การคลอด

ลูกน้อยของคุณกำลังจะลื่มตาดูโลกแล้ว เพราะฉะนั้น การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การคลอด จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อเหล่าคุณแม่มือใหม่จะได้คลอดเจ้าตัวน้อยอย่างราบรื่นและปลอดภัย

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอด

อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร ควรบรรเทาอาการอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป อาจเริ่มมี อาการใกล้คลอด เช่น ปวดหน่วง หายใจลำบาก บางคนอาจเริ่มรู้สึกเจ็บท้องอย่างมากเนื่องจากมดลูกมีการหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการคลอด ดังนั้น คุณแม่จึงควรศึกษาว่า อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คืออะไร อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คือ สัญญาณเตือนหลักที่ช่วยทำให้คุณแม่ทราบว่าใกล้ถึงช่วงเวลาคลอดบุตร โดยอาการใกล้คลอดที่ทำให้ปวดหน่วงมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกขยายกว้างและหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มกลับหัวและเคลื่อนตัวไปอยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าหน้าท้องตึงกว่าปกติ ร่วมกับอาการมดลูกขยายและหดตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30-45 วินาทีต่อครั้ง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บท้องเล็กน้อยคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน และอาจมีสารคัดหลั่งสีชมพูใสหรือมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย ระยะที่ 2 เป็นระยะที่จำเป็นต้องเข้ารับการประเมินกับคุณหมอว่าใกล้ถึงเวลาคลอดหรือไม่ และอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเตรียมคลอด โดยในระยะนี้มดลูกจะเริ่มขยายและหดตัวถี่มากขึ้นและยาวนานขึ้น ประมาณ 30 วินาที ไปจนถึง 1 หรือ 2 นาทีต่อครั้ง โดยในระหว่างการรอให้ปากมดลูกขยายกว้างกว่า 8 […]

สำรวจ การคลอด

การคลอด

คลอดลูกธรรมชาติ ข้อดี ข้อเสีย และการดูแลตัวเองหลังคลอด

คลอดลูกธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดตามแบบปกติโดยไม่ใช้การผ่าตัด เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ยกเว้นกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดไม่ขยาย ภาวะรกเกาะต่ำ ลูกไม่กลับศีรษะ ครรภ์เป็นพิษ ทารกได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ที่อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าคลอดแทนเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก [embed-health-tool-due-date] คลอดลูกธรรมชาติ คืออะไร การคลอดลูกธรรมชาติ คือ การคลอดลูกโดยไม่ใช้การผ่าตัดเพื่อทำคลอด แต่อาจใช้วิธีการควบคุมการหายใจเป็นจังหวะ เพื่อช่วยเพิ่มแรงเบ่งทารกให้ออกมาผ่านช่องคลอด โดยมีคุณหมอคอยบอกจังหวะการหายใจ การคลอดทารกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ การคลอดลูกธรรมชาติ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ข้อดีและข้อเสียของการคลอดลูกธรรมชาติ มีดังนี้ ข้อดี  การคลอดลูกธรรมชาติ  มีข้อดีตรงที่คุณแม่สามารถฟื้นตัวหลังคลอดได้ไวกว่าการผ่าคลอด เนื่องจากไม่มีบาดแผลขนาดใหญ่จากการผ่าตัด อีกทั้งยังอาจทำให้คุณแม่ได้รับประสบการณ์การคลอดลูก และรู้สึกใกล้ชิดกับทารกได้มากกว่าการผ่าคลอด ข้อเสีย คุณแม่อาจต้องทนเจ็บปวดกับมดลูกที่หดและขยายเป็นเวลานาน เนื่องจากต้องรอให้ปากมดลูกเปิดกว้างพอที่ศีรษะของทารกจะออกมาได้ นอกจากนี้ บางคนอาจเสี่ยงต่อการตกเลือดเนื่องจากรกหลุดออกไม่หมด วิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกแบบธรรมชาติ ในช่วงระยะเวลาที่รอให้ปากมดลูกขยายระหว่างการคลอดธรรมชาติ คุณแม่อาจสามารถบรรเทาอาการปวดได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ทำสมาธิ โยคะ เดินช้า ๆ นวดตามลำตัวและหลัง โดยอาจให้สามี หรือคนรอบข้างคอยนวดผ่อนคลาย อาบน้ำ แช่น้ำอุ่น ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น เปิดเพลงฟัง อ่านหนังสือ เปลี่ยนท่านอนหรือท่านั่ง ทำใจสบาย ๆ ให้กำลังใจตนเอง  นอกจากนี้ ผู้คนที่อยู่รอบข้างควรให้กำลังใจ คอยดูแลคุณแม่อย่างใกล้ชิดเพราะ ระหว่างที่รอให้ปากช่องคลอดขยายอาจทำให้คุณแม่เจ็บปวด วิตกกังวล […]


การคลอด

คลอดลูก สัญญาณเตือน ความเสี่ยงและการดูแลตัวเอง

การคลอดลูก มีทั้งการคลอดแบบธรรมชาติและการผ่าคลอด ซึ่งคุณหมออาจต้องพิจารณาสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสมหากคุณแม่สังเกตพบสัญญาณเตือนการคลอดลูก เช่นเจ็บท้อง น้ำคร่ำไหล ควรรีบเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อทำการคลอดทันที [embed-health-tool-due-date] การคลอดลูก มีกี่แบบ การคลอดลูกมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ การคลอดลูกแบบธรรมชาติ เป็นวิธีการเบ่งคลอดลูกโดยไม่ใช้การผ่าตัด อาจมีการควบคุมลมหายใจเป็นจังหวะ เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการเบ่งลูกออกมา การคลอดลูกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่ การคลอดลูกแบบธรรมชาติมีหลายเทคนิคด้วยกันทั้งการคลอดลูกตามปกติ และการคลอดลูกในอ่างน้ำ เพื่อช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย และลดการบาดเจ็บ การคลอดลูกแบบธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือระยะหดตัวและขยายตัวของมดลูก คุณแม่อาจรู้สึกว่ามดลูกมีการหดและขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3-10 นาที ซึ่งอาจต้องรอจนกว่าจะปากมดลูกขยายกว้างถึง 10 เซนติเมตร เพื่อให้พอดีกับขนาดศีรษะของลูก จึงจะเริ่มทำการเบ่งคลอดคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งเมื่อมีการหดตัวและขยายตัวของช่องคลอด บางคนอาจมีสารคัดหลั่งสีใส หรือมีเลือดออกมาเล็กน้อย คุณแม่อาจบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำตัวให้ผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการเปิดฟังเพลงสบาย ๆ อาบน้ำ ลุกขึ้นเดิน ระยะที่ 2 คือระยะที่ปากมดลูกขยายตัวเตรียมพร้อมคลอด เมื่อปากมดลูกขยายถึง 10 เซนติเมตร คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เพื่อเบ่งทารก ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง เมื่อศีรษะทารกโผล่ […]


การคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด และระยะเวลาการเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด เป็นกระบวนการทำงานของมดลูกที่เริ่มมีการขยายตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์​ โดยมักเกิดอาการในช่วงสัปดาห์ที่ 28 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนแรกที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์นั้นใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะออกมาเผชิญกับโลกภายนอก คุณแม่ควรสังเกตอาการเจ็บท้องคลอดของตนเองและเตรียมพร้อมเพื่อไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-due-date] อาการเจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอดเป็นสัญญาณเตือนว่าทารกใกล้คลอดออกจากท้องคุณแม่ตั้งครรภ์และอาจสามารถสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ ร่วม ดังนี้ ท้องร่วง คุณแม่อาจมีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด หน้าท้องเปลี่ยนแปลง อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกกลับหัวนำศีรษะลงไปบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือปากมดลูกเพื่อเตรียมตัวออกจากท้องของมารดา จึงอาจทำให้หน้าท้องมีลักษณะต่ำลง มีเลือดออก ปากมดลูกอาจมีเลือดปนมากับมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกโพรงมดลูกเข้าสู่ทารกในครรภ์ ถุงน้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอดถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารกในครรภ์อาจแตกและไหลออกมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมงก่อนคลอดบุตร หากมีอาการเจ็บท้องและถุงน้ำคร่ำแตกออกควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและแจ้งให้หมอทราบเพื่อเตรียมตัวคลอดอย่างทันท่วงที ระยะเวลาเจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอด จนถึงช่วงคลอดทารกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1  เป็นระยะแรกที่ปากมดลูกของคุณแม่ขยายออกประมาณ 4 เซนติมเตร มดลูกเริ่มมีการหดตัวทุก ๆ 60-90 วินาที จนกว่ามดลูกจะขยายตัวถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งบางคนอาจใช้เวลานานกว่า 4-8 ชั่วโมง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรง ในระยะนี้คุณหมออาจแนะนำให้คุณพ่อหรือคนรอบข้างคอยให้กำลังใจ หรือพาคุณแม่ลุกเดิน เปิดเพลง อาบน้ำ ช่วยนวดหลัง เพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ระยะที่ 2  เมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดจนสุด ทารกจะเคลื่อนไปทางปากช่องคลอด คุณหมออาจให้เริ่มออกแรงเบ่ง หรือกดท้องคุณแม่อย่างเบามือ เพื่อเสริมแรงดันทารกให้ออกจากท้องสู่โลกภายนอก คุณแม่อาจมีความรู้สึกเหมือนกับการเบ่งถ่ายอุจจาระ แต่ระยะการคลอดในคุณแม่ท้องแรกไม่ควรใช้เวลาเกิน 3 […]


การคลอด

คลอดธรรมชาติ ข้อดี ข้อเสียสำหรับคุณแม่

คลอดธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นมานานหลายศตวรรษก่อนจะมีเทคนิคทางการแพทย์ หรือโรงพยาบาลเข้ามาครอบคลุมคอยอำนวยความสะดวก ปัจจุบัน การคลอดลูกธรรมชาติยังคงเป็นตัวเลือกแรกที่คุณแม่หลายคนนิยมเลือก จนกว่าคุณหมอจะพิจารณาว่า คุณแม่และทารกใช้ระเวลานานเกินไป เพราะถึงช่วงเวลาที่พร้อมคลอด แต่ทารกไม่สามารถคลอดออกมาได้ หรืออาจมีข้อบ่งชื้อื่นที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกไม่กลับหัว จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกสถานการณ์ดังกล่าวนี้ คุณหมอจำเป็นต้องให้คุณแม่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแทน [embed-health-tool-due-date] คลอดธรรมชาติ คืออะไร คลอดธรรมชาติ คือ การคลอดบุตรทางช่องคลอด อาจมีการใช้ยาเร่งคลอดร่วมด้วยกรณีที่มดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี มีการใช้วิธีการควบคุมหายใจ เพื่อเพิ่มแรงในการเบ่งทารกออกจากท้องผ่านช่องคลอด การคลอดทารกแบบธรรมชาติอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณแม่ การคลอดธรรมชาติทำให้เกิดอาการเจ็บท้องคล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงร่วมด้วย ข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้อัตราการผ่าคลอดไม่ควรเกิน ร้อยละ 15 โดยพิจารณาจากสถานการณ์ที่ไม่พร้อมคลอดธรรมชาติหรือมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอด เช่น ภาวะรกต่ำ คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อเริม ติดเชื้อเอชไอวี ทารกไม่กลับตัวนำศีรษะลงมาบริเวณช่องคลอด ภาวะคลอดล่าช้า  ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ มีดังนี้ การคลอดธรรมชาติเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีของคุณแม่ เนื่องจากความเจ็บปวดนี้เมื่อผ่านมาได้อาจเสริมสร้างพลังงานและร่างกายให้แข็งแรงขึ้น พร้อมจะดูแลทารกหลังคลอดได้เป็นอย่างดี การคลอดธรรมชาติมักเผชิญกับการหดรัดตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ขณะเดียวกันก็อาจช่วยกระตุ้นกระบวนการหายใจให้ทารกได้ดีกว่าการผ่าคลอด การผ่าคลอดอาจจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาชา ซึ่งส่งผลกระทบข้างเคียงต่อคุณแม่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาการง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ […]


การคลอด

ผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ไม่พร้อมคลอดแบบธรรมชาติ

ผ่าคลอด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด คุณแม่ที่ใกล้คลอดควรศึกษาถึงขั้นตอนการผ่าคลอดเพื่อจะได้มีทางเลือกในการตัดสินใจคลอดลูกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความพร้อมด้านจิตใจของคุณแม่เองด้วย [embed-health-tool-due-date] ผ่าคลอด (Cesarean section) คืออะไร ผ่าคลอด เป็นวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องและผนังมดลูกแล้วนำทารกออกมา ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะเลือกผ่าคลอด ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองได้ หรือการคลอดแบบธรรมชาติอาจจะมีอันตรายต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ การเตรียมตัวก่อนการผ่าคลอด ของใช้จำเป็นสำหรับคุณแม่ ของใช้จำเป็นสำหรับลูกน้อย เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น สมุดฝากครรภ์ บัตรโรงพยาบาล สำเนาบัตรประชาชนทั้งคุณพ่อคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน ทำความสะอาดบริเวณท้อง ร่างกายที่ต้องเตรียมสำหรับ วิธีผ่าคลอด เมื่อถึงเวลาผ่าคลอดแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก โดยมีอยู่ 2 วิธีคือ ฉีดยาชาเข้าบริเวณไขสันหลัง ดมยาสลบ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก วิธีผ่าคลอด สำหรับวิธีผ่าคลอดนั้น อาจเกิดความเสี่ยงขึ้นได้ โดยความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง สำหรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความเสี่ยงต่อลูกน้อย ได้แก่ ปัญหาการหายใจ โดยอาจมีอาการหายใจเร็วผิดปกติในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าคลอด การบาดเจ็บจากการผ่าตัด แม้ว่าจะเกิดได้ยาก แต่รอยบุบที่ผิวหนังของทารกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการผ่าตัด ความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ ได้แก่ การติดเชื้อ หลังผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อที่โพรงมดลูก ตกเลือดหลังคลอด เวลาผ่าคลอดอาจทำให้เลือดออกมากระหว่างคลอดและหลังคลอด เพิ่มความเสี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ในอนาคต หลังจากการผ่าคลอด มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ยิ่งมีการผ่าคลอดมากเท่าใด ความเสี่ยงของรกเกาะต่ำ ภาวะรกเกาะติดเกาะแน่น […]


การคลอด

คลอดก่อนกำหนด สาเหตุและการป้องกัน

คลอดก่อนกำหนด (Preterm Birth) หมายถึง ภาวะที่คุณแม่คลอดบุตรตอนอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด 37 สัปดาห์นี้ ซึ่งมักเกิดขึ้นกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และในบางราย อาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกได้ โดยปกติแล้วอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน เพราะหากทารกลืมตาดูโลกตอนอายุครรภ์น้อยอาจมีพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่และเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่มากกว่า 50% ของการคลอดก่อนกำหนดนั้นไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการคลอดกำหนดได้ ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด เคยเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ตั้งครรภ์แฝด เช่น แฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่า ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งปัจจุบันห่างจากครั้งก่อนน้อยกว่า 6 เดือน ตั้งครรภ์โดยการทำเด็กหลอดแก้ว หรือไอวีเอฟ (In Vitro Fertilization หรือ IVF) รก มดลูก หรือปากมดลูกมีความผิดปกติ สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด หรือใช้ยารักษาโรคอย่างไม่เหมาะสม เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบ โดยเฉพาะที่ถุงน้ำคร่ำ และอวัยวะส่วนล่างในอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด […]


การคลอด

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เลือกวิธีไหนดีกว่ากัน

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับการคลอดลูกที่คุณแม่มือใหม่ไม่รู้ว่าควรตัดสินใจเลือกวิธีไหนดี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป นอกจากนั้นแล้ว วิธีคลอดลูกยังขึ้นอยู่กับอายุคุณแม่ ภาวะสุขภาพ ภาวะของทารก ภาวะครรภ์ และหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติและการผ่าคลอด และปรึกษาคุณหมอสำหรับวิธีที่ดีที่สุดที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อตนเองและทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด เลือกวิธีไหนดี เมื่อตั้งครรภ์ นอกเหนือไปจากการดูแลตนเองและทารกในครรภ์แล้ว คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจเกี่ยวกับวิธีการคลอดลูก ว่าจะเลือก คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด จึงจะปลอดภัยกว่า จริง ๆ แล้วแม้ว่าการคลอดด้วยธรรมชาติจะเป็นวิธีที่คุณแม่ 2 ใน 3  เลือก แต่สำหรับบางกรณีการคลอดแบบธรรมชาติก็อาจจะเกิดความเสี่ยงต่อทั้งแม่และเด็ก คุณหมอจึงอาจแนะนำให้ผ่าคลอดแทน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ข้อ เช่น อายุคุณแม่ ขนาดและน้ำหนักตัวของทารก ท่าทางของทารกก่อนถึงกำหนดคลอด ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะประเมินภาวะครรภ์และแนะนำวิธีการคลอดที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์มากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วการผ่าคลอดมักจะเป็นกรณีที่คุณแม่ได้ลูกแฝด หรือกรณีที่คุณแม่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คุณแม่มีเชื้อเอชไอวีหรือมีปัญหาเรื่องโรคเริม รวมทั้งคุณแม่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งในกรณีที่ทารกในครรภ์ไม่กลับหัวในช่วงใกล้คลอดด้วย การคลอดธรรมชาติ (Vaginal birth) การคลอดธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดที่คุณแม่นั้นจะเบ่งคลอดเองทางช่องคลอด ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีข้อดีและข้อเสีย ได้แก่ ข้อดีของ การคลอดธรรมชาติ […]


การคลอด

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร มีประโยชน์และความเสี่ยงอย่างไร

คลอดลูกในน้ำ เป็นทางเลือกหนึ่งในการคลอดลูก โดยขณะคลอด คุณแม่จะแช่อยู่ในสระน้ำอุ่นภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การคลอดลูกในน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บท้องขณะคลอด ลดระยะเวลาการคลอด และอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกเครียดน้อยกว่าการคลอดในโรงพยาบาลตามปกติ อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกในน้ำอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นโรคผิวหนัง ครรภ์เป็นพิษ [embed-health-tool-due-date] คลอดลูกในน้ำ คืออะไร การคลอดลูกในน้ำ (Water birth) หมายถึงกระบวนการคลอดโดยให้ตัวคุณแม่แช่อยู่ในอ่างหรือสระน้ำอุ่นที่มีความลึกประมาณหนึ่ง ในปัจจุบัน มีทางเลือกสำหรับการคลอดในน้ำรูปแบบต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับความชอบและสภาวะของตัวแม่เด็กและทารกในครรภ์ โดยสามารถเลือกคลอดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การสนับสนุนเรื่องการคลอดในน้ำ หรืออาจจะคลอดที่บ้านภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญก็ได้ ในช่วงระหว่างการคลอดนั้น ตัวคุณแม่จะต้องแช่อยู่ในน้ำอุ่น โดยเลือกได้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำแค่ในช่วงเจ็บท้องคลอด แล้วออกมาคลอดข้างนอก หรือจะคลอดขณะที่ยังแช่อยู่ในน้ำเลยก็ได้ การคลอดในน้ำนั้นเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการทำธาราบำบัด (hydrotherapy) โดยใช้น้ำมาเป็นตัวช่วยในการลดความปวดและความเครียดระหว่างการคลอดได้เป็นอย่างดี การคลอดในน้ำมีประโยชน์อย่างไร การคลอดในน้ำนั้นมีประโยชน์ทั้งต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองและทารกในครรภ์ในด้านต่างๆ ดังนี้ ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์ สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists) ได้กล่าวถึงการคลอดในน้ำไว้ว่า การที่ให้แม่แช่ตัวอยู่ในน้ำอุ่นในช่วงแรกของการเจ็บท้องคลอด อาจช่วยลดระยะเวลาช่วงเจ็บท้องคลอดให้สั้นลง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดที่บริเวณไขสันหลังและโดยรอบได้  อีกทั้ง การคลอดลูกในน้ำจะช่วยลดอัตราจำนวนแพทย์หรือพยาบาลที่ต้องทำการผ่าคลอดลง นอกจากนี้ผู้ที่คลอดลูกในน้ำยังมีความเครียดหลังคลอดน้อยกว่าผู้ที่คลอดลูกด้วยวิธีตามปกติอีกด้วย น้ำอุ่นจะช่วยผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกปลอบประโลม และสบายใจแก่ตัวแม่เด็ก น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนัก ทำให้สามารถเคลื่อนไหวและปรับเปลี่ยนท่าทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การลอยตัวในน้ำยังมีประโยชน์ต่อการหดตัวของมดลูก และช่วยเรื่องการไหลเวียนของโลหิต ทำให้สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกและทารกในครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น และบรรเทาอาการปวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ น้ำยังช่วยอาจลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้ร่างกายสามารถสร้างเอนดอร์ฟิน […]


การคลอด

ระยะทารกหัวโผล่ ขณะคลอด (Birth Crowning)

ระยะทารกหัวโผล่ ในขณะคลอดนั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงพีคของคนเป็นแม่และคุณหมอผู้ทำคลอดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นวินาทีที่ลูกของคุณกำลังจะลืมตาดูโลกในไม่ช้า ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่คุณแม่มากที่สุดในการคลอดอีกด้วย คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาเล่าให้ฟังว่า ระยะทารกหัวโผล่คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร เพื่อให้คุณแม่ที่กำลังเตรียมตัวคลอดมีความเข้าใจและเตรียมตัวเพื่อรับมือกับช่วงเวลานั้น ระยะทารกหัวโผล่ ขณะคลอดคืออะไร ในระหว่างการคลอด ศีรษะของทารกจะยื่นออกมาเล็กน้อยพร้อมกับการหดตัวและหลังการหดตัวศีรษะจะหดกลับเข้าไป ระยะทารกศีรษะโผล่เป็นช่วงเวลาที่ศีรษะของทารกค้างอยู่ เมื่อเกิดภาวะนี้ ต้องทำการคลอดโดยเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นขณะคลอด การเตรียมตัวคลอดเกิดขึ้นหลายสัปดาห์ก่อนกำหนดคลอด กระบวนการนี้เรียกว่า การเข้าสู่อุ้งเชิงกราน (engagement) ซึ่งเป็นช่วงที่ศีรษะของทารกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานของแม่ ขั้นตอนการคลอดมีหลายขั้นตอน การบีบตัวมาในช่วงแรกซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ แต่รุนแรง จากนั้นเป็นช่วงของการคลอดที่มีการขยายตัวของปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงที่ศีรษะของทารกโผล่ออกมา การเตรียมตัวสำหรับวันคลอด กานวดฝีเย็บในระยะคลอด (Perineal Massage) มีประโยชน์มากคุณสามารถทำการนวดได้ตั้งแต่มีอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ ใช้เจลหล่อลื่นทาที่นิ้วและนวดขยายช่องคลอดเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน วิธีการนี้ช่วยเตรียมร่างกาย ลดความรู้สึกแสบและช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงฝีเย็บฉีกขาดได้ สิ่งที่ควรระลึกในขณะที่ศีรษะทารกโผล่ ระยะที่ทารกศีรษะโผล่ คุณจะรู้สึกแสบเนื่องจากการขยายตัวที่เกิดจากศีรษะของทารก เมื่อเกิดอาการคุณต้องหยุดเบ่งเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงการฉีกขาดของฝีเย็บ แพทย์หรือผู้ทำการคลอดจะพูดคุยกับคุณตลอดระยะเวลานี้ หลังจากอาการแสบหมดไปกลายเป็นอาการชาเนื่องจากศีรษะของทารกขยายเนื้อเยื่อช่องคลอดไปจนถึงระบบประสาทส่วนนั้นถูกสกัดกั้น ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นยาชาธรรมชาติ ระยะเวลาการเกิดอาการขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขั้นตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดมากที่สุด ในการลดความเจ็บปวดนั้น พยายามกำหนดลมหายใจ การหายใจสั้นถี่อาจช่วยลดการฉีกขาด และท่าสควอทถือเป็นท่าที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ คุณอาจขอกระจกเพื่อให้คุณเห็นศีรษะของทารก หรืออาจเอื้อมมือเพื่อสัมผัสศีรษะของทารก ให้สามีของคุณอยู่ด้วยเพื่อเป็นการให้กำลังใจ การคลอดไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย คุณจึงต้องการความช่วยเหลือมากมาย โดยอาจใช้ผ้าเย็นรองที่หลังคอและจิบน้ำในขณะเบ่งเพื่อไม่ให้รู้สึกเหนื่อยเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทารกศีรษะโผล่ หลังจากที่ศีรษะทารกโผล่ แพทย์จะทำการตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับทารก เช่น  สายสะดือพันคอทารก หากทารกยังติดอยู่ แพทย์อาจใช้คีม […]


การคลอด

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด (Epidural)

Epidural คือ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด เป็นหนึ่งในตัวยาที่คุณหมอมักเลือกใช้เพื่อจัดการกับความเจ็บปวดระหว่างการคลอด อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพสูงต่อการช่วยจัดการความเจ็บปวดขณะคลอด แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ยาชนิดนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ความดันต่ำ คุณแม่ที่กำลังใกล้คลอดควรปรึกษาคุณหมอก่อนคลอดถึงผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนี้ [embed-health-tool-due-date] Epidural คืออะไร Epidural คือ ยาระงับความรู้สึกที่ใช้เวลาคลอด มีผลต่อการบรรเทาความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ขณะคลอด ผ่านการฉีดยาเข้าสู่เยื่อหุ้มกระดูกสันหลังส่วนล่าง ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของโคเคน เมื่อตัวยาเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ไขสันหลังเกิดอาการชา และยับยั้งไม่ให้ความรู้สึกปวดผ่านเข้าสู่สมอง แต่การใช้ยาระงับความปวดในวิธีนี้ ยาจะไม่ได้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย แต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาเฉพาะบริเวณที่ฉีดเท่านั้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์ยังมีสติสมบูรณ์ขณะคลอดลูก โดยคุณหมอจะให้ยาฉีดระงับความรู้สึกในช่วงที่ปากมดลูกเริ่มเปิดขยายตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร ข้อดีของยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอด เมื่อหญิงตั้งครรภ์เจ็บปวดในขณะคลอด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเครียด เช่น เอพิเนฟริน (Epinephrine) และ โนเอพิเนฟริน (Norepinephrine) ออกมา ซึ่งจะเข้าไปขัดขวางการบีบตัวของมดลูก อาจทำให้ระยะเวลาการคลอดนานขึ้น และส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกได้ การให้ยาระงับความรู้สึก จะช่วยบรรเทาความเครียด ความกังวล ของคุณแม่ และช่วยให้กระบวนการคลอดเร็วขึ้นและราบรื่นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ช่วยทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกปลอดภัย ลดความเสี่ยงการตายคลอด ทั้งนี้ ยาระงับความรู้สึกสำหรับการคลอดนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นยาระงับปวดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจากการสำรวจผู้หญิงจำนวน 28 ราย จาก 100 ราย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน