นอกจากนี้ คะน้ายังมีสังกะสี ทองแดง เหล็ก แมงกานิส เบทาอีน วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟีนอล (Phenols) โพลีฟีนอล (Polyphenols) และกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid) ซึ่งช่วยลดภาวะเครียดจากกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidative stress) ที่เกิดจากอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ภายในเซลล์และเนื้อเยื่อ ทำให้โมเลกุลของดีเอ็นเอเปลี่ยนแปลงไป จนอาจส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพก่อนวัย และนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้
ปริมาณของคะน้าที่ควรรับประทาน
ผักเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในมื้ออาหาร ควรรับประทานผักให้หลากหลายอย่างน้อย 400-500 กรัม/วัน เพื่อให้ได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ปริมาณพลังงานและสารอาหารในผักแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับชนิดของผัก ปริมาณที่บริโภค และวิธีในการประกอบอาหาร เช่น คะน้าต้มสุก 1 ถ้วย ให้ปริมาณวิตามินเอประมาณ 20% วิตามินมินซีมากกว่า 23% แคลเซียมประมาณ 15–18% และฟอสฟอรัสประมาณ 7% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย