โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

อาการเบื่อบ้าน (Cabin Fever) อีกหนึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน

เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือนแล้วที่หลายคนจำเป็นต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้าน เพื่อทำการกักตัวให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ตามหลักการเว้นระยะทางสังคม หรือ Social distancing หลายคนอาจเริ่มปรับตัวได้ ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกเบื่อเพิ่มมากขึ้น จนอาจกลายเป็น อาการเบื่อบ้าน ไปในที่สุด แต่อาการที่ รู้สึกเบื่อบ้าน คืออะไร แล้วคุณกำลังมีอาการเบื่อบ้านอยู่รึเปล่า ควรสังเกตตัวเองเพื่อหาวิธีรับมืออาการนี้ [embed-health-tool-bmr] อาการเบื่อบ้าน (Cabin Fever) คืออะไร โดยปกติแล้วความ รู้สึกเบื่อบ้าน มักเกิดขึ้นในวันฝนตก หรือหิมะตกหนัก และไม่สามารถออกไปไหนได้ แต่อาการเบื่อบ้านสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อที่คุณรู้สึกโดเดี่ยวหรือถูกตัดขาดจากโลกภายนอก กล่าวได้ว่า อาการเบื่อบ้าน คือ ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความรู้สึกถูกทอดทิ้งให้ต้องอยู่คนเดียว ขาดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ต้องอาศัยอยู่แต่ในบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นระยะเวลาหลายวันติดต่อกัน รวมถึงอาจมีความรู้สึกวิตกกังวล ไปจนถึงอาการซึมเศร้า หรือหวาดกลัวได้ สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังมีอาการเบื่อบ้าน อาการเบื่อบ้านไม่ได้มีลักษณะของอาการที่รุนแรงในทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด หรือทัศนคติเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ หากคุณมีอาการหนึ่งอาการใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน สามารถสันนิษฐานแต่เนิ่น ๆ ได้เลยว่า คุณเริ่มมีอาการ รู้สึกเบื่อบ้าน เข้าแล้ว กระสับกระส่าย เฉื่อยชา โศกเศร้าและซึมเศร้า สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ ก็เป็นสัญญาณของความ รู้สึกเบื่อบ้าน […]


ไวรัสโคโรนา

แพทย์เตือน ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจจะมีอาการที่แตกต่างออกไป

เมื่อพูดถึงอาการของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เราอาจจะนึกถึงอาการอยู่ไม่กี่อย่าง คือ อาการไอ เป็นไข้สูง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือมีอาการปอดอักเสบ แต่ล่าสุด แพทย์ได้ออกมาเตือนว่า การจะจำแนกผู้ป่วยโควิด-19 ในผู้สูงอายุจากอาการเบื้องต้นเหล่านั้น น่าจะไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก อาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นอาจจะมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป และเพิ่มความซับซ้อนในการวินิจฉัยโรคให้มากขึ้นไปอีก อาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น หากกล่าวถึงอาการของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 พบว่า หนึ่งในอาการที่แสดงให้เห็นได้มากในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 คือลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “ดูไม่เป็นตัวของตัวเอง” โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะสังเกตพบลักษณะพฤติกรรมที่ผิดปกติไป เช่น นอนนานขึ้น เบื่ออาหาร อาการสับสน เฉยเมย หรือไม่สนใจต่อสิ่งรอบข้างมากขึ้น อาการวิงเวียนและหมดสติได้ในบางราย อาการที่ผิดปกติเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการที่ร่างกายของผู้สูงอายุตอบสนองต่ออาการป่วยและการติดเชื้อ เนื่องจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุนั้นลดลง อีกทั้งความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการแสดงออกของอาการติดเชื้อได้ เช่น โรคประจำตัว หรือปัญหาทางระบบประสาทเนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงอาการของร่างกาย เช่น การไอ เป็นต้น ผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีความรู้สึกหนาว และมีอาการสับสน บ้างก็สูญเสียความสามารถในการคิด และสูญเสียความทรงจำ บางคนก็อาจจะมีอาการเพ้อ เซื่องซึม และง่วงนอน อีกทั้งยังอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย แต่ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ก็ไม่มีอาการทั่วไปของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอาการไข้ ไอ หรือหายใจลำบากแต่อย่างใด กรณีหนึ่งที่พบ […]


ไวรัสโคโรนา

ซีทีสแกน (CT scan) อาจจะเป็นวิธีใหม่ในการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย

หนึ่งในปัญหาสำคัญ ของการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันนี้ คือการตรวจคัดกรองว่าใครมีเชื้อโควิด-19 อยู่บ้าง โดยปกติแล้วเราจะใช้วิธีการตรวจหาเชื้อในเยื่อบุคอหรือโพรงจมูก เพื่อหาผู้ว่าบุคคลเหล่านั้นมีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่หรือไม่ แต่วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงอาจมีปัญหาหากต้องการที่จะตรวจคนในปริมาณมากได้ แต่ล่าสุด มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนที่เชื่อว่า เราอาจสามารถ ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน ได้เช่นกัน ซีทีสแกน คืออะไร การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า ซีทีสแกน (computerized tomography scan: CT scan) คือการตรวจสแกนร่างกาย ด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาความผิดปกติของร่างกายในจุดที่ต้องการ โดยการสแกนนั้นจะใช้รังสีเอกซเรย์ ฉายผ่านรอบ ๆ อวัยวะนั้น ๆ แล้วใช้ตัวจับปริมาณรังสีที่ผ่านตัวผู้ป่วย ได้ผลออกมาเป็นภาพเอกซเรย์ 3 มิติ การทำซีทีสแกนนั้นจะมีความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์แบบทั่วไป เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นโครงสร้าง และความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจน และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน สามารถทำได้จริงเหรอ เราได้มีการใช้ซีทีสแกนตรวจในบริเวณปอด เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปอด เช่น ปอดอักเสบ (pneumonia) มาเป็นเวลานาน และอาการที่พบได้มากที่สุด และมีอาการรุนแรงที่สุดของโรคโควิด-19 นั้นก็คืออาการปอดอักเสบ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่า การใช้ซีทีสแกนในบริเวณหน้าอก เพื่อตรวจหาอาการปอดอักเสบ […]


ไวรัสโคโรนา

ลิ่มเลือดอุดตัน อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจอันตรายถึงตาย

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบทางเดินหายใจ สามารถทำให้ปอดอักเสบรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่ข้อมูลล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญเผยว่า นอกจากโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดภาวะ ลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ลิ่มเลือดอุดตัน กับโควิด-19 งานวิจัยชิ้นใหม่จากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เผยแพร่ในวารสาร Thrombosis Research เมื่อปลายเดือนเมษายน 2020 เผยว่า จากการศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 184 ราย ที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู (ICU) พบว่า ผู้ป่วย 31% มีการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงเลยทีเดียว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะระบุไม่ได้แน่ชัดว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 อย่างลิ่มเลือดอุดตันนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่พวกเขาก็อธิบายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เนื่องจากหลายสาเหตุ ทั้งการที่ต้องรักษาตัวอยู่แต่ในห้องไอซียู ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และร่างกายติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนเกิดการอักเสบรุนแรง นายแพทย์ Harlan Krumholz แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ประจำโรงพยาบาลเยล-นิวเฮเวน (Yale-New Haven) ได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “เมื่อระบบภูมิคุ้มกันพบผู้บุกรุกอย่างไวรัสโคโรนา […]


ไวรัสโคโรนา

หน้ากากพลาสติก (Face Shield) ตัวช่วยในการป้องกันตนเองจาก เชื้อโควิด-19

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งไอเทมที่กำลังเป็นที่นิยมในการสวมใส่เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อย่าง หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) พร้อมด้วยข้อดีและข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้ รวมถึงวิธีการทำ หน้ากากพลาสติก แบบง่าย ๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ใช่แค่ประหยัด แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ทำความรู้จักกับหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield)  หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) คือ อุปกรณ์พลาสติกที่ใช้สำหรับป้องกันใบหน้า ตา จมูก และปาก จากสารคัดหลั่ง หยดน้ำ หรือละอองฝอย โดยส่วนใหญ่มักใช้ทางการแพทย์ เช่น ทันตกรรม  อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face shield) เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมเท่านั้น จะต้องใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ป้องกันตัวอื่นด้วย ข้อดีและข้อเสีย ของหน้ากากพลาสติก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดในการรักษา ทุกคนจึงต้องป้องกันตนเองด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดี สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ และสำหรับบางคน อาจสวมหน้ากากพลาสติก หรือ […]


ไวรัสโคโรนา

ผลการทดลองชี้! ยา เรมเดซิเวียร์ อาจนำมารักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

สำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019) หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดเป็นทางการ เพราะขึ้นอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน และร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ว่าจะมีการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้มากน้อยแค่ไหน ล่าสุด ทางองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ออกมารายงานว่า อาจอนุญาตให้ใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส เนื่องจาก นักวิทยาศาสตร์ ทีมวิจัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ได้คอยวิเคราะห์ และประเมินผลมาตามระยะเวลาพอสมควร ซึ่งผลถูกชี้ไปในเชิงบวกเสียส่วนใหญ่ ถึงอย่างไรก็ยังคงจำเป็นที่ต้องคอยเฝ้าดูในระยะยาว พร้อมร่วมมือกันคิดค้นหายารักษา วัคซีนป้องกันต่อไปในอนาคต จากการทดลองของทางคลินิกแห่งหนึ่ง และโรงพยาบาลฮูสตันเมธอดิสต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ร่วมเข้าทดลอง โดยนำไปทดสอบกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการเจ็บป่วยในระดับปานกลาง และทำการให้ยาเรมเดซิเวียร์ต่อผู้ป่วยประมาณ 5-10 วัน ตามแต่อาการ ผลการทดสอบพบว่า ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีร่างกายตอบสนองต่อยา และฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นข่าวที่ดีอย่างมากเลยทีเดียว การรักษาโควิด-19 โดยใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) แต่เดิมยา เรมเดซิเวียร์ ถูกนำมารักษาไวรัสอีโบลา (Ebola virus) และถูกพัฒนานำมารักษาต่อในไวรัสซาร์ส (Severe acute respiratory […]


โรคติดเชื้อ

คางทูม สาเหตุ อาการ และการรักษา

คางทูมเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในบริเวณต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม ปวดหัว และอาการคล้ายไข้หวัด ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางน้ำลายหรือน้ำมูก สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา และการพักผ่อนเพื่อให้อาการบรรเทาลง คำจำกัดความคางทูมคืออะไร คางทูม คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งทั่วร่างกาย แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อที่บริเวณต่อมน้ำลายหน้ากกหู (parotid gland) ทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ปวดหัว และอาการอื่น ๆ ที่คล้ายไข้หวัด เช่น ตัวร้อน มีน้ำมูก คางทูมสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก เมื่อผู้ป่วยพูด จาม หรือไอ รวมไปถึงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยคางทูม ตามปกติแล้ว ผู้ที่เคยเป็นโรคคางทูม มักจะไม่เป็นโรคนี้อีกเป็นครั้ง 2 เพราะร่างกายอาจสสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไปได้ อาการอาการของคางทูม อาการของโรคคางทูมมักจะปรากฏภายใน 14 วัน หลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหาร เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดบริเวณต่อมน้ำลายทั้งสองข้างของใบหน้า เบื่ออาหาร สาเหตุสาเหตุของคางทูม คางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ที่แพร่กระจายผ่านทางละอองฝอย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เมื่อผู้ป่วยพูด ไอ และจาม หรืออาจติดจากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยคางทูม […]


ไวรัสโคโรนา

เผย! มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม ในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ

สำนักจุฬาราชมนตรี ได้เผยแพร่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เรื่องการละหมาดและการจัดกิจกรรมพิธีทางศาสนาต่าง ๆ รวมถึงการพบปะชุมนุมกันของ ชาวไทยมุสลิม วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำ มาตรการป้องกันโควิด-19 สำหรับชาวไทยมุสลิม มาฝากกันค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมเรื่องน่ารู้สำหรับเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดทั่วไป จนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่นโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome :  MERS-CoV) และ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS-CoV) ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด โรคมะเร็งและโรคเบาหวาน พบว่า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าคนปกติทั่วไป โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการไอ เป็นไข้ ท้องเสีย น้ำมูกไหล เป็นต้น มาตรการสำหรับผู้ไปร่วมละหมาด มัสยิด เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของ ชาวไทยมุสลิม นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นสถานที่ชุมนุมพบปะของชาวไทยมุสลิมอีกด้วย  แต่ ณ ปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดถึงวิธีการรักษา จึงได้มี […]


ไวรัสโคโรนา

เช็ดมือด้วยกระดาษชำระ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ เพื่อหยุดการกระจายเชื้อไวรัส

ตามห้องน้ำของห้างสรรพสินค้าหลายๆแห่ง จะมีเครื่องเป่ามือและทิชชู่ไว้สำหรับคอยบริการหลังจากล้างมือเสร็จ สำหรับการทำให้มือนั้นแห้ง หลาย ๆ คนก็เลือกใช้เครื่องเป่ามือเพราะสะดวก รวดเร็ว และใช้งานง่าย แต่ใครจะไปรู้ว่า เครื่องเป่ามือนั้นไม่เพียงแต่เป่าลมร้อนเพื่อให้มือแห้งเท่านั้น ยังสามารถกระจายเชื้อไวรัสได้อีกด้วย ทางที่ดีควร หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ เพื่อลดการกระจายของเชื้อไวรัส วันนี้ Hello คุณหมอ ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ เครื่องเป่ามือ ไม่เพียงแต่เป่าลมร้อนเท่านั้น แต่ยังแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีกด้วย แม้ว่าการใช้เครื่องเป่ามือจะช่วยกำจัดไวรัสได้มาก แต่จากการวิจัยพบว่า หลังจากใช้เครื่องเป่ามือแล้ว มักจะมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสตามเสื้อผ้ามากถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้กระดาษทิชชู่สำหรับการเช็ดมือ เพราะขณะที่ใช้เครื่องเป่ามือ ด้วยความแรงของลมที่เป่าออกมาอาจทำให้เชื้อไวรัสกระเด็นไปติดอยู่ตามเครื่องเป่ามือ หรือกระเด็นติดตามเสื้อผ้า หากใช้ต่อจากผู้ที่มีเชื้อไวรัสก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งถือเป็นการแพร่กระจายเชื้อรูปแบบหนึ่งที่ควรระมัดระวัง  เพื่อที่จะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสต่างๆ รวมถึงเชื้อโควิด-19 นอกจากการหมั่นล้างมือ และล้างมือให้ถูกวิธีแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือที่ห้องน้ำสาธารณะ งานวิจัยชี้ควร หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ การล้างมือ เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจาดเชื้อโควิด-19 โดยเชื้อโควิด-19 เป็นเชื้อที่มีเยื่อหุ้มเป็นโปรตีนและไขมัน ซึ่งสามารถทำลายได้ด้วยการล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ที่มากกว่าร้อยละ 70 ก็สามารถทำลายเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ เมื่อล้างมือเสร็จ เราไม่ควรปล่อยให้มือเปียกหรือมีความชื้น เพราะความชื้นจะช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นเมื่อมีวิธีการล้างมือที่ถูกต้องแล้ว ก็ควรมีวิธีการเช็ดมือที่ถูกต้องด้วย ด้วยการเช็ดด้วยทิชชู่ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ เพราะเครื่องเป่ามือนั้นอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ จากการศึกษาหนึ่งของนักจุลชีววิทยา เปรียบเทียบเครื่องเป่ามือกับการใช้ทิชชู่เช็ดมือ พบว่า […]


ไวรัสโคโรนา

กรมวิทยาศาสตร์บริการ แนะวิธี ถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารสดในยุคโควิด-19

ตราบใดที่เรายังต้องเผชิญวิกฤตของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เราจึงจำเป็นที่หลีกเลี่ยงการออกไปรับเชื้อ หรือสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากนอกบ้านอย่างเคร่งครัด ยกเว้นแต่บางกรณี เช่น การเดินทางออกไปทำงาน การออกไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องออกไปซื้อของสด เพื่อเป็นการกักตุนมิให้ตนเองออกไปข้างนอกบ่อยครั้ง บทความของ Hello คุณหมอ ขอนำความรู้เกี่ยวกับการ ถนอมอาหาร เบื้องต้นที่ทาง กรมวิทยาศาสตร์บริการ ออกมาเผยให้ประชาชนทุกคน ได้ทราบกันค่ะ ถนอมอาหาร สด แสนง่าย ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการชี้แนะ เมื่อล่าสุดที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงศึกษาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ห่วงในความปลอดภัยต่อประชาชนทุกคนถึงการรักษาคุณภาพอาหาร ไร้สิ่งปนเปื้อนจากเชื้อรา ในช่วงการกักตัวอยู่บ้านจาก COVID-19 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากมากมาแนะนำ ดังนี้ ไข่สด ไม่ควรนำไปล้างทำความสะอาดก่อน เพราะอาจทำให้เกิดการหล่นแตก หรือเกิดรูพรุนเล็ก ๆ จนอากาศหลุดลอดเข้าไปภายใน ทำให้ไข่เน่าเสีย ซึ่งปกติแล้วไข่ทุกประเภทจะมีโพรงอากาศด้านใน (มุมป้านของไข่) ยิ่งไข่มีอายุมากเท่าไหร่ โพรงอากาศก็จะยิ่งแคบตัวลง ดังนั้นการแช่ไข่ใส่ในตู้เย็นที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานควรนำมุมแหลมของไข่ลง และพลิกมุมป้านของไข่ขึ้นมาแทน เนื้อสัตว์ หั่นแบ่งในปริมาณที่พอดีสำหรับการทำอาหารแต่ละมื้อ และห่อด้วยพลาสติก หรือฟิล์มรักษาความสดของอาหารให้มิดชิดก่อนนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง เครื่องแกง เมื่อคุณตำเครื่องแกงเกินปริมาณที่ต้องการ ให้แบ่งเป็นส่วน ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน