backup og meta

ภูมิแพ้ขึ้นตา หรือ เยื่อบุตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภูมิแพ้ขึ้นตา หรือ เยื่อบุตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Pink Eye) คือ เยื่อบุตาอักเสบต่อสารภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เกสรจากต้นไม้และใบหน้า ขนสัตว์ น้ำหอม เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคันบริเวณ ตาแดง ตาไวต่อแสง เป็นต้น 

คำจำกัดความ

ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Pink Eye) คืออะไร

ภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Pink Eye) คือ เยื่อบุตาอักเสบต่อสารภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เกสรจากต้นไม้และใบหญ้า ขนสัตว์ น้ำหอม เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคันบริเวณตา ตารแดง ตาไวต่อแสง เป็นต้น 

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคภูมิแพ้ขึ้นตา สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยมีผลต่อผู้ใหญ่ 30% และในเด็ก 40%

อาการ

อาการของ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา 

อาการทั่วไปของ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา

โรคภูมิแพ้ขึ้นตา เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น แพ้เครื่องสำอาง ยาหยอดตา ละอองเรณู ฝุ่นละออง 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคภูมิแพ้ขึ้นตา

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและถามเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย รวมถึงใช้วิธีการวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เพื่อยืนยันโรค

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพื่อตรวจถึงสารก่อภูมิแพ้ และการตอบสนองต่อร่างกาย
  • ตรวจเลือด เพื่อดูว่าร่างกายผลิตโปรตีนหรือโปรตีนที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายปกป้องตนเองกับสารก่อภูมิแพ้
  • ขูดเนื้อเยื่อบุตาขาว  เพื่อตรวจสอบเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า “อีโอซิโนฟิล (Eosinophil)” ว่ามีอาการตอบสนองต่ออาการแพ้อะไรบ้าง 

การรักษา โรคภูมิแพ้ขึ้นตา

การรักษาโรคภูมิแพ้ขึ้นตา มีด้วยกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้ 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองบรรเทาโรคภูมิแพ้ขึ้นตา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองบรรเทาโรคภูมิแพ้ขึ้นตา มีดังต่อไปนี้ 

  • ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวมและคัน
  • ใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาต้านการอักเสบ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  • หมั่นหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ 
  • สวมแว่นตาเพื่อป้องกันดวงตา

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Allergic Conjunctivitis. https://www.healthline.com/health/allergic-conjunctivitis. Accessed March 30, 2021

What is allergic conjunctivitis?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/157692. Accessed March 30, 2021

Allergic Conjunctivitis. https://www.phyathai.com/article_detail/3095/en/Allergic_Conjunctivitis. Accessed March 30, 2021

Allergic Conjunctivitis. https://www.allergy.org.au/patients/allergic-rhinitis-hay-fever-and-sinusitis/allergic-conjunctivitis. Accessed March 30, 2021

Allergic Conjunctivitis. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/allergic-conjunctivitis. Accessed March 30, 2021

Allergic Conjunctivitis. https://aapos.org/glossary/allergic-conjunctivitis. Accessed March 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/04/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคบริหารดวงตา เพื่อ รักษาตาเหล่ สามารถทำได้อย่างไร

ตาเข (Strabismus)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา