ไวรัสโคโรนา

โรค Covid-19 ที่แพร่ระบาดและส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ร้อยล้านรายทั่วโลก เป็น ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง แต่ไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Covid-19 เท่านั้น ยังมีไวรัสก่อโรคอีกมากมาย ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไวรัสโคโรนา

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

สถานการณ์โควิดในประเทศไทย ยังพบผู้ป่วยโควิดอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเฝ้าระวังตนเอง หากพบว่ามีอาการน่าสงสัย ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] อาการเสี่ยงติดโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถสังเกตอาการ ความผิดปกติของร่างกาย จากนั้นให้ตรวจ ATK โดยอาการติดโควิด ที่พบบ่อย ได้แก่ ไอ  เจ็บคอ  มีไข้  ปวดกล้ามเนื้อ  มีน้ำมูก  ปวดศีรษะ  หายใจลำบาก  จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส สำหรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาจพบอาการเพิ่มเติม เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน และหากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง หรือใช้บัตรประชาชนไปรับ ติดโควิด ทํายังไง เมื่อตรวจ ATK แล้วพบว่า ขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวกว่าติดโควิด กลุ่มที่มีอาการไม่มาก ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้ กักตัว โดยแยกตัวเองออกมาเป็นเวลา 5 วัน  หากกักตัวครบ 5 วันแล้ว ยังมีอาการไข้ หรืออาการโดยรวมยังไม่ดีขึ้น ให้กักตัวเพิ่มอีก 5 […]

สำรวจ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา

วัคซีน Moderna เหมาะกับใคร เกิดผลข้างเคียงหรือไม่

Moderna (โมเดอร์นา) เป็นวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นาทีเอ็กซ์ (ModernaTX, Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ได้มีการอนุมัติการใช้วัคซีนชนิดนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นามีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อให้วัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน หากพบอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีน เช่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อความปลอดภัย วัคซีน Moderna คืออะไร Moderna (โมเดอร์นา) คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อไวรัส เมื่อฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อแขน วัคซีนจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดีที่ช่วยจัดการเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ ผู้ที่รับวัคซีน Moderna อาจจำเป็นต้องรับวัคซีน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน […]


ไวรัสโคโรนา

covid vaccine ความแตกต่างของวัคซีนแต่ละประเภท

โควิด 19 (COVID-19) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะโรค วัคซีน (covid vaccine) จึงอาจเป็นวิธีป้องกันโควิด 19 ที่เหมาะสมที่สุด ณ ขณะนี้ วัคซีนจะช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันโดยเลียนแบบการติดเชื้อ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สร้างแอนติบอดีในการต่อต้านเชื้อโรค แต่ปัจจุบันมีวัคซีนหลายประเภททั้ง ไฟเซอร์ (Pfizer) โมเดอร์นา (Moderna) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ซิโนแวค SinoVac) และ ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ที่มีกระบวนการผลิต ผลข้างเคียง และความเหมาะสมในการใช้ที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจวัคซีนแต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนเข้ารับการฉีด ประเภทของ covid vaccine covid vaccine แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ mRNA Vaccine ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโควิด 19 ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) ของเชื้อไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส ได้แก่ Pfizer และ Moderna วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ (Viral […]


ไวรัสโคโรนา

โควิด 19 อาการ สาเหตุ และการรักษา

โควิด 19 (COVID-19) เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เป็นโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง คือ ลำคอ จมูก ปอด และหลอดลม อาจทำให้มีอาการไข้ ไอแห้ง เหนื่อยล้า ไม่รู้รสหรือไม่ได้กลิ่น การติดเชื้ออาจมีตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงเสียชีวิต และการรักษาในปัจจุบันอาจเป็นเพียงการประคับประคอง หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งในขณะนี้โควิด 19 ระบาดใหญ่ไปทั่วโลก การป้องกันตัวเองและผู้อื่นจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดการแพร่กระจายโรคได้ คำจำกัดความโควิด 19 คืออะไร โควิด 19 เป็นโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า SARS-CoV-2 สามารถกระตุ้นการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่งผลต่อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง คือ จมูก ลำคอ หลอดลม และปอด ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 และแพร่กระจายเข้าสู่คนทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เชื้อไวรัสโคโรนาได้กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ อัลฟา (Alpha) เบต้า (Beta) เดลต้า (Delta) แกมม่า (Gamma) มิว (Mu) และ R.1 อาการอาการโควิด 19 อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคโควิด […]


ไวรัสโคโรนา

อาการโควิด-19 มีอะไรบ้าง เราติดแล้วหรือยัง

โคโรนาไวรัส คือกลุ่มไวรัสที่ส่งผลให้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจรุนแรงนำไปสู่โรคโควิด-19 ที่เริ่มแพร่ระบาดทั่วโลกในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นโรคในปัจจุบันที่ควรระวังโดยการสังเกต อาการโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการในระดับเบา จนถึงอาการระดับรุนแรง อาการโควิด-19  ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่สำหรับบางคนหลังจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื้อนี้จะเข้าสู่ระยะการฝักตัวประมาณ 5-6 วัน ก่อนเผยอาการเจ็บป่วยที่สังเกตได้ชัดภายใน 2-14 วัน โดยอาการโควิด-19 ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจถี่ อาการไอแห้ง  เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย รู้สึกเหนื่อยง่าย  อาการโควิด-19 ในเด็ก สังเกตได้จาก สัญญาณเตือนดังนี้ มีไข้  หายใจถี่  คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอต่อเนื่อง และไอมากกว่า 1 ชั่วโมง หรือไอมากกว่า 3 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง  อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สูญเสียการรับรู้รสชาติ และกลิ่น  อาการโควิด-19 ในระดับรุนแรงที่ควรเข้าพบคุณหมอ หากสังเกตว่าตนเอง และบุตรหลานมีอาการโควิด-19 ในระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้ ควรแจ้งคุณหมอทราบทันที เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง หายใจลำบากเป็นเวลานานประมาณ 1 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ใบหน้าและริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีฟ้าซีด  ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง ความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการโควิด-19 มีความรุนแรง อาจมาจากช่วงอายุที่มากขึ้น และปัญหาสุขภาพจากภาวะต่าง ๆ […]


ไวรัสโคโรนา

กักตัว 14 วัน เช็กอาการโควิด-19 และการดูแลตัวเอง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่แพร่ระบาดอย่างหนักในปัจจุบัน หากมีอาการผิดปกติคล้ายไข้หวัดควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อในทันทีและ กักตัว 14 วัน ในแหล่งที่อยู่อาศัย สถานที่หน่วยงานที่รัฐจัด โรงพยาบาล และเว้นระยะห่างจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อมาก่อน ทำไมต้องกักตัว 14 วัน  การกักตัว 14 วันเพื่อเฝ้าดูอาการโควิด-19 เป็นข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เพราะในระยะ 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ เป็นช่วงระยะการฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเป็นช่วงเวลาที่อาจสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ก่อนที่ผู้รับเชื้อจะรู้ตัว อีกทั้งหากระหว่างกักตัวเริ่มมีอาการเจ็บป่วย รู้สึกไม่สบาย ควรเพิ่มเวลากักตัวอีก 10 วัน  สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทำการรักษาในโรงพยาบาลหายแล้ว กรมควบคุมโรคแนะนำว่า ควรกลับมากักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน และควรปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด หรือได้รับเชื้ออีกครั้งด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ เว้นระยะห่างทางสังคม  เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส หากรู้ตนเองว่าไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรกักตัวเพื่อคอยสังเกตอาการ หรืออาจแจ้งให้คุณหมอ และหน่วยงานได้รับทราบ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างละเอียด  อาการที่ควรสังเกตช่วง กักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวในช่วงเวลา 14 วันควร สังเกตอาการโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ มีไข้สูงกว่า […]


ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์มิว ไวรัสกลายพันธุ์ เสี่ยงดื้อวัคซีน หลบภูมิคุ้มกัน

องค์การอนามัยโลก (WHO) พบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์มิว (Mu) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า B.1.621 โดยถูกพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบีย ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2564  โควิดสายพันธุ์มิว เกิดจากการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง B.1 (ตำแหน่งการกลายพันธุ์ R346K, E484K, N501Y, D614G และ P681H) โดยเกิดจากตำแหน่ง E484K และ N501Y ที่เป็นตำแหน่งกลายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าโควิดสายพันธุ์มิวอาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนลดลง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงต้องทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันถึงความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดในประเทศโคลอมเบีย โควิดสายพันธุ์มิวก็ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยในปัจจุบันโควิดสายพันธุ์มิวได้แพร่ระบาดแล้วใน 39 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา โดยในทวีปอเมริกา พบในประเทศโคลอมเบีย ประเทศเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ในทวีปยุโรปพบในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเยอรมนี และล่าสุดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พบผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา เมืองซาเวนเทม ใกล้กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เสียชีวิตจากโควิดสายพันธุ์มิวจำนวน 7 คน ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีอายุระหว่าง 80-90 ปี และสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง  สำหรับทวีปเอเชีย […]


ไวรัสโคโรนา

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร

โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ทั่วไป และล่าสุดพบว่ามีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายไปแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนน้อย แม้จะมีการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อชะลอการแพร่เชื้อ ก็อาจเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์นี้ได้มากที่สุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส จากการรายงานองค์การอนามัยโลกได้ เผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่กระจายแล้วกว่า 95 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่อาจมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรต่ำ ถึงแม้จะเพิ่มความเข้มงวดในการลดการแพร่เชื้อด้วยการล็อคดาวน์ หรือมีมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากทุกคนไม่มีการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมถึงเพิกเฉยต่อการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคม การระบาดโควิด-19สายพันธุ์เดลต้าพลัส และสายพันธุ์อื่น ๆ ก็คงยังระบาดต่อไปได้  โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร ข้อแตกต่างอย่างเดียวของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์เดลต้าพลัส คือ การกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม K417N ทำให้ไวรัสโคโรนา 2019 เกาะตัวกับเนื้อเยื่อบนปอดได้แน่นขึ้น ทั้งยังเพิ่มอัตราการแพร่กระจายได้รวดเร็ว และสามารถหลบเลี่ยงปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเข้าสู่ร่างกายแล้ว เพราะมักไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา จนกว่าเชื้อไวรัสจะเริ่มลงปอด […]


ไวรัสโคโรนา

เช็กอาการโควิด-19 เบื้องต้น ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับทุกคนในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากในปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจะช่วยให้เราเช็กอาการตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด ซึ่งหากพบอาการผิดปกติจะได้รับทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) คืออะไร เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) หรือเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องเย็บกระดาษขนาดเล็ก ใช้งานโดยการหนีบที่บริเวณปลายนิ้วหรือส่วนอื่นของร่างกาย  มักใช้ในโรงพยาบาลและคลินิก โดยส่วนใหญ่มักนำมาใช้วัดค่าความดันโลหิต หรือวัดอุณหภูมิของร่างกาย รวมถึงติดตามอาการของโรคต่าง ๆ  เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับปอดและโรคหัวใจ  เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มีความสำคัญต่อผู้ป่วยโควิด-19 อย่างไร ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมากที่ไม่มีอาการแสดง แต่กลับมีอาการผิดปกติแฝงอยู่ คือ ภายนอกไม่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่เมื่อวัดค่าออกซิเจนในเลือดกลับพบว่า ค่าออกซิเจนต่ำกว่าปกติ ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว เช่น อาการไอรุนแรง เหนื่อยหอบอย่างรุนแรง หรือระบบอาจหายใจอาจล้มเหลวโดยฉับพลัน แล้วเสียชีวิตหลังจากแสดงอาการไม่นาน โดยอาการดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการ หรือ (Happy hypoxemia) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโควิด-19 สามารถป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้ด้วยการ ตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อที่จะได้ติดตามอาการของผู้ป่วย หากพบอาการผิดปกติ จะได้รีบทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที  จะทราบได้อย่างไรว่า […]


ไวรัสโคโรนา

ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการ ภัยเงียบในผู้ป่วยโควิด-19

ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการ (Happy hypoxemia) เป็นภัยเงียบที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมากในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการผิดปกติจนกว่าจะเริ่มมีอาการรุนแรง ซึ่งทำให้ล่าช้าต่อการรักษา และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตทันทีหลังแสดงอาการเพียงไม่กี่วัน แต่เราจะมีวิธีการป้องกันภาวะดังกล่าวนี้ได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ  ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการ  ภัยเงียบในผู้ป่วยโควิด-19  ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการ หรือที่เรียกว่า Happy Hypoxemia จัดเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุด โดยความน่ากลัวของภาวะนี้คือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนของระบบทางเดินหายใจ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง แต่จะเริ่มทราบอาการผิดปกติก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจหรือมีอาการรุนแรงเกิดขึ้นโดยฉับพลัน เนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ จึงแสดงลักษณะผิดปกติออกมาให้เห็นภายนอกอย่างรวดเร็ว เช่น ไออย่างรุนแรง เหนื่อยหอบอย่างรุนแรง ในผู้ป่วยบางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหลังเริ่มมีอาการไม่กี่วัน  นอกจากนี้นายแพทย์ริชาร์ด เลวีเทน (Richard Levitan) ซึ่งประจำอยู่ที่ห้องฉุกเฉินและเป็นประธานของ Airway Cam Technologies ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์บทความในสำนักพิมพ์ The New York Times ระบุว่า ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดแบบไม่แสดงอาการส่งผลให้ผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป และเสี่ยงเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่มีสัญญาณอาการเตือน  อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวนี้ด้วยการตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด เพื่อที่เราจะได้เช็กอาการเบื้องต้นของตนเอง หากมีอาการผิดปกติ จะได้รีบทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที  ลักษณะอาการภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด ที่ผู้ป่วยโควิด-19 ควรรู้ ลักษณะอาการภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยโควิด-19 จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย […]


ไวรัสโคโรนา

ประเมินอาการโควิด-19 ตามกลุ่มสี

หากผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากน้อยแค่ไหน? บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลการประเมินความเสี่ยง และ ประเมินอาการโควิด-19 ตามกลุ่มสี มาให้ได้ศึกษากัน แต่จะมีรายละเอียดอย่างไรติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ เช็กด่วน! ตนเองมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19มากน้อยแค่ไหน? กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขใช้เกณฑ์ในการประเมินผู้ที่มี ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้ 1. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการรับหรือแพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย จะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อและกักตัวอย่างน้อย 14 วัน โดยประเมินจากพฤติกรรมดังนี้ อยู่ใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะ 1 เมตร เป็นเวลานานกว่า 5 นาที โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย สถานที่ที่พูดคุยกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีอากาศถ่ายเท เช่น ในห้องปรับอากาศ ในรถปรับอากาศ 2. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ที่มีโอกาสต่ำในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จะต้องสังเกตอาการตนเองใน 14 วัน (แต่ไม่ต้องตรวจหาเชื้อและกักตัว) โดยประเมินจากพฤติกรรมดังนี้ อยู่ใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะมากกว่า 1 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยป้องกันอยู่ตลอดเวลา 3. ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง คือ ผู้ที่ไม่มีโอกาสในรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน