ไวรัสโคโรนา

โรค Covid-19 ที่แพร่ระบาดและส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ร้อยล้านรายทั่วโลก เป็น ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง แต่ไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Covid-19 เท่านั้น ยังมีไวรัสก่อโรคอีกมากมาย ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไวรัสโคโรนา

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

สถานการณ์โควิดในประเทศไทย ยังพบผู้ป่วยโควิดอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเฝ้าระวังตนเอง หากพบว่ามีอาการน่าสงสัย ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] อาการเสี่ยงติดโควิด ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถสังเกตอาการ ความผิดปกติของร่างกาย จากนั้นให้ตรวจ ATK โดยอาการติดโควิด ที่พบบ่อย ได้แก่ ไอ  เจ็บคอ  มีไข้  ปวดกล้ามเนื้อ  มีน้ำมูก  ปวดศีรษะ  หายใจลำบาก  จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส สำหรับโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 อาจพบอาการเพิ่มเติม เช่น เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน และหากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง หรือใช้บัตรประชาชนไปรับ ติดโควิด ทํายังไง เมื่อตรวจ ATK แล้วพบว่า ขึ้น 2 ขีด ผลเป็นบวกว่าติดโควิด กลุ่มที่มีอาการไม่มาก ให้ปฏิบัติตัว ดังนี้ กักตัว โดยแยกตัวเองออกมาเป็นเวลา 5 วัน  หากกักตัวครบ 5 วันแล้ว ยังมีอาการไข้ หรืออาการโดยรวมยังไม่ดีขึ้น ให้กักตัวเพิ่มอีก 5 […]

สำรวจ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา

สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น อาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไข้สูง ท้องเสีย เจ็บคอ ไอแห้ง ซึ่งอาการอาจไม่ได้ปรากฏในผู้ป่วยทุกราย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาการดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคโควิด-19 หรือเป็นเพียงอาการเจ็บป่วยธรรมดา แต่ข้อมูลจากวารสาร International Forum of Allergy & Rhinology ได้ระบุว่า หากคุณ “สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น” อย่างฉับพลัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19  แต่จะจริงหรือไม่นั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น สัญญาณเตือน โรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 วารสาร International Forum of Allergy & Rhinology ระบุว่า หากคุณไม่มีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีไข้สูง จาม ไอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว  แต่มีอาการ สูญเสียประสาทรับรสและดมกลิ่น อย่างฉับพลัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคโควิด-19 โดยอาการดังกล่าวนี้เรียกได้ว่าเป็นอาการที่บ่งชี้ชัดเจนมากกว่าอาการอื่น ๆ ถึง 10 […]


ไวรัสโคโรนา

คำแนะนำ! สำหรับ ค่ายทหาร เพื่อการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19

ค่ายทหาร เป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำและมาตรการสำหรับค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ จะมีคำแนะนำและวิธีการปฎิบัติอย่างไรบ้างนั้น สามารถติดตามอ่านได้ในบทความนี้ การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการเฉพาะ สำหรับ ค่ายทหาร ในการป้องกัน เชื้อไวรัสโควิด-19 ดังต่อไปนี้ กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่หรือพยาบาล เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อรับทราบแนว ทางการเฝ้าระวังและมาตรการเพื่อป้องกันการควบคุมการระบาดในค่ายทหาร หน่วยพยาบาลทำบันทึกข้อมูลการป่วยของทหารและเจ้าหน้าที่ในค่ายทหาร จัดเตรียมห้องพยาบาลสำหรับแยกทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการทางเดินหายใจ ออกจากทหารหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอาการป่วยอื่น จัดเตรียมพื้นที่แยกผู้ป่วยในกรณีที่พบผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสโรคเป็นจำนวนมากมาก จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการล้างมือ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ ในบริเวณส่วนกลาง เช่น โรงอาหาร  โรงครัว ห้องน้ำ เป็นต้น จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาลในสังกัดสำรองชุดตรวจ  ราพิด เทสต์ (Rapid Test) ไข้หวัดใหญ่ สำหรับตรวจกรณีพบผู้ป่วยมีอาการทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน การเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังผู้ป่วยในค่ายทหาร ในกรณีที่มีบุคคลากรจำเป็นต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาด เมื่อเดินทางกลับมาจะต้องรายงานตัวและแจ้งหน่วยพยาบาล เพื่อทำการบันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการเดินทางเพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการภายใน 14 วัน เมื่อเดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาดผู้ที่ได้สัมผัสผู้ป่วยหรือมีความเสี่ยงสูง จะต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้านหรือที่พักเป็นเวลา 14 วัน นับจากการเดินทางออกจากพื้นที่ระบาด  (ในระหว่างการกักตัวควรหลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะหรือแหล่งชุมชนต่างๆ) อย่างไรก็ตามหลังเดินกลับมาจากพื้นที่ระบาดภายใน 14 วัน หากบุคลากรมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เช่น มีไข้ จาม ไอ เหนื่อยหอบ […]


ไวรัสโคโรนา

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 และ ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

สำหรับสถานการณ์โรคระบาดอย่างเชื้อโคโรนาไวรัสในปัจจุบันนั้น ยังไม่คลี่คลายสักเท่าไหร่ เพราะหลาย ๆ คนอาจยังต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงทำให้มีหลายคนเริ่มสงสัยว่า การที่อยู่บ้านและเปิดเครื่องปรับอากาศ นั้นจะปลอดภัยจากเชื้อไวรัสได้จริงหรือ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 มาฝากกัน เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร ด้วยอัตราการติดเชื้อที่ยังสูงมากในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้หลายคนกำลังกังวลถึงวิธีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ระหว่างคน การติดเชื้อในอากาศ และวิธีที่จะสามารถรับเชื้อโรคโควิด-19 จากคนอื่น ๆ ซึ่งคำถามส่วนใหญ่เริ่มจะถูกถามเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศว่า เครื่องปรับอากาศจะสามารถแพร่กระจายเชื้อโคโรนาไวรัสได้หรือไม่ ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่ได้มีบทสรุปข้อเท็จจริงที่แน่ชัด จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การใช้เครื่องปรับอากาศในบ้านนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่คนเดียวในบ้าน โดยที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับความเสี่ยงจากภายนอกบ้าน แต่เชื้อโคโรนาไวรัสนั้น ก็ยังสามารถแพร่กระจายได้ในพื้นที่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศส่วนกลาง เช่น ในพื้นที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า และอะพาร์ตเมนต์บางแห่ง ยิ่งถ้าสถานที่เหล่านั้นมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศและโรคโควิด-19 แม้จะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า เครื่องปรับอากาศนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ แต่ก็ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศที่ควรรู้ไว้ ดังนี้ การกรองและขนาดของอนุภาค ปกติแล้วเครื่องปรับอากาสจะกรอกอนุภาคผ่านระบบต่าง ๆ และจะมีความสามารถในการกรองอนุภาคในระดับที่ต่างกัน เช่น เครื่องปรับอากาศในเรือสำราญ โดยทั่วไปจะไม่สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดน้อยกว่า 5,000 นาโนเมตรได้ ซึ่งไวรัสที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่คล้ายกับเชื้อโคโรนาไวรัส เช่น […]


ไวรัสโคโรนา

รู้หรือไม่ โควิด-19 ส่งผลร้ายอย่างไร กับไตของเรา

โรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสโคโรนา และกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในตอนนี้ โรคนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกไปแล้วไม่น้อยกว่า 3.55 ล้านราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2564) และยังมีอีกหลายคนที่มีอาการรุนแรงและต้องรับการรักษาในโรคพยาบาลอย่างใกล้ชิด แต่อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ โควิด-19 อาจส่งผลร้ายต่อไตของเราได้ โควิด-19 กับไต นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาหาคำตอบร่วมกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอได้เลยค่ะ โควิด-19 กับไต มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงบางราย อาจพบปัญหาไตเสียหายเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ด้วย แพทย์เรียกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตนี้ว่า “อาการไตบาดเจ็บเฉียบพลัน” โดยอาการไตบาดเจ็บเฉียบพลันนี้จะเกิดในประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 และส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตนี้ มักจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีปัญหาไต เมื่อโรคโควิด-19 เริ่มส่งผลให้ไตเสียหาย ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการอื่น นอกเหนือไปจากอาการปกติที่สามารถพบได้ตามปกติในผู้ป่วยโควิด-19 เช่น ปัสสาวะน้อย แขนขาบวม คลื่นไส้ อาเจียน โดยอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อไตเสียหายขั้นรุนแรงแล้วเท่านั้น ป่วยเป็นโรคไต จะเสี่ยงติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนอื่นหรือไม่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการฟอกไต อาจยิ่งเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่า เนื่องจากการฟอกไตส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้ร่างกายไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มที่เหมือนคนปกติ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตบางรายอาจต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อเปลี่ยนไต ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะใหม่ ยากดภูมิคุ้มกันนี้จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน […]


ไวรัสโคโรนา

อาการเบื่อบ้าน (Cabin Fever) อีกหนึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน

เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือนแล้วที่หลายคนจำเป็นต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้าน เพื่อทำการกักตัวให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ตามหลักการเว้นระยะทางสังคม หรือ Social distancing หลายคนอาจเริ่มปรับตัวได้ ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกเบื่อเพิ่มมากขึ้น จนอาจกลายเป็น อาการเบื่อบ้าน ไปในที่สุด แต่อาการที่ รู้สึกเบื่อบ้าน คืออะไร แล้วคุณกำลังมีอาการเบื่อบ้านอยู่รึเปล่า ควรสังเกตตัวเองเพื่อหาวิธีรับมืออาการนี้ [embed-health-tool-bmr] อาการเบื่อบ้าน (Cabin Fever) คืออะไร โดยปกติแล้วความ รู้สึกเบื่อบ้าน มักเกิดขึ้นในวันฝนตก หรือหิมะตกหนัก และไม่สามารถออกไปไหนได้ แต่อาการเบื่อบ้านสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อที่คุณรู้สึกโดเดี่ยวหรือถูกตัดขาดจากโลกภายนอก กล่าวได้ว่า อาการเบื่อบ้าน คือ ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความรู้สึกถูกทอดทิ้งให้ต้องอยู่คนเดียว ขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นระยะเวลาหลายวันติดต่อกัน รวมถึงอาจมีความรู้สึกวิตกกังวล ไปจนถึงอาการซึมเศร้า หรือหวาดกลัวได้ สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังมีอาการเบื่อบ้าน อาการเบื่อบ้านไม่ได้มีลักษณะของอาการที่รุนแรงในทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด หรือทัศนคติเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ หากคุณมีอาการหนึ่งอาการใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน สามารถสันนิษฐานแต่เนิ่น ๆ ได้เลยว่า คุณเริ่มมีอาการ รู้สึกเบื่อบ้าน เข้าแล้ว กระสับกระส่าย เฉื่อยชา โศกเศร้าและซึมเศร้า สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ ก็เป็นสัญญาณของความ รู้สึกเบื่อบ้าน […]


ไวรัสโคโรนา

แพทย์เตือน ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจจะมีอาการที่แตกต่างออกไป

เมื่อพูดถึงอาการของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เราอาจจะนึกถึงอาการอยู่ไม่กี่อย่าง คือ อาการไอ เป็นไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือมีอาการปอดอักเสบ แต่ล่าสุด แพทย์ได้ออกมาเตือนว่า การจะจำแนกผู้ป่วยโควิด-19 ในผู้สูงอายุจากอาการเบื้องต้นเหล่านั้น น่าจะไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก อาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นอาจจะมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป และเพิ่มความซับซ้อนในการวินิจฉัยโรคให้มากขึ้นไปอีก อาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น หากกล่าวถึงอาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 พบว่า หนึ่งในอาการที่แสดงให้เห็นได้มากในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 คือลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “ดูไม่เป็นตัวของตัวเอง” โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะสังเกตพบลักษณะพฤติกรรมที่ผิดปกติไป เช่น นอนนานขึ้น เบื่ออาหาร อาการสับสน เฉยเมย หรือไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้างมากขึ้น อาการวิงเวียนและหมดสติได้ในบางราย อาการที่ผิดปกติเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการที่ร่างกายของผู้สูงอายุตอบสนองต่ออาการป่วยและการติดเชื้อ เนื่องจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุนั้นลดลง อีกทั้งความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการแสดงออกของอาการติดเชื้อได้ เช่น โรคประจำตัว หรือปัญหาทางระบบประสาทเนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงอาการของร่างกาย เช่น การไอ เป็นต้น ผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีความรู้สึกหนาว และมีอาการสับสน บ้างก็สูญเสียความสามารถในการคิด และสูญเสียความทรงจำ บางคนก็อาจจะมีอาการเพ้อ เซื่องซึม และง่วงนอน อีกทั้งยังอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย แต่ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ก็ไม่มีอาการทั่วไปของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอาการไข้ ไอ หรือหายใจลำบากแต่อย่างใด กรณีหนึ่งที่พบ […]


ไวรัสโคโรนา

ซีทีสแกน (CT scan) อาจจะเป็นวิธีใหม่ในการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย

หนึ่งในปัญหาสำคัญ ของการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันนี้ คือการตรวจคัดกรองว่าใครมีเชื้อโควิด-19 อยู่บ้าง โดยปกติแล้วเราจะใช้วิธีการตรวจหาเชื้อในเยื่อบุคอหรือโพรงจมูก เพื่อหาผู้ว่าบุคคลเหล่านั้นมีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่หรือไม่ แต่วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงอาจมีปัญหาหากต้องการที่จะตรวจคนในปริมาณมากได้ แต่ล่าสุด มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนที่เชื่อว่า เราอาจสามารถ ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน ได้เช่นกัน ซีทีสแกน คืออะไร การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า ซีทีสแกน (computerized tomography scan: CT scan) คือการตรวจสแกนร่างกาย ด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาความผิดปกติของร่างกายในจุดที่ต้องการ โดยการสแกนนั้นจะใช้รังสีเอกซเรย์ ฉายผ่านรอบ ๆ อวัยวะนั้น ๆ แล้วใช้ตัวจับปริมาณรังสีที่ผ่านตัวผู้ป่วย ได้ผลออกมาเป็นภาพเอกซเรย์ 3 มิติ การทำซีทีสแกนนั้นจะมีความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์แบบทั่วไป เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นโครงสร้าง และความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจน และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน สามารถทำได้จริงเหรอ เราได้มีการใช้ซีทีสแกนตรวจในบริเวณปอด เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปอด เช่น ปอดอักเสบ (pneumonia) มาเป็นเวลานาน และอาการที่พบได้มากที่สุด และมีอาการรุนแรงที่สุดของโรคโควิด-19 นั้นก็คืออาการปอดอักเสบ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่า การใช้ซีทีสแกนในบริเวณหน้าอก เพื่อตรวจหาอาการปอดอักเสบ […]


ไวรัสโคโรนา

ลิ่มเลือดอุดตัน อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจอันตรายถึงตาย

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบทางเดินหายใจ สามารถทำให้ปอดอักเสบรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่ข้อมูลล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญเผยว่า นอกจากโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดภาวะ ลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ลิ่มเลือดอุดตัน กับโควิด-19 งานวิจัยชิ้นใหม่จากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เผยแพร่ในวารสาร Thrombosis Research เมื่อปลายเดือนเมษายน 2020 เผยว่า จากการศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 184 ราย ที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู (ICU) พบว่า ผู้ป่วย 31% มีการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงเลยทีเดียว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะระบุไม่ได้แน่ชัดว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 อย่างลิ่มเลือดอุดตันนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่พวกเขาก็อธิบายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เนื่องจากหลายสาเหตุ ทั้งการที่ต้องรักษาตัวอยู่แต่ในห้องไอซียู ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และร่างกายติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนเกิดการอักเสบรุนแรง นายแพทย์ Harlan Krumholz แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ประจำโรงพยาบาลเยล-นิวเฮเวน (Yale-New Haven) ได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “เมื่อระบบภูมิคุ้มกันพบผู้บุกรุกอย่างไวรัสโคโรนา […]


ไวรัสโคโรนา

หน้ากากพลาสติก (Face Shield) ตัวช่วยในการป้องกันตนเองจาก เชื้อโควิด-19

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งไอเทมที่กำลังเป็นที่นิยมในการสวมใส่เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อย่าง หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) พร้อมด้วยข้อดีและข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้ รวมถึงวิธีการทำ หน้ากากพลาสติก แบบง่าย ๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ใช่แค่ประหยัด แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ทำความรู้จักกับหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield)  หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) คือ อุปกรณ์พลาสติกที่ใช้สำหรับป้องกันใบหน้า ตา จมูก และปาก จากสารคัดหลั่ง หยดน้ำ หรือละอองฝอย โดยส่วนใหญ่มักใช้ทางการแพทย์ เช่น ทันตกรรม  อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face shield) เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมเท่านั้น จะต้องใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ป้องกันตัวอื่นด้วย ข้อดีและข้อเสีย ของหน้ากากพลาสติก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดในการรักษา ทุกคนจึงต้องป้องกันตนเองด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดี สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ และสำหรับบางคน อาจสวมหน้ากากพลาสติก หรือ […]


ไวรัสโคโรนา

ผลการทดลองชี้! ยา เรมเดซิเวียร์ อาจนำมารักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

สำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019) หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดเป็นทางการ เพราะขึ้นอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน และร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ว่าจะมีการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้มากน้อยแค่ไหน ล่าสุด ทางองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ออกมารายงานว่า อาจอนุญาตให้ใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส เนื่องจาก นักวิทยาศาสตร์ ทีมวิจัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ได้คอยวิเคราะห์ และประเมินผลมาตามระยะเวลาพอสมควร ซึ่งผลถูกชี้ไปในเชิงบวกเสียส่วนใหญ่ ถึงอย่างไรก็ยังคงจำเป็นที่ต้องคอยเฝ้าดูในระยะยาว พร้อมร่วมมือกันคิดค้นหายารักษา วัคซีนป้องกันต่อไปในอนาคต จากการทดลองของทางคลินิกแห่งหนึ่ง และโรงพยาบาลฮูสตันเมธอดิสต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ร่วมเข้าทดลอง โดยนำไปทดสอบกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการเจ็บป่วยในระดับปานกลาง และทำการให้ยาเรมเดซิเวียร์ต่อผู้ป่วยประมาณ 5-10 วัน ตามแต่อาการ ผลการทดสอบพบว่า ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีร่างกายตอบสนองต่อยา และฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นข่าวที่ดีอย่างมากเลยทีเดียว การรักษาโควิด-19 โดยใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) แต่เดิมยา เรมเดซิเวียร์ ถูกนำมารักษาไวรัสอีโบลา (Ebola virus) และถูกพัฒนานำมารักษาต่อในไวรัสซาร์ส (Severe acute respiratory […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน