สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

5 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยวิธีการฉีดยา

คุณเคยได้ยินเรื่องการฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด (sclerotherapy) หรือไม่ การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยที่ขา (varicose andspider veins) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยๆ ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกและอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิตที่รุนแรง ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องทราบ ก่อนเลือกวิธีการฉีดยาเพื่อ การรักษาเส้นเลือดขอด การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดช่วยอะไรได้บ้าง การรักษาเส้นเลือดขอดโดยวิธีการฉีดยา เป็นวิธีที่เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร ที่เป็นแขนงบริเวณผิวหนัง โดยยังไม่ปรากฏความผิดปกติของลิ้น (valve)ในเส้นเลือดดำส่วนตื้น หรือเป็นเส้นเลือดขอดเล็กๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ หลังจากการผ่าตัดเส้นเลือดขอด การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด นอกจากจะทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของเส้นเลือดขอดดีขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้อาการและภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดีขึ้นได้อีกด้วย เช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด อาการบวม ตะคริวหรือเหน็บชาได้ การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดทำอย่างไร เมื่อเริ่มดำเนินการ แพทย์จะทำความสะอาดพื้นที่เป้าหมายด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ แล้วใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กฉีดสารละลายเข้าไปยังเส้นเลือดขอด ยาที่ใช้เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนังของเส้นเลือดขอด (endothelium) โดยฉีดเข้าไปในเส้นเลือดดำที่ขอด เพื่อทำให้ผนังเส้นเลือดบวม และติดกันจนเลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้ และเกิดการแข็งตัวจนตีบตันในที่สุด เพียง 2-3 สัปดาห์เส้นเลือดขอดที่เคยโป่งพองก็จะยุบและจางหายไป โดยยาหรือสารเคมีที่แพทย์นำมาใช้ฉีดก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่ใช้บ่อยๆ จะมีชื่อว่า “เอธอกซีสเครอล” (Aethoxysklerol) ซึ่งมีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5-3% สารละลายนี้จะส่งผลต่อผนังชั้นในของเส้นเลือด ซึ่งเป็นการขัดขวางกระแสเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง เส้นเลือดขอดจะกลายเป็นแผลเป็น ที่จะค่อยๆ หายไปในที่สุด ทำให้เลือดสามารถไหลไปยังเส้นเลือดที่แข็งแรงกว่าได้ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

คีโม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ยาเคมีบำบัดสามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติได้ ซึ่งเมื่อเซลล์ปกติเกิดความเสียหายอาจส่งผลข้างเคียงบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่มักจะเรียกกันว่า คีโม อาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด แต่หลายคนมักจะกังวลเกี่ยวกับการรักษาในขั้นตอนนี้ จริงๆ แล้วการใช้ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง คีโม คืออะไร การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่มักจะเรียกกันว่า คีโม (Chemo) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งการใช้ยาเคมีบำบัด คือการใช้ยาบางชนิดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คุณหมออาจรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด และการฉายรังสี นอกจากนี้เพื่อที่จะให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง และสร้างเซลล์ที่แข็งแรงเซลล์ใหม่ คุณอาจต้องกินยาเป็นเวลากว่า 1-2 สัปดาห์ และต้องกินยาทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง และความรุนแรงของโรคมะเร็ง สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดผลข้างเคียง จากการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด หรือบางคนอาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ความรุนแรงของผลข้างเคียงจะแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคน ดังนั้นคุณอาจสอบถามคุณหมอว่าอาการที่พบบ่อยมักจะเป็นอย่างไร เกิดขึ้นนานแค่ไหน และอาการสามารถร้ายแรงได้ขนาดไหน คุณหมออาจให้คุณกินยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการรักษาบางอย่าง ก่อนรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ยาคีโมบางประเภทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาว เช่น หัวใจหรือเส้นประสาทเกิดความเสียหาย หรือมีปัญหากับระบบสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ไม่มีปัญหาระยะยาวจากการทำคีโม ดังนั้นคุณควรถามคุณหมอว่า ยาเคมีบำบัดที่คุณได้รับมีผลระยะยาวหรือไม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณควรคุยกับคุณหมอที่รักษาโรคมะเร็ง เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการรักษา นอกจากนี้ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด หรือการคีโม อาจเกิดขึ้นขณะที่คุณกำลังรักษา […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test)

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใดๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา   ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน คืออะไร ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (home blood glucose test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใด ๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา การตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สามารถใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ในการตรวจ ซึ่งความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับว่าการรักษาโรคเบาหวานมีการควบคุมได้ดีเพียงใด รวมทั้งปัจจัยสุขภาพโดยรวมด้วย สำหรับผู้ที่ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอาจจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้อินซูลินหรือไม่ใช้เลย การทดสอบน้ำตาลในเลือดอาจมีประโยชน์สำหรับการทดสอบว่าร่างกายของเรามีปฏิกิริยาต่ออาหาร อาการเจ็บป่วย ความเครียด การออกกำลังกาย ยา และกิจกรรมอื่นๆ ได้ดีเพียงใด โดยการทดสอบก่อนและหลังรับประทานอาหารจะช่วยให้เราปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมได้ เครื่องตรวจน้ำตาลบางประเภทสามารถบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดได้นับร้อยค่า ทำให้สามารถศึกษาค่าน้ำตาลในเลือดที่บันทึกไว้เมื่อเวลาผ่านไป และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน อีกทั้งยังสามารถหาความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ระบบเหล่านี้สามารถบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแปลงข้อมูลเป็นกราฟหรือรูปแบบอื่น เพื่อให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ปัจจุบัน เครื่องตรวจน้ำตาลรุ่นใหม่ ๆ สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอินซูลินปั๊ม ซึ่งเป็นเครื่องปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายในระหว่างวัน เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยกำหนดปริมาณอินซูลินที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดตามที่ตั้งค่าไว้ ความจำเป็นในการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน แพทย์จะแนะนำเกี่ยวกับความถี่ที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานและแผนในการรักษา โรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 4-8 ครั้งต่อวัน และอาจจำเป็นต้องตรวจก่อนรับประทานอาหารและอาหารว่าง ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน และในบางครั้งในตอนกลางคืน ทั้งยังอาจจำเป็นต้องตรวจบ่อยขึ้นหากมีอาการป่วย […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด (Carbon Monoxide Blood Test)

ข้อมูลพื้นฐานการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด คืออะไร การตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด (Carbon Monoxide Blood Test) ใช้เพื่อตรวจจับความเป็นพิษจากการหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เข้าไป ซึ่งก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีพิษ การตรวจนี้ช่วยวัดปริมาณฮีโมโกลบินที่จับตัวกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ออกมาเป็นค่าวัดผลที่เรียกว่า “ระดับคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน” (carboxyhemoglobin level) เมื่อคนหนึ่งหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะรวมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้ออกซิเจนในเลือดถูกแทนที่ด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ การลำเลียงออกซิเจนไปยังสมองและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายจึงมีปริมาณน้อยลง โดยคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำให้เกิดความเป็นพิษรุนแรงที่อันตรายต่อชีวิตได้ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึ้นระหว่างการเผาไหม้ เมื่อไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอสำหรับการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ แหล่งที่มาหลักของคาร์บอนมอนอกไซด์ คือ ควันจากเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เรือ การเผาไหม้จากไฟที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี เช่น เครื่องทำความร้อน เตาทำอาหารภายในบ้าน โรงงาน รวมถึงการสูบบุหรี่ด้วย ความจำเป็นในการ ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ผู้ที่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจนี้ คือผู้ที่สงสัยว่าได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยจะปรากฏอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ท้องร่วง ผิวหนังและริมฝีปาก “มีสีแดง” ความเป็นพิษที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆ เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น อาการชัก อาการโคม่า อาการของการได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเด็กเล็กมากระบุได้ยากกว่าในผู้ใหญ่ เช่น เด็กอาจมีเพียงอาการโวยวายและ ไม่ยอมรับประทานอาหาร นอกจากนี้ผู้ที่จำเป็นเข้ารับการตรวจนี้ คือ ผู้ที่สัมผัสก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสูดควันในระหว่างไฟไหม้ หรืออยู่ใกล้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ทำงานในพื้นที่ปิดเป็นเวลานาน ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ผู้ที่มีอาการต่างๆ และมีการสัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์ เช่น ผู้ที่อาศัยในบ้านที่มีระบบทำความร้อนที่เก่าและมีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ผู้ที่อาจมีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรออกจากสถานที่ที่มีการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์ และควรได้รับออกซิเจนเพื่อหายใจก่อนเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่ามีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรเข้ารับการทดสอบอื่น ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งมักไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ คำจำกัดความไส้ติ่งอักเสบ คืออะไร ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และรูปร่างเหมือนท่อ ติดอยู่กับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ในบริเวณด้านขวาล่างของช่องท้อง มักไม่มีหน้าที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถทำให้ก่ออันตรายต่อร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ไส้ติ่งอักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน ไส้ติ่งอักเสบพบได้บ่อยและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากที่สุดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-30 ปี โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้ติ่งอักเสบ อาการหลักของไส้ติ่งอักเสบคืออาการปวดท้อง ที่เริ่มต้นบริเวณกลางท้องส่วนบนใกล้กับสะดือ จากนั้นอาการปวดมักลุกลามลงไปยังช่องท้องด้านขวาล่าง และการเคลื่อนไหวร่างกาย การไอ หรือการออกแรงอาจทำให้อาการปวดแย่ลง อาการอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือท้องร่วง ผายลมไม่ได้ ท้องบวม มีไข้ต่ำ หากไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และปล่อยไว้จนอาการรุนแรง อาจทำให้ไส้ติ่งแตกและทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตรายต่อชีวิต สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หรือไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการดัง ต่อไปนี้ หากสงสัยว่ามีอาการใด ๆ ของไส้ติ่งอักเสบ อาการปวดที่ช่องท้องด้านขวาล่างที่ไม่หายไป ท้องร่วงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ท้องบวมร่วมกับมีไข้ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบเกิดจากการอุดกั้น โดยสามารถเกิดจากอุจจาระ สิ่งแปลกปลอม หรือมะเร็ง เมื่อเกิดการอุดกั้น แบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ ทำให้ไส้ติ่งบวมและมีหนอง หากไส้ติ่งแตก แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายและทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย ในผู้ป่วยบางราย ไส้ติ่งอักเสบเป็นอาการตอบสนองต่อการติดเชื้อในร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของไส้ติ่งอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงสำหรับไส้ติ่งอักเสบมีหลายประการ เช่น มีการติดเชื้อที่ลำไส้ มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำและคาร์โบไฮเดรตสูง การไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ […]


อาการของโรค

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย (Fatigue)

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย เป็นภาวะหนึ่งที่มักมีอาการเหนื่อยหรือขาดพลังงาน จัดอยู่ในกลุ่มอาการไม่ใช่โรค พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยมีความเจ็บป่วยหลายประการที่สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย   คำจำกัดความเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลียคืออะไร เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นภาวะหนึ่งที่มักมีอาการเหนื่อยหรือขาดพลังงาน คำเรียกอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ได้แก่ หมดแรง เหน็ดเหนื่อย และเฉื่อยชา อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย พบได้บ่อยเพียงใด อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย จัดอยู่ในกลุ่มอาการไม่ใช่โรค พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป โดยมีความเจ็บป่วยหลายประการที่สามารถทำให้เกิด อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย อาจเป็นอาการทางร่างกาย จิตใจ หรือทั้ง 2 ประการร่วมกัน ซึ่ง อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย มีอาการอย่างไร อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย อาจสัมพันธ์กับกลุ่มอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ ดังนี้ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด หรือเลือดจาง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ม้ามโต (Enlarged Spleen)

ม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ   คำจำกัดความม้ามโต (Enlarged Spleen) คืออะไร ม้ามเป็นอวัยวะภายในอยู่บริเวณใต้ซี่โครงในช่องท้องด้านซ้ายบน ค่อนไปด้านหลัง ม้ามเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ทำหน้าที่กำจัดของเสียและป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ  เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกสร้างจากม้ามจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ออกจากกระแสเลือดขณะไหลผ่านม้าม นอกจากนี้ ม้ามยังทำหน้าที่รักษาเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดด้วย ม้ามมักมีขนาดประมาณเท่ากำปั้น แพทย์มักไม่สามารถสัมผัสม้ามได้ในระหว่างการตรวจร่างกายภายนอก การเกิดโรคต่างๆ สามารถทำให้ม้ามมีขนาดใหญ่กว่าปกติได้หลายเท่า หรือ ม้ามโต (Enlarged Spleen) เนื่องจากม้ามเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลายระะบบ ดังนั้น ม้ามมักได้รับผลกระทบเสมอหากเกิดโรคใดๆ ขึ้นในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ม้ามโตไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ของความผิดปกติเสมอไป ภาวะม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเรียกว่าภาวะม้ามทำงานมากเกินไป โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งได้แก่ อาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีเกล็ดเลือดมากเกินไป และความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับเลือด ม้ามโตพบบ่อยเพียงใด ภาวะม้ามโตพบได้ทั่วไปในคนทุกช่วงวัย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการของม้ามโตอาการทั่วไปของภาวะม้ามโต ได้แก่ ไม่มีอาการในผู้ป่วยบางราย อาการปวดหรือแน่นในช่องท้องด้านซ้ายบนที่อาจลุกลามไปยังไหล่ด้านซ้าย รู้สึกอิ่มแม้ไม่ได้รับประทานอาหาร หรือหลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากม้ามกดทับลงบนกระเพาะอาหาร เลือดจาง อ่อนเพลีย ติดเชื้อบ่อย เลือดออกง่าย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการปวดในช่องท้องด้านซ้ายบน โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ สาเหตุสาเหตุของม้ามโต การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (mononucleosis) การติดเชื้อพยาธิ เช่น โรคท็อกโซพลาสโมซิส […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปวดท้อง (Stomach ache)

ปวดท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้อง โดยการติดเชื้อหรืออาการบาดเจ็บใดๆ ต่ออวัยวะในช่องท้องต่างๆ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ คำจำกัดความ ปวดท้องคืออะไร ปวดท้อง (Stomach ache) คืออาการที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้อง โดยอวัยวะหลักที่อยู่ในบริเวณช่องท้อง ได้แก่ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไต ไส้ติ่ง ม้าม กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ตับ และตับอ่อน การติดเชื้อหรืออาการบาดเจ็บใดๆ ต่ออวัยวะเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ พบได้บ่อยเพียงใด อาการปวดท้องพบได้ทั่วไปในคนทุกวัย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงมีความไวต่ออาการนี้มากกว่า แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของการปวดท้อง อาการปวดท้อง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ มีอาการปวดเวลาปัสสาวะ หรือปัสสาวะบ่อย มีอาการกดเจ็บที่ช่องท้อง อาเจียน มีอาการปวดเรื้อรัง มีภาวะขาดน้ำ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการ ที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ที่ระบุข้างต้น หรืออาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีเลือดปน หรือมีสีคล้ำเหมือนน้ำมันดิน หายใจลำบาก มีอาการปวดในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุ สาเหตุของการปวดท้อง สาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ไวรัสในกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ การแพ้อาหาร แก๊ส อาการแพ้น้ำตาลแล็กโทส และนิ่วในไต เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดท้อง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน และ ยาไอบูโพรเฟน การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการปวดท้อง การวินิจฉัยอาการปวดท้อง ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการปวด การตรวจร่างกาย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เท้าแบน อาการผิดปกติของเท้าที่คุณอาจไม่รู้ตัว และอาจก่อปัญหามากกว่าที่คิด

ถ้าคุณมีอาการเจ็บปวดบางอย่างที่ขาหรือเท้าอยู่บ่อยๆ โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ และไม่ได้เกิดจากโรคอะไร หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ ปัญหาความผิดปกติของสรีระของตัวคุณเอง และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ปัญหาจากรูปลักษณะของเท้าที่ผิดปกติ ที่เรียกกันว่า เท้าแบน เท้าแบนคืออะไร เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า อุ้งเท้าเกิดจากการยึดกันระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกเท้า โดยเส้นเอ็นที่เท้าเองและเส้นเอ็นส่วนที่ต่อจากขาส่วนล่างจะยึดกระดูกตรงกลางเท้าเข้ากับส้นเท้า ทำให้กลางฝ่าเท้าโค้งเข้ามาและไม่ราบไปกับพื้น ภาวะเท้าแบนเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา บางคนอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ เท้าแบนสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทดังนี้ อาการเท้าแบนแบบนิ่ม ลักษณะเท้าแบนชนิดนี้พบได้บ่อยและทั่วไป ซึ่งเป็นอาการที่เท้ามีลักษณะผิดปกติคือ ผู้ที่มีความผิดปกติจะไม่ค่อยมีอุ้งเท้าและเท้าจะแบนราบไปกับพื้นไม่มีส่วนโค้งเว้า อาการเท้าแบนแบบแข็ง เป็นลักษณะของอาการที่ไม่ค่อยพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ลักษณะของเท้าแบนชนิดนี้จะมีความผิดปกติของข้อเท้าคือ อุ้งเท้าจะนูนออก เท้าผิดรูป มีลักษณะกลับด้านนอกออกใน เท้าแบนส่วนใหญที่มีลักษณะแบบแบนนิ่ม จะไม่ก่อให้เกิดการเจ็บเท้า แต่เท้าแบนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ข้อเท้าและเข่าได้เนื่องจากความผิดปกติของเท้า โดยอาการเจ็บปวดของเท้าแบนที่พบอาจได้แก่ เมื่อยขาง่าย เจ็บที่อุ้งเท้า อุ้งเท้าบวม การเคลื่อนไหวเท้าลำบาก ปวดหลังและขา สาเหตุของการเกิดอาการเท้าแบน อาการเท้าแบนเกิดได้จากความผิดปกติทางพันธุกรรมกล่าวคือ เป็นตั้งแต่เกิด แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใครที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด และเป็นลักษณะของอาการเท้าแบนแบบนิ่ม หากอาการไม่รุนแรงมาก จะสามารถหายเป็นปกติได้เองเมื่อโตขึ้น แต่นอกจากนี้อาการเท้าแบนยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นได้ก็คือ เส้นเอ็นยืดหรือฉีก เอ็นที่ยึดหน้าแข้งส่วนหลังที่เรียกว่าเอ็นท้ายกระบอกถูกทำลาย หรือมีการอักเสบ กระดูกหักหรืออยู่ผิดที่ มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เป็นโรคข้อเสื่อมรูมาตอยด์ มีปัญหาเรื่องเส้นประสาท การวินิจฉัยอาการเท้าแบน ตรวจพื้นรองเท้าของคุณว่ามีความผิดปกติบ้างหรือไม่ เพราะพื้นรองเท้าสามารถบอกได้ว่า คุณเดินผิดปกติไม่เป็นธรรมชาติบ้างหรือไม่ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การบริจาคเลือด กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจคาดไม่ถึง

การบริจาคเลือด ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีคุณสมบัติตรงตามที่ศูนย์รับบริจาคโลหิตต้องการ เช่น มีอายุระหว่าง 17-70 ปีบริบูรณ์ มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ก็สามารถบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคเลือดไม่เพียงจะได้รับความสุขจากการให้ แต่ยังได้รับประโยชน์สุขภาพอีกมากมายที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ประโยชน์ดีๆ ที่ได้จาก การบริจาคเลือด ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ การบริจาคเลือด อาจเหมือนแค่นอนนิ่ง ๆ แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า การบริจาคเลือดครั้งละ 450 มิลลิลิตรสามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 650 กิโลแคลอรี่ แม้การบริจาคเลือดแต่ละครั้ง จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้มาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะลดน้ำหนัก ด้วยการโหมบริจาคเลือดได้ เพราะคุณสามารถบริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน โดยต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย ช่วยป้องกันภาวะเหล็กเกิน ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่หากมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) คือ ธาตุเหล็กไปเกาะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ หัวใจ ไต ส่งผลให้เป็นโรคอย่าง ตับแข็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ เป็นต้น ซึ่งการบริจาคเลือดจะทำให้ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายน้อยลง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเหล็กเกินได้ ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการศึกษาพบว่า การบริจาคเลือดเป็นประจำติดต่อกันนานหลายปี จะช่วยลดความเข้มข้นของเลือด และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้ถึง 88% และลดความเสี่ยงของการเกิดอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจชนิดรุนแรง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน