backup og meta

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ การวิ่งมาราธอน และ สุขภาพหัวใจ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ การวิ่งมาราธอน และ สุขภาพหัวใจ

การวิ่งมาราธอน เป็นการวิ่งในระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการวิ่งระยะยาว ผู้ที่วิ่งต้องมีการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการวิ่งเป็นอย่างดี หากวิ่งในระดับที่ร่างกายรับไม่ไหวย่อมส่งผลเสียมากกว่าได้ประโยชน์แน่นอน วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอน และ สุขภาพหัวใจ มาฝากกัน ใครที่กำลังเตรียมตัวจะเป็นนักวิ่งมือใหม่… มาดูกันว่าการวิ่งมาราธอนกับสุขภาพหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความเสี่ยงของโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับ การวิ่งมาราธอน

ข้อมูลจากวารสารโรคหัวใจแคนาดา นักวิจัยค้นพบข้อมูลจากการแข่งขันกีฬาว่า นักกีฬาหลายคนแสดงอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจและความผิดปกติของหัวใจหลังออกกำลังกายเป็นเวลานาน ซึ่งการศึกษาชิ้นนี้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อประเมินระดับการวิ่งมาราธอนที่มีส่งผลต่อหัวใจโดยตรง ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจเกิดความเสียหาย

นักวิจัยได้ศึกษานักวิ่งมือสมัครเล่นจำนวน 20 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่กำลังจะลงวิ่งในรายการควิเบกซิตี้มาราธอน ซึ่งกลุ่มนักวิ่งทดลองเหล่านี้ไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจและไม่ได้ใช้ยาตัวใด ๆ ในการรักษาอยู่

นักวิจัยได้ทำการทดสอบ 6-8 สัปดาห์ก่อนการแข่งขันมาราธอน และในวันแข่งขัน นักวิ่งก็ทำการทดสอบอีกครั้งภายใน 48 ชั่วโมงหลังวิ่งมาราธอนเสร็จ การทดสอบนี้รวมถึงการตรวจ MRI ครั้งที่สอง และการเก็บตัวอย่างเลือดด้วย

นักวิจัยพบว่า นักวิ่งจำนวนครึ่งหนึ่งที่ทดสอบหลังจากที่วิ่งเสร็จแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจได้รับผลกระทบทั้งทางซ้ายและทางขวา โดยจะมีอาการบวม ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ไหลเวียนได้ช้าลง โดย Dr. Eric Larose แห่ง IUCPQ พบว่า อาการกล้ามเนื้อหัวใจบวมทั้งซ้ายและขวามักจะเกิดขึ้นกับนักวิ่งมือใหม่ ที่ไม่ค่อยได้รับการฝึกซ้อม จริง ๆ แล้วกล้ามเนื้อหัวใจบวม มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เพียงชั่วคราวเท่านั้น

การวิ่งมาราธอน ทำอย่างไรให้ไม่กระทบต่อสุขภาพ

จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายในรูปแบบใดก็ตาม ก็ต้องปฏิบัติในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเองจึงจะไม่กระทบต่อสุขภาพ การวิ่งมาราธอนก็เช่นกัน หากทำอย่างถูกต้องก็จะได้ผลดีมากกว่าโทษ

เลือกงานวิ่งที่เหมาะกับตัวเอง

สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ทุก ๆ คนออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นปานกลาง 150 นาทีต่อสัปดาห์ ส่วนการออกกำลังที่มีความเข้มข้นมาก ๆ ควรออก 75 นาทีต่อสัปดาห์

จากงานวิจัยพบว่า 3 ใน 5 ของผู้ที่ทำตามคำแนะนำนี้มีโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตลดลง ดังนั้นการที่เราจะออกกำลังกายในปริมาณเท่าใด อย่างแรกต้องดูความเหมาะสมของร่างกายตัวเองก่อน การรู้ลิมิตร่างกายตัวเองช่วยทำให้เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะกับเราได้

ตรวจสอบสุขภาพหัวใจเป็นประจำ

การตรวจสอบสุขภาพหัวใจอยู่เป็นประจำ ช่วยให้เรารู้เท่าทันโรค หากสุขภาพหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลง แย่ลง จะได้รักษาได้ทันท่วงที หลายๆ คนคงเคยได้ข่าวเหตุการณ์การเสียชีวิตระหว่างวิ่ง ซึ่งเป็นเหตุการที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เหตุการณ์เหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือปรึกษาคุณหมอ เรื่องการวิ่งกับสุขภาพร่างกายของคุณว่าสามารถทำได้หรือไม่

ค่อย ๆ เพิ่มระยะทาง การวิ่งมาราธอน

เมื่อจะมีการวิ่งมาราธอน แน่นอนว่าต้องมีการเตรียมพร้อม ซ้อมมาอย่างดี เพื่อไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บ อันดับแรก มือใหม่หัดวิ่งต้องหาโปรแกรมการซ้อมวิ่งที่เหมาะกับตัวเองก่อน การเลือกระยะทางควรเริ่มที่ระยะทางสั้น ๆ ก่อน เช่น เริ่มจาก 5 กิโลเมตร แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 10 21 จนถึง 42 กิโลเมตรตามลำดับบ การค่อย ๆ เพิ่มระยะทางขึ้นจะช่วยลดอาการบาดเจ็บทางร่างกายได้

จัดตารางการฟื้นฟูร่างกายและการกินให้ดี 

ในการวิ่งมาราธอน ผู้ที่วิ่งได้เร็วและไกลกว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ร่างกายจะเกิดความเสียหายมากกว่า เพราะร่างกายทำงานหนักจากการวิ่ง สิ่งสำคัญคือ คุณต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ดังนั้นนักวิ่งทั้งหลาย… จึงควรที่จะมีการจัดตารางการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย ส่วนเรื่องอาหารก็เป็นอีกเรื่องที่มีความจำเป็น การได้รับอาหารที่ดีจะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ฟื้นฟูได้เร็วขึ้นตามไปด้วย

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Marathon running ‘bad for the heart’. https://www.medicalnewstoday.com/articles/267305.php. Accessed November 19, 2020

Is long-distance running good for the heart?. https://www.heart.org/en/news/2019/03/01/is-long-distance-running-good-for-the-heart. Accessed November 19, 2020

What to Know About Running and Your Heart. https://www.runnersworld.com/runners-stories/a20823603/what-to-know-about-running-and-your-heart/. Accessed November 19, 2020

A Heart-Smart Approach to Marathons and Vigorous Exercise. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/a-heart-smart-approach-to-marathons-and-vigorous-exercise. Accessed November 19, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

การวิ่งมาราธอน กับ โรคหลอดลมอุดกั้น เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

วิ่งทุกวัน เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา