backup og meta

เพกติน (Pectin) สารอาหารจากพืชที่ให้ประโยชน์สูงไม่แพ้ไฟเบอร์

เพกติน (Pectin) สารอาหารจากพืชที่ให้ประโยชน์สูงไม่แพ้ไฟเบอร์

หากจะพูดถึงสารอาหารที่พบได้ในผักและผลไม้ แน่นอนว่าเรามักจะคุ้นเคยกันอยู่หลายอย่าง ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่โดดเด่นอย่าง ไฟเบอร์ แต่คุณผู้อ่านเคยได้ยินเรื่องราวของสารอาหารที่พบได้ในผักและผลไม้เกือบทุกชนิด ที่เรียกว่า เพกติน บ้างหรือไม่ ถ้ายังไม่เคยล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับเพกติน สารอาหารจากพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาฝากค่ะ

เพกติน คืออะไร

สารเพกติน (Pectin) คือ กลุ่มของโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ซึ่งเป็น คาร์โบไฮเดรต(แบบเชิงซ้อน) ที่มีความหลากหลายและซับซ้อน เราสามารถพบโพลีแซคคาไรด์ได้ในผนังเซลล์ของพืช หรืออาจกล่าวได้ว่าเพกตินคือไฟเบอร์ในผักและผลไม้ที่ถูกนำมาสกัดเป็นยาสำหรับใช้รักษาโรค โดยเพกตินนอกจากจะอยู่ในอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่เรารับประทานกันอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว ก็ยังมีเพกตินในรูปแบบผงสำหรับใช้รับประทานด้วย

เพกตินมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและระดับคอเลอสเตอรอลในเลือด

การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยังมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอีกด้วย นั่นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของอาการทางสุขภาพแบบเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งการรับประทานเพกตินจะมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยที่เพกตินจะไปจับตัวเข้ากับคอเลสเตอรอลในระบบทางเดินอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลถูกดูดซึมไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย 

  • เพกตินอาจดีต่อการลดน้ำหนัก

เพกตินคือไฟเบอร์จากพืช ซึ่งอย่างที่รู้กันดีว่าไฟเบอร์นั้นมีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักอย่างยิ่ง เพราะทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ลดความอยากอาหารในมื้อต่อไป ทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร และมีส่วนในเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายด้วย นอกจากนี้เพกตินยังจัดว่าเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและมีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งอาหารประเภทนี้มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

  • ดีต่อลำไส้

เพกตินเป็นสารอาหารที่จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และจะถูกย่อยให้กลายเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งนั่นอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

  • ดีต่อระบบทางเดินอาหาร

เพกตินเป็นไฟเบอร์ที่สามารถละลายในน้ำได้ดีจึงมีคุณสมบัติที่ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และยังมีส่วนช่วยให้อุจาระนิ่ม ซึ่งดีต่อการขับถ่ายและลดความเสี่ยงของอาการท้องผูก ยิ่งไปกว่านั้นคือ เพกตินมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ซึ่งช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดีและส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคในระบบทางเดินอาหาร

แหล่งอาหารที่มีสารเพกติน

แม้ว่าเราจะสามารถซื้อเพกตินในรูปแบบผงมารับประทานกันได้อย่างสะดวก แต่โดยทั่วไปแล้วเราสามารถได้รับเพกตินจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว เพราะเพกตินนั้นมีอยู่ในผักและผลไม้เกือบจะทุกชนิด โดยกลุ่มอาหารที่ให้เพกตินสูงที่สุดคือเปลือกของผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว ส้มโอ องุ่น เสาวรส เป็นต้น

โดยปริมาณของเพกตินจะสูงที่สุดเมื่อผลไม้เพิ่งจะเริ่มสุก และจะค่อยๆ ลดระดับเพกตินลงเมื่อผลไม้ค่อยๆ สุกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสุกมากไปจนถึงเริ่มจะใกล้เน่า 

ข้อควรระวังของ เพกติน

โดยทั่วไปแล้วเพกตินถือว่าเป็นสารอาหารที่มีความปลอดภัยแม้ว่าจะรับประทานในรูปแบบของเพกตินที่สกัดออกมาเป็นผง เด็ก ผู้ใหญ่ สตรีมีครรภ์ สามารถรับประทานเพกตินได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีข้อควรระวังอยู่บ้างบางประการ ได้แก่

  • หากรับประทานเพกตินเดี่ยวๆ หรือรับประทานคู่กับสารบางชนิดเช่น กัวร์ กัม (Guar gum) อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
  • หากมีอาการแพ้แอปเปิ้ลหรือเปลือกส้ม หรืออาหารที่สกัดมาจากแอปเปิ้ลหรือเปลือกส้ม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเพกติน เนื่องจากการสกัดผงเพกตินนั้นมักจะสกัดจากแอปเปิ้ลและเปลือกส้ม
  • รับประทานเพกตินตามคำแนะนำของคุณหมอ เภสัชกร และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทานเพกตินเสมอ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Pectin? A Unique Fiber Explained. https://www.healthline.com/nutrition/pectin#nutrition-uses. Accessed on July 9, 2020.

PECTIN. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-500/pectin. Accessed on July 9, 2020.

List of Foods High in Pectin. https://www.livestrong.com/article/289067-list-of-foods-high-in-pectin/. Accessed on July 9, 2020.

What is Pectin? Food Sources, Health Benefits, and Medicinal Uses. https://www.dietaryfiberfood.com/dietary-fiber/pectins.php. Accessed on July 9, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดีเอชเอ (DHA) สารอาหารสำคัญ ที่ไม่ได้มีดีแค่ พัฒนาสมองของลูกน้อย

ไฟโตนิวเทรียนท์ สารอาหารจากพืชกับคุณประโยชน์ที่ล้นเหลือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา