backup og meta

ภาวะตัวเย็นเกิน อันตรายที่มากับลมหนาว

ภาวะตัวเย็นเกิน อันตรายที่มากับลมหนาว

ภัยสุขภาพในช่วงฤดูหนาวมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยต่างๆ ด้วยกัน เช่น ร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป นอกจากนี้อาจเกิดจาก “ภาวะตัวเย็นเกิน” โดยเกิดจากการสัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็น ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว วันนี้ Hello คุณหมอ พามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกัน

[embed-health-tool-bmi]

ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia)  อันตรายที่มากับลมหนาว

ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำลงกว่า 35 องศาเซลเซียส อย่างรวดเร็ว โดยปกติ ร่างกายคนเราจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความบกพร่องอย่างฉับพลัน มีอาการพูดช้า สับสน สั่น ร่างกายอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นอ่อน ไม่สามารถขอความช่วยเหลือในการรักษาได้ทันท่วงที อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต

สาเหตุของภาวะ ตัวเย็นเกิน

ภาวะ ตัวเย็นเกิน มีสาเหตุมาจากที่ร่างกายของคุณมีอุณหภูมิที่เย็นจัด จนทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้เพียงพอ โดยร่ายกายของเราสูญเสียความร้อนได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • สวมใส่เสื้อผ้าบาง หรือหนาพอสำหรับสภาพอากาศหนาวเย็นจัด
  • อยู่ในที่มีอากาศหนาวเย็นเกินไป
  • ตกลงไปในน้ำที่มีความเย็น เช่น อุบัติเหตุตกเรือ

อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณ เสี่ยงอยู่ในภาวะ ตัวเย็นเกิน

  • ตัวสั่น มีอาการหนาวสั่น
  • พูดไม่ชัด พูดช้าลง
  • รู้สึกสับสัน การคิดวิเคราะห์ช้าลง
  • หายใจถี่
  • รู้สึกอ่อนเพลีย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น หากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลางจะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการในขั้นไม่รุนแรง แต่อุณหภูมิในร่างกายจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส ในกรณี ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากอุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส และมีอาการหนาวสั่นขั้นรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาถัดมา

วิธีการรักษาและการป้องกันตนเองภาวะตัวเย็นเกิน

วิธีการรักษา

  • การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ ในภาวะ ตัวเย็นเกิน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ หากอาการไม่รุนแรงมาก  แพทย์จะให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ห่มผ้า เพื่อทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะมีวิธีการรักษาโดยการฉีดน้ำเกลืออุ่น ๆ เข้าเส้นเลือดเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น  หากร่างกายผู้ป่วยมีอุณหภูมิต่ำมาก แพทย์จะให้จะใช้เครื่องฟอกเลือด เพื่อช่วยให้เลือดอุ่นปรับระบบหมุนเวียนภายในร่างกาย

วิธีการป้องกันตนเอง

  • วิธีการป้องกันที่ง่ายที่สุด ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น และหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน และออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Curtis, R. (n.d.). Outdoor action guide to hypothermia and cold weather injuries. princeton.edu/~oa/safety/hypocold.shtml. Accessed 26 February 2020

Hypothermia. (2012, December 3). emergency.cdc.gov/disasters/winter/staysafe/hypothermia.asp. Accessed 26 February 2020

Mayo Clinic Staff. (2014, June 18). Hypothermia. mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothermia/basics/definition/con-20020453  Accessed 26 February 2020

Hypothermia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothermia/symptoms-causes/syc-20352682?page=0&citems=10. Accessed 26 February 2020

Hypothermia. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hypothermia#1. Accessed 26 February 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรต้า (rotavirus) อาการ และการรักษา

ชิลเบลนส์ (Chilblains) อาการคันตามมือเท้า ที่มาพร้อมอากาศหนาว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา