backup og meta

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 ระยะอันตราย ที่ผู้ป่วยควรระวัง

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 ระยะอันตราย ที่ผู้ป่วยควรระวัง

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 เป็นผลเชื่อมโยงมาจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ทำลายถุงลมในปอด ส่งผลให้คุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก และไอเรื้อรัง เพื่อช่วยให้ทุกคนทราบข้อมูลเบื้องต้นของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสานำความรู้ของโรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 มาฝากกันค่ะ

[embed-health-tool-heart-rate]

โรคถุงลมโป่งพอง แบ่งออกเป็นกี่ระยะ

คุณอาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การวัดระดับความรุนแรงของโรคถุงลมโป่งพองเป็นไปตามเกณฑ์ FEV1 ที่วัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมา เมื่อผลลัพธ์ตัวเลขออกมาแล้วนั้น แพทย์จึงจะจำแนกได้ว่าคุณเป็นโรคถุงลมโป่งพองในระยะใด ดังนี้

  • ระยะที่ 1 คือ ระดับไม่รุนแรง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 80%
  • ระยะที่ 2 คือ ระดับปานกลาง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 50-80%
  • ระยะที่ 3 คือ ระดับรุนแรง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 30-50%
  • ระยะที่ 4 คือ ระดับรุนแรงมาก ค่าวัด FEV1 ของคุณจะน้อยกว่า 30%

อย่างไรก็ตาม ถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 เรียกได้ว่าเป็นระยะที่อันตราย พบได้มากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่อย่างหนักมากถึง 25% นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ที่สูดดมมลพิษต่าง ๆ เช่น มลภาวะทางอากาศ สารเคมีเข้าสู่ระบบหายใจจนเกิดการสะสมทำลายสุขภาพปอดได้ในที่สุด

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 เป็นระดับที่รุนแรงมากที่สุด และควรได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นระยะที่เสี่ยงต่อการสร้างความเสียหายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่าง ๆ ของคุณ ดังนี้

  • หายใจมีเสียงหวีด
  • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำอย่างรวดเร็ว 
  • ไอบ่อยถี่ ไอแบบมีเสมหะ
  • ปอดติดเชื้อ
  • ปอดเริ่มเป็นแผล มีรูพรุนอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเอกซเรย์ออกมา

หากคุณปล่อยไว้นานเกินไป หรือเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาล่าช้า นอกจากจะทำให้สุขภาพคุณแย่ลงแล้ว ยังอาจส่งผลอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันโรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4

ในขณะที่คุณรับการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง คุณอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างควบคู่กับตามคำแนะนำแพทย์ร่วมด้วย โดยสิ่งที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ มีดังต่อไปนี้

  • สำหรับผู้ป่วยที่สูบบุหรี่เป็นประจำ อาจต้องเลิกสูบให้เด็ดขาด โดยสามารถขอรับการบำบัดนำไปสู่หนทางการเลิกบุหรี่ได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ฝึกหายใจฟื้นฟูสุขภาพปอดตามที่แพทย์แนะนำ 
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ให้อยู่ในหลักโภชนาการที่แพทย์กำหนด

สำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองบางราย แพทย์อาจให้ใช้ยาขยายหลอดลม เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากขึ้น แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วก็ตาม แพทย์จำเป็นต้องทำการผ่าตัด หรือปลูกถ่ายปอดใหม่จากผู้บริจาคแทน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 What is emphysema?.https://www.medicalnewstoday.com/articles/8934.Accessed July 23, 2021

The difference between COPD and emphysema.https://www.medicalnewstoday.com/articles/314803.Accessed July 23, 2021

Stage 4 (Very Severe) Emphysema.https://www.webmd.com/lung/copd/emphysema-stage-four.Accessed July 23, 2021

The Stages of Emphysema — and What to Expect.https://www.webmd.com/lung/copd/emphysema-stages-and-prognosis.Accessed July 23, 2021

Emphysema.https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9370-emphysema.Accessed July 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/09/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

ถุงลมโป่งพอง โรคอันตรายในระบบทางเดินหายใจ ที่แม้ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา