backup og meta

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้

อาการปวดหลัง เป็นผลมาจากการที่กระดูกสันหลังได้รับแรงกดทับจากการบาดเจ็บ โรคหรือกลไกที่ผิดปกติในร่างกาย อาการปวดหลังรุนแรงเป็นอาการเจ็บรุนแรงที่เกิดขึ้นกะทันหัน หลังจากไม่แสดงอาการอยู่หลายวันหรือเป็นสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการปวดหลังเฉียบพลันอาจนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง และอาการรุมเร้าอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น Hello คุณหมอ จึงมี วิธีแก้ปวดหลัง มาฝาก รับรองเลยว่าสามารถบรรเทาได้ทั้งอาการปวดหลังเฉียบพลันและอาการปวดหลังเรื้อรัง

อาการปวดหลังส่วนล่างประเภทต่างๆ

ระดับของอาการปวดหลัง เริ่มจากอาการปวดเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณของการบาดเจ็บ และสามารถเป็นได้ทั้งอาการเรื้อรังหรือเฉียบพลัน อาการปวดหลังเฉียบพลันจะเกิดขึ้นทันที และกินระยะเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ สาเหตุของอาการปวดหลังเฉียบพลันมาจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกอักเสบก็ได้

หากปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่าสามเดือนและอาการรุนแรงขึ้น ควรไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจัย เพราะคุณอาจต้องเข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

การรักษาอาการปวดหลัง ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของผู้ป่วย ประเภทและความรุนแรงของอาการปวดหลัง โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนมากจะมีอาการดีขึ้น โดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และการออกกำลังกายมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษา

วิธีแก้ปวดหลัง เฉียบพลัน

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างมักเริ่มจาก การใช้ยาแก้ปวด และ การบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน

ยาแก้ปวด

ยาพาราเซตามอลเป็นหนึ่งในยาที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เบื้องต้น แต่ผู้ป่วยบางคนอาจพบว่า ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ยาแก้ปวดมีผลข้างเคียง และทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางสุขภาพของคุณ

การบำบัดด้วยความร้อนและเย็น

การประคบเย็นภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีก จะช่วยลดการบวมและอักเสบ แต่คุณไม่ควรประคบน้ำแข็งลงบนผิวหนังโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการไหม้จากความเย็นได้ ควรห่อน้ำแข็งด้วยผ้าก่อนประคบลงบนผิวหนัง

ส่วนการบำบัดด้วยความร้อน เช่น การแช่น้ำร้อน การประคบร้อน ก็จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ อีกทั้งความร้อนยังสามารถยับยั้งการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและความเมื่อยล้าได้

ผ่อนคลายและไม่เครียด

การผ่อนคลาย เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการบรรเบาอาการปวดหลังจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว คุณจึงควรหาเวลาผ่อนคลายบ้าง อย่าให้ร่างกายและจิตใจเครียดเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ปวดหลังแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ปรับเปลี่ยนท่านอน

การเปลี่ยนท่านอนก็ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เช่นกัน หากคุณเป็นคนนอนตะแคง ลองงอขาให้ชิดหน้าอกมากขึ้น สอดหมอนบางๆ ไว้ที่หว่างขา หรือใครที่นอนหงาย ควรวางหมอนไว้ใต้เข่า เพื่อให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวโค้งที่เหมาะสม

ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยทำให้หลังแข็งแรงและสุขภาพดี การออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การเดิน ว่ายน้ำ โยคะ เป็นการออกกำลังกายที่แพทย์แนะนำ หัวใจสำคัญในการออกกำลังกายให้สุขภาพดีคือ ต้องเลือกกิจกรรมที่คุณทำแล้วสนุก และได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนั้นโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด

วิธีแก้ปวดหลังเรื้อรัง

หากคุณมีอาการปวดหลังมากกว่า 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็นอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้

ยาต้านซึมเศร้า

หากยาแก้ปวดใช้ไม่ได้ผล แพทย์อาจสั่งยาต้านซึมเศร้าไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants/TCAs) เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) แม้ว่ายากลุ่มนี้ใช้เพื่อการรักษาอาการซึมเศร้า แต่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังในบางกรณีได้ด้วย

ออกกำลังกาย

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาอาการปวดหลัง ร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการยืดเหยียด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับท่าทางของคุณ

การบำบัดด้วยมือ

การบำบัดประเภทนี้ประกอบด้วย การบีบ การคลายข้อที่ติด และการนวด การบำบัดเหล่านี้มักจะใช้ได้ผลกับผู้ป่วยที่อาการปวดหลังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

การฝังเข็ม

การฝังเข็มได้รับการรับรองว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการปวดหลังด้วยการฝังเข็ม ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

การผ่าตัด

เมื่อรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือในกรณีผู้ป่วยปวดหลังมาก จนไม่สามารถเดิน นั่ง หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยการผ่าตัด

แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลเสมอไป ผู้ป่วยบางรายอาจยังมีอาการปวดหลังอยู่หลังจากการผ่าตัด ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยง และผลของการผ่าตัด ก่อนตัดสินใจรักษาอาการด้วยวิธีนี้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Back pain – Treatments. http://www.nhs.uk/Conditions/Back-pain/Pages/Treatment.aspx. Accessed November 25, 2016

Back pain : Treatements & Care. https://www.webmd.com/back-pain/guide/back-pain-treatment-care. Accessed November 25, 2016

Back pain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/back-pain/diagnosis-treatment/drc-20369911. Accessed November 25, 2016

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา