ไวรัสโคโรนา

โรค Covid-19 ที่แพร่ระบาดและส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ร้อยล้านรายทั่วโลก เป็น ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง แต่ไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Covid-19 เท่านั้น ยังมีไวรัสก่อโรคอีกมากมาย ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไวรัสโคโรนา

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป 'LAAB' เสริมภูมิประชากรกลุ่มเสี่ยง ป้องกันได้ 83%

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลง หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ณ  วันที่ 22 มกราคม 2566 พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยสะสม 2,593 คน เฉลี่ยวันละ 90 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจจำนวน 178 คน จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ายังคงมีประชากรที่จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (ในกลุ่มที่ร่างกายสามารถรับวัคซีนได้) และภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB  สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป หรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยที่ผ่านมายังมีประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ตามปกติหรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีน อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วแต่ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อการป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางกรมการแพทย์[2] ได้รณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (กลุ่ม 607) ให้เข้ารับบริการการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป LAAB ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 35 แห่งทั่วประเทศ LAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ลดอาการป่วยรุนแรง Long-acting […]

สำรวจ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา

ทำไมสายพันธุ์โอมิครอนจึงทำให้เห็นความสำคัญของชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองมากขึ้น?

แม้ว่าจะมีการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดแต่สิ่งที่รู้เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น การทราบถึงอาการของตัวเองตลอดเวลาจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยให้ตัวเองและคนรอบข้าง การเรียนรู้ว่า โอมิครอนมีความร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ และการตรวจโควิดด้วยชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองช่วยได้หรือไม่ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โอมิครอนคือตัวบ่งบอกว่าการแพร่ระบาดสิ้นสุดลงแล้วจริงหรือ การแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาที่รุนแรงมากทำให้ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากถามว่าโอมิครอนมีความร้ายแรงแค่ไหน ก็กล่าวได้ว่า โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว แต่กลับมีอาการที่ไม่ค่อยรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ในขณะที่หลาย ๆ คนกล่าวว่า โอมิครอนไม่รุนแรงและอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าการแพร่ระบาดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดกลับเชื่อว่า อาการป่วยและไวรัสโควิด-19 นั้นจะคงอยู่ตลอดไป และจะกลายเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามปกติเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า อาจมีการ กลายพันธุ์อีกครั้ง เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปแบบเฉพาะตัว แม้ว่าโอมิครอนจะรุนแรงน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะระมัดระวังตัวน้อยลงได้ แต่ควรจะเพิ่มการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะโอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว แค่การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะเวลาสั้น ๆ ก็อาจติดเชื้อดังกล่าวได้ แม้อาการจะไม่รุนแรงและใช้ระยะเวลาฟื้นตัวน้อย แต่โอมิครอนก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การที่มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว แต่ควรใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น และตรวจสอบสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง การตรวจโควิดด้วยตัวเองไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องตัวเองเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้คนรอบข้างปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการสูญเสียที่ร้ายแรงอีกด้วย การตรวจโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

5 เหตุผลที่คุณควรมี ชุดทดสอบโควิด-19 ติดตัวไว้ในยุค New Normal

ไม่มีใครคาดคิดว่าวันหนึ่งจะมีเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้ทั้งโลกหยุดเดินและต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งภายในเวลาไม่กี่เดือน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ โลกตกภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้คนทั่วโลกได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน จำนวนผู้ติดเชื้อจากทั้งโลกมีสูงถึง 440 ล้านคน จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไม ชุดทดสอบโควิด-19 แบบเร่งด่วนจึงกลายมาเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายของโรค และช่วยให้ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสภาวะปกติได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาพรวมของสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด: โอมิครอน หลังจากที่ดูเหมือนทั้งโลกจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ก็มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกอีกครั้ง ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถทำความเข้าใจกับสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น อัลฟา เบตา เดลตา ได้อย่างถ่องแท้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ปรากฏตัวขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ อะไรทำให้โอมิครอนแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ? เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาส่งผลให้เกิดอาการที่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกเป็นกังวลอย่างมากเมื่อมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนเกิดขึ้น เป็นที่รู้จักกันดีว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ล่าสุดนี้เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อได้ง่าย ติดต่อได้แม้จะมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนหรือจากการป่วยครั้งก่อนแล้วก็ตาม นั่นหมายความว่า ความเสี่ยงของการติดเชื้อและการติดเชื้อซ้ำนั้นกลายมาเป็นปัญหาใหญ่เมื่อพูดถึงไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน แม้คิดว่ามีภูมิคุ้มกันแล้วก็ประมาทไม่ได้ โอมิครอนน่ากลัวแค่ไหน? ถึงแม้ว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่กลับกลายเป็นว่าผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการเข้ารักษาตัวที่สถานพยาบาลน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ คนสุขภาพดีหลายคนที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 มักจะเป็นผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยมาก อีกทั้งยังฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมักเป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโรคร่วม และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เหตุผลที่ควรมีชุดตรวจโควิดแบบ ATK ติดตัวไว้ เนื่องจากลักษณะของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นเข้าใจยาก ทั้งยังมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับการระบาดใหญ่ คือ การป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น […]


ไวรัสโคโรนา

การใช้ชีวิตในโลกที่มีโรคประจำถิ่นเป็นอย่างไร?

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดใหญ่ สองปีผ่านไปก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการแพร่ระบาดได้ ผู้คนทั่วโลกเริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตภายใต้กฎระเบียบใหม่เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด แม้วัคซีนโควิด-19 จะช่วยลดความรุนแรงของอาการป่วยและความเร็วของการแพร่ระบาดได้ แต่การดูแลตัวเองก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ชุดตรวจโควิดแบบATK การล้างมืออย่างถูกวิธี การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมใส่หน้ากากอนามัย วิธีเหล่านี้ทำให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมั่นใจว่าพวกเขากับครอบครัวนั้นปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 [embed-health-tool-vaccination-tool] ชีวิตในยุค New Normal และ ชุดตรวจโควิด แบบATK การสวมหน้ากากอนามัยและการรักษาระยะห่างทางสังคมกลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนมากมายทำจนกลายเป็นสิ่งปกติ หลายคนยังพกพาแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไปด้วยทุกที่ ชุดตรวจโควิดแบบATK ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไม่ต้องกังวล องค์การอนามัยโลก (WHO) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ชุดตรวจโควิดแบบATK เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเช่นกัน เนื่องจากชุดตรวจโควิดแบบATK สามารถตรวจเองได้ ใช้งานง่าย และมีราคาไม่แพงจนเกินไป ซึ่งอาจช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ผู้คนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดได้ อย่างคนที่รักการออกกำลังกายตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ก็น่าจะเสียใจไม่น้อยเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้สูงกว่าปกติในพื้นที่ปิดอย่างฟิตเนส เนื่องจากละอองในน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ใช้งานฟิตเนสอาจมีเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายคนจึงเลือกออกกำลังกายในพื้นที่เปิดแทน แต่หลังจากที่มีชุดตรวจโควิดแบบATK ซึ่งให้ผลลัพธ์ได้ภายใน 15-20 นาที ก็ทำให้สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ก่อนเดินทางไปฟิตเนส หากผลเป็นลบ (ไม่พบเชื้อโควิด-19) ก็สามารถออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง […]


ไวรัสโคโรนา

การตรวจ ATK เพื่อเดินทาง สิ่งสำคัญที่ควรพกติดตัวและข้อควรรู้ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ

หลายประเทศเตรียมเปิดประเทศอีกครั้ง พร้อมกับลดความเข้มงวดของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดลง เช่น การอนุญาตให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศทำการตรวจโควิด-19 แบบแอนติเจนแทนการตรวจ PCR ได้แล้ว ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่ากฎข้อบังคับต่าง ๆ จะถูกผ่อนปรนลงในบางประเทศ แต่การเดินทางไปต่างประเทศในยุค New Normal นี้ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เช่น การตรวจ ATK เพื่อเดินทาง ไปดูกันเลยว่ามีสิ่งสำคัญอะไรอีกบ้างที่ควรรู้ก่อนและระหว่างออกเดินทาง [embed-health-tool-heart-rate] ข้อควรรู้ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศปลายทาง ไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศใดก็ตาม แต่ละประเทศก็มีข้อบังคับและมาตรการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าประเทศต้นทางที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศปลายทางที่ต้องการจะเดินทางไปก็อาจเข้มงวดมากขึ้น หรืออาจจะไม่สามารถเดินทางไปยังบางประเทศได้ โดยปกติแล้ว การเข้าไปตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของประเทศต่าง ๆ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดและมีข้อมูลที่ชัดเจนที่สุด ทำให้สามารถเตรียมตัวในการเดินทางไปประเทศปลายทางได้ล่วงหน้า พร้อมรับรู้เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อบังคับต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม จึงควรเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเป็นประจำ เพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สิ่งที่ควรตรวจสอบเกี่ยวกับข้อบังคับต่าง ๆ หากมีข้อบังคับว่าผู้เดินทางจะรับการฉีดวัคซีนครบถ้วนก่อนเข้าประเทศ ควรตรวจสอบว่ากฎดังกล่าวนั้นรวมไปถึงเด็กเล็กด้วยหรือไม่  ตรวจสอบว่าต้องกักตัวก่อนเข้าประเทศหรือไม่ ตรวจสอบข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติในกรณีที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว หรือเพิ่งหายจากการเป็นโควิด-19 ตรวจสอบว่าต้องสมัครประกันสุขภาพก่อนออกเดินทางหรือไม่ ตรวจสอบเกี่ยวกับขั้นตอนและข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ระหว่างช่วงล็อกดาวน์ รวมถึงเวลาเคอร์ฟิว ตรวจสอบเกี่ยวกับประเภทของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อนออกเดินทาง บางประเทศอาจต้องตรวจก่อนเดินทาง บางประเทศอาจให้ตรวจตอนที่เดินทางไปถึงแล้ว รวมไปถึงวิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับ ทั้งการตรวจแบบ PCR […]


ไวรัสโคโรนา

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]


ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Novavax ในการป้องกันโควิด-19 เหมาะกับใคร ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง

Novavax หรือวัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ หรือ Nuvaxovid และ NVX-CoV2373 เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดล่าสุด คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเวชภัณฑ์โนวาแวกซ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลกให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อรักษาโควิด-19 ได้ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และโดยสหภาพยุโรปในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน  บริษัทโนวาแวกซ์เริ่มทยอยส่งวัคซีนไปยังประเทศที่สั่งซื้อแล้ว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และประเทศในทวีปยุโรป นอกจากนี้ วัคซีน Novavax ยังอยู่ในโครงการ COVAX (Covid-19 Vaccines Global Access Facility) หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ระดับโลกด้วย สำหรับประเทศไทย  วัคซีน Novavax ยังอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยคาดว่าจะผ่านภายในปีพ.ศ. 2565 นี้ เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต Novavax วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ผลิตด้วยกระบวนการผลิตวัคซีนแบบโปรตีนเบส (Protein-nanoparticle Vaccine) ในกรณีของโรคโควิด-19 คือการเพาะโปรตีนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 อันเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ขึ้นมา แล้วฉีดเข้าร่างกายมนุษย์โดยตรง พร้อมสารเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรคโควิด-19 การทำงานของวัคซีนแบบโปรตีนเบส […]


ไวรัสโคโรนา

รู้จักอาการโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ควรป้องกันและรับมืออย่างไร?

หลังจากที่มีมาตรการเข้มงวดเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทุกคนต่างตั้งตารอปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่หลายคนคาดหวังไว้ว่าสถานการณ์อาจจะเริ่มกลับมาเป็นปกติอันเนื่องมาจากการฉีดวัคซีน แต่แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2021 โลกต้องตกตะลึงเมื่อองค์กรอนามัยโลก (WHO) รายงานว่ามีโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล หรือ โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังเริ่มระบาดอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้นไม่นานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ แม้ว่าโอมิครอนจะเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่รุนแรงเท่าเดลต้า อย่างไรก็ตามทุกคนควรจะทราบอาการที่สำคัญและเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา โดยบทความนี้ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน และแนวทางให้คุณและครอบครัวในการเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดของสายพันธุ์นี้ อาการหลักที่พบในผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ด้านที่โชคดีคือ โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่ามีความรุนแรงของอาการป่วยน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า โดยส่วนมากมักจะแสดงอาการจำกัดในบริเวณช่องคอและจมูก มากกว่าที่จะแสดงอาการที่ปอด อาการจะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ซึ่งอาจส่งผลให้คนไม่ตระหนักว่าตัวเองติดเชื้อ COVID-19 ทั้งนี้ ZOE COVID Study app (December, 2021) รายงานถึง 5 อาการที่คล้ายคลึงกับไข้หวัด ได้แก่ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จาม และเจ็บคอ โดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าอาการมักจะแสดงออกอย่างชัดเจนหลังจากติดเชื้อไวรัสไปแล้วเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เจ็บคอ – อาการสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง โอมิครอน อาการเป็นยังไง? การศึกษา ZOE ชี้ว่าผู้ป่วยเกือบ 6 […]


ไวรัสโคโรนา

Swab คืออะไร มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร

สวอป (Swab) เป็นคำซึ่งได้ยินบ่อย ๆ หลังจากการระบาดของโควิด-19 หมายถึง การใช้ไม้ป้ายเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายเพื่อนำไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีรูปแบบการสวอปและรูปแบบการตรวจโรคที่แตกต่างกันไป Swab มีกี่แบบ การสวอปเพื่อตรวจการติดเชื้อโควิด-19 โดยทำผ่านจมูก มี 2 แบบ ดังต่อไปนี้ การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า (Nasal Swab) การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า คือ การสวอปเพื่อเก็บตัวอย่างจากเยื่อบุโพรงจมูก โดยสอดแท่งสวอปเข้าไปในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง (บางกรณีอาจทำทั้ง 2 ข้าง) ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นหมุนแท่งสวอปเป็นเวลา 10-15 วินาที ก่อนดึงแท่งสวอปออกมาเพื่อนำตัวอย่างสารคัดหลั่งจากร่างกายไปเข้าขั้นตอนตรวจ ทั้งนี้ ก่อนสวอปควรล้างมือให้สะอาดและห้ามสัมผัสปลายแท่งสวอปโดยเด็ดขาด หากผู้ตรวจต้องการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง อาจใช้การสวอปโพรงจมูกด้านหน้า เพราะทำได้ไม่ยาก สะดวก และได้ผลที่ค่อนข้างชัดเจน การสวอปด้านหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Swab) การสวอปด้านหลังโพรงจมูก คือ การป้ายเอาตัวอย่างจากเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูกไปตรวจ โดยเริ่มจากการสอดแท่งสวอปเข้าไปในจมูกจนชนกับส่วนหลังของโพรงจมูก หรือความลึกราวปลายจมูกถึงใบหู ซึ่งลึกกว่าการสวอปแบบแรก จากนั้น เก็บตัวอย่างด้วยการหมุนแท่งสวอป 2-3 ครั้ง แล้วค่อย ๆ ดึงออกมา การสวอปด้านหลังโพรงจมูก อาจสร้างความอึดอัดแก่ผู้โดนตรวจได้มากกว่ากการสวอปโพรงจมูกด้านหน้า อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อาจเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกเพียงข้างเดียว หากพิจารณาว่าเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งได้เพียงพอแล้ว การสวอปด้านหลังโพรงจมูกด้วยตัวเองอาจไม่เหมาะกับผู้ที่เคยผ่าตัดไซนัสหรือฐานกะโหลก […]


ไวรัสโคโรนา

การฉีดไฟเซอร์ในเด็ก ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อป้องกันเด็ก ๆ จากการติดเชื้อโควิด-19 และความเสี่ยงต่าง ๆ โดยการฉีดไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปีจะเริ่มตั้งแต่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจในข้อมูลของวัคซีนไฟเซอร์ การเตรียมความพร้อมก่อนพาลูกหลานไปฉีดวัคซีน รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูกหลาน วัคซีนไฟเซอร์ คืออะไร มีความปลอดภัยแค่ไหน วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) หรือมีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA (Messenger Ribonucleic Acid) เช่นเดียวกับวัคซีนโมเดอร์นา BNT162b2 คิดค้นโดยบริษัทเวชภัณฑ์อเมริกัน ไฟเซอร์ ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันไบออนเทค (BioNTech) เมื่อฉีดไฟเซอร์เข้าสู่ร่างกาย สารพันธุกรรม mRNA ในวัคซีนจะสอนให้ร่างกายสร้างโปรตีนเฉพาะของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ขึ้นมา วิธีนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับโปรตีนดังกล่าวในฐานะสิ่งแปลกปลอม และเมื่อ SARS-CoV-2 เข้ามาในร่างกายจริง […]


ไวรัสโคโรนา

Rapid Test โควิด-19 ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ตรวจเจอโอมิครอนหรือไม่

Rapid Test คือการตรวจหาการติดเชื้อโควิด-19 แบบเร่งด่วน สามารถตรวจเองได้โดยใช้ชุดตรวจเฉพาะ แม้ผลตรวจอาจไม่แม่นยำเท่ากับการตรวจแบบ PCR แต่ถือว่าเป็นการคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้น หากตรวจด้วยชุดตรวจแล้วพบว่าตัวเองติดเชื้อ หรือได้ผลเป็นบวก ควรรีบไปตรวจด้วยวิธี PCR อีกครั้งที่สถานพยาบาล หากผลออกมาว่าติดโควิด-19 จริงจะได้เข้ารับการรักษาที่เหมาะสม ปัจจุบัน Rapid Test สามารถตรวจพบโรคโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน นักวิจัยยังคงตั้งคำถามถึงความแม่นยำในการตรวจด้วย Rapid Test เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มหรืออยู่ในชุมชนแออัด และตรวจการติดเชื้อหากพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ชนิดของ Rapid Test Rapid Test มี 2 แบบ ดังนี้ 1. Rapid Antigen Test คือการสวอบ (Swab) หรือเก็บสารคัดหลั่งจากในโพรงจมูกหรือลำคอไปตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) หรือเอทีเค การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำในกรณีที่ตรวจผู้ติดเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน หรือมีเชื้อในร่างกายมากพอ การตรวจโควิด-19 […]

โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม