สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV Viral Load Measurement)

ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นการวัดจำนวนไวรัสเอชไอวีในเลือด มีการเริ่มตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวี เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี คืออะไร การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV Viral Load Measurement) เป็นการวัดจำนวนไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ในเลือด มีการเริ่มตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวี เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวี การตรวจวัดในเบื้องต้นนี้เป็นค่าบรรทัดฐาน และการตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวีในอนาคต นำมาเปรียบเทียบกับค่าบรรทัดฐานนี้ เนื่องจากค่าไวรัสเอชไอวีสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละวัน แนวโน้มค่าไวรัสเมื่อเวลาผ่านไป จะใช้เพื่อดูว่า การติดเชื้อมีอาการแย่ลงหรือไม่ หากค่าไวรัสเอชไอวีของคุณแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ในการวัดหลายครั้ง หมายความว่าการติดเชื้อมีอาการแย่ลง หากแนวโน้มค่าไวรัสเอชไอวีมีค่าลดลงในการวัดหลายครั้ง หมายความว่าการติดเชื้อถูกควบคุมไว้ มีการตรวจวัดค่าไวรัสเอชไอวีโดยใช้การทดสอบหนึ่งในสามประเภทดังต่อไปนี้ การตรวจ Reverse-transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) การตรวจ Branched DNA (bDNA) การตรวจ Nucleic acid sequence-based amplification (NASBA) การตรวจเหล่านี้เป็นการวัดจำนวนสารพันธุกรรม (RNA) ของไวรัสเอชไอวีในเลือด แต่การตรวจแต่ละประเภทมีรายงานผลการตรวจแตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ผลการตรวจเดิมเมื่อเวลาผ่านไป เหตุผลในการ ตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี โอกาสที่คุณจำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบค่าไวรัสเอชไอวี ได้แก่ หลังการวินิจฉัย เรียกว่าการวัดค่าบรรทัดฐาน (baseline measurement) สามารถใช้เปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดในอนาคตได้ ทุก ๆ สองถึงแปดสัปดาห์ในการเริ่มต้นการรักษา หรือเมื่อการรักษามีการเปลี่ยนแปลง ช่วยประเมินประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยา ทุก ๆ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure)

ข้อมูลพื้นฐานการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure) คืออะไร ถึงแม้ว่าหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่มักจะถูกมองข้ามหรือผิดพลาด ประวัติการรักษาที่ละเอียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรกล่าวถึง ซึ่งไม่เพียงเฉพาะสิ่งบ่งชี้ และอาการหัวใจล้มเหลวที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังควรกล่าวถึงสิ่งบ่งชี้และอาการ ที่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุเฉพาะของหัวใจล้มเหลวอีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง (hypertension) หรือโรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) เป็นสิ่งสำคัญในการดูว่า ผู้ป่วยได้มีอาการเกี่ยวกับหัวใจมาก่อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลว คือ การได้รับประวัติการรักษาที่ครบถ้วน ประวัติสุขภาพของคุณรวมทั้งสิ่งใดๆ ก็ตาม เกี่ยวกับสุขภาพในอดีตและปัจจุบันของคุณ ซึ่งเป็นภาวะที่คุณเคยเป็น หรือภาวะที่คุณเป็นอยู่ ควรมีการบันทึกความดันโลหิตของผู้ป่วยและอัตราการเต้นของหัวใจ อาจมีความดันโลหิตสูง ปกติ หรือต่ำ การพยากรณ์โรคจะแสดงอาการของโรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure ) น้อยกว่า 90 ถึง 100 มม. ปรอท […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (History And Physical Exam For COPD)

ข้อมูลพื้นฐานซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คืออะไร โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) เป็นโรคปอดชนิดหนึ่งที่ทำให้หายใจลำบาก มักเป็นการเกิดของโรคสองชนิดร่วมกันที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ คือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และ ภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อ (emphysema) เมื่อเวลาผ่านไป โรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)  โรค COPD ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หนทางที่เชื่อถือได้หนทางเดียวในการชะลอการเกิดโรค COPD คือการเลิกสูบบุหรี่ ประวัติสุขภาพของคุณจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญ ที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ เหตุผลในการตรวจ ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย ช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้ เป็นส่วนของการเข้าพบแพทย์เป็นประจำและมีความสำคัญ ข้อควรทราบก่อนตรวจข้อควรทราบก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรมีการซักประวัติสุขภาพและการตรวจหัวใจอย่างระมัดระวัง เพื่อแบ่งแยกโรคหัวใจที่สัมพันธ์กับ หรือไม่ก็ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับอาการของโรค COPD เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจรวมทั้งโรค COPD การตรวจหัวใจอาจแสดงให้เห็นถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว หรือแสดงสิ่งบ่งชี้ของภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) ตับอาจมีขนาดโตขึ้น ซึ่งในบางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากอาการหัวใจล้มเหลวด้านขวา (cor pulmonale) ผลการตรวจร่างกายจะแตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ที่เป็นไปได้ของโรค COPD ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวเพื่อการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณควรเตรียมข้อมูลของการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมาอย่างละเอียดและครบถ้วน ถึงแม้ว่าอาการของโรคจะหายขาดแล้วก็ตาม หรืออาการของโรคไม่ได้มีสำคัญสำหรับคุณ แต่การทราบเกี่ยวกับอาการดังกล่าวอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ นอกจากนี้ การทราบเกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณจะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณ นอกเหนือจากประวัติอาการของโรคที่ผ่านมา คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Test)

ตรวจไวรัสตับอักเสบบี เป็นการตรวจหาสารต่างๆ ในเลือด ที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกำลังเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นในอดีต ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus Test ; HBV test) เป็นการตรวจหาสารต่างๆ ในเลือด ที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกำลังเกิดขึ้นหรือได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่ การทดสอบนี้เป็นการตรวจหาสิ่งบ่งชี้ของการติดเชื้อต่างๆ (markers) ได้แก่ แอนติเจนเป็นสิ่งบ่งชี้ที่เกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส ดังนั้น การเกิดขึ้นของ HBV antigens หมายความว่ามีไวรัสอยู่ในร่างกาย แอนติบอดีเป็นโปรตีนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น เพื่อต้านการติดเชื้อ การเกิดขึ้นของ HBV antibodies หมายความว่า คุณได้สัมผัสไวรัสตับอักเสบบีมาในช่วงเวลาหนึ่ง แต่คุณอาจมีการติดเชื้อมาเป็นเวลานานแล้ว และมีอาการดีขึ้นแล้ว หรืออาจมีอาการติดเชื้อที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ สารพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสตับอักเสบบีแสดงว่า มีไวรัสอยู่ในร่างกาย จำนวน DNA สามารถช่วยบอกได้ว่า อาการติดเชื้อมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดและการตรวจไวรัสตับอักเสบบีสามารถแพร่กระจายได้ง่ายเพียงใด เป็นสิ่งสำคัญในการระบุประเภทของไวรัสตับอักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม กลุ่มการทดสอบที่มักใช้ในการทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจ Hepatitis B surface antigen (HBsAG)    ตรวจจับโปรตีนที่อยู่บนพื้นผิวของไวรัส เพื่อตรวจคัดกรอง ตรวจจับ และช่วยวินิจฉัยอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลันและเรื้อรัง กล่าวคือเป็นสิ่งบ่งชี้ปกติในระยะแรกสุดของตับอักเสบบีเฉียบพลัน และมักระบุผู้ติดเชื้อก่อนมีอาการ โดยไม่สามารถตรวจจับได้ในเลือดในระหว่างพักฟื้น เป็นวิธีเบื้องต้นในการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรัง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง (History And Physical Exam For Low Back Pain)

ข้อมูลพื้นฐานการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง (History And Physical Exam For Low Back Pain) คืออะไร ก่อนที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการของคุณ และกำหนดแผนการรักษา การซักประวัติสุขภาพ และการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากผลการทดสอบเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถทราบว่า อาการปวดหลังและอาการอื่นๆ ของคุณ เกี่ยวข้องกับการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ และเส้นประสาทเส้นใดที่ถูกกดทับ ซึ่งแพทย์จะใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อช่วยกำหนดว่าการรักษาประเภทใดที่มีโอกาสได้ผลมากที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคุณมากที่สุด เหตุผลในการตรวจ การซักประวัติและการตรวจร่างกาย เป็นส่วนแรกในการจัดการอาการเกี่ยวกับหลังส่วนล่าง แพทย์อาจเปลี่ยนหรือข้ามการทดสอบบางประการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้หลังบาดเจ็บในอนาคต ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง อาการปวดเกี่ยวข้องกับสาเหตุทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมีความเครียด กล้ามเนื้อตึงหรือกล้ามเนื้อเกร็งสามารถเกิดขึ้นที่หลังได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหรือมีอาการแย่ลง หากคุณหรือแพทย์ที่ทำการรักษารู้สึกว่า อาการปวดเกิดจากหรือมีอาการแย่ลงจากความเครียด ความโกรธ หรืออารมณ์ที่ยุ่งยากอื่นๆ ให้วางแผนเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-behavioral therapy) และการสร้างความสมดุลของร่างกาย (biofeedback) เป็นการรักษาสองประเภทที่เป็นเครื่องมือในการจัดการอาการปวด ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวเพื่อการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง คุณควรเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์และละเอียดจากการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโรคหนึ่งหายขาดแล้ว หรือดูไม่สำคัญสำหรับคุณ แต่การรู้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว อาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการปวดหลังส่วนล่างได้ นอกจากนี้ การรู้เกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณ จะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติสุขภาพของคุณ คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ที่คุณใช้อยู่ เป็นการดีที่สุดที่จะนำรายการชื่อยาและขนาดยาล่าสุดของยาทั้งหมดที่ใช้อยู่มาด้วย ขั้นตอนการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง ประการแรก คุณจะได้รับการซักประวัติสุขภาพของคุณ เกี่ยวกับอาการอย่างครบถ้วน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram)

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้   ข้อมูลพื้นฐานตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye angiogram) คืออะไร การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Fluorescein angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด สีฟลูออเรสเซนต์จะทำให้เกิดสีที่หลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตาเพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้ การทดสอบนี้มักใช้เพื่อจัดการอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา โดยแพทย์อาจสั่งให้มีการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เพื่อกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสม หรือเพื่อเฝ้าระวังอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตา ความจำเป็นใน การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี การทดสอบดำเนินการเพื่อดูว่า มีกระแสเลือดที่เหมาะสม ในหลอดเลือดด้านหลังดวงตาทั้งสองชั้นหรือไม่ (The retina and choroid) และการทดสอบนี้ยังสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยปัญหาในดวงตา เพื่อดูว่าการรักษาดวงตาบางประเภทได้ผลดีหรือไม่ ข้อควรรู้ก่อนการตรวจข้อควรรู้ก่อนตรวจจอประสาทตา แพทย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้ใช้ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี นี้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากสีสามารถส่งต่อไปยังลูกผ่านทางน้ำนมได้ จึงไม่ปลอดภัยที่จะให้นมบุตรเป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการทดสอบนี้ และควรใช้อุปกรณ์ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า และทิ้งนมที่ปั๊มออกมาจนกว่าจะปลอดภัย แล้วจึงเริ่มให้นมบุตรอีกครั้ง หรืออาจต้องปั๊มและเก็บน้ำนมเป็นเวลาหลายวัน ก่อนการทดสอบ หรือใช้นมผงในระหว่างช่วงเวลานี้ สีที่ฉีดเข้าไปจะถูกกรองผ่านไตและขับออกจากร่างกาย ผ่านทางปัสสาวะภายในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง โดยปัสสาวะอาจมีสีเหลืองหรือสีส้มสว่าง และสีที่เรียกว่า Indocyanine green พบว่าให้ผลดีกว่าในการตรวจหาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาบางประเภท และอาจใช้แทนสารฟลูออเรสซีน เพื่อให้แพทย์สามารถดูได้ว่าหลอดเลือดใต้เรตินารั่วหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี […]


การทดสอบทางการแพทย์

อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (Cranial Ultrasound)

อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ เป็นการใช้คลื่นเสียงสะท้อน เพื่อสร้างภาพถ่ายสมอง และบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมอง ที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน   คำจำกัดความการตรวจ อัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (Cranial Ultrasound) คืออะไร  การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะ (cranial ultrasound) ใช้คลื่นเสียงสะท้อนเพื่อสร้างภาพถ่ายสมองและบริเวณกักเก็บของเหลวในโพรงสมองที่น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังไหลผ่าน การทดสอบนี้มักดำเนินการในเด็กเพื่อประเมินอาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ส่วนในผู้ใหญ่นั้น การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกอาจดำเนินการเพื่อแสดงให้เห็นก้อนสมองในระหว่างการผ่าตัด   คลื่นอัลตราซาวด์ไม่สามารถผ่านกระดูกได้ จึงไม่สามารถทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินสมองได้หลังจากที่กระดูกหุ้มสมอง (cranium) เชื่อมต่อกันสนิทแล้ว การตรวจอัลตราซาวด์กะโหลกสามารถดำเนินการได้ในทารกก่อนที่กระดูกกะโหลกศีรษะเจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนในผู้ใหญ่จะทำหลังจากผ่าตัดเปิดกะโหลกแล้ว การทดสอบนี้อาจใช้ประเมินอาการผิดปกติในสมองและโพรงสมองในทารกแรกเกิดไปจนอายุประมาณ 18 เดือน การอัลตราซาวด์กะโหลกศีรษะสำหรับทารก อาการแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ อาการ periventricular leukomalacia (PVL) และเลือดออกในสมอง ซึ่งได้แก่อาการเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage: IVH) อาการ PVL เป็นภาวะหนึ่งที่เนื้อเยื่อสมองรอบโพรงสมองได้รับความเสียหายซึ่งอาจเกิดจากออกซิเจนหรือกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงสมองน้อยลง โดยอาจเกิดขึ้นก่อน ในระหว่าง หรือหลังการคลอดก็ได้ อาการ IVH และ PVL จะเพิ่มความเสี่ยงของความพิการในทารก ซึ่งอาจปราฏอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงเกี่ยวกับการเรียนรู้หรืออาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่เติบโตช้า (gross motor delays) ไปจนถึงอาการสมองพิการ (cerebral palsy) หรือความพิการทางสติปัญญา […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจหมู่โลหิต (Blood Typing)

ตรวจหมู่โลหิต ใช้เพื่อระบุหมู่โลหิตของผู้ป่วยก่อนให้หรือรับเลือด และเพื่อระบุหมู่เลือดของผู้ที่ต้องการมีบุตรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเข้ากันไม่ได้ของ Rh ระหว่างมารดาและบุตร ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจหมู่โลหิต คืออะไร ในเลือดหมู่ต่างๆ นั้น มีสารชีวเคมีหรือแอนติเจน ABO (ABO antigens) และ Rh เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด โดยสามารถตรวจสอบเลือดของผู้บริจาคและเลือดของผู้ที่อาจจะรับบริจาค เพื่อดูการเข้ากันของเลือด นอกจากนี้ การทดสอบนี้ใช้ระบุหมู่เลือดของหญิงตั้งครรภ์และทารกเกิดใหม่ได้ด้วยบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ตลอดจนปฏิกิริยาข้ามกัน (cross-reactions) ระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีที่เกิดขึ้น เมื่อมีความไม่เข้ากันของหมู่เลือดต่างกลุ่ม หรือต่างระบบกัน เลือดของมนุษย์ได้รับการจัดหมวดหมู่ตามการมีหรือไม่มีของแอนติเจนเอและบี ในเลือดกรุ๊ปเอ เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงจะประกอบด้วยแอนติเจนเอ ในเลือดกรุ๊ปบี เยื่อเม็ดเลือดแดงหมู่บีประกอบด้วยแอนติเจนบี ส่วนกรุ๊ปเลือดเอบี จะมีทั้งแอนติเจนเอและบีที่พื้นผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ในขณะที่เลือดกรุ๊ปโอ จะไม่มีทั้งแอนติเจนเอและบีที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงเลย โดยปกติแล้ว ซีรัมในเลือดของบุคคลหนึ่งจะประกอบด้วยแอนติบอดีที่เข้ากันกับแอนติเจนบนเซลล์เม็ดเลือดแดง หมายความว่าแอนติเจนเอ (หมู่เลือดเอ) จะไม่มีแอนติบอดี anti-A แต่จะมีแอนติบอดี anti-B ในทางกลับกัน ผู้ที่มีแอนติเจนบีจะไม่มีแอนติบอดี anti-B แต่จะมีแอนติบอดี anti-A ส่วนเลือดกรุ๊ปโอจะมีสารแอนติบอดีทั้ง anti-A และ anti-B โดยแอนติบอดีเหล่านี้จะผลิตขึ้นในสามเดือนแรกหลังคลอดโดยการสัมผัสกับสารแวดล้อม เช่น แอนติเจนจากเม็ดเลือดแดง หรือแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร การถ่ายเลือด หมายความถึง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสารเคมีในเลือด (Blood Chemistry Screen)

ตรวจสารเคมีในเลือด เป็นการตรวจเลือดประเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด (เช่น อิเล็กโทรไลต์) การตรวจสารเคมีในเลือดทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ช่วยตรวจหาอาการบางประการ ตลอดจนประเมินผลของการรักษาสำหรับอาการเฉพาะ [embed-health-tool-bmr] ข้อมูลพื้นฐาน การ ตรวจสารเคมีในเลือด คืออะไร การตรวจสารเคมีในเลือด (Chemistry screen) เป็นการตรวจเลือดประเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด (เช่น อิเล็กโทรไลต์) การตรวจสารเคมีในเลือดทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ช่วยตรวจหาอาการบางประการ ตลอดจนประเมินผลของการรักษาสำหรับอาการเฉพาะ กระบวนการทั่วไปของการตรวจเลือดนี้ เป็นการวัดระดับของอิเล็กโตรไลต์ที่สำคัญและสารเคมีอื่นๆ ได้แก่ กลูโคส หรือ น้ำตาลในเลือดจะถูกย่อยในระดับเซลล์เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ระดับกลูโคสที่สูงขึ้นอาจเกิดจากเบาหวานหรือยาชนิดต่างๆ เช่น สเตียรอยด์ ระดับโซเดียม ในเลือดแสดงให้เห็นถึงสมดุลระหว่างการบริโภคโซเดียมและน้ำและการขับถ่าย ระดับโซเดียมที่ผิดปกติในเลือดอาจแสดงให้เห็นถึงการทำหน้าที่ผิดปกติของหัวใจหรือไตหรือภาวะขาดน้ำ โพแทสเซียม มีบทบาทสำคัญในการควบคุมกิจกรรมของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ การหดตัวของหัวใจ ภาวะไตล้มเหลว รวมทั้งอาเจียนหรือท้องร่วงอาจทำให้มีระดับโพแทสเซียมที่ผิดปกติ ระดับคลอไรด์ อาจสูงขึ้นและลดลงในทิศทางเดียวกันกับระดับโซเดียมเพื่อคงสมดุลของประจุไฟฟ้า อาการผิดปกติหลายประการอาจเปลี่ยนแปลงระดับคลอไรด์ ซึ่งได้แก่ การทำงานที่ผิดปกติของไต โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต อาเจียน ท้องร่วง และหัวใจวาย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทำหน้าที่เป็นระบบบัฟเฟอร์เพื่อช่วยคงสมดุลกรด-เบสของเลือด โดยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ (Respiratory disease) อาการผิดปกติของไต อาเจียนรุนแรง ท้องร่วง และติดเชื้อรุนแรงมากสามารถทำให้เกิดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่ผิดปกติได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)

การ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว คืออะไร การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว หรือการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก (Contraction Stress Test หรือ CST) เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ในระหว่างที่ระดับออกซิเจนลดลงซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวระหว่างการคลอด โดยเป็นการตรวจดูการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์จากภายนอก และมักทำการทดสอบเมื่อมีอายุครรภ์ 34 สัปดาห์หรือมากกว่า ในระหว่างมดลูกหดรัดตัว เลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์จะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับทารกส่วนใหญ่ แต่อัตราการเต้นของหัวใจของทารกบางรายอาจมีค่าช้าลง การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจนี้สามารถมองเห็นได้จากอุปกรณ์แสดงภาพจากภายนอก การตรวจสอบนี้ จะมีการให้ฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin) ผ่านทางหลอดเลือดดำ (intravenously หรือ IV) ของมารดา เพื่อทำให้มดลูกหดตัวเสมือนการคลอด หรืออาจมีการนวดหัวนมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปลดปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซินออกมา หากอัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลงหลังมดลูกบีบรัดตัว แสดงว่าทารกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับแรงกดทับในการคลอดตามธรรมชาติ การตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว มักกระทำเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีผลการตรวจความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ (Non-stress test) และการตรวจความสมบูรณ์ของทารก (biophysical profile) ผิดปกติ การตรวจความสมบูรณ์ของทารกทำได้โดยการอัลตราซาวด์เพื่อวัดลักษณะทางร่างกายของทารก ความจำเป็นในการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว การตรวจสอบภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์จะปลอดภัยหรือไม่ เมื่อมดลูกบีบตัวและระดับออกซิเจนลดลงระหว่างการคลอด ประเมินว่ารกแข็งแรงพอที่จะพยุงตัวทารกได้ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์อาจดำเนินการเมื่อพบว่ามีผลการตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์แบบไม่มีแรงกดทับที่ตัวทารก (Non-stress test) หรือการตรวจความสมบูรณ์ของทารกผิดปกติ ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว ในบางกรณี การตรวจภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมีการบีบตัวของมดลูกอาจแสดงผลว่าการเต้นของหัวใจทารกช้าลง ทั้งๆ ที่ทารกไม่ได้มีอาการผิดปกติใดๆ กรณีนี้เรียกว่าผลบวกลวง ในปัจจุบัน การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมนัก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน