backup og meta

ผักกาดแก้ว ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ผักกาดแก้ว ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ผักกาดแก้ว เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีใบสีเขียวอ่อนและหยักเล็กน้อย สามารถรับประทานแบบสดหรือนำมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ผักกาดแก้วอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค โฟเลต โพแทสเซียม ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดแก้ว

ผักกาดแก้ว 100 กรัม อาจให้พลังงาน 14 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตรวม 2.97 กรัม ที่ประกอบไปด้วย ไฟเบอร์ 1.2 กรัม และน้ำตาล 1.97 กรัม และอาจมีสารอาหารอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • โพแทสเซียม 141 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 18 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม
  • โคลีน (Choline)7 มิลลิกรัม
  • โฟเลต 29 ไมโครกรัม
  • วิตามินเค 24.1 ไมโครกรัม

นอกจากนี้ ยังมีวิตามินเอ วิตามินซี และแมงกานีส ที่อาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และอาจช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและสมอง

ประโยชน์ของผักกาดแก้วต่อสุขภาพ

ผักกาดแก้ว มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของผักกาดแก้วในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  • อาจช่วยบำรุงสายตา

ผักกาดแก้วมีวิตามินเอสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทสำคัญช่วยบำรุงสายตา และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาทางสายตาต่าง ๆ เช่น ตาแห้ง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อหิน จากการศึกษาในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2556 พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในผักกาดแก้วอาจมีผลดีในแง่ของการลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

  • อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผักกาดแก้วมีสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ และส่งผลให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการรับประทานผักต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า การรับประทานผักหลายชนิด เช่น ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย หัวหอม และมะเขือเทศ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ อาจช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ข้อควรระวังในการบริโภคผักกาดแก้ว

ผักกาดแก้วอาจมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีปริมาณสารอาหารน้อย ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การรับประทานเพียงแต่ผักกาดแก้วอาจเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหาร ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่

นอกจากนี้ ก่อนรับประทานผักกาดแก้วควรล้างทำความสะอาดโดยเฉพาะส่วนใบ เพื่อกำจัดสารเคมีจากยาฆ่าแมลงและเชื้อก่อโรคต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วย เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ท้องร่วง อาเจียนและปวดท้องรุนแรงได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Iceberg Lettuce. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-iceberg-lettuce. Accessed July 21, 2022.

Iceberg Lettuce. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/169248/nutrients. Accessed July 21, 2022.

The association of potassium intake with bone mineral density and the prevalence of osteoporosis among older Korean adults. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6997142/. Accessed July 21, 2022.

Effects of short-term oral vitamin A supplementation on the ocular tear film in patients with dry eye. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6462169/. Accessed July 21, 2022.

Effects of Vegetables on Cardiovascular Diseases and Related Mechanisms. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5579650/. Accessed July 21, 2022.

Folic Acid Supplementation and Pregnancy: More Than Just Neural Tube Defect Prevention. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3218540/. Accessed July 21, 2022.

Folic Acid. https://www.cdc.gov/ncbddd/folicacid/about.html. Accessed July 21, 2022.

Dietary sources of lutein and zeaxanthin carotenoids and their role in eye health. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23571649/. Accessed July 21, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผักกาดขาว สารอาหารและข้อควรระวังในการบริโภคต่อสุขภาพ

ผักบุ้ง ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา