backup og meta

ระวัง! โควิดไม่แสดงอาการ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่ปอดพัง แถมแพร่เชื้อได้

ระวัง! โควิดไม่แสดงอาการ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่ปอดพัง แถมแพร่เชื้อได้

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเบื้องต้นที่พบได้บ่อย คือ ไข้สูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลิ้นไม่รับรส แต่ในปัจจุบัน กลับพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ หรือที่เรียกว่า โควิดไม่แสดงอาการ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้รับรู้ รักษา และควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ยาก เราจึงควรดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า เพราะสาเหตุใด ผู้ป่วยถึงติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการ แล้วเราพอจะมีวิธีป้องกันตัวเองจากโรคนี้อย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ทำความรู้จัก โควิดไม่แสดงอาการ

โควิดไม่แสดงอาการ (Asymptomatic COVID-19) คือ ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่กลับไม่แสดงอาการใด ๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ โดยพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ที่ไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค เป็นต้น  

เว็บข่าวด้านสุขภาพ Medical News Today ในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบ ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) มีอายุน้อยกว่า 20 ปี กว่า 81.9% ป่วยโควิดไม่แสดงอาการ

ติดโควิดไม่แสดงอาการ จะมีวิธีสังเกตตนเองอย่างไร?

โควิดไม่แสดงอาการ อาจทำให้หลายคนละเลยการป้องกันตนเอง เพราะคิดว่ามีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 แต่รู้หรือไม่ว่า คุณอาจกลายเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อให้คนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากคุณไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ควรสังเกตอาการตนเองภายใน 14 วัน หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทันที

  • มีไข้
  • ไอแห้ง
  • ลิ้นไม่รับรส
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดเมื่อยบริเวณข้อต่อ
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องร่วง
  • หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • เบื่ออาหาร

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาการวิจัยในหลายประเทศพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการนานถึง 4-6 สัปดาห์ ดังนั้น ผู้ที่ไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ควรกัดตัวเองอย่างน้อย 14 วัน เพื่อรอดูอาการ และลดการแพร่เชื้อโควิดในช่วงที่ไม่แสดงอาการ 

การ์ดอย่าตก ดูแลตนเองให้ห่างจากเชื้อโควิด-19

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ผ้าปูที่นอน
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ รอให้เจลแอลกอฮอล์แห้ง จึงค่อยหยิบจับสิ่งต่าง ๆ
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ
  • ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตซ์ไฟ 
  • เว้นระยะห่างทางสังคมในระยะ 6 ฟุต หรือ 2 เมตร 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

โควิด-19: นายกฯ ลงนาม 8 มาตรการคุมโควิด-19 มีผลบังคับใช้ 4 ม.ค. ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อยังเพิ่มต่อเนื่อง. https://www.bbc.com/thai/thailand-55519913. Accessed May 28, 2021

ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2564. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/091/T_0024.PDF. Accessed May 28, 2021

Coronavirus disease 2019 (COVID-19). 

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/symptoms-causes/syc-20479963. Accessed May 28, 2021

Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public. Accessed May 28, 2021

Protect Yourself. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/prevention.html. Accessed May 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/11/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา