สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

ปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) โดยผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ข้อมูลพื้นฐานปลูกถ่ายไต คืออะไร การปลูกถ่ายไต (kidney transplant) เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) ผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง (chronic kidney failure) หน้าที่ของไต คือ กำจัดของเสียออกจากเลือด เมื่อไตทำงานไม่ปกติ ของเสียในร่างกายเริ่มสะสมตัวในเลือด ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในร่างกาย มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานประเภท 1 หรือประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) ซึ่งเป็นอาการอักเสบที่หน่วยกรองของไต (glomeruli) ไตอักเสบประเภท Interstitial nephritis ซึ่งเป็นอาการอักเสบของหลอดไตฝอยและอวัยวะโดยรอบ ถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ทางเดินปัสสาวะอุดกั้นเป็นเวลานานจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต และมะเร็งบางชนิด ปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับไปยังไต ไตติดเชื้อซ้ำ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) ในหลายกรณี การปลูกถ่ายไตสามารถช่วยให้ผู้รับบริจาคมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น ความจำเป็นของการ ปลูกถ่ายไต แพทย์จะประเมินอาการในปัจจุบันของคุณ คุณอาจได้รับการปลูกถ่ายไตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้  คุณมีสุขภาพดีพอสำหรับการผ่าตัด ข้อดีของการปลูกถ่ายไตมีมากกว่าความเสี่ยง คุณได้ลองเข้ารับการรักษาทางเลือกแล้วไม่ได้ผล คุณรับทราบความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อน คุณรับทราบว่าคุณจะใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และเข้ารับการนัดหมายติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการปลูกถ่ายไต มีเหตุผลหลายประการที่การปลูกถ่ายไตไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาการติดเชื้อที่กำลังเป็นอยู่ (จำเป็นต้องรักษาก่อน) โรคหัวใจ ไตวาย มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย โรคเอดส์ […]


การทดสอบทางการแพทย์

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo)

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้       คำจำกัดความเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน คืออะไร เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้ อย่างไรก็ตามอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะยาวและระยาวสั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับสตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับบริเวณหูชั้นใน พบได้บ่อยเพียงใด อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป อาการอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ผู้ป่วยส่วนมใหญ่ทีมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนจะมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกหมุน รู้สึกเอียง รู้สึกแกว่ง รู้สึกไม่สมดุล รู้สึกถูกดึงในทิศทางหนึ่ง รู้สึกคลื่นไส้ การเคลื่อนไหวของดวงตาที่กระตุกหรือผิดปกติ (Nystagmus) ปวดศีรษะ เหงื่อออก มีเสียงอื้อในหู หรือสูญเสียการได้ยิน อาการเหล่านี้สามารถคงอยู่ได้เป็นเวลาสองสามนาที หรือนานถึงสองสามชั่วโมงหรือมากกว่า อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนมักเกิดจากอาการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติต่างๆ ที่ส่งผลต่อหูชั้นใน ซึ่งได้แก่ โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo): มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตำแหน่งของศีรษะที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมุนกะทันหัน ตัวอย่างเช่น ผลึกขนาดเล็กแตกในช่องหูด้านในและสัมผัสปลายประสาทด้านในที่ไวต่อการรู้สึก หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน (Acute labyrinthitis): เกิดจากการอักเสบของโครงสร้างเกี่ยวกับการทำให้สมดุลของหูชั้นใน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s disease): เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเหลวภายในหูชั้นใน อาการรู้สึกหมุนสามารถเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ ปัญหาต่างๆ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

ผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นการผ่าตัดต่อมทอนซิลออกจากร่างกาย ต่อมทอนซิลทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป ข้อมูลพื้นฐาน ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) คืออะไร การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) เป็นการผ่าตัดนำเอาต่อมทอนซิลออกไป ต่อมทอนซิล เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (เช่น ต่อมต่างๆ ที่คอ) ทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เกิดขึ้นเมื่อต่อมทอนซิลติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการเจ็บ ไข้ และกลืนลำบาก และทำให้รู้สึกไม่สบาย ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดมักเป็นวิธีที่แนะนำเนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลเพียงวิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ต่อมทอนซิลอักเสบกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเรื้อรังอาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกไป ความเสี่ยง ความเสี่ยงของการผ่าตัดท่อมทอนซิล การใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กเป็นเวลานานอาจยับยั้งการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเรื้อรังได้ สำหรับผู้ใหญ่นั้น การรักษาประเภทนี้มีโอกาสได้ผลน้อยกว่า โดยเฉพาะโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever) ที่เกิดขึ้นตามมา การติดเชื้อและอาการเจ็บคอที่ป้องกันได้ด้วยการผ่าตัดอาจมีอาการไม่รุนแรงและส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงบางประการและจำเป็นต้องอาศัยเวลาพักฟื้น เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอน การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล คุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ และภาวะสุขภาพใดๆ และก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนการผ่าตัด คุณควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนการผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถรับประทานอาหารล่วงหน้าก่อนการผ่าตัดได้หรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด คุณอาจสามารถดื่มของเหลวต่างๆ ได้ เช่น กาแฟ จนกระทั่งถึงเวลาสองสามชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดดำเนินการโดยใช้ยาสลบและมักใช้เวลา 30 นาที แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลผ่านทางปาก โดยจะตัดหรือลอกต่อมทอนซิลออกจากกล้ามเนื้อใต้ต่อมทอนซิล หรือใช้ความร้อนเพื่อกำจัดต่อมทอนซิลและใช้ความร้อนจี้ในบริเวณดังกล่าว หรืออาจใช้พลังงานความถี่วิทยุเพื่อกำจัดต่อมทอนซิล โดยแพทย์จะห้ามเลือดที่ไหลออกมากเกินไปในระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล ตามปกติ คุณสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป อาการเจ็บปวดอาจยังคงอยู่เป็นเวลา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไต อวัยวะสุดพิเศษของร่างกาย ที่คุณอาจยังรู้จักไม่ดีพอ

ทุกคนทราบดีว่าบางอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ จำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ นั่นก็คือคุณจำเป็นต้องมีสมอง หัวใจ ปอด แล้วก็ ไต เมื่อพูดถึงไต แม้ว่ารูปไตจะไม่ปรากฏอยู่บนการ์ดวาเลนไทน์ แต่ไตก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหัวใจ ในการมีชีวิตอยู่ คุณจำเป็นต้องมีไต ปกติแล้ว ไตมีสองข้าง หากคุณเคยเห็นถั่วแดง คุณอาจพอจินตนาการออกว่าไตมีรูปร่างอย่างไร ไตแต่ละข้างมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว (ประมาณ 13 เซนติเมตร) และกว้างประมาณ 3 นิ้ว (ประมาณ 8 เซนติเมตร) หรือขนาดเทียบเท่าเมาส์ของคอมพิวเตอร์ ในการคลำหาไต ให้เอามือเท้าเอว และเลื่อนมือขึ้นมาจนรู้สึกถึงกระดูกซี่โครง และหากใช้นิ้วหัวแม่มือไปคลำทางด้านหลัง บริเวณที่นิ้วหัวแม่มือคลำเจอ คือบริเวณของไต คุณไม่สามารถคลำเจอไตได้ แต่ไตอยู่บริเวณดังกล่าว คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพิเศษของไตได้ การทำความสะอาด หน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียออกจากเลือด แล้วของเสียเข้าไปอยู่ในเลือกของเราได้อย่างไรกันล่ะ? เลือดทำหน้าที่ส่งสารอาหารต่างๆ ไปทั่วร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นในเซลล์ของร่างกายเพื่อย่อยสลายสารอาหาร ของเสียบางชนิดเป็นผลมาจากปฏิกิริยาเหล่านี้ บางชนิดก็เป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ เนื่องจากมีปริมาณที่เพียงพอแล้ว ของเสียจำเป็นต้องถูกขับออกไป และนี่คือเหตุผลที่ต้องมีไตเพื่อทำหน้าที่นี้ ขั้นแรก เลือดจะถูกส่งไปยังไตโดยหลอดเลือดแดงไต ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายโดยเฉลี่ย คือ หนึ่งแกลลอนถึงหนึ่งแกลลอนครึ่ง ไตกรองเลือดเหล่านั้นในปริมาณมากถึง 400 ครั้งต่อวัน ตัวกรองในไตที่มีมากกว่า 1 ล้านแหน่วยทำหน้าที่ขจัดของเสีย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome)

มาร์แฟนซินโดรม เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ใช้ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้อ่อนแรง ส่งผลถึงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ คำจำกัดความ มาร์แฟนซินโดรมคืออะไร มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome) หรือกลุ่มอาการมาร์แฟน เป็นภาวะรุนแรงที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้อ่อนแรง ส่งผลถึงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ แม้ว่าอาการนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาด ความก้าวหน้าทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสมีชีวิตอยู่ตามปกติได้ และการวินิจฉัยที่เร็วและแม่นยำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงเฉพาะต่อผู้ป่วย แต่ยังรวมถึงบุคคลที่มีอาการที่เกี่ยวข้อง มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กล่าวคือ เนื้อเยื่อที่พยุงและค้ำจุนอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย สำหรับผู้ป่วยโรคมาร์แฟนซินโดรม เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะไม่มีแรงเนื่องจากมีการสร้างสารเคมีที่ผิดปกติเกิดขึ้น มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคที่มักส่งผลกระทบต่อหัวใจ ตา หลอดเลือด และกระดูก มาร์แฟนซินโดรมพบบ่อยแค่ไหน มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคที่พบได้บ่อย ใน 10,000 ถึง 20,000 คน จะพบคนเป็นโรคนี้ 1 คน และเกิดขึ้นได้กับคนทุกเชื้อชาติ อาการ อาการของมาร์แฟนซินโดรม อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมีมากมาย แม้แต่กับคนในครอบครัวเดียวกัน บางคนอาจเกิดอาการเล็กน้อย แต่บางคนอาจมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมักรุนแรงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมีดังนี้ มีรูปร่างสูงและผอม แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้ายาวผิดปกติ กระดูกหน้าอกผิดรูป อาจนูนออกมาด้านหน้าหรือเว้าเข้าไปในร่างกาย เพดานปากยกตัวสูงกว่าปกติ ฟันเก มีเสียงฟู่ของหัวใจ สายตาสั้นลงอย่างมาก กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ เท้าแบน เนื่องจากโรคมาร์แฟนซินโดรมส่งผลกระทบต่ออวัยวะของร่างกายได้ทุกส่วน จึงอาจเกิดปัญหาได้หลากหลาย ปัญหาที่อันตรายที่สุดของมาร์แฟนซินโดรม คือปัญหาทางหัวใจและหลอดเลือด เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่บกพร่อง ทำให้เส้นเลือดใหญ่ที่เรียกว่าเอออร์ตาร์ (aorta) ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดความบกพร่อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โบทูลิซึม (Botulism)

โบทูลิซึม เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า “คลอสทริเดียม” โบทูลินัม มี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก คำจำกัดความโบทูลิซึม คืออะไร โรคโบทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งผลิตท็อกซิน 7 ชนิด (นักวิทยาศาสตร์เรียกตั้งแต่ A ถึง G) อย่างไรก็ตาม ท็อกซินชนิด A, B, E, และ F มีผลทำให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์ รูปแบบของโรคโบทูลิซึมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก โบทูลิซึม พบบ่อยแค่ไหน ทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นโรคโบทูลิซึม แต่โรคนี้ไม่ติดเชื้อจากคนสู่คน คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึมได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สัญญาณและอาการของโรคโบทูลิซึมอาการของโรคโบทูลิซึมมักเกิดขึ้น 12 ถึง 36 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อโรค โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ของโรคโบทูลึซึมเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการเริ่มต้นของโรคโบทูลิซึมประกอบด้วย หนังตาตก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ปากแห้ง พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อไหร่ที่ควรพบคุณหมอ ควรเข้าพบหมอเพื่อปรึกษาทันที หากเกิดอาการโรคโบทูลิซึม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

น้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าระดับปกติ พบมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับอินซูลินในการรักษาหรืออยู่ในระหว่างการรักษา หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ น้ำตาลในเลือดต่ำคืออะไร น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าระดับปกติ น้ำตาลกลูโคส เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกายที่ได้จากอาหาร คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารประเภทหลักที่เป็นแหล่งกลูโคส ข้าว มันฝรั่ง ขนมปัง ซีเรียล นม ผลไม้ และของหวาน ล้วนเป็นอาหารประเภทที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตทั้งสิ้น ตับอ่อน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด โดยผลิตอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เซลล์นำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานและควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดอีกด้วย ฮอร์โมนอีกหนึ่งประเภทที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมปริมาณกลูโคสในเลือดคือ กลูคากอน (glucagon) ซึ่งทำให้ปริมาณกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เมื่อตับอ่อนผลิตฮอร์โมนกลูคากอนไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบบ่อยแค่ไหน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้ไม่บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี แต่พบมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับอินซูลินในการรักษาหรืออยู่ในระหว่างการรักษา โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ ภาวะขาดฮอร์โมนหรือจากเนื้องอกในร่างกาย อาการ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ประกอบด้วย อาการสั่น เวียนศีรษะ ปวดหัว เหงื่อออกบ่อย หิว หัวใจเต้นเร็ว และสีผิวซีด ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ หรืออาจทำให้เกิดอาการร้องโวยวายหรือฝันร้ายได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจึงมักเหนื่อยหรือไม่สบายบ่อย ระดับของน้ำตาลในเลือดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการเป็นลมหรือชักได้ อาจมีอาการหรือสัญญาณอื่นๆ ของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและระยะการดำเนินของอาการไม่นาน คุณควรพบหมอทันทีหากเกิดอาการ ดังนี้ เกิดอาการที่อาจเป็นอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและคุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเบาหวานและมีอาการเวียนศีรษะ หรือหน้ามืดเนื่องจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นโรคเบาหวาน และการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ได้ผล คุณควรแจ้งให้คนใกล้ชิดทราบ หากคุณเป็นโรคเบาหวาน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ทำงานเป็นกะ กับสารพันปัญหาสุขภาพที่ต้องพร้อมรับมือ

บางอาชีพ เช่น หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่คอลเซนเตอร์ ผู้รักษาความปลอดภัย พนักงานร้านสะดวกซื้อ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องทำงานเป็นช่วงเวลา หรือ ทำงานเป็นกะ ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนหรือเวลาทำงานที่แน่นอน ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ได้ทำงานตามนาฬิกาชีวิต ที่เป็นวงจรเวลาตามธรรมชาติ จึงสามารถนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพต่างๆ มากมาย ที่ควรต้องพร้อมรับมือ! ปัญหาสุขภาพระยะสั้น ไม่ใช่แค่ผู้ที่ทำงานเป็นกะ แต่ผู้ที่ต้องทำงานดึกติดต่อกันหลายคน ผู้ที่ต้องเดินทางผ่านหลายโซนเวลา เป็นต้น ก็สามารถประสบกับปัญหาสุขภาพระยะสั้นได้ ดังนี้ ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก กรดไหลย้อน เสี่ยงได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ นอนไม่หลับ บั่นทอนคุณภาพชีวิต รู้สึกไม่สดใส หรือไม่สบายตลอดเวลา ปัญหาสุขภาพระยะยาว หากต้องทำงานเป็นกะ หรือทำงานในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง งานศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่ทำงานกะดึกนานเกิน 15 ปี จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 5% สำหรับการทำงานในกะดึกครบทุก 5 ปี โรคเบาหวาน การศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ผู้ที่ทำงานควบสองกะ หรือทำงานวันละ 16 ชั่วโมงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานมากกว่าผู้ที่ทำงานในตอนกลางวันถึง 50% โรคอ้วน การนอนไม่เป็นเวลา มีปัญหาการกิน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย สามารถส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน และนำไปสู่โรคอ้วนได้ เนื่องจากร่างกายคนเรามีฮอร์โมนตัวหนึ่งที่เรียกว่า […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การรักษา โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ด้วย CO2 LASER

อาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณจมูก ที่เกิดจากเยื่อบุโพรงจมูกบวมอักเสบเรื้อรัง หรือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดในคลินิกโรคภูมิแพ้ ถึงแม้ว่าอาการคัดจมูกเรื้อรังจะไม่มีอันตรายต่อชีวิต แต่โรคนี้ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง มักมีอาการปวดมึนศีรษะร่วมด้วยเนื่องจากมีภาวะสุญญากาศในโพรงไซนัสที่เรียกว่า Vacuum headache การรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ในปัจจุบันการรักษาอาการคัดแน่นจมูกมีหลายวิธี เริ่มจากการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน (Fast Food) อาหารขยะ (Junk Food) ของหมักดอง อาหารทอดน้ำมันซ้ำๆ หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ สารก่อภูมิแพ้ และ สิ่งระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูก เช่น ควันบุหรี่ เขม่ารถยนต์ เป็นต้น ร่วมกับการใช้ยาลดอาการภูมิแพ้ เช่น ยารับประทานจำพวกแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamine) ยาแก้คัดจมูกที่นิยมใช้กัน เช่น ยาซูโดอีเฟดีน (Pseudoephedrine) และอาจใช้ยา Steroid พ่นจมูก ตลอดจนการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นต้น แต่ในกรณีที่การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาการคัดแน่นจมูกเรื้อรังไม่ดีขึ้น หรือในกรณีที่ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยยาไม่ได้ เนื่องจากมีผลข้างเคียง(Side effect) จากยา เช่น ยา Pseudoephedrine อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ นอนไม่หลับ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจอุจจาระ (Stool Analysis)

ตรวจอุจจาระ เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจอุจจาระ คืออะไร ตรวจอุจจาระ (stool analysis) เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ภาวะดังกล่าว ได้แก่ การติดเชื้อ (เช่น จากปรสิต ไวรัส หรือแบคทีเรีย) การดูดซึมแร่ธาตุได้น้อย หรือมะเร็ง สำหรับการตรวจอุจจาระนั้น มีการเก็บตัวอย่างอุจจาระในภาชนะที่สะอาด แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การทดสอบสารเคมี และการทดสอบทางจุลชีววิทยา จะมีการตรวจอุจจาระเพื่อดูสี ความต่อเนื่อง ปริมาณ รูปร่าง กลิ่น และเมือก อาจมีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดที่เจือปน (occult) ไขมัน เส้นใยเนื้อสัตว์ น้ำดี เซลล์เม็ดเลือดขาว และน้ำตาลที่เรียกว่าน้ำตาลในอุจจาระ (reducing substances) อาจมีการตรวจวัดค่า pH ของอุจจาระอีกด้วย กระเพาะเชื้อจากอุจจาระดำเนินการเพื่อดูว่าแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือไม่ ความจำเป็นในการตรวจอุจจาระ ตับอ่อน เอนไซม์บางชนิด (เช่น เอนไซม์ trypsin หรือ elastase) อาจมีการตรวจหาในอุจจาระเพื่อดูว่าตับอ่อนทำงานได้ทีเพียงใด ช่วยหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่ อาการท้องร่วงเป็นเวลานาน ถ่ายเป็นเลือด มีแก๊สมากขึ้นในท้อง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน