backup og meta

ไขข้อข้องใจ การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR คืออะไร?

ไขข้อข้องใจ การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR คืออะไร?

ในปัจจุบันประเทศไทยมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิดอยู่ 2 วิธี คือ การตรวจเชื้อโควิด แบบ Real-time RT PCR และแบบ Rapid Test โดยโรงพยาบาลหรือสถานที่ให้บริการการตรวจเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ มักใช้วิธี การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR เนื่องจากมีความแม่นยำสูง ใช้ระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างไม่นาน และทราบผลได้ไว เร็วที่สุดคือ ภายใน 24 ชั่วโมง บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเชื้อโควิดวิธีนี้มาให้ทุกคนได้ศึกษากันค่ะ 

การตรวจเชื้อโควิด แบบ RT-PCR หรือ Real-time RT PCR

การตรวจเชื้อโควิดแบบ RT-PCR หรือ Real-time RT PCR เป็นเทคนิคการตรวจหาสารพันธุกรรมที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือที่สุด จึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานสากลและเคยใช้ในตรวจโรคซาร์ส (Severe acute respiratory syndrome : SARS) ที่ระบาดในปี พ.ศ. 2545  

สำหรับวิธีการเก็บตัวอย่าง เจ้าหน้าที่จะใช้ก้านเก็บตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า “Swab” สอดเข้าไปในโพรงจมูกเพื่อนำเชื้อมาตรวจในห้องปฎิบัติการ ซึ่งมีวิธีการอ่านผลการตรวจ ดังนี้

  • แปลค่าผลเป็นบวก แสดงว่า ตรวจพบเชื้อโควิด-19
  • แปลค่าผลเป็นลบ แสดงว่า ตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 

ข้อดี-ข้อเสียที่คุณควรทราบ

ข้อดี

สำหรับการตรวจเชื้อโควิดแบบ RT-PCR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือและทราบผลได้ไว เร็วสุดคือ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเก็บตัวอย่าง

ข้อเสีย

เนื่องจากการตรวจเชื้อวิธีนี้ เป็นการตรวจจับไวรัสในปริมาณน้อย จึงอาจทำให้พบเชื้อโควิด-19 ได้อีกในครั้งต่อไป แม้ว่าคุณจะหายจากโควิด-19 แล้วก็ตาม 

ขั้นตอนในการตรวจเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR 

ขั้นตอนการตรวจเชื้อโควิดแบบ RT-PCR มีดังต่อไปนี้ 

  • เจ้าหน้าที่จะทำการเก็บตัวอย่างเชื้อ โดยนำก้านสำลีหรือที่เรียกว่าก้านเก็บตัวอย่าง (Swab) สอดเข้าไปให้ถึงบริเวณหลังโพรงจมูก และแช่ค้างไว้สักครู่เพื่อให้ก้านสำลีซึมซับสารคัดหลั่ง จากนั้นจึงเก็บก้านสำลีดังกล่าวไว้ในหลอดทดลอง เพื่อเตรียมนำส่งห้องปฏิบัติการ 
  • ขั้นตอนต่อไปคือ กระบวนการหาเชื้อไวรัส โดยนำเชื้อตัวอย่างมาสกัดแยกสารพันธุกรรม ซึ่งต้องใช้สารเคมีพิเศษ และเครื่องพีซีอาร์ (Polymerase Chain Reaction : PCR) หรือที่เรียกว่าเครื่อง Thermal Cycler เพื่อทำการทดสอบหาเชื้อไวรัสโควิด-19
  • หากตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) สารเคมีจะเรืองแสง (Signal) เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพบเชื้อโควิด-19 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการยืนยันผลอีกครั้งโดยใช้เครื่องพีซีอาร์ (PCR) และซอฟแวร์ในการแปลผลอย่างละเอียด

หลังเข้ารับการตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีนี้ อาจทำให้รู้สึกแสบ ๆ ในโพรงจมูก หรือน้ำตาไหลบ้าง แต่ไม่นานอาการก็จะหายไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Molecular genetic testing techniques-Types of polymerase chain reaction. https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class02/B2_364_221/Molecular_genetic_part2/index7.html. Accessed May 27, 2021

คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).   https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G37.pdf?fbclid=IwAR0Vd1kdtxQpg-QmXLNDF-YQifJFJKJHtbiTpeL5E7RUbAv8REhkCCJHzoo. Accessed May 27, 2021

Which COVID-19 test is most relevant to me?. https://www.gavi.org/vaccineswork/which-covid-19-test-most-relevant-me?gclid=Cj0KCQjwna2FBhDPARIsACAEc_UxgdDRcXVdvzuhel1ASBX5VbzQPtkI70axJeo62Gpht7Nlh1whJGcaAuU5EALw_wcB. Accessed May 27, 2021

COVID-19 and PCR Testing. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/21462-covid-19-and-pcr-testing. Accessed May 27, 2021

COVID-19: What is RT-PCR test and how much does it cost?.https://www.dnaindia.com/india/news-covid-19-what-is-rt-pcr-test-and-how-much-does-it-cost-2859431. Accessed May 27, 2021

Correlation of Chest CT and RT-PCR Testing for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in China: A Report of 1014 Cases. https://pubs.rsna.org/doi/10.1148/radiol.2020200642. Accessed May 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

เรื่องที่ควรรู้ก่อน การรับวัคซีนโควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา