ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

การสูงวัยทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง นั่นจึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพค่อนข้างบ่อยกว่าคนวัยอื่น Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ มาไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย เป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นที่ชัดเจน มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยอาจมีสัญญาณเตือน เช่น ตาเริ่มพร่ามัว การมองเห็นภาพไม่ชัด และเมื่อเวลาผ่านไปอาการอาจแย่ลง หากไม่ทำการรักษา อาจสร้างความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิต และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร เมื่ออายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป คำจำกัดความ จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย คืออะไร  จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย เป็นโรคที่เกี่ยวข้องทางสายตา เกิดจากความผิดปกติบริเวณเรตินาที่เป็นชั้นบาง ๆ ของจุดกลางการรับภาพ และรับรู้แสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตา โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังสามารถมองได้ ซึ่งจอประสาทตาเสื่อมจะไม่ทำให้ตาบอดแต่อย่างใด แต่อาจส่งผลกระทบในการมองเห็นระยะยาว เช่น เห็นขอบของนาฬิกา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเวลาเท่าไร ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม โดยประเภทของจอประสาทตาเสื่อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง เกิดจากการเสื่อมและบางตัวลงของบริเวณศูนย์กลางรับภาพของจอตา โดยมีจุดเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของประสาทตา ที่เรียกว่า ดรูเซ่น (Drusen) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการมองเห็น รวมถึงการมองเห็นค่อย ๆ ลดลง และสูญเสียการมองเห็นส่วนกลาง พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก เกิดจากการเสื่อมโดยมีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมาใหม่ ภายใต้เรติน่าและแมคูล่าหากเส้นเลือดนี้เปราะบางจะเกิดการรั่วไหลเข้าสู่เรตินา  ทำให้การมองเห็นบิดเบี้ยว ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางอย่างถาวร จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย พบได้บ่อยแค่ไหน โดยส่วนใหญ่จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัยมักจะพบในช่วงอายุ 50 […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้ ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ ส่วนผู้ชาย…ความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘ผู้ชายวัยทอง‘ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่ ความหนาของผิวหนัง ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน