backup og meta

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่อาจจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตน จึงพยามหาวิธีการดูแลตนเองและวิธีรักษาต่าง ๆ เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นต และอาจสงสัยว่าโรค เบาหวาน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาลดระดับน้ำตาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถ สามารถช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

รักษา โรคเบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

ในปัจจุบันนั้น หากพูดถึงโรคเบาหวาน จะนับเป็นโรคเรื้อรังที่ส่วนมากแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเพิ่งเริ่มเป็นและเมื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย เมื่อลดน้ำหนักลงได้มากพอ ไม่ว่าจะด้วยการควบคุมอาหาร/ออกกำลังกาย หรือเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ อาจทำให้หายจากโรคเบาหวานได้ แม้ว่าผู้ที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แต่เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เพื่อให้ยังมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนควรปรับวิถีการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

ยาสำหรับ รักษา เบาหวาน ชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยรายละเอียดเบื้องต้นของยาแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้

  • กลุ่มยาที่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides)
  • ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ
  • ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน 
  • ยากลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors 
  • ยากลุ่ม Glucagon-like peptide-1 (GLP-1) receptor agonists ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และ ยังเป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนักในผู้ที่เป็นโรคอ้วนอีกด้วย
  • ยากลุ่ม SGLT2 inhibitor ซึ่งช่วยเพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินทางปัสสาวะ

วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยมีแนวทางเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นรับประทานอาหารที่มีแป้ง, น้ำตาล​ และ แคลอรี่ต่ำ แต่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และธัญพืช
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว เต้นแอโรบิค วิ่งเหยาะ ๆ  รวมไปถึงเพิ่มการเคลื่อนไหวหรือออกแรงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ถือว่ามีช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
  • การลดน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักและในผู้ที่มีน้ำหนักเกิดนการลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม สามารถชะลอมิให้ภาวะก่อนเบาหวานพัฒนาไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการนั่ง/อยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ การนั่ง/หรืออยู่เฉย ๆ  เป็นเวลานาน ๆ หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ การพยายามเคลื่อนไหวขยับร่างกายบ่อย ๆ หรือลุกขึ้น เพื่อทำกิจกรรมอื่น ๆ ทุก 30 นาที จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ 

จากบทความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการรักษาโรคเบาหวานที่ดีที่สุดและทุกคนสามารถทำได้เอง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยรักษาอาการและควบคุมโรคเบาหวานให้ดีได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Type 2 Diabetes Mellitus. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/type-2-diabetes-mellitus-a-to-z. Accessed April 22, 2021

Type 2 diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/symptoms-causes/syc-20351193. Accessed April 22, 2021

Treatment for Type 2 Diabetes. https://www.diabetes.co.uk/treatment-for-type2-diabetes.html. Accessed April 22, 2021

Type 2 Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/type-2-diabetes. Accessed April 22, 2021

About prediabetes and type 2 diabetes. (2019). cdc.gov/diabetes/prevention/lifestyle-program/about-prediabetes.html . Accessed April 22, 2021

American Diabetes Association. (2018). 2. Classification and diagnosis of diabetes: Standards of medical care in diabetes – 2018. DOI: 10.2337/dc18-S002 . Accessed April 22, 2021

American Diabetes Association. (2019). 9. Pharmacologic approaches to glycemic treatment: Standards of medical care in diabetes – 2019. DOI: 10.2337/dc19-S009 . Accessed April 22, 2021

Coronary heart disease. (2014). diabetes.org/living-with-diabetes/treatment-and-care/women/coronary-heart-disease.html . Accessed April 22, 2021

Diabetes, sexual, and bladder problems. (2018). niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/preventing-problems/sexual-bladder-problems . Accessed April 22, 2021

Kouidrat Y, et al. (2017). High prevalence of erectile dysfunction in diabetes: A systematic review and meta‐analysis of 145 studies [Abstract]. DOI: 10.1111/dme.13403 . Accessed April 22, 2021

Mayer-Davis EJ, et al. (2017). Incidence trends of type 1 and type 2 diabetes among youths, 2002–2012. DOI: 10.1056/NEJMoa1610187 . Accessed April 22, 2021

Mayo Clinic Staff. (2017). Type 2 diabetes in children. mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes-in-children/diagnosis-treatment/drc-20355324 . Accessed April 22, 2021

Mayo Clinic Staff. (2019). Diabetes diet: Create your healthy-eating plan. mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-diet/art-20044295?pg=1 . Accessed April 22, 2021

Mayo Clinic Staff. (2019). Type 2 diabetes. mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/symptoms-causes/syc-20351193 . Accessed April 22, 2021

Nadeau KJ, et al. (2016). Youth-onset type 2 diabetes consensus report: Current status, challenges, and priorities. DOI: 10.2337/dc16-1066 . Accessed April 22, 2021

Preventing type 2 diabetes. (2016). niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/preventing-type-2-diabetes . Accessed April 22, 2021

Simple steps to preventing diabetes. (n.d.). hsph.harvard.edu/nutritionsource/disease-prevention/diabetes-prevention/preventing-diabetes-full-story/ . Accessed April 22, 2021

A snapshot: Diabetes in the United States. (2019). cdc.gov/diabetes/library/socialmedia/infographics.html . Accessed April 22, 2021

Statistics about diabetes. (2018). diabetes.org/diabetes-basics/statistics/ . Accessed April 22, 2021

Symptoms and causes of diabetes. (2016). niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/symptoms-causes . Accessed April 22, 2021

Symptoms, diagnosis & monitoring of diabetes. (2015). heart.org/en/health-topics/diabetes/symptoms-diagnosis–monitoring-of-diabetes . Accessed April 22, 2021

Taking a closer look at labels. (2014). diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/food-tips/taking-a-closer-look-at-labels.html . Accessed April 22, 2021

World Health Organization. (2018). Diabetes [Fact sheet]. who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/diabetes . Accessed April 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา