อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์เพื่อใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
-
อาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
การรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับแอปเปิ้ลไซเดอร์และประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด เผยแพร่ในวารสาร BMC Complementary Medicine and Therapies ปี พ.ศ. 2564 โดยศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยจำนวน 9 ชิ้น พบว่า การรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้อย่างมีนัยสำคัญ
น้ำส้มสายชูมีกรดอะซิติกที่อาจช่วยปรับสมดุลค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และเพิ่มประสิทธิภาพของเกราะป้องกันผิวเพื่อลดการระคายเคืองผิวหนัง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับกรดอะซิติกในการช่วยรักษาโรคผิวหนัง ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Dermatology ปีพ.ศ. 2564 พบว่า น้ำส้มสายชูมีกรดอะซิติกที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ในการดูแลแผลและลดการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา กำจัดเหา ผิวแตกลาย แต่หากใช้ไม่เหมาะสมหรือผิดวิธีก็อาจส่งผลให้ผิวหนังเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำส้มสายชูในการรักษาโรคผิวหนังต่อไป
แอปเปิ้ลไซเดอร์ อาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก โดยช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น จึงอาจทำให้รับประทานอาหารว่างหรืออาหารมื้อถัดไปได้น้อยลง งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ต่อการควบคุมน้ำหนัก ค่าดัชนีไขมันในช่องท้อง และไขมันในเลือด ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Functional Foods ปี พ.ศ. 2561 โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 39 ราย รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่จำกัด ร่วมกับแอปเปิ้ลไซเดอร์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้เข้าร่วมการทดสอบมีน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย รอบเอว ดัชนีไขมันในช่องท้อง ความอยากอาหาร ระดับของไตรกลีเซอไรด์ในพลาสมา และคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ความเข้มข้นของระดับคอเลสเลอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
ข้อควรระวังในการรับประทาน Acv
แอลเปิ้ลไซเดอร์มีความเป็นกรดสูง ซึ่งอาจทำลายสารเคลือบฟัน ทำให้ฟันสึกกร่อน และอาจลดระดับโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้รับสารอาหารไม่เพียงพอได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์โดยตรง โดยเลือกรับประทานคู่กับอาหารหรือเครื่องดื่ม ในปริมาณที่ไม่ควรเกิน 1-2 ช้อนชา/วัน หรือ 1-2 ช้อนโต๊ะ/วัน
นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องรับประทานยารักษาโรคเบาหวาน ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคหัวใจ และยาอื่น ๆ ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ เนื่องจากแอปเปิ้ลไซเดอร์อาจลดประสิทธิภาพของยาได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย