สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)

คำจำกัดความกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คืออะไร กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic Fatigue Syndrome : CFS คือ ความผิดปกติที่ซับซ้อนที่บ่งชี้ได้จากความเหนื่อยล้ารุนแรง ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยอาการอื่นๆ โดยความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียนี้อาจทำให้กิจกรรมทางกายและจิตย่ำแย่ลง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน พักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายไป ซึ่งจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือสามารถอ้างอิงถึงในชื่อ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic Encephalomyelitis : ME) หรือ Systemic exertion intolerance disease (SEID) ถึงแม้ว่า CFS และ ME และ SEID จะมีอาการร่วมกัน คือ อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง แต่ก็มีความหลากหลายในนิยามของความผิดปกติ โดยอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังนี้อาจเป็นผลจากหลายสาเหตุ สาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และมีทฤษฏีเกี่ยวกับสาเหตุของโรคนี้มากมาย ตั้งแต่การติดเชื้อไวรัส ไปจนถึงความเครียดทางจิตใจ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่า กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังนั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ในปัจจุบันยังไม่มีการวินิจฉัย เฉพาะสำหรับกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจทางการแพทย์หลายประเภทเพื่อค้นหาความผิดปกติอื่นๆที่มีอาการคล้ายคลึงกัน กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังพบได้บ่อยแค่ไหน โดยทั่วไปกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง สัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป มีดังนี้ ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การสูญเสียความทรงจำและสมาธิ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณคอหรือใต้รักแร้โต ปวดกล้ามเนื้อ แบบไม่ทราบสาเหตุ ความเจ็บปวดย้ายจากข้อบริเวณหนึ่ง ไปยังข้ออีกบริเวณหนึ่งโดยไม่มีการบวมหรือแดง ปวดศีรษะ นอนไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียแบบรุนแรงเป็นเวลามากกว่า […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาดม ภัยเงียบที่มาพร้อมกับความสดชื่น

ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวของบ้านเรานั้น หากมีตัวช่วยดีๆ ที่ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้น ท่ามกลางอากาศร้อนระอุได้ ก็คงจะดีไม่น้อย นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ยาดม จึงเป็นสิ่งที่ครองใจคนไทยแทบจะทุกคน บางคนพกยาดมติดตัวตลอดเวลา และดมยาดมแทบจะทั้งวัน จากวัตถุประสงค์ในการเพิ่มความสดชื่น แต่หากดมมากเกินไป ร่างกายอาจพบกับอันตรายได้ชนิดที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว เรามาเรียนรู้ถึงอันตรายของยาดมในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ สารประกอบใน ยาดม สารประกอบหลักๆ ในยาดม ประกอบไปด้วย เมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันหอมระเหย เมนทอล (Menthol) หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกกัน คือ เกล็ดสะระแหน่ มีลักษณะเป็นผลึกเล็ก ๆ มีสีขาว เมนทอลใช้สำหรับรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ (เช่น โรคข้ออักเสบ ปวดหลัง เคล็ดขัดยอก) เมนทอลมีกลิ่นหอม และให้ความรู้สึกเย็น ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก ลดอาการปวด บวม และยังช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้อีกด้วย การบูร (Camphor) คือ ผลึกที่พบในเนื้อไม้ของต้นการบูร การบูรมีสรรพคุณที่คล้ายกับเมนทอล มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และต้านการอักเสบ และยังช่วยในการทำงานของระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการปวด พิมเสน (Patchouli) มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด […]


ข่าวสารสุขภาพทั่วไป

โคลนนิ่งมนุษย์ เป็นจริงได้ หรือไร้ความหวัง

คุณผู้อ่านหลายท่านอาจเคยได้ยินเรื่องราวของการโคลนนิ่ง ทั้งการโคลนนิ่งพืช หรือการโคลนนิ่งสัตว์ ตลอดจนความพยายามในการโคลนนิ่งสัตว์ที่ได้สูญพันธ์ุลงไปแล้วกันมาบ้าง หลายครั้งที่เราจะได้ข่าวว่ามีการโคลนนิ่งพืชหรือสัตว์แล้วประสบความสำเร็จ จนเป็นประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษากันต่อไป หากแต่คำว่า “โคลนนิ่งมนุษย์” ที่ดูน่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะมีทั้งดีเอ็นเอ และระบบโครงสร้างต่างๆ ที่สามารถจะเอื้อให้การทดลองนี้สำเร็จได้ แต่ทำไมเราถึงไม่เคยได้ยินข่าวคราวของความสำเร็จในการโคลนนิ่งมนุษย์เลย Hello คุณหมอ มีเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับการโคลนนิ่งมนุษย์มาฝากกันค่ะ การโคลนนิ่ง คืออะไร การโคลนนิ่ง หรือ การโคลน (Cloning) คือกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หรือก็คือการสืบพันธุ์ที่ไม่ผ่านการปฏิสนธิด้วยสเปิร์มและไข่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ แม้จะฟังดูเป็นการทดลองในห้องแล็บ หากแต่การโคลนตามธรรมชาตินั้นอาจพบได้ในสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือพืชบางชนิด ที่มีการแบ่งเซลล์ใหม่ออกมาได้เหมือนกันกับเซลล์ต้นแบบทุกประการ  เคยมีการโคลนนิ่งที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ มีการโคลนนิ่งเกิดขึ้นมาในประวัติศาสตร์โลกหลายครั้ง แต่การโคลนนิ่งที่โด่งดังและประสบความสำเร็จอย่างมากก็คือ การโคลนนิ่งแกะที่ชื่อดอลลี่ ในปี ค.ศ.1990 ซึ่งเป็นผลงานของ เอียน วิลมัธ (Ian Wilmut) กับ เคธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และทีม แห่งสถาบัน Roslin Institute แห่ง University of Edinburgh และบริษัท PPL Therapeutics  โดยแกะที่ชื่อดอลลี่แม้จะไม่ใช่สิ่งมีชีวิตตัวเเรกของโลกที่เกิดขึ้นมาจากการโคลน แต่เป็นผลงานที่เรียกได้ว่ามีชื่อเสียงมากและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แกะดอลลี่เกิดจากการโคลน โดยใช้เซลล์โซมาติกของแกะที่โตเต็มวัยมาเป็นเซลล์ต้นแบบ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion)

การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion)  คือ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ส่งผลต่อศีรษะของคุณโดยตรง  ทำให้บริเวณนั้นเกิดการอักเสบ ฟกช้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียความทรงจำ  โดยการักษานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล   การกระทบกระเทือนทางศีรษะ คืออะไรการกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion) คืออะไร การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion)  คือ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ส่งผลต่อศีรษะของคุณโดยตรง  ทำให้บริเวณนั้นเกิดการอักเสบ ฟกช้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียความทรงจำ  โดยการักษานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายบาดเจ็บแล้ว ยังสามารถส่งผลไปยังสมอง จนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย  โดยเฉพาะในวันทารกและวัยเด็ก อาการอาการกระทบกระเทือนทางศีรษะ สัญญาณและอาการของการกระทบกระเทือนมีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะจะส่งผลต่อทั้งทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจ โดยมีอาการดังต่อไปนี้ สูญเสียความทรงจำ สับสน มึนงง ซึม หรือ อาการซึมเศร้า วิงเวียนศรีษะ  ปวดศีรษะ เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน ปัญหาด้านความสมดุล ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าช้ากว่าปกติ ช่วงระยะเวลาที่กำลังพักฟื้นหลังจากได้รับการกระทบกระเทือนศีรษะนั้น คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้ หงุดหงิด อ่อนไหวต่อแสงและเสียงดัง ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของการกระทบกระเทือนทางศีรษะ สาเหตุส่วนใหญ่ของการถูกกระทบกระเทือนทางศีรษะเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์  การถูกทำร้ายร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงของการกระทบกระเทือนทางศีรษะ มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา อย่างเช่น การเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหากมีอุปกรณ์ในการเล่นที่ไม่ปลอดภัย อยู่ในสถานการณ์เกิดอุบัติเหตุทางเท้าหรือจักรยาน เป็นทหารอยู่ในสนามรบ ตกเป็นเหยื่อในการทารุณกรรมทางร่างกาย หกล้ม หรือถูกกระแทก เกิดขึ้นได้ในเด็กและผู้สูงอายุ เคยถูกกระแทกมาแล้วก่อนหน้านี้ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่ได้รับไปนั้นไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีกว่า การวินิจฉัยการกระทบกระเทือนทางศีรษะ ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและประเมินอาการ นอกจากนี้ยังทำการทดสอบอื่น ๆ […]


อาการของโรค

สัญญาณและอาการของโรคอารมณ์สองขั้วหรือ โรคไบโพลาร์ในเด็ก

หากเอ่ยถึงโรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์ (Bipolar disorder) ผู้อ่านหลายคนมักจะคิดว่าโรคนี้จะต้องเป็นในผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือเด็กที่โตแล้วเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วโรคไบโพลาร์สามารถพบได้กับเด็กทุกๆ ช่วงวัย โรคไบโพลาร์ในเด็กสามารถทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนในระดับที่รุนแรง สมาธิสั้น เรื่อยไปจนถึงระดับที่ต่ำสุดของภาวะซึมเศร้า Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับอาการ โรคไบโพลาร์ในเด็ก มาฝากทุกท่าน สังเกตลักษณะอาการและสัญญานของ โรคไบโพลาร์ในเด็ก เด็กทุกคนมีช่วงเวลาที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว หยาบคาย  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะแสดงความรู้สึกหงุดหงิด โกรธ โมโห หรือไม่พอใจ แต่ในบางครั้งอาจจะแสดงออกมากกว่าปกติ หรือทำตัวเป็นกบฏมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามหากอาการของลูกมีความรุนแรงต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาภายหลังจนยากจะแก้ไขได้ โดยพ่อแม่สามารถสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมที่แปลกไปของลูกได้ ว่ามีความใกล้เคียง คล้าย หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ ดังนี้ อารมณ์แปรปรวนรุนแรง ผิดไปจากอารมณ์แปรปรวนตามปกติที่เคยเป็น มีพฤติกรรมที่แสดงออกไปในเชิงก้าวร้าวหรือไม่เหมาะสม มีลักษณะของการสูญเสียตัวตน เช่นมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติด หรือการใช้จ่ายเงินอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งในข้อนี้จะพบในเด็กที่โตแล้ว หรือเด็กวัยรุ่น มีอาการนอนไม่หลับหรือความต้องการการนอนลดลง โดยถึงแม้ว่าจะนอนน้อยแต่ก็ไม่รู้สึกเพลีย มีอารมณ์หดหู่ หรือหงุดหงิดง่ายเกือบทั้งวันและแทบทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า มีความขี้อวด มองการณ์ไกล เริ่มทะนงความสามารถของตัวเอง มีความคิดหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น สาเหตุของอาการไบโพลาร์ในเด็ก อาการไบโพลาร์ในเด็กๆนั้นค่อนข้างมีความคลุมเครือ เพราะเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดมาจากที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือปัญหาชีวิตอื่นๆ เช่น พันธุกรรม อาจมาจากการที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติของโรคไบโพลาร์ ซึ่งในข้อนี้น่าจะเป็นความเสี่ยงเดียวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สาเหตุทางระบบประสาท เกิดจากความแตกต่างในโครงสร้างทางสมอง หรือการทำงาน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ สภาพแวดล้อม เด็กๆหลายคนอาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเรากันแน่

ระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร ร่างกายต้องดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่คุณอาจไม่ทราบว่าร่างกายยังจำเป็นต้องขับถ่ายของเสียที่เป็นพิษออกไปด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมลำไส้ใหญ่จึงมีความสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากนำเสนอบทความเกี่ยวกับ ลำไส้ใหญ่ เพื่อให้คุณรู้จักอวัยวะสำคัญนี้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] หน้าที่ของ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ เป็นท่อกล้ามเนื้อขนาดประมาณ 1.6 เมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร มีขนาดกว้างแต่สั้นกว่าลำไส้เล็ก โดยลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ ดูดกลับน้ำ ดูดซึมวิตามินเค กำจัดกากของเสียและสารพิษจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบน ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดลงล่าง ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่กินพื้นที่บริเวณท้องส่วนล่างด้านขวา ซึ่งเป็นบริเวณที่ลำไส้เล็กขับสารอาหารเข้าสู่ส่วนแรกของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า ซีกั้ม (cecum) ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบนเริ่มจากส่วนซีกั้มจนถึงระดับของตับ จากนั้นลำไส้จะขดไปทางซ้ายและพาดผ่านช่วงท้องที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดปลายเริ่มจากส่วนท้องด้านซ้ายไปจนถึงเชิงกรานที่บริเวณตำแหน่งม้าม เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และสิ้นสุดที่ลำไส้ตรง ซึ่งเป็นบริเวณที่ของเสียถูกขับออกจากร่างกาย ในช่วงแรก เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะถูกเปลี่ยนเป็นกากอาหารหรืออุจจาระ และถูกลำเลียงไปกักเก็บไว้ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ของเสียจะถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงเมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระซึ่งเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อวัน ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุและสร้างของเสียเพื่อขับออกจากร่างกายในรูปแบบของอุจจาระ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียมากกว่า 400 ชนิดซึ่งหน้าที่หลักคือแบคทีเรียเหล่านี้คือ ช่วยย่อยอาหาร กระตุ้นการผลิตสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินเค วิตามินบีหลายชนิด สร้างสมดุลของกรดและด่าง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ผู้ที่มีสุขภาพลำไส้ใหญ่ดีควรขับถ่ายได้ง่ายและอุจจาระออกหมด และอุจจาระควรมีสีอ่อน […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

หลายคนคงเคยประสบกับ อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว บทความนี้มาพร้อมกับข้อมูลดี ๆ ให้คุณรู้จักอาการนี้ดีขึ้น คำจำกัดความอาการอาหารไม่ย่อย คืออะไร อาการอาหารไม่ย่อย หรือทางการแพทย์เรียกว่า ดิสเพปเซีย (Dyspepsia) คือ ความรู้สึกอึดอัดและปวดบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน (กระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) อาหารไม่ย่อยประกอบไปด้วยหลายกลุ่มอาการ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ และเรอ ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของอาหารไม่ย่อย พบได้บ่อยเพียงใด อาการอาหารไม่ย่อยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรค แต่คือการแสดงออกทางอาการพื้นฐานของความผิดปกติทางสุขภาพและเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการ ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่ ท้องอืด คลื่นไส้และอาเจียน แสบร้อนในกระเพาะอาหาร อิ่มง่าย แม้รับประทานอาหารในขนาดปกติ รับรู้ได้ถึงรสชาติกรดภายในปาก ปวดท้อง เรอเปรี้ยว อาจมีอีกหลายอาการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อรักข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียนรุนแรงหรืออาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีปัญหาในการกลืน เจ็บปวดหน้าอก ตาและผิวเหลือง หายใจลำบาก กรดไหลย้อน หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ทั้งนี้แต่ละคนมีการแสดงออกของอาการแตกต่างกันไป การเข้ารับการรักษากับแพทย์เป็นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด สาเหตุสาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อย ดิสเพปเซียเป็นการแสดงออกของอาการมากกว่ากลุ่มโรค อาการเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน (GERD) อาการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดการระคายเคืองและสร้างความเสียหายแก่ทางเดินอาหาร ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาหารไม่ย่อย ความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ความผิดปกติในการทำงานของลำไส้ใหญ่ การติดเชื้อในกระเพาะอาหารสาเหตุจากเชื้อเอชไพโลไร แผลในกระเพาะอาหาร รอยขีด หรือรูในผนังกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร ยาที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย แอสไพรินและยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยาที่มีส่วนผสมของไนเตรท (เช่น ยาลดความดันโลหิต) เอสโตรเจนและยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยารักษาไทรอยด์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของอาการอาหารไม่ย่อย กิจวัตรประจำวันอาจมีผลต่อการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย นอกจากนี้โรคและสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ รับประทานอาหารมากเกินไปและเร็วเกินไป ความเครียดและเหนื่อยล้า การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำการรักษาทางการแพทย์ โปรดเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ทุกครั้งเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย แพทย์อาจสอบถามอาการของโรค ประวัติการใช้ยา และอาจตรวจสอบกระเพาะและทรวงอกร่วมด้วย แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อทำความเข้ากับอาการและวินิจฉัยโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อย การส่องกล้อง วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

คำจำกัดความการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คืออะไร เอ็นไหล่ (rotator cuff) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงไหล่ เอ็นไหล่เป็นส่วนที่สำคัญประการหนึ่งของไหล่ เอ็นไหล่ทำให้ยกแขนและเอื้อมได้ อาการบาดเจ็บที่เอ็นไหล่ เช่น การฉีกขาด อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อหกล้มลงบนมือที่ยืดออกไปหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ การเสื่อมและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ยังอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้นได้อีกด้วย หากเอ็นไหล่ได้รับบาดเจ็บ คุณอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษา ได้แก่ การขูดกระดูกที่งอกออกมาที่ส่งผลต่อไหล่หรือการรักษาเอ็นหรือกล้ามเนื้อไหล่ที่ฉีกขาด เทคนิคการผ่าตัดที่อาจใช้รักษาเอ็นไหล่ขาด ได้แก่ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (arthroscopy) การผ่าตัดแบบเปิด (open surgery) หรือเทคนิคทั้งสองประการร่วมกัน วัตถุประสงค์ในการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานและความยืดหยุ่นของไหล่และเพื่อบรรเทาอาการปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาอื่นๆ ความจำเป็นในการผ่าตัด การผ่าตัดมักเป็นการรักษาที่แนะนำประการแรกสำหรับการบาดเจ็บที่ไหล่ เริ่มแรกแพทย์อาจแนะนำการพักผ่อน การประคบด้วยน้ำแข็ง และการออกกำลังกายแบบพิเศษ หากการบาดเจ็บไม่รุนแรง วิธีการรักษาเหล่านี้อาจเพียงพอ หากเอ็นฉีกขาด การพักผ่อนและการออกกำลังกายอาจลดอาการปวดแต่ไม่รักษาอาการฉีกขาด อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด แพทย์ที่ทำการรักษาจะแนะนำให้คุณปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ออร์โธปีดิกหากว่าคุณ มีอาการปวดไหล่ที่คงอยู่เป็นเวลานานกว่าหกเดือน ถึงแม้ว่าหลังการเข้ารับกายภาพบำบัดแล้ว มีอาการไหล่อ่อนแรงที่ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวัน เป็นนักกีฬา ใช้ไหล่และแขนในการทำงาน การผ่าตัดรักษาเอ็นไหล่ขาดช่วยได้ดีที่สุดสำหรับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่นานแทนการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดหลังเกิดการบาดเจ็บ ข้อควรระวังข้อควรทราบก่อนการผ่าตัด ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับ การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด นี้ได้อย่างปลอดภัย การสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ขึ้นอยู่กับหัตถการที่ผู้ป่วยเข้ารับ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ มักไม่แนะนำหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ มีอาการปวดแน่นที่ไหล่มาก่อน มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องรักษาหรือไม่สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่อาจรักษาได้ดีกว่าด้วยการผ่าตัดแบบเปิด ปุ่มกระดูกแบนที่ไม่มีรูปร่างโค้งหรือเป็นรูปตะขอ สำหรับผู้ที่มีปุ่มกระดูกแบน การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ เช่น เอ็นไหล่อักเสบ (rotator cuff tendonitis) และข้อต่อหัวไหล่บวมอักเสบ (shoulder bursitis) เป็นสาเหตุ ไม่ใช่ผลของเอ็นไหล่อักเสบ (shoulder impingement) อาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

หิวน้ำบ่อย อยากดื่มน้ำตลอดเวลา อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

หิวน้ำบ่อย หรือ กระหายน้ำบ่อย เพราะร่างกายเสียน้ำมาก เช่น หลังออกกำลังกายอย่างหนัก หรือในวันที่อากาศร้อนจัด อาการกระหายน้ำแบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยากดื่มน้ำตลอดเวลา กระหายน้ำมากผิดปกติ  ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ หิวน้ำบ่อย อาการ กระหายน้ำบ่อย มากผิดปกติ อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ กินอาหารเค็มมาก หรืออาหารรสเผ็ด มีอาการป่วย การออกกำลังกายหนัก ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือดมาก กินยาบางประเภท เช่น ลิเทียม (Lithium) ยาขับปัสสาวะ (Diuretic) ยาระงับอาการทางจิตบางชนิด นอกจากนี้ อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง ได้แก่ กระหายน้ำบ่อย จากภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำ คือภาวะที่ในร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายเกิดอาการ กระหายน้ำบ่อย สำหรับสาเหตุของภาวะขาดน้ำ อาจเกิดจากการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก ท้องเสีย และอาเจียน ซึ่งคุณอาจสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้ ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ปากแห้ง ผิวแห้ง รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ โรคเบาหวาน ทางการแพทย์เรียกภาวะที่ต้องการดื่มน้ำมากผิดปกติ ว่า Polydipsia ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคเบาหวาน โดยเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปวดหลังหลังกินอาหาร อย่าชะล่าใจ! เพราะอาจเกิดจากโรคร้ายแรงที่คุณคาดไม่ถึง

เชื่อว่าทุกคนคงเคยประสบกับอาการปวดหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่เป็นมานานแสนนานไม่หายสักที หรืออาการปวดหลังเฉียบพลันที่อยู่ๆ ก็ทำให้เจ็บจี๊ดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย อาการปวดหลังเกิดได้แทบจะทุกเวลา ไม่ว่าจะตอนนั่ง ตอนนอน ตอนเดิน หรือแม้แต่หลังกินอาหาร สำหรับใครที่มีอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร เป็นประจำ Hello คุณหมอ อยากบอกว่าอย่าชะล่าใจ เพราะถ้าปล่อยไว้นานวันอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของอาการ ปวดหลังหลังกินอาหาร อาการปวดหลังที่เกิดขึ้นหลังกินอาหาร อาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ ท่านั่งไม่ถูกสุขลักษณะทำให้รู้สึก ปวดหลังหลังกินอาหาร หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เราเกิดอาการปวดหลังก็คือ ท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ดีต่อสุขภาพ นั่นเอง ระหว่างกินอาหาร หากคุณนั่งหลังค่อม นั่งห่อไหล่ หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่รองรับสรีระ อาจทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังมีปัญหา เมื่อกินอาหารเสร็จ จึงรู้สึกปวดหลัง ภูมิแพ้อาหารและภูมิแพ้อาหารแฝง สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้อาหาร หรือภูมิแพ้อาหารแฝง เช่น แพ้นม แพ้แอลกอฮอล์ แพ้กลูเตน แพ้น้ำตาล หากกินอาหารชนิดนั้นๆ เข้าไปก็อาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ยิ่งถ้าคุณปวดหลังอยู่ก่อนแล้ว การอักเสบจากการกินอาหารที่แพ้ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดหลังของคุณแย่กว่าเดิม ภาวะหัวใจวาย ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะเมื่อปวดหลังร่วมกับอาการ เช่น เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดแขน ขากรรไกร หรือคอ อาการจุกเสียด แสบร้อนกลางอก คนที่ปวดหลังหลังกินอาหารอาจเป็นผลมาจากอาการปวดแสบปวดร้อนกลางอก หรือที่เรียกว่า Heartburn เนื่องจากกรดไหลย้อน หรืออาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นเมื่อคุณกินอาหารเร็วเกินไป หรือกินอาหารที่เปรี้ยวหรือเผ็ดจัด ถุงน้ำดีอักเสบ ถุงน้ำดีคือแหล่งกักเก็บน้ำดีที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน หากคุณมีนิ่วในถุงน้ำดี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน