backup og meta

คำแนะนำ! สำหรับ ค่ายทหาร เพื่อการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19

คำแนะนำ! สำหรับ ค่ายทหาร เพื่อการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19

ค่ายทหาร เป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำและมาตรการสำหรับค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ จะมีคำแนะนำและวิธีการปฎิบัติอย่างไรบ้างนั้น สามารถติดตามอ่านได้ในบทความนี้

การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการเฉพาะ สำหรับ ค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 ดังต่อไปนี้

  1. กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่หรือพยาบาล เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อรับทราบแนว ทางการเฝ้าระวังและมาตรการเพื่อป้องกันการควบคุมการระบาดในค่ายทหาร
  2. หน่วยพยาบาลทำบันทึกข้อมูลการป่วยของทหารและเจ้าหน้าที่ในค่ายทหาร
  3. จัดเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการทางเดินหายใจ ออกจากทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการป่วยอื่น
  4. จัดเตรียมพื้นที่แยกผู้ป่วยในกรณีที่พบผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสโรคเป็นจำนวนมากมาก
  5. จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ ในบริเวณส่วนกลาง เช่น โรงอาหาร  โรงครัว ห้องน้ำ เป็นต้น
  6. จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วย
  7. โรงพยาบาลในสังกัดสำรองชุดตรวจ  ราพิด เทสต์ (Rapid Test) ไข้หวัดใหญ่ สำหรับตรวจกรณีพบผู้ป่วยมีอาการทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน

การเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร

สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร ในกรณีที่มีบุคคลากรจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาด เมื่อเดินทางกลับมาจะต้องรายงานตัวและแจ้งหน่วยพยาบาล เพื่อทำการบันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการเดินทางเพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการภายใน 14 วัน

เมื่อเดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาดผู้ที่ได้สัมผัสผู้ป่วยหรือมีความเสี่ยงสูง จะต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้านหรือที่พักเป็นเวลา 14 วัน นับจากการเดินทางออกจากพื้นที่ระบาด  (ในระหว่างการกักตัวควรหลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะหรือแหล่งชุมชนต่างๆ)

อย่างไรก็ตามหลังเดินกลับมาจากพื้นที่ระบาดภายใน 14 วัน หากบุคลากรมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีไข้ จาม ไอ เหนื่อยหอบ ให้รีบใส่หน้ากากอนามัย และแจ้งประวัติการเดินทางทันที  หากผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่  5 รายขึ้นไปจากสถานที่เดียวกัน ในระยะเวลา 1 สัปดาห์  ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและควบคุมโรค

ในกรณีของทหารใหม่จะต้องมีการคัดกรอง ตั้งแต่วันที่เข้าค่ายก่อนที่จะมีการรวมตัว หรือเข้าพัก โดยระหว่างการฝึกจะมีการคัดกรองอาการไข้ ไอ น้ำมูก ภายในค่ายทหารก่อนเริ่มการฝึกทุกเช้า ทั้ง ทหารและครูฝึก

หากพบอาการผู้มีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ให้แจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ตามแนวทางจัดการ เมื่อพบผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรค  หรือหากพบผู้มีอาการแต่ไม่เข้าเกณฑ์  จะดำเนินการให้ผู้นั้นงดการฝึก เพื่อแยกตัวจากบุคคลอื่น โดยให้หน่วยพยาบาลติดตามอาการ จนกว่าจะหายเป็นปกติ

การป้องกันและควบคุมโรค

มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคภายในค่ายทหาร มีวิธีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  1. ทำความเข้าใจกับทหารและเจ้าหน้าที่ เรื่องการดำเนินงาน การควบคุมการระบาดในพื้นที่ การดูแล ขณะป่วยที่ค่ายทหาร
  2. เน้นย้ำสุขอนามัยส่วนบุคคลแก่ทหารในค่าย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว จาน ช้อน ส้อม
  3. พิจารณาให้ยกเลิกหรือเลื่อนกิจกรรมที่มีการรวมตัวหมู่มาก เช่น  ลดการรวมตัวกันภายในหน่วยงาน โดยมอบหมายกิจกรรมฝึกหรือแบ่งหน้าที่ปฏิบัติงานให้แต่ละหมวดหมู่โดยแยกจากกัน ไม่ให้ทหารจากหลายๆกลุ่มมาปฏิบัติงานหรือฝึกรวมกัน  จัดแบ่งช่วงเวลาการรับประทานอาหารเป็นกลุ่มให้เหลื่อมเวลากัน งดการปฏิบัติงานนอกค่ายทหาร รวมถึงไม่ให้มีการเยี่ยมญาติหรือกลับบ้านหากมีการระบาดภายในประเทศ เป็นต้น
  4. หากจำเป็นต้องให้ทหารส่วนหนึ่งไปปฏิบัติงานนอกค่าย ควรมอบหมายให้เป็นหน่วยๆไป และให้พัก แยกกับทหารอื่นๆ ไม่ให้ปะปนกัน
  5. ให้จัดเวรทำความสะอาดสถานที่อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ลูกบิดประตูราวบันได โต๊ะอาหาร ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง เครื่องครัว จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ด้วยน้ำและสารทำความสะอาด ตามความเหมาะสม (เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ตามความเข้มข้นที่แนะนำข้างผลิตภัณฑ์) หรือเช็ดด้วย 70% แอลกอฮอล์ อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง
  6. หากพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  เพื่อการจัดการผู้ป่วยและผู้สัมผัสตามแนวทางฯ ของกรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์  ไม่ปล่อยให้ทหารในหน่วยที่พบผู้ป่วยกลับบ้าน จนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่อย่าง น้อย 28 วัน  หรือหากพบผู้ป่วยมากกว่า 1 หน่วย อาจพิจารณาปิดค่ายโดยไม่ให้มีการเข้า-ออกจากค่ายทหาร

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แนวปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับค่ายทหาร. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/measure/mea_barracks_040363.pdf. Accessed 5 May 2020.

คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา สำยพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับค่ายทหาร. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction08.pdf. Accessed 5 May 2020.

คำแนะนำ การป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการฝึกทางทหารนานาชาติ. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/measure/mea_barracks_040363.pdf. Accessed 5 May 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

แพทย์เตือน ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจจะมีอาการที่แตกต่างออกไป


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 25/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา