backup og meta

ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม สามารถรักษาให้หายได้อย่างไร

ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม สามารถรักษาให้หายได้อย่างไร

เมื่อคุณรู้สึกเจ็บแปลบ ๆ บริเวณข้อศอก แต่ดันไม่รู้ว่าเกิดมาจากสาเหตุใด ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นแค่เพียงอาการปวดเมื่อธรรมดา หรืออาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างง ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม ก็เป็นได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงนำสัญญาณเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นการเช็กตนเอง เพื่อการรักษาอย่างเท่าท่วงที

ทำความรู้จักกับภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม

ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม (Tennis elbow) คือ อาการอักเสบของเอ็นข้อศอกคุณ โดยเอ็นนี้มีการเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อ กระดูกด้านนอกของข้อศอก ดังนั้นจึงทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่กำลังทำกิจวัตรประจำวัน และอาจยังลุกลามไปทั่วทั้งแขน จนถึงข้อมือได้อีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก

  • การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาอย่างหนัก
  • ยกของที่มีน้ำหนักเกินกำลังกล้ามเนื้อแขนของคุณจะรับไหว
  • งานอดิเรก หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวของแขน เช่น การทำสวน การเลื่อยไม้ บิดผ้า บิดประตู เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจมีสาเหตุไม่แน่ชัดซึ่งมาจากด้านอื่น ๆ ร่วม หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดสำรวจอาการเบื้องต้นจากบทความด้านล่าง หรืออาจเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

สัญญาณอาการเบื้องต้นของ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม

สัญญาณเตือนแรกเริ่มอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับต่ำ จนถึงระดับรุนแรงบริเวณเอ็นข้อศอกของคุณ ซึ่งจะทำให้คุณมีอาการเจ็บขึ้นมากะทันหัน เมื่อมีการยกวัตถุบางอย่าง ขณะที่บิดแขนขึ้น หรือแม้กระทั่งตอนที่คุณกำลังทำการยกแขน หรือยืดแขนจนสุด

อาการเจ็บขึ้นมากะทันหันดังกล่าว นับได้ว่าเป็นอาการที่คุณควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอาจเกิดผลกระทบหลายอย่างในชีวิตประจำวันของคุณในระยะยาวได้ โดยอาการของ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปีขึ้นไป

วิธีรักษาภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อมโดยแพทย์

ก่อนขั้นตอนแรกของการรักษา แพทย์อาจทำการวินิจฉัยโดยการเอ็กซเรย์ (X-rays) บริเวณทั่วทั้งข้อศอก แขน และข้อมือของคุณ เพื่อทำการตรวจสอบ และวิเคราะห์ขั้นตอนการรักษาในลำดับถัดไป ซึ่งมีตัวเลือกดังต่อไปนี้

  • การนวดด้วยน้ำแข็ง และใช้เทคนิคกระตุ้นกล้ามเนื้อร่วม
  • กายภาพบำบัดตามเหตุผลที่ผู้ป่วยนั้นประสบมา
  • ใช้ยาต้านเอกเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
  • ฉีดสเตียรอยด์ในผู้ที่มีอาการเจ็บปวดรุนแรง และมีการเคลื่อนไหวยาก

สำหรับผู้ป่วยที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มการรักษาที่ค่อนข้างยาก หรือรุนแรง แพทย์อาจทำการผ่าตัด กำจัดส่วนหนึ่งของเอ็นที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดออก เพื่อป้องกันไม่ให้อาการนี้ลุกลามไปสร้างความเสียหายแก่บริเวณอื่น

หลังการผ่าตัด หรือการที่ข้อศอกของคุณมีอาการดีขึ้นแล้ว โปรดระมัดระวังเรื่องของการใช้งานให้มากกว่าเดิม โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ หรือยกของหนักสักระยะหนึ่ง เพราะเป็นการช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อศอกของคุณได้รับการเชื่อมต่อแบบเต็มประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tennis elbow https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tennis-elbow/symptoms-causes/syc-20351987 Accessed June 19, 2020

Tennis elbow https://www.webmd.com/fitness-exercise/tennis-elbow-lateral-epicondylitis#1 Accessed June 19, 2020

All you need to know about tennis elbow https://www.medicalnewstoday.com/articles/175848 Accessed June 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

เคล็ดลับกระดูกสมานเร็วขึ้น ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อกระดูกหัก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา