backup og meta

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

กระแสข่าวเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยหลายคนเกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยหลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และลังเลอยู่ว่าจะเข้ารับวัคซีนดีหรือไม่ แต่ความจริงแล้ว การฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิด เรื่องนี้จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ

สถานการณ์โควิด-19 กับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

ข่าวสารเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 นับว่าเป็นกระแสข่าวที่ประชาชนชาวไทยหลายคนให้ความสนใจ เพราะรู้สึกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยหลังฉีด ไม่มั่นใจระหว่างฉีดวัคซีนกับไม่ฉีดวัคซีนอันไหนจะดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน 

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะได้รับผลข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลางหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เช่น มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีน และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะแอนติเจน สารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันและเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 มีดังต่อไปนี้

ถึงแม้ว่าวัคซีนจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาว่าปลอดภัย แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง โดยผลข้างเคียงจะอยู่เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน หากร่างกายมีผลข้างเคียงนานเกิน 48 ชั่วโมง ควรติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาตามลำดับขั้นตอนต่อไป

ติดเชื้อโควิดมาก่อน ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่?

สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ถึงแม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เสมอ แม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน โดยควรเข้ารับวัคซีนโควิด-19 หลังจากติดเชื้อ อย่างน้อย 3 เดือน และฉีดเพิ่มอีก 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน สามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/. Accessed May 31, 2021

Update ข้อมูลวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19. https://www.med.cmu.ac.th/covid19/ข่าวเด่น/3455/. Accessed May 31, 2021

วัคซีนโควิด-19: เลือกชนิดใดดี. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1454. Accessed May 31, 2021 

Possible Side Effects After Getting a COVID-19 Vaccine. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect/after.html. Accessed May 31, 2021

COVID-19 vaccine: What to do about side effects. https://www.medicalnewstoday.com/articles/covid-19-vaccine-what-to-do-about-side-effects. Accessed May 31, 2021

Side Effects and COVID-19 Vaccines: What to Expect. https://www.gavi.org/vaccineswork/side-effects-and-covid-19-vaccines-what-expect?gclid=Cj0KCQjwktKFBhCkARIsAJeDT0joSbp1IRR1XFxs1l2S3jIFds3K0m6G8WEZcIdX8ry6u6e3noPeWDoaAjf6EALw_wcB. Accessed May 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่ควรรู้ก่อน การรับวัคซีนโควิด-19

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับการลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา