ในการนัดหมายแพทย์ หากคุณคิดว่าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งปอด แพทย์จะทำการประเมินประวัติสุขภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงของคุณ และทำการตรวจร่างกาย แล้วแพทย์จึงอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ การวินิจฉัยมะเร็งปอด ต่อไป
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
การตรวจเพื่อหา มะเร็งปอด มักเป็นการทดสอบแบบรุกล้ำร่างกาย จึงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปมีประโยชน์หรือไม่ บางคนเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นโรคแล้ว คนรอบข้างจึงคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ ในระยะที่ยังรักษาได้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่แพทย์มักจะแนะนำการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้ หากมีอาการบ่งชี้ให้เชื่อว่า คุณอาจเป็น มะเร็งปอด
แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ฟังเสียงการหายใจ และตรวจหาภาวะตับบวมหรือต่อมน้ำเหลือง คุณอาจจะถูกส่งไปเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีวิธีหลายประการที่สามารถใช้ได้
การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการเอกซเรย์เฉพาะประเภทหนึ่ง ที่ใช้สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายขณะที่เครื่องหมุนไปโดยรอบร่างกาย ทำให้ได้รูปภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของก้อนเนื้อที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้
เสมหะ เป็นของเหลวข้นที่ขับออกมาจากปอด ตัวอย่างเสมหะจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ สำหรับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาเซลล์มะเร็ง
การตรวจด้วยภาพสามารถตรวจจับก้อนหรือเนื้อ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้องอกร้ายหรือไม่ร้าย จากสิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้น แพทย์อาจให้มีการตัดเนื้อเยื่อปอดออกมา เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง เนื้อเยื่อที่ตัดออกตรวจจะถูกส่งไปตรวจโดยพยาธิแพทย์
การตัดเนื้อเยื่อปอดออกตรวจมีหลายวิธี ได้แก่
อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อหาตำแหน่งที่มะเร็งอาจลุกลามออกไป
MRI เป็นวิธีการสร้างภาพถ่าย ซึ่งใช้แม่เหล็กและคลื่นวิทยุแทนการใช้แสง การตรวจด้วยวิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยว่า มะเร็งปอด ลุกลามไปยังสมองหรือไขสันหลัง
ในวิธี PET Scan จะส่งน้ำตาลที่ประกอบไปด้วยอะตอมกัมมันตรังสี (Radioactive Atom) เข้าไปในร่างกายของคุณ เซลล์มะเร็งจะกินน้ำตาลและกล้องชนิดพิเศษจะหาตำแหน่งกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นการสร้างภาพสี 3 มิติ
วัตถุกัมมันตรังสีจะถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือด วัตถุกัมมันตรังสีจะก่อตัวในกระดูกที่มีอาการผิดปกติ การตรวจวิธีนี้ดำเนินการในกรณีที่สงสัยว่ามะเร็งลุกลามไปยังกระดูกเท่านั้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย