backup og meta

ข้าวบาร์เลย์ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวบาร์เลย์ ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

ข้าวบาร์เลย์ หรือบาร์เลย์ (Barley) คือธัญพืชชนิดหนึ่ง เมื่อสุกจะมีรสสัมผัสเหนียวนุ่ม และมีรสชาติออกมันเล็กน้อย คนนิยมรับประทานเป็นอาหาร

ข้าวบาร์เลย์ คืออะไร

ข้าวบาร์เลย์ หรือบาร์เลย์ (Barley) คือธัญพืชชนิดหนึ่ง เมื่อสุกจะมีรสสัมผัสเหนียวนุ่ม และมีรสชาติออกมันเล็กน้อย คนนิยมรับประทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะในแถบประเทศอเมริกา นอกจากนี้บางส่วนก็อาจนำข้าวบาร์เลย์มาทำเป็นยา หรือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย

ข้าวบาร์เลย์นั้นเชื่อกันว่ามีสรรพคุณที่สามารถในการรักษาโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลสูง อีกทั้งยังอาจสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยยืนยันได้ว่า การรับประทานข้าวบาร์เลย์นั้นจะมีผลดังกล่าวหรือไม่

ข้าวบาร์เลย์นั้นนอกจากจะนำมารับประทานในรูปแบบของธัญพืชแล้ว ยังสามารถนำไปทำเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ หรืออาจนำไปหมักเพื่อผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของข้าวบาร์เลย์

เนื่องจากภายในข้าวบาร์เลย์นั้นจะมีใยอาหารสูง ซึ่งใยอาหารนี้อาจสามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนี้ข้าวบาร์เลย์ยังอาจสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน (Insulin) ลงไป ทำให้สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ใยอาหารในข้าวบาร์เลย์ยังต้องใช้เวลาในการย่อยนาน ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลในระดับที่คงที่ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง อีกทั้งยังทำให้เราอิ่มได้นานขึ้นอีกด้วย

ข้อควรระวังในการรับประทานข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์นั้นอาจจะปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณเท่าที่สามารถพบได้ในอาหาร แต่การรับประทานข้าวบาร์เลย์ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ท้องอืด
  • มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • เรอ
  • จุกเสียด
  • แน่นท้อง
  • อาการแพ้ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ข้าวบาร์เลย์อาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะหากคุณกำลังใช้ยาดังต่อไปนี้

  • ยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากข้าวบาร์เลย์นั้นอาจสามารถลดการดูดซึมของน้ำตาลจากอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานร่วมกับข้าวบาร์เลย์ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไป และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานข้าวบาร์เลย์ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน
  • ยาสำหรับรับประทานอื่น ๆ เนื่องจากการรับประทานข้าวบาร์เลย์นั้นอาจลดการดูดซึมตัวยาอื่น ๆ และทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังจากรับประทานข้าวบาร์เลย์ แล้วจึงค่อยรับประทานยา

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาข้าวบาร์เลย์

ขนาดยาดังต่อไปนี้ ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว

สำหรับผู้ใหญ่

  • โรคหัวใจ รับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์ขนาด 6 กรัม ต่อวัน ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีคอเลสเตอรอลต่ำ
  • ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รับประทานน้ำมันสกัดจากข้าวบาร์เลย์ 3 กรัม หรือแป้งข้าวบาร์เลย์ 30 กรัม หรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์ 6 กรัม ต่อวัน

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ การใช้ข้าวบาร์เลย์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของข้าวบาร์เลย์

  • ธัญพืชข้าวบาร์เลย์สำหรับรับประทาน
  • อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของข้าวบาร์เลย์
  • น้ำมันสกัดจากข้าวบาร์เลย์

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BARLEY https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-799/barley

9 Impressive Health Benefits of Barley

 https://www.healthline.com/nutrition/barley-benefits

What are the health benefits of barley? https://www.medicalnewstoday.com/articles/295268

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/09/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

ข้าวฟ่าง ธัญพืชเมล็ดจิ๋ว กับคุณประโยชน์แจ๋วเกินตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด เมื่อสัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา