backup og meta

เตรียมตัวก่อนท้อง อย่าลืมเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำว่ามีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/01/2022

    เตรียมตัวก่อนท้อง อย่าลืมเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำว่ามีอะไรบ้าง

    เตรียมตัวก่อนท้อง นับเป็นการวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักที่ต้องการมีลูกคนแรก รวมทั้งคู่สามีภรรยาที่มีลูกอยู่แล้วแต่ต้องการมีลูกเพิ่ม ควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยเร็วที่สุด เพราะไม่มีคำว่าเร็วเกินไปในการวางแผนเพื่อเป็นคุณพ่อคุณแม่ เพราะมีหลายสิ่งที่ต้องจัดการ ควรมีเช็กลิสต์เพื่อช่วยให้ง่ายขึ้น ทั้งการวางแผนทางการเงิน การนัดพบแพทย์ และเรื่องสุขภาพของผู้หญิงเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

    เตรียมตัวก่อนท้อง ต้องทำอะไรบ้าง

    การเตรียมตัวก่อนท้อง โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อตั้งท้อง และสำหรับการตั้งครรภ์ซึ่งกินเวลาประมาณ 40 สัปดาห์ การดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้

    นัดกับคุณหมอ ก่อนตั้งครรภ์

    แม้ว่าจะเคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว ควรนัดพบคุณหมอหากวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะหากเกิดมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ด้วย

    ตรวจสุขภาพช่องปาก ก่อนตั้งครรภ์

    สุขภาพช่องปากที่ดีและการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากมีข้อมูลที่ชี้ว่า การเป็นโรคเหงือกอาจเชื่อมโยงกับการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ของทารก ดังนั้น ก่อนตั้งครรภ์จึงควรตรวจสุขภาพช่องปากด้วย

    เลิกบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์

    บุหรี่และแอลกอฮอล์ทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ และเพิ่มโอกาสในการแท้งอีกด้วย ดังนั้น หากสูบบุหรี่และดื่มแอกอฮอล์ ก่อนตั้งครรภ์  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีเลิกบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ก่อน เพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์ต่อไป

    ลดการดื่มคาเฟอีน

    การดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้ว หรือการดื่มน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนประมาณ 250 มิลลิกรัมมากกว่า 5 กระป๋องต่อวัน อาจลดโอกาสในการตั้งครรภ์ จึงควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนแทน เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้

    กินอาหารที่มีประโยชน์

    ก่อนตั้งครรภ์  ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผัก ผลไม้ และโปรตีนไร้ไขมันในทุก ๆ วัน เพราะการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากไปกว่านั้น การมีน้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ และอาจทำให้คุณแม่และทารกมีปัญหาสุขภาพ

    รับประทานกรดโฟลิก

    ก่อนตั้งครรภ์ ควรกินกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมทุกวันเพื่อป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก และถ้าในกรณีที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตั้งครรภ์ ให้เริ่มกินทันทีหลังจากที่รู้ จนกระทั่งครบ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

    ลดน้ำหนัก ก่อนตั้งครรภ์

    น้ำหนักส่วนเกินอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งรรภ์ รวมถึงความดันโลหิตสูงในช่วงตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นจึงควรลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ

    ฉีดวัคซีน

    ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ ของคุณแม่และยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์อีกด้วย

    กินยา ต้องระวัง

    ควรแจ้งให้คุณหมอทราบว่ากำลังกินยาอะไรอยู่บ้าง ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงวิตามินและสมุนไพร เนื่องจากยาและสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้

    ออกกำลังกาย

    การออกกำลังกาย ก่อนตั้งครรภ์ และตลอดช่วงการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว ยังช่วยเตรียมรูปร่างให้พร้อมสำหรับการคลอดบุตรด้วย ดังนั้นหากไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ให้เริ่มต้นออกกำลังกายได้เลย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา