาการไหล่อ่อนแรงที่ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวัน เป็นนักกีฬา ใช้ไหล่และแขนในการทำงาน การผ่าตัดรักษาเอ็นไหล่ขาดช่วยได้ดีที่สุดสำหรับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่นานแทนการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดหลังเกิดการบาดเจ็บ ข้อควรระวังข้อควรทราบก่อนการผ่าตัด ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับ การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด นี้ได้อย่างปลอดภัย การสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ขึ้นอยู่กับหัตถการที่ผู้ป่วยเข้ารับ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ มักไม่แนะนำหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการปวดแน่นที่ไหล่มาก่อน มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องรักษาหรือไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่อาจรักษาได้ดีกว่าด้วยการผ่าตัดแบบเปิด ปุ่มกระดูกแบนที่ไม่มีรูปร่างโค้งหรือเป็นรูปตะขอ สำหรับผู้ที่มีปุ่มกระดูกแบน การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ เช่น เอ็นไหล่อักเสบ (rotator cuff tendonitis) และข้อต่อหัวไหล่บวมอักเสบ (shoulder bursitis) เป็นสาเหตุ ไม่ใช่ผลของเอ็นไหล่อักเสบ (shoulder impingement) อาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หิวน้ำบ่อย อยากดื่มน้ำตลอดเวลา อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

หิวน้ำบ่อย หรือ กระหายน้ำบ่อย เพราะร่างกายเสียน้ำมาก เช่น หลังออกกำลังกายอย่างหนัก หรือในวันที่อากาศร้อนจัด อาการกระหายน้ำแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยากดื่มน้ำตลอดเวลา กระหายน้ำมากผิดปกติ  ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ หิวน้ำบ่อย อาการ กระหายน้ำบ่อย มากผิดปกติ อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ กินอาหารเค็มมาก หรืออาหารรสเผ็ด มีอาการป่วย การออกกำลังกายหนัก ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือดมาก กินยาบางประเภท เช่น ลิเทียม (Lithium) ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) ยาระงับอาการทางจิตบางชนิด นอกจากนี้ อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง ได้แก่ กระหายน้ำบ่อย จากภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำ คือภาวะที่ในร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายเกิดอาการ กระหายน้ำบ่อย สำหรับสาเหตุของภาวะขาดน้ำ อาจเกิดจากการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก ท้องเสีย และอาเจียน ซึ่งคุณอาจสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ปากแห้ง ผิวแห้ง รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ โรคเบาหวาน ทางการแพทย์เรียกภาวะที่ต้องการดื่มน้ำมากผิดปกติ ว่า Polydipsia ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคเบาหวาน โดยเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปวดหลังหลังกินอาหาร อย่าชะล่าใจ! เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายแรงที่คุณคาดไม่ถึง

เชื่อว่าทุกคนคงเคยประสบกับอาการปวดหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นมานานแสนนานไม่หายสักที หรืออาการปวดหลังเฉียบพลันที่อยู่ๆ ก็ทำให้เจ็บจี๊ดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย อาการปวดหลังเกิดได้แทบจะทุกเวลา ไม่ว่าจะตอนนั่ง ตอนนอน ตอนเดิน หรือแม้แต่หลังกินอาหาร สำหรับใครที่มีอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร เป็นประจำ Hello คุณหมอ อยากบอกว่าอย่าชะล่าใจ เพราะถ้าปล่อยไว้นานวันอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร อาการปวดหลังที่เกิดขึ้นหลังกินอาหาร อาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ ท่านั่งไม่ถูกสุขลักษณะทำให้รู้สึก ปวดหลังหลังกินอาหาร หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เราเกิดอาการปวดหลังก็คือ ท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ดีต่อสุขภาพ นั่นเอง ระหว่างกินอาหาร หากคุณนั่งหลังค่อม นั่งห่อไหล่ หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่รองรับสรีระ อาจทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังมีปัญหา เมื่อกินอาหารเสร็จ จึงรู้สึกปวดหลัง ภูมิแพ้อาหารและภูมิแพ้อาหารแฝง สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้อาหาร หรือภูมิแพ้อาหารแฝง เช่น แพ้นม แพ้แอลกอฮอล์ แพ้กลูเตน แพ้น้ำตาล หากกินอาหารชนิดนั้นๆ เข้าไปก็อาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ยิ่งถ้าคุณปวดหลังอยู่ก่อนแล้ว การอักเสบจากการกินอาหารที่แพ้ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดหลังของคุณแย่กว่าเดิม ภาวะหัวใจวาย ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะเมื่อปวดหลังร่วมกับอาการ เช่น เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดแขน ขากรรไกร หรือคอ อาการจุกเสียด แสบร้อนกลางอก คนที่ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นผลมาจากอาการปวดแสบปวดร้อนกลางอก หรือที่เรียกว่า Heartburn เนื่องจากกรดไหลย้อน หรืออาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นเมื่อคุณกินอาหารเร็วเกินไป หรือกินอาหารที่เปรี้ยวหรือเผ็ดจัด ถุงน้ำดีอักเสบ ถุงน้ำดีคือแหล่งกักเก็บน้ำดีที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน หากคุณมีนิ่วในถุงน้ำดี […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กำลังควบคุมน้ำหนักห้ามพลาด ทำอย่างไร ไม่ให้ น้ำหนักขึ้น

ถ้าคุณมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณมีน้ำหนักเกินและต้องการลดน้ำหนัก ควรระวังไม่ให้ น้ำหนักขึ้น ด้วย นอกจากนี้ยิ่งเราอายุมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าจะน้ำหนักขึ้น แม้ว่าจะกินอาหารปริมาณเท่าเดิม Hello คุณหมอ จึงมีเทคนิคที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักขึ้นมาฝาก ทั้งในผู้ที่กำลังลดความอ้วน และผู้ที่ไม่อยากน้ำหนักขึ้นในอนาคต ทำไมเราถึงน้ำหนักขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น องค์ประกอบของร่างกายจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือสัดส่วนของกล้ามเนื้อลดลง และไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานช้าลง และทำให้น้ำหนักขึ้นง่ายด้วย มากไปกว่านั้นสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะน้ำหนักขึ้นด้วย ข่าวดีคือการที่น้ำหนักขึ้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งถ้าคุณมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ก็จะช่วยป้องกันโรคเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด เทคนิคแนะนำ ทำอย่างไรไม่ให้ น้ำหนักขึ้น เพิ่มกล้ามเนื้อ หนึ่งในวิธีที่ช่วยป้องกัน น้ำหนักขึ้น คือ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (strength training) ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อรักษาและสร้างมวลกล้ามเนื้อ เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย เลิกนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นิสัยต่างๆ เหล่านี้ควรปรับเปลี่ยน เพื่อให้สุขภาพดีมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย กินแบบไม่มีสติ เช่น กินไปดูทีวีไป ดื่มแอกอฮอล์ และเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไป ไม่กินอาหารเช้า กินอาหารไม่เป็นเวลา กินโปรตีนไม่เพียงพอ ค่อยๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีลดไขมัน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลชัวร์

วิธีลดไขมัน นอกจากการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ส่งผลต่อน้ำหนัก และข่าวดีคือ มีวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมัน Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลจากงานวิจัย ที่แนะนำวิธีที่อาจช่วยเผาผลาญไขมันได้ ดังต่อไปนี้ ลดน้ำหนัก VS ลดไขมันต่างกันอย่างไร ก่อนที่จะไปรู้วิธีลดไขมัน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่าลดไขมัน กับลดน้ำหนักนั้นต่างกันอย่างไร เวลาที่คุณลดน้ำหนัก อาจไม่ใช่แค่น้ำหนักของไขมันอย่างเดียว แต่รวมถึงน้ำหนักของกล้ามเนื้อ และของเหลวในร่างกายด้วย ซึ่งการลดความอ้วนที่ดีต่อสุขภาพ คือควรลดแค่ไขมันในร่างกาย และไม่ควรลดกล้ามเนื้อไปด้วย ดังนั้นจึงควรมุ่งไปที่การลดไขมัน แทนที่จะสนใจเพียงแค่ตัวเลขน้ำหนักที่ลดลงเพียงอย่างเดียว สำหรับวิธีการลดไขมัน คือต้องเผาผลาญแคลอรี่มากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน ด้วยการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น รวมถึงควบคุมอาหารไม่ให้กินในปริมาณมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีวิธีที่สามารถช่วยลดไขมันได้ ดังนี้ วิธีลดไขมัน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล ออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ยิ่งคุณใช้เวลาในการออกกำลังกายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากเวลาที่คุณออกกำลังกายร่างกายจะเผาผลาญแคลอรี่ เพื่อใช้เป็นพลังงาน เพิ่มเติมไปกว่านั้นหลังจากที่คุณออกกำลังกายเสร็จแล้ว ร่างกายก็ยังคงเผาผลาญแคลอรี่ต่อ สำหรับการออกกำลังกายที่แนะนำ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการเดินเร็ว โดยอาจเพิ่มเวลาในการเดินเช่นจาก 30 นาทีเป็น 1 ชั่วโมง เพราะมีงานวิจัยชี้ว่าการออกกำลังกายนานขึ้น สามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญในช่วงพัก หรือช่วงเวลาหลังจากออกกำลังกายได้ ออกกำลังกายแบบการฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) การฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) […]


การทดสอบทางการแพทย์

แก้อาการบ้านหมุน วิธีต่อไปนี้ช่วยได้

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) หรือ อาการบ้านหมุน เป็นความรู้สึกเวียนศีรษะ ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ Helloคุณหมอ ขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ แก้อาการบ้านหมุน ที่จะช่วยให้คุณอาการดีขึ้น ความหมายของอาการบ้านหมุน อาการบ้านหมุนเป็นภาวะหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า โลกโดยรอบตัวของเรากำลังหมุน ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุน สาเหตุอาการบ้านหมุน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในทำให้เกิดอาการบ้านหมุน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ได้แก่ หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เมื่ออาการหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV) เกิดขึ้น แคลเซียมจำนวนหนึ่งจะเกิดการสะสมตัว หรือมีอนุภาคหลุดเข้าไปอยู่ในช่องหูชั้นใน แล้วหูส่งสัญญาณที่ผิดไปยังสมอง ซึ่งทำให้เสียสมดุลของร่างกาย ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดสำหรับ BPPV อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น น้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นที่เชื่อกันว่าภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสะสมตัวในหู ซึ่งส่งผลต่อความดันปกติในหู เส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของปัญหาเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular Neuritis) เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่ส่งผลต่อเส้นประสาทของหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ในการคงความสมดุลของร่างกาย แก้อาการบ้านหมุน วิธีนี้ช่วยคุณได้  ในบางครั้ง อาการบ้านหมุนจะหายไปเอง โดยไม่ต้องมีการรักษาเฉพาะใดๆ ในทางกลับกัน ในหลายกรณี อาการบ้านหมุนจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว ระบบประสาทการทรงตัวทำหน้าที่ส่งสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังสมอง ส่งผลดีให้สมองทราบและปรับเพื่อทำให้ทรงตัวได้ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว (Vestibular rehabilitation) เป็นการบำบัดประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ระบบประสาทการทรงตัวแข็งแรงมากขึ้น การทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม การบำบัดด้วยการทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม (Canalith repositioning maneuvers) วิธีนี้ใช้เพื่อจัดการภาวะ BPPV […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

ลูปัส (Lupus) เป็นอาการอักเสบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหันมาโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของคุณเอง การอักเสบจากโรคลูปัสอาจเกิดขึ้นกับระบบร่างกายต่างๆ มากมาย รวมทั้งข้อต่อ ผิวหนัง ไต เม็ดเลือด สมอง หัวใจและปอด นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ด้วย โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมกับบทความดีๆ สัญญาณและอาการของโรคลูปัสมีอะไรบ้าง สัญญาณแสดงและอาการของโรคลูปัส สัญญาณแสดงและอาการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ เหนื่อยล้าและเป็นไข้ ปวดข้อต่อ ข้อแข็ง และบวม ผื่นรูปร่างปีกผีเสื้อที่ใบหน้าครอบคลุมบริเวณแก้มและสันจมูก แผลที่ผิวหนังที่ปรากฎหรือมีอาการแย่ลงเมื่อเจอแสงแดด นิ้วมือและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือสีน้ำเงินในช่วงอากาศเย็นหรือเวลาเครียด หายใจถี่ ปวดหน้าอก ตาแห้ง ปวดศีรษะ สับสน และสูญเสียความทรงจำ  โรคลูปัสทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างไร เนื่องจากที่โรคลูปัสส่งผลกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ในหลายรูปแบบ โดยการกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของก้อนเลือด เพราะกิจกรรมที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สารภูมิต้านทานในผู้ป่วยโรคลูปัสอาจจู่โจมเนื้อเยื่อของเซลล์ภายในหลอดเลือด ซึ่งสามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดชั้นลึกบริเวณขา ในห้องหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่ที่ศีรษะ ในบางกรณี ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจเคลื่อนไปสู่สมองและทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดจากการอุดตันลิ่มเลือด (embolic strokes) ได้ การทำงานของสารภูมิต้านทานที่ผิดปกติในโรคลูปัสอาจทำให้เกิดการทำงานของการก่อตัวลิ่มเลือดที่ผิดปกติได้ รวมทั้งสารต้านการเกาะลิ่มเลือดลูปัส (Lupus anticoagulant) และ anticardiolipin antibodies ในผู้ป่วยโรคลูปัสบางราย สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขนาดเล็กของสารภูมิต้านทาน เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ผสมกับแร่ธาตุ โปรตีน และสารอื่นๆ ที่มาจากระบบภูมิคุ้มกัน อาจพบได้ในหัวใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้เมื่อถูกนำพาจากหัวใจไปยังสมอง ภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างของโรคลูปัสคือภาวะหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ในภาวะนี้ หลอดเลือดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงมากจนเลือดไหลผ่านไม่ได้เลย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังสมอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ข้อควรรู้สำหรับนักฟิตเนสมือใหม่! กับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อควรรู้สำหรับนักฟิตเนสมือใหม่ เกี่ยวกับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด มาฝากกัน เพื่อเป็นประโยชน์เต่อการการวางแผนการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัดจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย ทำความรู้จักกับ กล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด เคล็ดลับในการสร้างกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัด  มีดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ  กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขนาดใหญ่สี่ส่วนบริเวณต้นขาด้านหน้า การออกกำลังกายบางท่าจะช่วยเสริมสร้าง กล้ามเนื้อในส่วนนี้ เช่น ท่าสควอทและลันจ์ (Squats and Lunges) กล้ามเนื้อกลุ่มแฮมสตริง คนส่วนใหญ่มักจะลืมกล้ามเนื้อกลุ่มแฮมสตริงเมื่อออกกำลังกาย บางทีอาจเป็นเพราะมองเห็นยาก กล้ามเนื้อแฮมสตริง เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาส่วนหลัง และการออกกำลังกายท่าสควอทจะส่งผลที่แฮมสตริงแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อน่องมักจะถูกละเลย เมื่อพูดถึงการสร้างกล้ามเนื้อ แม้แต่นักสร้างกล้ามเนื้อมืออาชีพก็ยังรู้สึกพอใจกับน่องที่มีขนาดเล็กขณะที่ลำตัวมีกล้ามเนื้อใหญ่โต กล้ามเนื้อน่องนั้นสร้างยาก โดยคุณจะต้องออกแรงที่กล้ามเนื้อแต่ละมัดในบริเวณน่องอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อหน้าอก เป็นหนึ่งในกล้ามเนื้อกลุ่มสำคัญทั้ง 11 มัดที่ได้รับความสนใจจากทุกคนโดยเฉพาะในผู้ชายอกสามศอกทั้งหลาย ทุกคนต่างต้องการสร้างกล้ามเนื้อหน้าอก เพราะเป็นกล้ามที่สร้างง่ายกว่าส่วนอื่น แต่คุณไม่ควรลืมว่า คุณควรสร้างกล้ามเนื้อหน้าอกให้มากพอ ๆ กับกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกันเพื่อความสมดุล กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อส่วนหลังเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในร่างกาย หากคุณอยากพัฒนากล้ามเนื้อหลังให้ดูแข็งแรงและสวยงาม ควรออกกำลังกายท่าเดทลิฟท์ (Deadlifts) เพื่อสร้างกล้ามเนื้อส่วนหลัง อย่างไรก็ตาม ควรทำท่าและใช้เทคนิคให้ถูกต้อง เพราะการทำท่าเดทลิฟท์แบบผิด ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เกมสนุกๆ เพื่อการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง

การวิ่งถือเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ข้อเท้าและเท้า สำหรับนักวิ่ง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ข้อเท้าและเท้านั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาการวิ่งให้ดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้อีกด้วย  วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอเสนอแนะเกมสนุก ๆ ที่คุณสามารถใช้เป็นการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง เกมสนุก ๆ เพื่อการ บริหารข้อเท้า ฝ่าเท้า ให้แข็งแรง เกมเก็บของ กระจายสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 10 ชิ้นไปทั่ว ๆ พื้น แล้ววางถ้วยไว้ใกล้ ๆ ตัวคุณ จากนั้นลองเก็บวัตถุเหล่านั้น โดยใช้หัวแม่เท้าแล้วพยายามนำมาใส่ถ้วย เมื่อคุณเก็บทั้งหมดได้แล้ว ให้ทำซ้ำโดยใช้เท้าอีกข้าง ควรทำหลาย ๆ รอบสำหรับเท้าแต่ละข้าง เกมทรงตัว เริ่มด้วยการยืนบนเท้าข้างเดียว การทรงตัวจะง่ายกว่าถ้าคุณไม่หลับตา แต่เมื่อคุณเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้นแล้ว ให้ลองหลับตา ทันทีที่คุณสามารถทรงตัวได้ดี อาจเพิ่มความยากขึ้นอีกระดับ โดยลองยืนบนบอลทรงตัว หรือ โบซูบอล (Bozu ball) หรือ แทรมโพลีน การบริหารแบบนี้ไม่เพียงสร้างความแข็งแรงให้แก่ข้อเท้าและฝ่าเท้าเท่านั้น แต่ยังเป็นบริหารกล้ามเนื้อลำตัวในเวลาเดียวกันอีกด้วย เกมดึงหนังยาง พันหนังยางรอบ ๆ หัวแม่เท้าทั้งสอง หนังยางควรรัดกระชับกับหัวแม่เท้า แต่ไม่แน่นเกินไป ค่อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน