backup og meta

วิธีห้ามเลือด ควรทำอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/01/2021

    วิธีห้ามเลือด ควรทำอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกวิธี

    โดยทั่วไปแล้ว การประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง อาจทำให้เลือดไหลออกมาเยอะกว่าปกติ ซึ่งหากมีเลือดไหลออกมามากเกินไป อาจนำไปสู่อาการช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น วิธีห้ามเลือด จึงถือเป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้เอาไว้เพื่อไว้ใช้รับมือในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน และคุณเองก็สามารถที่จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยวิธี การห้ามเลือด อย่างปลอดภัยและถูกวิธี ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากกันในบทความนี้

    วิธีห้ามเลือด อย่างปลอดภัย

    ถึงแม้ว่าบาดแผลจะรุนแรงเพียงใด แต่การไหลของเลือดยังเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่มี การห้ามเลือด ก็อาจนำไปสู่ภาวะช็อคหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การห้ามเลือดส่วนใหญ่สามารถทำได้ก่อนที่รถพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุ

    สิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะที่คุณกำลังทำ การห้ามเลือด เพื่อควบคุมและป้องกันการตกเลือด คุณควรรีบเรียกรถพยาบาลทันที เพื่อที่จะได้มารับช่วงต่อได้อย่างทันเวลา เพราะว่าการห้ามเลือดเป็นเพียงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น โดย วิธีห้ามเลือด เบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้

    กดที่แผลโดยตรง

    ขั้นตอนแรกของ การห้ามเลือด คือ การกดปากแผลเอาไว้ เลือดจำเป็นต้องจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อเริ่มกระบวนการรักษาและหยุดเลือด ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดใน การห้ามเลือด ก็คือ การกดที่แผลโดยตรงเพื่อหยุดเลือด

    หากคุณมีผ้าก๊อซประเภทบาง ก็สามารถนำมาใช้ห้ามเลือดได้ ผ้าก๊อซจะช่วยกักเลือดเอาไว้ที่แผล และช่วยให้ส่วนประกอบของเลือดเกาะติดกันจนแข็งตัว แต่หากคุณไม่มีผ้าก๊อซ การใช้ผ้าขนหนูชนิด Terry Cloth ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกักเก็กน้ำหรือซับน้ำ ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน

    หากผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูชุ่มไปด้วยเลือด ให้นำผ้ามาเพิ่มเข้าไปอีกชั้น ห้ามลอกผ้าก๊อซออกจากแผลเป็นอันขาด เพราะการลอกผ้าก๊อซที่ชุ่มไปด้วยเลือดออกจากบาดแผลจะขจัดสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และกระตุ้นให้เลือดกลับมาไหลอีกครั้ง เมื่อทำ การห้ามเลือด ได้แล้ว ให้ทำตามขั้นตอนอื่น ๆ เพื่อรักษาผู้ที่กำลังมีอาการช็อค

    ยกบาดแผลให้มีระดับเหนือกว่าหัวใจ

    แรงโน้มถ่วงจะทำให้เลือดไหลลงง่ายกว่าที่จะไหลขึ้น หากคุณเอามือข้างหนึ่งเอาไว้เหนือศีรษะ และมืออีกข้างอยู่ข้างล่าง คุณจะสังเกตเห็นได้ว่า มือที่อยู่ข่างล่างจะเป็นสีแดง ในขณะที่มือที่เอาไว้เหนือศีรษะจะมีสีซีด

    ดังนั้น ขั้นตอนที่ 2 ของ การห้ามเลือด ก็จะใช้หลักการนี้ โดยพยายามยกบาดแผลให้มีระดับเหนือกว่าหัวใจ การยกแผลให้สูงขึ้นจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง เมื่อเลือดไหลช้าลง วิธีห้ามเลือด ด้วยการกดปากแผลเอาไว้โดยตรงจะทำได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นโปรดจงจำเอาไว้ว่า บาดแผลต้องอยู่เหนือหัวใจและคุณต้องกดปากแผลเอาไว้โดยตรง

    การห้ามเลือด ด้วยการกดบริเวณจุดกดห้ามเลือด (Pressure Points)

    จุดกดห้ามเลือด (Pressure Points) คือ บริเวณของร่างกายที่เส้นเลือดวิ่งใกล้กับผิวด้านนอก โดยการกดที่หลอดเลือดบริเวณจุดกดห้ามเลือดจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง เพราะมีแรงกดโดยตรงเพื่อหยุดเลือด

    ดังนั้นก่อนจะทำ การห้ามเลือด ด้วยวิธีกดบริเวณจุดเน้น ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า คุณกดจุดที่ใกล้กับหัวใจมากกว่าบาดแผล เพราะการกดหลอดเลือด (Blood Vessels) ที่อยู่ห่างจากหัวใจเกินกว่าบาดแผลจะมีผลใด ๆ ต่อเลือดที่กำลังไหลอยู่ สำหรับจุดกดห้ามเลือด ได้แก่

    • แขนระหว่างไหล่และข้อศอก บริเวณนี้จะมีหลอดเลือดแดงแขน (Brachial Artery)
    • บริเวณขาหนีบตามแนวบิกินี่ บริเวณนี้จะมีหลอดเลือดแดงต้นขา (Femoral Artery)
    • หลังหัวเข่า บริเวณนี้จะมีหลอดเลือดแดงขาพับ (Popliteal Artery)

    นอกจากการกดบริเวณจุดกดห้ามเลือดแล้ว อย่าลืมให้แผลอยู่เหนือหัวใจ และต้องกดบริเวณปากแผลโดยตรง

    อย่างไรก็ตาม การห้ามเลือด เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากคุณพบว่า อาการบาดเจ็บมีความรุนแรง ทำให้เลือดไหลไม่หยุด หรือประสบกับปัญหาเลือดไหลไม่หยุด โปรดรีบเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 12/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา