backup og meta

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วัน เป็นอย่างไร

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วัน เป็นอย่างไร

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วัน เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ แต่บางคนอาจไม่มีอาการหรืออาการอาจแสดงออกไม่ชัดเจน โดยอาการหลังปฏิสนธิที่พบได้บ่อย เช่น ประจำเดือนขาด มีเลือดล้างหน้าเด็กไหลออกมา อุณหภูมิร่างกายสูง คัดตึงเต้านม เหนื่อยล้า

อย่างไรก็ตาม อาการหลังปฏิสนธิ 3 วันอาจมีอาการคล้ายกับภาวะสุขภาพหรือภาวะตามปกติของร่างกาย เช่น อาการมีประจำเดือน จึงอาจทำให้แยกความแตกต่างได้ยาก ดังนั้น การตรวจการตั้งครรภ์จึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยยืนยันผลการตั้งครรภ์ได้แม่นยำมากที่สุด

[embed-health-tool-ovulation]

การปฏิสนธิ เกิดขึ้นได้อย่างไร

การปฏิสนธิ คือ กระบวนการที่อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ในท่อนำไข่จนนำไปสู่การแบ่งตัวเพื่อพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน และนำไปสู่การตั้งครรภ์ โดยเมื่อถึงระยะไข่ตก ไข่จะเคลื่อนตัวออกมาจากรังไข่เพื่อรอการผสมกับอสุจิบริเวณท่อนำไข่ และเมื่ออสุจิปฏิสนธิกับไข่เรียบร้อยแล้วจะเคลื่อนตัวไปยังมดลูกเพื่อฝังตัวบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก และเจริญเติบโตไปเป็นตัวอ่อนต่อไป โดยหลังจากการปฏิสนธิ ไข่จะแปรสภาพทำให้อสุจิตัวอื่น ๆ ไม่สามารถเข้าไปผสมในไข่ได้อีก

อย่างไรก็ตาม หากไข่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิภายใน 12-24 ชั่วโมง ไข่จะเคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่และสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วัน เป็นอย่างไร

อาจไม่พบอาการหลังปฏิสนธิ 3 วัน หรืออาจไม่มีการแสดงอาการที่ชัดเจน โดยบางคนอาจมีอาการเกิดขึ้นหลังปฏิสนธิเมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ และอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วันอาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาวะสุขภาพ เช่น ประจำเดือนขาดเนื่องจากความเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากเกินไป หรืออาการหลังปฏิสนธิอาจคล้ายกับอาการมีประจำเดือนตามปกติ จึงอาจทำให้แยกความแตกต่างได้ยาก โดยอาการหลังปฏิสนธิ 3 วันที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • ประจำเดือนขาด

เป็นสัญญาณแรกหลังจากการปฏิสนธิที่พบได้ชัดเจนที่สุด เพราะเมื่อไข่กับอสุจิปฏิสนธิกัน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่หยุดการตกไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือนในขณะตั้งครรภ์

อาจมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย ซึ่งเลือดอาจมีสีน้ำตาล เป็นจุดเล็ก ๆ โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากไข่กับอสุจิปฏิสนธิกันและเข้าไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก

  • อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

โดยในช่วงตกไข่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะเพิ่มสูงขึ้น และหากอุณหภูมิร่างกายยังคงสูงอย่างต่อเนื่องอาจหมายความว่ากำลังตั้งครรภ์

  • ความเหนื่อยล้า

เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียและง่วงนอนได้

เป็นอาการที่คล้ายคลึงกับอาการมีประจำเดือน แต่อาจมีอาการคัดตึงเต้านมที่รุนแรงกว่า เนื่องจากระดับฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น

การตรวจสอบการตั้งครรภ์

อาการหลังปฏิสนธิ 3 วันอาจเกิดขึ้นคล้ายกับอาการทางสุขภาพอื่น ๆ ตามปกติเช่น อาการมีประจำเดือน จึงอาจทำให้แยกอาการหลังปฏิสนธิได้ยาก การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลจึงอาจช่วยยืนยันผลการตั้งครรภ์ได้แม่นยำมากที่สุด ดังนี้

  • ชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง เป็นชุดตรวจปัสสาวะเพื่อหาการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) วิธีนี้อาจตรวจได้แม่นยำมากขึ้นหากเริ่มตรวจประมาณ 6 วันหลังจากการปฏิสนธิ
  • การตรวจเลือด เป็นการตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจีที่อยู่ในเลือด ซึ่งเป็นวิธีตรวจทำให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำ แม้ว่าฮอร์โมนเอชซีจีจะมีระดับต่ำมาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy Tests. https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-tests. Accessed October 19, 2022

Fertilization. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK26843/. Accessed October 19, 2022

Pregnancy and Conception. https://www.webmd.com/baby/understanding-conception. Accessed October 19, 2022

Getting pregnant. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/symptoms-of-pregnancy/art-20043853. Accessed October 19, 2022

Early Pregnancy Symptoms. https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant. Accessed October 19, 2022

Am I Pregnant?. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9709-pregnancy-am-i-pregnant. Accessed October 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการคนท้องอ่อน ๆ และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

การปฏิสนธิ คืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา