backup og meta

มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) ทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีบุตรยาก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) ทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีบุตรยาก

    มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) หรือ Micro IVF เป็นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้แก่ผู้ที่มีบุตรยาก โดยเป็นการใช้วิทยาการสมัยใหม่กระตุ้นรังไข่ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วปกติในเรื่องของปริมาณการใช้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ให้มีไข่ตกจำนวนน้อยกว่าแต่คาดว่าจะได้ไข่ที่มีคุณภาพมากกว่า 

    มินิไอวีเอฟ.(Mini-IVF) เทคนิคการกระตุ้นรังไข่

    เทคนิคมินิไอวีเอฟ..(Mini In Vitro Fertilization หรือ IVF) คือ กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่ใช้ยาปริมาณน้อยกว่าในการกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ไข่ตก โดยวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน คุณหมอจะให้ยารับประทานเพื่อไปกระตุ้นรังไข่เป็นระยะเวลา 8-10 วัน ร่วมกับการฉีดยาฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นรังไข่ในช่วง 3-4 วัน 

    อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วมินิไอวีเอฟจะกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ได้ฟองไข่ 3-4 ใบ และกลายเป็นตัวอ่อน 2-3 ตัว ที่มีคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป เพราะเน้นการฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นเพื่อให้ไข่ตกหลายใบ  แต่เนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณยาและฮอร์โมนจำนวนมาก จึงอาจทำให้คุณภาพของตัวอ่อนด้อยกว่าการทำมินิไอวีเอฟ

    มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไปอย่างไร

    มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป ดังต่อไปนี้

    • การทำมินิไอวีเอฟใช้ปริมาณยาที่ใช้ในการกระตุ้นรังไข่น้อยกว่า 
    • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่รังไข่เกิดการกระตุ้นมากเกินไป
    • ไม่ต้องเจ็บปวดจากการโดนฉีดยากระตุ้นรังไข่ทุกวัน
    • ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการทำไอวีเอฟแบบทั่วไป
    • กระบวนการมินิไอวีเอฟสามารถผลิตไข่ได้มีคุณภาพสูงกว่าการทำไอวีเอฟทั่วไป

    อัตราความสำเร็จในการมีบุตรเมื่อเข้าสู่กระบวนการมินิไอวีเอฟ 

    จากผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวย  520 คน ซึ่งจัดแสดงในการประชุม American Society of Reproductive Medicine ( ASRM) พบว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35-40 ปี มีโอกาสที่จะมีลูกมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบเทียบกับการทำไอวีเอฟทั่วไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา