backup og meta

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?

    เวลาจะซื้อของฝากไปให้ผู้สูงอายุที่บ้านหรือบุคคลที่เคารพรัก หลายคนก็อาจจะนึกถึงแต่ของฝากที่มี แคลเซียม เพื่อความหวังดีที่จะให้ผู้สูงอายุที่ได้รับของฝากนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะอาหารเสริมแคลเซียม ที่หลายคนมองว่าจำเป็นต้องให้คนสูงวัยได้รับประทานเพื่อที่จะได้มีกระดูกที่แข็งแรง แต่…ในความเป็นจริงแล้วการ กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ อย่างนั้นหรือ? วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปหาคำตอบค่ะ

    ผู้สูงอายุกับปัญหาเรื่องกระดูก

    ผู้สูงอายุอย่าง คุณปู่ คุณย่า คุณตาและคุณยายหลายท่าน เมื่อเข้าถึงวัยที่เป็นผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเรื้อรังมานาน เช่น กระดูกพรุน  กระดูกแตก หรือกระดูกหัก และเมื่อแก่ตัวไปก็มีผลทำให้อาการอาจจะแย่ลงกว่าเดิม เหล่านี้จึงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยอาจมีสาเหตุด้วยกันหลายประการ ทั้งการได้รับปริมาณ แคลเซียม ไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อถึงวัยสูงอายุแล้ว การที่จะฟื้นฟูกระดูกให้เหมือนกับตอนยังเป็นหนุ่มสาวนั้นก็จะไม่สามารถทำได้อย่างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์

    กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่เป็น

    แคลเซียม (Calcium) สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและกระดูก มีส่วนช่วยให้ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและฟันมีความแข็งแรง ซึ่งนอกจากแคลเซียมแล้วก็ยังรวมถึงวิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงเช่นเดียวกัน 

    ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถที่จะสังเคราะห์แคลเซียมหรือวิตามินดีได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารดังกล่าวผ่านการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หรือเสริมด้วยอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อให้แน่ใจได้ว่าตนเองได้รับสารอาหารที่ดีต่อกระดูกอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มองว่าการรับประทาน แคลเซียม ในรูปแบบของอาหารเสริมนั้นอาจจะดีกว่าการรับประทานอาหารทั่วๆ ไป เพราะมั่นใจได้ว่าอาหารเสริมที่กินเข้าไปนั้น ให้แคลเซียมอย่างเต็มที่

    แต่…ในความเป็นจริงแล้ว แคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้นมากเพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มแคลเซียมด้วยอาหารเสริม และอีกหนึ่งข้อสำคัญของแคลเซียมก็ไม่ได้อยู่ที่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีแคลเซียมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกถูกใช้งาน เป็นการกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรงได้เป็นอย่างดี

    ดังนั้น สำหรับผู้สูงอายุแล้ว การรับประทานอาหารที่ให้ แคลเซียม ถือว่าเพียงพอแล้ว การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมที่นอกเหนือไปจากมื้ออาหารทั่วไป ไม่ได้มีความจำเป็นมากขนาดนั้น ข้อสำคัญคือ ให้ผู้สูงอายุในบ้านได้หมั่นออกกำลังกาย เดิน หรือวิ่งเบาๆ เป็นประจำ เพื่อที่กล้ามเนื้อและกระดูกจะได้ถูกใช้งานอยู่เสมอ เป็นการเสริมให้กระดูกแข็งแรงควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมนั่นเอง

    ปริมาณแคลเซียมที่แต่ละช่วงวัยควรได้รับ

    แม้การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมจะไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นมากถึงขนาดนั้น แต่ข้อควรจำคือ ร่างกายจำเป็นที่จะต้องได้รับ แคลเซียม อย่างสม่ำเสมอ และเพียงต่อการใช้งานของร่างกาย เพราะถ้าหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ นอกจากจะมีผลให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงแล้ว ยังอาจเสี่ยงที่จะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) อีกด้วย และเพราะเหตุนี้ แต่ละช่วงวัยจึงมีระดับปริมาณของ แคลเซียม ที่ร่างกายควรได้รับแตกต่างกันไป ดังนี้

  • ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี ไปจนถึงอายุ 50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ควรได้รับ แคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 70 ปี ไปจนถึงอายุ 70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกก็ยังแนะนำเพิ่มเติมว่า หากไม่ได้รับแคลเซียมถึง 1000 หรือ 1200 มิลิกรัมต่อวัน แต่การได้รับแคลเซียมเพียง 500-700 มิลลิกรัมต่อวัน ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกายแล้ว สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ร่างกายได้รับ แคลเซียม ในทุกๆ วัน และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เท่านี้ผู้สูงอายุรวมถึงทุกเพศและทุกวัย ก็จะมีกระดูกที่แข็งแรงแล้ว

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา